พบผลลัพธ์ทั้งหมด 424 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1193/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องซ้ำ: ผลกระทบต่อจำเลยและความเป็นธรรมในการดำเนินคดี
โจทก์ฟ้องและจำเลยยื่นคำให้การแล้วก่อนวันชี้สองสถานหนึ่งวัน โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง ศาลสั่งให้ส่งสำเนาให้จำเลย ถึงวันชี้สองสถานศาลยังไม่ได้สั่งคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง โจทก์ขอถอนฟ้อง จำเลยคัดค้านว่าทำให้จำเลยเสียหาย ดังนี้ศาลไม่อนุญาตให้ถอนฟ้อง ควรดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นผลเสร็จเด็ดขาดไปในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1188/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาแจ้งความจำนงเช่าตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯ มิใช่อายุความ จึงไม่อาจขยายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ
กำหนดระยะเวลา 30 วัน ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ ที่ให้แจ้งความจำนงขอเช่าต่อนั้น ไม่ใช่อายุความอันจะยกมาตรา 183 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาปรับเพื่อขยายระยะเวลาออกไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1182/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คลงวันที่ล่วงหน้า ธนาคารซื้อแม้เงินในบัญชีจำเลยมีน้อย ไม่ถือเป็นการร่วมกระทำผิด
จำเลยเซ็นเช็คสั่งจ่ายเงินไว้ล่วงหน้า 1 เดือน โดยมีเงินในบัญชีเพียงเล็กน้อย ผู้ทรงนำไปขายให้แก่ธนาคารที่ถูกสั่งให้จ่ายเงินธนาคารรู้ว่าในขณะนั้นจำเลยมีเงินไม่พอแต่คงยอมรับซื้อไว้ ต่อมาถึงกำหนดชำระเงินตามเช็ค ธนาคารนำเช็คนั้นเข้าบัญชีแต่ธนาคารก็ปฏิเสธที่จะจ่ายเงิน เพราะในบัญชีของจำเลยมีเงินไม่พอ ดังนี้ ธนาคารย่อมเป็นผู้เสียหายที่จะร้องทุกข์ให้ว่ากล่าวเป็นคดีได้ จะอ้างว่าธนาคารได้ร่วมรู้เห็นเป็นใจกระทำผิดกับจำเลยด้วยหาได้ไม่ เพราะในระยะ 1 เดือนก่อนถึงกำหนดนั้น จำเลยอาจนำเงินเข้าบัญชีของจำเลยให้พอจ่ายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1128/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มรดกที่ได้รับระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ทรัพย์สินเป็นของฝ่ายที่ได้รับมรดกแต่เพียงผู้เดียว
การที่โจทก์อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยแต่มิได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายนั้น ทรัพย์ที่โจทก์ได้รับมรดกมาในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลย จำเลยก็ไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของทรัพย์ร่วมกับจำเลย เพราะการที่โจทก์ได้รับมรดกทรัพย์นั้นมาย่อมไม่ใช่ทรัพย์ที่โจทก์และจำเลยร่วมกันหามา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1128/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มรดกที่ได้ระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ไม่เป็นทรัพย์สินร่วมกัน
การที่โจทก์อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลย แต่มิได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายนั้น ทรัพย์ที่โจทก์ได้รับมรดกมาในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลย จำเลยก็ไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของทรัพย์ร่วมกับโจทก์ เพราะการที่โจทก์ได้รับมรดกทรัพย์นั้นมาย่อมไม่ใช่ทรัพย์ที่โจทก์และจำเลยร่วมกันหามา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยอายุความ: จำเลยปิดกั้นคูระบายน้ำที่โจทก์ใช้ต่อเนื่องกว่า 10 ปีไม่ได้
เดิมที่ดินของโจทก์จำเลยเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน แต่มาแบ่งแยกภายหลัง มีคูระบายน้ำ และใช้ระบายน้ำโสโครกผ่านที่ดินในส่วนที่ยกมาเป็นของจำเลยมาตั้งแต่เจ้าของเดิม เมื่อที่ดินตกมาเป็นของโจทก์ โจทก์ก็ใช้คูระบายน้ำโสโครกต่อมาอีกกว่า 10 ปีแล้ว ดังนี้ โจทก์ย่อมได้สิทธิในภาระจำยอมโดยอายุความเหนือที่ดินจำเลย ๆ จะปิดคูระบายน้ำเสียไม่ได้
ข้อต่อสู้ของจำเลยว่าจำเลยมีสิทธิกระทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 แต่ไม่ขอสืบพยานนั้นศาลไม่รับฟัง
ข้อต่อสู้ของจำเลยว่าจำเลยมีสิทธิกระทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 แต่ไม่ขอสืบพยานนั้นศาลไม่รับฟัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในภารจำยอมโดยอายุความและการปิดกั้นทางระบายน้ำ
เดิมที่ดินของโจทก์จำเลยเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน แต่มาแบ่งแยกภายหลัง มีคูระบายน้ำและใช้ระบายน้ำโสโครกผ่านที่ดินในส่วนที่ตกมาเป็นของจำเลยตั้งแต่เจ้าของเดิม เมื่อที่ดินตกมาเป็นของโจทก์ โจทก์ก็ใช้คูระบายน้ำโสโครกต่อมาอีกกว่า 10 ปีแล้ว ดังนี้ โจทก์ย่อมได้สิทธิในภาระจำยอมโดยอายุความเหนือที่ดินจำเลย จำเลยจะปิดคูระบายน้ำเสียไม่ได้
ข้อต่อสู้ของจำเลยว่า จำเลยมีสิทธิกระทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 แต่ไม่ขอสืบพยานนั้น ศาลไม่รับฟัง
ข้อต่อสู้ของจำเลยว่า จำเลยมีสิทธิกระทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 แต่ไม่ขอสืบพยานนั้น ศาลไม่รับฟัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประท้วงการกระทำของเจ้าพนักงานไม่ถึงขั้นดูหมิ่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 136
การที่จำเลยนั่งอยู่ในรถยนต์ เจ้าพนักงานไปเรียกจำเลยให้ลงจากรถยนต์เพื่อจับกุมในข้อหาสมคบกับพวกลักทรัพย์หรือรับของโจร จำเลยจึงพูดว่า"เป็นเจ้าพนักงานสิเอาอำนาจหยังมาไซ่รุนแรงเกินไปแบบนี้" เป็นคำกล่าวประท้วงการกระทำของเจ้าพนักงานโดยมีเหตุผลไม่เป็นการดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา136
ฟ้องว่าจำเลยกล่าวดูหมิ่นเจ้าพนักงานว่า "เป็นเจ้าพนักงานสิเอาอำนาจหยังมาไซ่รุนแรงเกินไปแบบนี้" ซึ่งมีความหมายว่าเจ้าพนักงานใช้อำนาจรุนแรงต่อจำเลยนั้น โจทก์จะนำสืบความหมายนอกเหนือไปจากที่กล่าวในฟ้องไม่ได้
ฟ้องว่าจำเลยกล่าวดูหมิ่นเจ้าพนักงานว่า "เป็นเจ้าพนักงานสิเอาอำนาจหยังมาไซ่รุนแรงเกินไปแบบนี้" ซึ่งมีความหมายว่าเจ้าพนักงานใช้อำนาจรุนแรงต่อจำเลยนั้น โจทก์จะนำสืบความหมายนอกเหนือไปจากที่กล่าวในฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1053/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจากการโอนทรัพย์สิน โมฆะกรรม และการแสดงเจตนาลวง
(1) ข้อต่อสู้ของจำเลยกับสิทธิของจำเลยนั้นเป็นคนละเรื่อง ด้วยเหตุนี้เอง แม้ในคดีเรื่องหนึ่งจำเลยจะได้เคยต่อสู้ คืออ้างว่าหนังสือสัญญาปลอม แต่ต่อมาคดีนั้นถึงที่สุด โดยศาลฟังว่าหนังสือสัญญานั้นไม่ปลอม และหนังสือสัญญาที่ว่านี้ได้ทำให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์เพราะจำเลยได้รับรองกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นไว้ในหนังสือสัญญาดังกล่าวแล้วด้วยเช่นนี้ จำเลยก็ย่อมมีสิทธิตามที่บุคคลนั้นทำให้ไว้แก่จำเลยด้วยเช่นเดียวกัน ฉะนั้น เมื่อจำเลยเสียหายในการที่บุคคลนั้นโอนขายอสังหาริมทรัพย์ที่กล่าวไปโดยสมยอมกับผู้ซื้อ จำเลยก็ย่อมมีสิทธิอ้างความเป็นโมฆะอันเกิดจากการซื้อขายในการสมยอมนั้นขึ้นต่อสู้คดีได้ (2) การแสดงเจตนาด้วยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งย่อมมีได้ในสัญญาทุกชนิด อันการทำกรมธรรม์สัญญาด้วยเจตนาลวง แม้จะทำที่อำเภอก็เป็นโมฆะ และไม่จำต้องขอให้เพิกถอน เพราะไม่เป็นนิติกรรมเสียแล้ว ผลก็เท่ากับไม่ได้ทำอะไรเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1053/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอาศัย-เจตนาลวง: การต่อสู้สิทธิในคดีก่อนไม่ขัดสิทธิในคดีหลัง, นิติกรรมลวงเป็นโมฆะ
(1) ข้อต่อสู้ของจำเลยกับสิทธิของจำเลยนั้น เป็นคนละเรื่อง ด้วยเหตุนี้เองแม้ในคดีเรื่องหนึ่งจำเลยจะได้เคยต่อสู้คือ อ้างว่าหนังสือสัญญาปลอม แต่ต่อมาคดีนั้นถึงที่สุด โดยศาลฟังว่าหนังสือสัญญานั้นไม่ปลอม และหนังสือสัญญาที่ว่านี้ได้ทำให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ เพราะจำเลยได้รับรองกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นไว้ในหนังสือสัญญาดังกล่าวแล้วด้วย เช่นนี้ จำเลยก็ย่อมมีสิทธิตามที่บุคคลนั้นทำให้ไว้แก่จำเลยด้วยเช่นเดียวกัน ฉะนั้นเมื่อจำเลยเสียหายในการที่บุคคลนั้นโอนขายอสังหาริมทรัพย์ที่กล่าวไปโดยสมยอมกับผู้ซื้อจำเลยก็ย่อมมีสิทธิอ้างความเป็นโมฆะอันเกิดจากการซื้อขายในการสมยอมนั้นขึ้นต่อสู้คดีได้
(2) การแสดงเจตนาด้วยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งย่อมมีได้ในสัญญาทุกชนิด อันการทำกรมธรรม์สัญญาด้วยเจตนาลวง แม้จะทำที่อำเภอเป็นโมฆะ และไม่จำต้องขอให้เพิกถอน เพราะไม่เป็นนิติกรรมเสียแล้ว ผลก็เท่ากับไม่ได้ทำอะไรเลย
(2) การแสดงเจตนาด้วยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งย่อมมีได้ในสัญญาทุกชนิด อันการทำกรมธรรม์สัญญาด้วยเจตนาลวง แม้จะทำที่อำเภอเป็นโมฆะ และไม่จำต้องขอให้เพิกถอน เพราะไม่เป็นนิติกรรมเสียแล้ว ผลก็เท่ากับไม่ได้ทำอะไรเลย