พบผลลัพธ์ทั้งหมด 424 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้กฎหมายเวนคืนทั่วไปเมื่อกฎหมายเฉพาะมิได้กำหนดวิธีปฏิบัติและบทลงโทษ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 เป็นกฎหมายกลางว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ทั่วไปของรัฐ ฉะนั้น จึงนำวิธีปฏิบัติในการเวนคืนตลอดจนบทลงโทษในกรณีมีผู้ขัดขวางมิให้เจ้าหน้าที่เข้าครอบครองทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติดังกล่าวนี้มาใช้บังคับแก่การเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ซึ่งมิได้บัญญัติวิธีปฏิบัติและบทลงโทษไว้โดยเฉพาะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การใช้กฎหมายกลางบังคับกับการเวนคืนเฉพาะ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 เป็นกฎหมายกลางว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ทั่วไปของรัฐ ฉะนั้นจึงนำวิธีปฏิบัติในการเวนคืนตลอดจนบทลงโทษในกรณีมีผู้ขัดขวางมิให้เจ้าหน้าที่เข้าครอบครองทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติดังกล่าวนี้มาใช้บังคับแก่การเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ ซึ่งมิได้บัญญัติวิธีปฏิบัติและบทลงโทษไว้โดยเฉพาะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 517/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องเรียกจำเลยใหม่ ศาลพิพากษาบังคับจำเลยใหม่ได้หากคำฟ้องเดิมครอบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 - 2 ปลูกเรือนในที่ดินของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองกับบริวารออกจากที่ดินและรื้อถอนเรือนออกไป ต่อมาโจทก์ขอแก้ฟ้องว่า เรือนเป็นของมารดาจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 - 2 อาศัยอยู่ด้วยในฐานะบริวาร ขอให้เรียกมารดาจำเลยที่ 2 มาเป็นจำเลยที่ 3 ด้วย ดังนี้ แม้โจทก์จะมิได้ขอแก้คำขอท้ายฟ้อง ซึ่งขอให้บังคับจำเลยที่ 1 - 2 ให้รวมถึงจำเลยที่ 3 ด้วยก็ตาม ศาลก็ย่อมพิพากษาบังคับจำเลยที่ 3 ตามคำขอนั้นได้เพราะตามคำฟ้องเดิมของโจทก์ ประกอบคำร้องขอแก้ฟ้องก็ได้แสดงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ต่อจำเลยที่ 3 รวมทั้งขออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาชัดแจ้งอยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 517/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ฟ้องเรียกจำเลยใหม่เข้ามาในคดี และขอบเขตการบังคับตามคำพิพากษา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1-2 ปลูกเรือนในที่ดินของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองกับบริวารออกจากที่ดินและรื้อถอนเรือนออกไปต่อมาโจทก์ขอแก้ฟ้องว่า เรือนเป็นของมารดาจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1-2 อาศัยอยู่ด้วยในฐานะบริวาร ขอให้เรียกมารดาจำเลยที่ 2 มาเป็นจำเลยที่ 3 ด้วย ดังนี้แม้โจทก์จะมิได้ขอแก้คำขอท้ายฟ้อง ซึ่งขอให้บังคับจำเลยที่ 1-2 ให้รวมถึงจำเลยที่ 3 ด้วยก็ตาม ศาลก็ย่อมพิพากษาบังคับจำเลยที่ 3 ตามคำขอนั้นได้เพราะตามคำฟ้องเดิมของโจทก์ ประกอบกับคำร้องขอแก้ฟ้องก็ได้แสดงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ต่อจำเลยที่ 3 รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาชัดแจ้งอยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 501-502/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขุดทำลายทำนบโดยได้รับอนุญาตจากกำนันเพื่อระบายน้ำ ไม่ถือว่าทำให้เสียทรัพย์
จำเลยขุดทำลายทำนบของผู้อื่นเพื่อระบายน้ำไม่ให้ท่วมทางตามคำสั่งของกำนัน โดยเจ้าของทำนบได้ตกลงไว้กับทางอำเภอรับจะระบายน้ำให้แล้ว ย่อมจะฟังว่าจำเลยกระทำผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 501-502/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขุดทำนบตามคำสั่งกำนันเพื่อระบายน้ำ ไม่ถือเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ หากเจ้าของทำนบยินยอม
จำเลยขุดทำลายทำนบของผู้อื่นเพื่อระบายน้ำไม่ให้ท่วมทางตามคำสั่งของกำนันโดยเจ้าของทำนบได้ตกลงไว้กับทางอำเภอรับจะระบายน้ำให้แล้วย่อมจะฟังว่าจำเลยกระทำผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ยังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 497/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยตามสัญญา แม้ไม่ระบุชัดเจน หากผู้กู้เข้าใจและชำระเกิน ก็ไม่สามารถเรียกคืนได้
สัญญากู้มีข้อสัญญาว่าผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยตามจำนวนเงินที่กู้ให้แก่ผู้ให้กู้ตามกฎหมาย ย่อมถือว่ามีอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี เพราะกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 และจะรับฟังพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงอัตราดังกล่าวนี้ไม่ได้ แม้ใบรับเงินที่ผู้ให้กู้ออกให้แก่ผู้กู้จะปรากฏอัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 15 ต่อปี หรือเกินกว่านั้น ก็ไม่เป็นหลักฐานที่หักล้างว่าไม่ใช่ร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี เพราะมิได้มีลายมือชื่อของผู้กู้ซึ่งเป็นฝ่ายต้องรับผิดในหนี้
เมื่อตามข้อสัญญาต้องถือว่าดอกเบี้ยมีอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี และผู้กู้ก็เข้าใจเช่นนั้น ถ้าผู้กู้ชำระดอกเบี้ยให้ผู้ให้กู้เกินกว่าอัตราดังกล่าว โดยไม่มีความเข้าใจผิดและไม่ปรากฏว่าผู้ให้กู้บังคับเรียกร้องเอา ก็ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 จะเรียกส่วนที่ชำระเกินไปนั้นคืนไม่ได้
เมื่อตามข้อสัญญาต้องถือว่าดอกเบี้ยมีอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี และผู้กู้ก็เข้าใจเช่นนั้น ถ้าผู้กู้ชำระดอกเบี้ยให้ผู้ให้กู้เกินกว่าอัตราดังกล่าว โดยไม่มีความเข้าใจผิดและไม่ปรากฏว่าผู้ให้กู้บังคับเรียกร้องเอา ก็ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 จะเรียกส่วนที่ชำระเกินไปนั้นคืนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 497/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยตามสัญญาและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การชำระเกินและผลทางกฎหมาย
สัญญากู้มีข้อสัญญาว่าผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยตามจำนวนเงินที่กู้แก่ผู้ให้กู้ตามกฎหมายย่อมถือว่ามีอัตราร้อยละ7 ครึ่งต่อปี เพราะกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 และจะรับฟังพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงอัตราดังกล่าวนี้ไม่ได้แม้ใบรับเงินที่ผู้ให้กู้ออกให้แก่ผู้กู้จะปรากฏอัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 15 ต่อปี หรือเกินกว่านั้น ก็ไม่เป็นหลักฐานที่หักล้างว่าไม่ใช่ร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี เพราะมิได้มีลายมือชื่อของผู้กู้ซึ่งเป็นฝ่ายต้องรับผิดในหนี้
เมื่อตามข้อสัญญาต้องถือว่าดอกเบี้ยมีอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีและผู้กู้ก็เข้าใจเช่นนั้นถ้าผู้กู้ชำระดอกเบี้ยให้ผู้ให้กู้เกินกว่าอัตราดังกล่าวโดยไม่มีความเข้าใจผิดและไม่ปรากฏว่าผู้ให้กู้บังคับเรียกร้องเอา ก็ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 จะเรียกส่วนที่ชำระเกินไปนั้นคืนไม่ได้
เมื่อตามข้อสัญญาต้องถือว่าดอกเบี้ยมีอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีและผู้กู้ก็เข้าใจเช่นนั้นถ้าผู้กู้ชำระดอกเบี้ยให้ผู้ให้กู้เกินกว่าอัตราดังกล่าวโดยไม่มีความเข้าใจผิดและไม่ปรากฏว่าผู้ให้กู้บังคับเรียกร้องเอา ก็ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 จะเรียกส่วนที่ชำระเกินไปนั้นคืนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทของทารกในครรภ์ และการเริ่มนับอายุความฟ้องเรียกมรดก
ทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาขณะที่บิดาตายมีสิทธิเป็นทายาทได้ ถ้าหากภายหลังได้เกิดมารอดอยู่ และโดยมีพฤติการณ์ที่บิดารับรองทายกในครรภ์ว่าเป็นบุตรของตน
อายุความฟ้องเรียกมรดกหนึ่งปีตามมาตรา 1754 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั้น จำแนกไว้สองประการ คือ นับแต่เจ้ามรดกตายประการหนึ่ง หรือนับแต่ทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก อีกประการหนึ่ง ฉะนั้น การที่เด็กผู้เป็นทายาทเกิดภายหลังที่บิดาตายแล้วอายุความฟ้องเรียกมรดกจึงเริ่มนับตั้งแต่เด็กนั้นคลอดเป็นต้นไป
อายุความฟ้องเรียกมรดกหนึ่งปีตามมาตรา 1754 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั้น จำแนกไว้สองประการ คือ นับแต่เจ้ามรดกตายประการหนึ่ง หรือนับแต่ทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก อีกประการหนึ่ง ฉะนั้น การที่เด็กผู้เป็นทายาทเกิดภายหลังที่บิดาตายแล้วอายุความฟ้องเรียกมรดกจึงเริ่มนับตั้งแต่เด็กนั้นคลอดเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทของทารกในครรภ์ และการนับอายุความฟ้องร้องมรดก เริ่มเมื่อคลอด
ทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาขณะที่บิดาตายมีสิทธิเป็นทายาทได้ถ้าหากภายหลังได้เกิดมารอดอยู่ และโดยมีพฤติการณ์ที่บิดารับรองทารกในครรภ์ว่าเป็นบุตรของตน
อายุความฟ้องเรียกมรดกหนึ่งปีตามมาตรา 1754 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั้น จำแนกไว้สองประการคือนับแต่เจ้ามรดกตายประการหนึ่ง หรือนับแต่ทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกอีกประการหนึ่ง ฉะนั้น การที่เด็กผู้เป็นทายาทเกิดภายหลังที่บิดาตายแล้วอายุความฟ้องร้องเรียกมรดกจึงเริ่มนับตั้งแต่เด็กนั้นคลอดเป็นต้นไป
อายุความฟ้องเรียกมรดกหนึ่งปีตามมาตรา 1754 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั้น จำแนกไว้สองประการคือนับแต่เจ้ามรดกตายประการหนึ่ง หรือนับแต่ทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกอีกประการหนึ่ง ฉะนั้น การที่เด็กผู้เป็นทายาทเกิดภายหลังที่บิดาตายแล้วอายุความฟ้องร้องเรียกมรดกจึงเริ่มนับตั้งแต่เด็กนั้นคลอดเป็นต้นไป