คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เจน เวชศิลป์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 424 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายไม่จำเป็นต้องมีหนังสือ หากมีการวางเงินหรือชำระหนี้บางส่วนแล้ว
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 หาได้กำหนดว่าจะต้องมีหนังสือสัญญาซื้อขายจึงจะฟ้องร้องบังคับได้เสมอไปไม่ หากการซื้อขายมีการวางประจำหรือชำระหนี้บางส่วนแล้ว ก็ย่อมฟ้องร้องได้เช่นกัน
ในการับเงินค่ากระบือตามกฎหมายมิได้บังคับว่าต้องมีใบรับเงินมาแสดง คู่กรณีย่อมนำพยานบุคคลมาสืบถึงการรับเงินกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ค่าจ้างเป็นหนี้เงินกู้ และข้อจำกัดการนำสืบการชำระหนี้
เมื่อมีหนี้ต่อกันแล้วคู่กรณีก็อาจแปลงหนี้อย่างหนึ่งเป็นหนี้อีกอย่างหนึ่งได้ในภายหลัง โจทก์จำเลยตกลงกันว่าให้หนี้เงินค่าจ้างระหว่างโจทก์จำเลยผูกพันกันในรูปเป็นหนี้เงินกู้ โจทก์จำเลยจึงมีความผูกพันต่อกันในหนี้เงินกู้ ในการกู้ยืมที่มีหลักฐานเป็นหนังสือเมื่อจะนำสืบการใช้เงินต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วจะนำพยานบุคคลมาสืบถึงการใช้เงินนั้นไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากค่าจ้างเป็นเงินกู้ และการนำสืบการใช้เงินในหนี้กู้ยืมที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
เมื่อมีหนี้ต่อกันแล้ว คู่กรณีก็อาจแปลงหนี้อย่างหนึ่งเป็นหนี้อีกอย่างหนึ่งได้ในภายหลังโจทก์จำเลยตกลงกันว่าให้หนี้เงินค่าจ้างระหว่างโจทก์จำเลยผูกพันกันในรูปเป็นหนี้เงินกู้ โจทก์จำเลยจึงมีความผูกพันต่อกันในหนี้เงินกู้ ในการกู้ยืมที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ เมื่อจะนำสืบการใช้เงินต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว จะนำพยานบุคคลมาสืบถึงการใช้เงินนั้นไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรค 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 584/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารสิทธิเพื่อประโยชน์ทางการค้าและการฟ้องคดีอาญาโดยผู้เสียหายจากการกระทำนั้น
บิลซื้อเชื่อสินค้าต่าง ๆ รายนี้เป็นหลักฐานแห่งการก่อหนี้สินและสิทธิเรียกร้อง จึงเป็นเอกสารสิทธิ
ข้อความที่โจทก์หาว่าจำเลยปลอมนั้นเป็นการเปลี่ยนตัวผู้ซื้อหรือลูกหนี้(ตามบิลซื้อเชื่อสินค้า) จากนายสมบูรณ์เป็นนางทองคำ วงศาโรจน์ เมื่อจำเลยอ้างส่งเป็นพยานในคดีแพ่งอันเป็นเวลาที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ที่ 1 (หลาน) เข้ารับมรดกความแทนนางทองคำ วงศาโรจน์ แล้ว โจทก์ที่ 1 อาจเสียหายจึงอยู่ในฐานะผู้เสียหายตาม ป.วิ.อาญามาตรา 2 (4)
การเติมข้อความในเอกสารที่จำเลยทำขึ้นเองแต่จำเลยหมดอำนาจที่จะเติมแล้วเพราะได้นำไปใช้เป็นหลักฐานในการขายสินค้าเชื่อให้แก่นายสมบูรณ์จนนายสมบูรณ์กับโจทก์ที่ 2 ได้ตรวจรับสิ่งของและเซ็นชื่อไว้ในบิลนำส่งของที่ซื้อเชื่อนั้นแล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารได้
นิติบุคคลอาจรับผิดทางอาญาร่วมกับบุคคลธรรมดาซึ่งเป็นกรรมการดำเนินการของนิติบุคคลได้ ถ้าการกระทำผิดทางอาญานั้นกรรมการดำเนินการกระทำไปเกี่ยวกับกิจการตามวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลที่ได้จดทะเบียนไว้และเพื่อให้นิติบุคคลได้รับประโยชน์จากการกระทำนั้น (อ้างนัยฎีกา 1669/2506)
โจทก์ที่ 2 เซ็นชื่อรับของในบิลซื้อเชื่อบางฉบับไว้แทนนายสมบูรณ์ แล้วจำเลยปลอมเอกสารเหล่านั้นอ้างส่งเป็นพยานต่อศาลว่า โจทก์ที่ 2 เซ็นรับไว้แทนนางทองคำ วงศาโรจน์ เช่นนี้ เห็นได้ว่า โจทก์ที่ 2 ต้องรับผิดต่อนางทองคำ วงศาโรจน์ หรือทายาทได้โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 584/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารซื้อเชื่อ, ผู้เสียหาย, และความรับผิดของนิติบุคคล
บิลซื้อเชื่อสินค้าต่างๆ รายนี้เป็นหลักฐานแห่งการก่อหนี้สินและสิทธิเรียกร้องจึงเป็นเอกสารสิทธิ
ข้อความที่โจทก์หาว่าจำเลยปลอมนั้นเป็นการเปลี่ยนตัวผู้ซื้อหรือลูกหนี้ (ตามบิลซื้อเชื่อสินค้า)จากนายสมบูรณ์เป็นนางทองคำ วงศาโรจน์ เมื่อจำเลยอ้างส่งเป็นพยานในคดีแพ่งอันเป็นเวลาที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ที่ 1(หลาน) เข้ารับมรดกความแทนนางทองคำ วงศาโรจน์แล้วโจทก์ที่ 1 อาจเสียหายจึงอยู่ในฐานะผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)
การเติมข้อความในเอกสารที่จำเลยทำขึ้นเอง แต่จำเลยหมดอำนาจที่จะเติมแล้ว เพราะได้นำไปใช้เป็นหลักฐานในการขายสินค้าเชื่อให้แก่นายสมบูรณ์ จนนายสมบูรณ์กับโจทก์ที่ 2 ได้ตรวจรับสิ่งของและเซ็นชื่อไว้ในบิลนำส่งของที่ซื้อเชื่อนั้นแล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารได้
นิติบุคคลอาจรับผิดทางอาญาร่วมกับบุคคลธรรมดาซึ่งเป็นกรรมการดำเนินการของนิติบุคคลได้ถ้าการกระทำผิดทางอาญานั้นกรรมการดำเนินการกระทำไปเกี่ยวกับกิจการตามวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลที่ได้จดทะเบียนไว้และเพื่อให้นิติบุคคลได้รับประโยชน์จากการกระทำนั้น(อ้างนัยฎีกา 1669/2506)
โจทก์ที่ 2 เซ็นชื่อรับของในบิลซื้อเชื่อบางฉบับไว้แทนนายสมบูรณ์แล้วจำเลยปลอมเอกสารเหล่านั้นอ้างส่งเป็นพยานต่อศาลว่า โจทก์ที่ 2 เซ็นชื่อไว้แทนนางทองคำ วงศาโรจน์ เช่นนี้ เห็นได้ว่า โจทก์ที่ 2 ต้องรับผิดต่อนางทองคำ วงศาโรจน์ หรือทายาทได้โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้เสียหายมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 578/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเข้าใจผิดเรื่องวันนัดคดี: ศาลอนุญาตให้ระบุพยานเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานเพราะตัวโจทก์ซึ่งเป็นชาวชนบทอายุ 70 ปีเศษเข้าใจว่าศาลสั่งนัดพร้อมอีก (นัดพร้อมมา 3 ครั้งแล้วและบอกทนายโจทก์เช่นนั้นทนายโจทก์จึงมอบฉันทะให้เสมียนมาฟังคำสั่งและวันนัดสืบพยาน เช่นนี้ เห็นได้ว่าไม่ใช่โจทก์จงใจฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลให้โจทก์ระบุพยานและนัดสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 578/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ยื่นบัญชีระบุพยานเนื่องจากความเข้าใจผิด ศาลให้โอกาสแก้ไขเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานเพราะตัวโจทก์ซึ่งเป็นชาวชนบทอายุ 70 ปีเศษเข้าใจว่าศาลสั่งนัดพร้อมอีก(นัดพร้อมมา 3 ครั้งแล้ว) และบอกทนายโจทก์เช่นนั้นทนายโจทก์จึงมอบฉันทะให้เสมียนมาฟังคำสั่งและวันนัดสืบพยาน เช่นนี้ เห็นได้ว่าไม่ใช่โจทก์จงใจฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อประโยชน์แห่งความยุตธรรมศาลให้โจทก์ระบุพยานและนัดสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 495-500/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามในคดีเช่า เคหะควบคุม การวินิจฉัยเจตนาเช่าเป็นข้อเท็จจริง
คดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากห้องเช่าอันมีค่าเช่าไม่เกินเดือนละสองพันบาท ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง นั้น เมื่อคู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แต่ศาลชั้นต้นสั่งรับโดยเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย และศาลอุทธรณ์ก็วินิจฉัยให้ ดังนี้ เมื่อคู่ความนั้นฎีกาต่อมาอีกศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยให้ เพราะเมื่อเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามแล้ว ก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีแพ่งจากการยักยอกทรัพย์: การสะดุดหยุด และข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กรมป่าไม้ฟ้องจำเลย 2 คนว่า เป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ยักยอกเอาเงินไป ครั้นเมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 2 กระทำไปตามลำพังแล้ว ในชั้นอุทธรณ์ฎีกาโจทก์กลับอ้างอีกว่า จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อ ปล่อยให้จำเลยที่ 2 ยักยอกเงินไปจะให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดด้วย ข้ออ้างดังนี้ย่อมเป็นการนอกประเด็น
กรมป่าไม้เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งว่า จำเลย 2 คนเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ปลอมแปลงเอกสารราชการแล้วยักยอกเงินขอให้บังคับให้จำเลยร่วมกันคืนหรือใช้เงินจำนวนที่ยักยอกไปปรากฏว่าเรื่องนี้อัยการได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาแล้วคดียังไม่ถึงที่สุดต่อมาคดีอาญานั้นถึงที่สุดแล้วโดยศาลพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 เพราะฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ยักยอกเงิน ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น ปลอมแปลงเอกสารและยักยอกเงินตามลำพัง แต่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานและจะลงโทษฐานยักยอกก็ไม่ได้ เพราะไม่มีการร้องทุกข์จึงมีความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารราชการเท่านั้นดังนี้ ต้องถือว่าความเสียหายของโจทก์ ที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยใช้เงินในคดีแพ่งนี้เป็นผลจากการที่จำเลยทำละเมิดโดยยักยอกเงินจะเอาเหตุที่ศาลลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารว่าเป็นมูลแห่งสิทธิเรียกร้องเพื่อมิให้ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหาได้ไม่
บทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสองบัญญัติเพื่อให้มีผลบังคับสำหรับกรณีที่จะมีการฟ้องคดีแพ่งตามมาภายหลังที่ได้พิจารณาพิพากษาคดีอาญาเสร็จเด็ดขาดไปแล้วดังที่บัญญัติไว้ในวรรค 3 และ 4 รวมทั้งกรณีที่มีการฟ้องคดีแพ่งเข้ามาในระหว่างพิจารณาคดีอาญาด้วยคดีนี้อัยการฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาหาว่ายักยอกเงินและศาลพิพากษายกฟ้องจนคดีเสร็จเด็ดขาดไปแล้วกรณีจึงต้องตามบทบัญญัติวรรคสี่
อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 นั้นใช้บังคับเฉพาะในกรณีผู้เสียหายฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด แต่คดีนี้เป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินฟ้องเรียกเอาทรัพย์ที่ผู้ทำละเมิดยึดถือครอบครองของเขาไว้ในฐานละเมิดซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 จึงต้องใช้อายุความตามมาตรา 1382 และ 1383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีละเมิดและเรียกคืนทรัพย์สิน ยักยอกเงินไม่ใช่การปลอมเอกสาร
กรมป่าไม้ฟ้องจำเลย 2 คนว่า เป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ยักยอมเอาเงินไป ครั้นเมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 1 กระทำไปตามลำพังแล้ว ในชั้นอุทธรณ์ฎีกาโจทก์กลับอ้างอีกว่า จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อ ปล่อยให้จำเลยที่ 2 ยักยอกเงินไป จะให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดด้วย ข้ออ้างดังนี้ ย่อมเป็นการนอกประเด็น
กรมป่าไม้เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งว่า จำเลย 2 คนเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ ปลอมแปลงเอกสารราชการแล้วยักยอกเงิน ขอให้บังคับให้จำเลยร่วมกันคืนหรือใช้เงินจำนวนที่ยักยอกไป ปรากฏว่าเรื่องนี้อัยการได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาแล้ว คดียังไม่ถึงที่สุด ต่อมาคดีอาญานั้นถึงที่สุดแล้วโดยศาลพิพากาายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 เพราะฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ยักยอกเงิน ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น ปลอมแลปงเอกสารและยักยอกเงินตามลำพัง แต่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานและจะลงโทษฐานก็ไม่ได้ เพราะไม่มีการร้องทุกข์ จึงมีความผิดฐานปลอมแลงเอกสารราชการเท่านั้น ดังนี้ ต้องถือว่าความเสียหายของโจทก์ที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยใช้เงินในคดีแพ่งนี้เป็นผลจากการที่จำเลยทำละเมิดโดยักยอกเงิน จะเอาเหตุที่ศาลลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารว่าเป็นมูลแห่งสิทธิเรียกร้องเพื่อมิให้ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหาได้ไม่
บทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 51 วรรค 2 บัญญัติเพื่อให้มีผลบังคับสำหรับกรณีที่จะมีการฟ้องคดีแพ่งตามมาภายหลังที่ได้พิจารณาพิพากษาคดีอาญาเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว ดังที่บัญญัติไว้ในวรรค 3 และ 4 รวมทั้งกรณีที่มีการฟ้องคดีแพ่งเข้ามาในระหว่างพิจารณาคดีอาญาด้วย คดีนี้อัยการฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาหาว่ายักยอกเงินและศาลพิพาษกยกฟ้องจนคดีเสร็จเด็ดขาดไป แล้วกรณีจึงต้องตามบทบัญญัติวรรค 4
อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 นั้นใช้บังคับเฉพาะในกรณีผู้เสียหายฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด แต่คดีนี้เป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินฟ้องเรียกเอาทรัพย์ที่ผู้ทำละเมิดยึดถือครอบครองของเขาไว้ในฐานะละเมิด ซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 จึงต้องใช้อายุความตามมาตรา 1382 และ 1383
of 43