คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เจน เวชศิลป์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 424 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ประโยชน์ที่สาธารณะและการรอนสิทธิของเจ้าของที่ดินริมน้ำ การปลูกสร้างกีดขวางเป็นเหตุให้เจ้าของที่ดินมีสิทธิฟ้องร้อง
ที่ดินที่จำเลยปลูกเรือนแพอยู่อาศัยเป็นที่สาธารณประโยชน์เรือนแพของจำเลยอยู่ตรงหน้าที่ดินของโจทก์และใกล้ที่ดินของโจทก์ เห็นได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการที่จำเลยใช้ที่สาธารณประโยชน์ตรงหน้าที่ดินของโจทก์ จำเลยไม่มีสิทธิปลูกสร้างกีดขวางการใช้ที่สาธารณประโยชน์หน้าที่ดินของโจทก์ โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยได้
โจทก์จำเลยจะทำสัญญาเช่าสาธารณสมบัติของแผ่นดินมิได้ แต่โจทก์อาจจะยินยอมให้จำเลยทำการกีดขวางหน้าที่ดินของโจทก์ได้ และจะตกลงให้สินจ้างแลกเปลี่ยนในการที่โจทก์ยอมสละความสะดวกของตนก็ได้ แต่มิใช่เป็นการเช่า แม้จำเลยจะเคยเช่าที่ดินตรงที่ปลูกเรือนพิพาท เมื่อโจทก์บอกเลิกการเช่าและไม่ยินยอมให้เรือนพิพาทกีดขวางหน้าที่ดินต่อไปจำเลยจะอ้างความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขันฯ ไม่ได้ จำเลยต้องรื้อเรือนพิพาทออกไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งรื้อถอนอาคารของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและการไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารรื้อถอนอาคารที่นายช่างตรวจพบว่าไม่มั่นคงแข็งแรงหรือไม่ปลอดภัยได้ หากเจ้าของอาคารไม่ปฏิบัติตามหรือไม่อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวแก่การก่อสร้างอาคารภายใน 15 วัน เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นก็มีอำนาจรื้อถอนอาคารนั้นได้ ตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 มาตรา11 ทวิ วรรคสาม การที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นรื้อถอนอาคารจึงเป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่โดยชอบ ไม่มีมูลเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358นั้น หมายถึงการกระทำแก่ตัวทรัพย์ให้เสียหายฯ เช่นรื้อถอนตึกแถวลง ย่อมเป็นการกระทำแก่ตัวทรัพย์ ทำให้ตึกแถวถูกทำลายเสียหาย แต่เมื่อรื้อแล้ว ไม่นำวัตถุก่อสร้างไปมอบเจ้าของจนวัตถุก่อสร้างสูญหายไปนั้นหาใช่เป็นการกระทำแก่ตัวทรัพย์ไม่ จึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นสั่งรื้อถอนอาคารไม่มั่นคงแข็งแรง และความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารรื้อถอนอาคารที่นายช่างตรวจพบว่าไม่มั่นคงแข็งแรงหรือไม่ปลอดภัยได้ หากเจ้าของอาคารไม่ปฏิบัติตามหรือไม่อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวแก่การก่อสร้างอาคารภายใน 15 วัน เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นก็มีอำนาจรื้อถอนอาคารนั้นได้ ตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2478 มาตรา 11 ทวิ วรรค 3 การที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นรื้อถอนอาคาร จึงเป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่โดยชอบ ไม่มีมูลเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 นั้น หมายถึงการกระทำแก่ตัวทรัพย์ให้เสียหายฯ เช่น รื้อถอนตึกแถวลง ย่อมเป็นการการกระทำแก่ตัวทรัพย์ ทำให้ตึกแถวถูกทำลายเสียหาย แต่เมื่อรื้อแล้ว ไม่นำวัตถุก่อสร้างไปมอบเจ้าของจนวัตก่อสร้างสูญหายไปนั้น หาใช่เป็นการกระทำแก่ตัวทรัพย์ไม่ จึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1096/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระเงินหลังธนาคารปฏิเสธเช็ค: การเริ่มนับระยะเวลาตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.เช็ค
เมื่อธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงินตามเช็คของจำเลย การกระทำของจำเลยย่อมเป็นผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 3แล้ว จำเลยจะมีทางพ้นผิดได้ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามมาตรา 5 เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่าธนาคารมิได้บอกกล่าวให้จำเลยผู้ออกเช็คได้รับทราบว่าวธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงิน กับกรณีเรื่องนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ชำระเงินแก่ผู้ทรงเช็คแล้ว และการชำระเงินก็ยังไม่พ้นกำหนดเวลาดังระบุไว้ในมาตรา 5 เพราะธนาคารไม่ได้บอกกล่าวแก่จำเลยให้ทราบว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงยังไม่อาจเริ่มนับระยะเวลา และเมื่อไม่อาจเริ่มนับระยะเวลา จึงไม่มีทางจะถือว่าพ้นกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ได้ คดีจึงเป็นอันเลิกกัน พิพากษายกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1096/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้เช็คหลังธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน: การเริ่มนับระยะเวลาตามมาตรา 5
เมื่อธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงินตามเช็คของจำเลย การการกระทำของจำเลยย่อมเป็นผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 3 แล้วจำเลยจะมีทางพ้นผิดได้ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามมาตรา 5ซึ่งบัญญัติให้ผู้กระทำผิดนำเงินไปชำระแก่ผู้ทรงเช็คภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ธนาคารบอกกล่าวแก่ผู้ออกเช็คได้รับทราบว่าธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงิน เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่า ธนาคารมิได้บอกกล่าวให้จำเลยผู้ออกเช็คได้รับทราบว่าธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงิน กับกรณีเรื่องนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ชำระเงินแก่ผู้ทรงเช็คแล้ว และการชำระเงินก็ยังไม่พ้นกำหนดเวลาดังระบุไว้ในมาตรา 5 เพราะธนาคารไม่ได้บอกกล่าวแก่จำเลยให้ทราบว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงยังไม่อาจเริ่มนับระยะเวลาและเมื่อไม่อาจเริ่มนับระยะเวลา จึงไม่มีทางจะถือว่าพ้นกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ได้ คดีจึงเป็นอันเลิกกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1072/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความจริงในคดีหมิ่นประมาท: ประโยชน์ต่อประชาชนและความบริสุทธิ์ของพุทธศาสนา
โจทก์เป็นเจ้าคณะอำเภอ ฟ้องหาว่าจำเลยกล่าวคำหมิ่นประมาทใส่ความว่าโจทก์เข้าหานางชีที่ห้องวิปัสสนา เป็นเหตุให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง นั้น จำเลยขอพิสูจน์ความจริงได้ เพราะการพิสูจน์ความจริงของจำเลยย่อมเป็นประโยชน์แก่ประชาชน เนื่องจากประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ผู้เป็นศาสนิกชนย่อมหวงแหนที่จะมิให้ผู้ใดมาทำลายหรือทำความมัวหมองให้แก่พุทธศาสนาที่ตนนับถือ ยิ่งเมื่อจำเลยมาพิสูจน์ความจริงให้ประจักษ์ต่อศาลได้ ก็เป็นประโยชน์แก่คนทั่วไปที่จะได้ไม่มัวหลงเคารพเลื่อมใสโจทก์ต่อไป(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1072/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความจริงในคดีหมิ่นประมาทที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับความประพฤติของพระสงฆ์
โจทก์เป็นเจ้าคณะอำเภอ ฟ้องหาว่าจำเลยกล่าวคำหมิ่นประมาทใส่ความว่าโจทก์เข้าหานางชีที่ห้องวิปัสสนา เป็นเหตุให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชังนั้น จำเลยขอพิสูจน์ความจริงได้ เพราะการพิสูจน์ความจริงของจำเลยย่อมเป็นประโยชน์แก่ประชาชน เนื่องจากประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ผู้เป็นศาสนิกชนย่อมหวงแหนที่จะมิให้ผู้ใดมาทำลายหรือทำความมัวหมองให้แก่พุทธศาสนาที่ตนนับถือ ยิ่งเมื่อจำเลยมาพิสูจน์ความจริงให้ประจักษ์ต่อศาลได้ ก็เป็นประโยชน์แก่ผู้คนทั่วไปที่จะได้ไม่มัวหลงเคารพเลิ่อมใสโจทก์ต่อไป
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนพืชผลในที่พิพาท: สิทธิครอบครอง, คำสั่งเจ้าพนักงาน, และข้อจำกัดในการฎีกาข้อเท็จจริง
คดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริง การที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยนำสืบไม่ได้ว่าตนเองมีสิทธิพิเศษอย่างใด อันจะถือได้ว่า ทำลายทรัพย์สินของผู้อื่นไม่ผิด และไม่มีเจ้าพนักงานคนใดสั่งให้จำเลยทำลายทรัพย์สินของโจทก์ เช่นนี้ ฎีกาโจทก์เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกทำลายทรัพย์สิน: ปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่สามารถฎีกาได้
คดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริง การที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยนำสืบไม่ได้ว่าตนเองมีสิทธิพิเศษอย่างใด อันจะถือได้ว่าทำลายทรัพย์สินของผู้อื่นไม่ผิด และไม่มีเจ้าพนักงานคนใดสั่งให้จำเลยทำลายทรัพย์สินของโจทก์ เช่นนี้เป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1017/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่มีเงินรองรับ & เพิ่มโทษจำคุกซ้ำ: การกำหนดวันกระทำผิด & ผลของการรับสารภาพ
1.ฟ้องโจทก์กล่าวถึงข้อที่ว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกมาแล้ว อันจะเป็นเหตุให้ถูกเพิ่มโทษ และได้อ้างบทมาตราเรื่องเพิ่มโทษมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย เมื่อจำเลยให้การว่าขอรับสารภาพตามฟ้องก็ถือได้ว่ารับในข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างมาขอให้เพิ่มโทษด้วย
2.บุคคลใดทำเป็นหนังสือตราสารซึ่งมีรายการครบถ้วนบริบูรณ์ตามลักษณะดังที่กล่าวไว้ในมาตรา 487,488 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วก็เป็นเช็ค เมื่อผู้ทรงนำไปขึ้นเงินไม่ได้ (แม้จะเป็นเพราะบัญชีเงินฝากของบุคคลนั้นปิดเสียแล้วในขณะที่ออกเช็ค) ผู้ออกเช็คก็มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497
3.ในกรณีออกเช็คล่วงหน้า วันที่เขียนเช็คยังไม่ถือว่าเป็นวันออกเช็ค ต้องถือเอาวันที่ลงในเช็คเป็นวันออกเช็ค และตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 ต้องถือว่าวันออกเช็คเป็นวันที่เริ่มการกระทำอันจะก่อให้เกิดความผิด และความผิดได้เกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อยังไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันที่พ้นโทษในคดีเรื่องก่อน ย่อมเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2507 และ18/2507)
อนึ่ง ที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2507 ได้เห็นชอบให้ออกไปตามร่างคำพิพากษาฎีกานี้ได้
of 43