พบผลลัพธ์ทั้งหมด 85 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7395/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายทะเบียนสหกรณ์ในการเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ที่ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับและหลักการบัญชี
โจทก์ได้มีหนังสือขอความเห็นชอบในการจัดสรรกำไรสุทธิ ประจำปี 2537 ต่อจำเลยในฐานะนายทะเบียนสหกรณ์ จำเลย ก็มีหนังสือให้คำแนะนำแก่โจทก์ตามคำแนะนำของนายทะเบียนสหกรณ์ เกี่ยวกับการปฏิบัติทางบัญชี เรื่อง การ เอาประกันและ การจำหน่ายทรัพย์สินถาวรของสหกรณ์ แนะนำให้โจทก์จัดสรร เป็นเงินสำรอง ค่าบำรุงสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย และจัดสรรเป็นเงินปันผลตามหุ้นที่ชำระแล้ว กำไรสุทธิที่เหลือ ให้สมทบเป็นเงินสำรองทั้งสิ้น เมื่อจำเลยมีหนังสือแนะนำ การปฏิบัติให้โจทก์ทราบดังกล่าวแล้ว และตามข้อบังคับของโจทก์ ข้อ 33 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของที่ประชุมใหญ่ว่า ที่ประชุมใหญ่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยปัญหาทุกอย่าง ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับกิจการของสหกรณ์ซึ่งรวมทั้งในข้อต่อไปนี้ (14) พิเคราะห์และปฏิบัติตามข้อบันทึกของนายทะเบียนสหกรณ์ ฯลฯ แต่ที่ประชุมใหญ่ของโจทก์กลับไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อแนะนำ ของจำเลย โดยในการประชุมใหญ่เพื่อจัดสรรกำไรสุทธิประจำปี 2537 ได้ลงมติให้นำกำไรสุทธิมาจัดสรรเป็นเงินเฉลี่ยคืนตามส่วน แห่งราคาสินค้าที่สมาชิกได้ซื้อร้อยละ 4 จ่ายเป็นเงินโบนัส แก่กรรมการดำเนินการผู้จัดการ และเจ้าหน้าที่ร้อยละ 5จ่ายเป็นทุนส่งเสริมสวัสดิการแก่เจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ร้อยละ 10 และจ่ายเป็นทุนรักษาระดับการจ่ายเงินปันผลร้อยละ 10 นอกเหนือจากที่จำเลยแนะนำไว้ ดังนี้ย่อมเห็นได้ว่ามติที่ประชุมใหญ่ของโจทก์ดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อแนะนำของจำเลย ซึ่งเป็นคำแนะนำการปฏิบัติทางบัญชี เรื่อง การเอาประกันและการจำหน่ายทรัพย์สินถาวรของสหกรณ์ เพื่อให้การปฏิบัติทางบัญชี ของสหกรณ์ที่มีการเอาประกันและการจำหน่ายทรัพย์สินถาวรเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ทั้งชอบด้วยหลักการของสหกรณ์ด้วย ดังนั้น เมื่อจำเลยเห็นว่ามติของที่ประชุมใหญ่ของโจทก์ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อแนะนำของจำเลยโดยชัดแจ้ง อันเป็นการขัดต่อข้อบังคับของโจทก์ข้อ 33(14)จำเลยจึงอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511มาตรา 46 สั่งเพิกถอนมตินั้นได้โดยชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งของจำเลยที่ให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ของโจทก์นั้นจำเลยในฐานะนายทะเบียนสหกรณ์สั่งโดยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 มาตรา 46 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะที่ใช้บังคับแก่สหกรณ์จำกัดเท่านั้นโดยมุ่งประโยชน์เพื่อควบคุมดูแล กำกับให้การดำเนินการของสหกรณ์จำกัดทุกแห่งเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นประโยชน์แก่สมาชิกทั้งมวลจำเลยในฐานะนายทะเบียนหาได้มีผลประโยชน์ใด ๆ ในสหกรณ์จำกัดไม่ ระยะเวลาในการเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ของโจทก์ จึงไม่อยู่ในระยะเวลาที่กำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195 และเมื่อจำเลยได้เพิกถอนมติดังกล่าว ก่อนการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2538 ของโจทก์ กรณีถือได้ว่า จำเลยได้ดำเนินการภายในระยะเวลาอันสมควร ทั้งการกระทำ ของจำเลยก็มิใช่เป็นการมิได้ใช้บังคับซึ่งสิทธิเรียกร้อง ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/9 จึงไม่ขาดอายุความตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5510/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวการประชุมผู้ถือหุ้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่งผลให้มติที่ประชุมเป็นโมฆะ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1175 และ 1195ได้บัญญัติ เรื่องการบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ไว้โดยมุ่งประสงค์ให้มีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าว่าบริษัทจะได้จัดให้มีการประชุมใหญ่ในกิจการใด ที่ใด เมื่อใด เพื่อผู้ถือหุ้นจะได้มีโอกาสเตรียมตัวสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นได้โดยเต็มที่ ไม่ให้ผู้บริหารเอาเปรียบรวบรัดในการประชุมแม้ว่าบทบัญญัติดังกล่าวจะมิได้บังคับโดยเด็ดขาดว่าถ้าไม่ปฏิบัติตามแล้วการแจ้งดังกล่าวจะต้องเป็นโมฆะเสียเปล่าก็ตาม แต่ก็ให้สิทธิกรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบนั้นเสียโดยต้องร้องขอภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันลงมตินั้นถ้าหากไม่มีการร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบภายในเดือนหนึ่งแล้ว มติของที่ประชุมดังกล่าวก็มีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ ผู้ใดจะขอให้เพิกถอนไม่ได้ดังนั้น เมื่อคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ของผู้คัดค้านที่ส่งไปยังผู้ร้องก่อนวันนัดประชุมน้อยกว่าเจ็ดวันทั้งไม่ปรากฏว่ามีการแจ้งให้ผู้ร้องทราบคำบอกกล่าวก่อนกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 1175ดังกล่าวข้างต้น การนัดเรียกประชุมใหญ่ในครั้งนี้จึงไม่ชอบและเป็นผลให้มติของที่ประชุมใหญ่ในวันดังกล่าวเป็นมติอันผิดระเบียบตามมาตรา 1195 ซึ่งกรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดสามารถร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5510/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และผลกระทบต่อมติที่ประชุม
ป.พ.พ.มาตรา 1175 และ 1195 ได้บัญญัติเรื่องการบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ไว้โดยมุ่งประสงค์ให้มีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าว่าบริษัทจะได้จัดให้มีการประชุมใหญ่ในกิจการใด ที่ใด เมื่อใด เพื่อผู้ถือหุ้นจะได้มีโอกาสเตรียมตัวสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นได้โดยเต็มที่ ไม่ให้ผู้บริหารเอาเปรียบรวบรัดในการประชุม แม้ว่าบทบัญญัติดังกล่าวจะมิได้บังคับโดยเด็ดขาดว่าถ้าไม่ปฏิบัติตามแล้วการแจ้งดังกล่าวจะต้องเป็นโมฆะเสียเปล่าก็ตาม แต่ก็ให้สิทธิกรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบนั้นเสีย โดยต้องร้องขอภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันลงมตินั้นถ้าหากไม่มีการร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบภายในเดือนหนึ่งแล้ว มติของที่ประชุมดังกล่าวก็มีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ ผู้ใดจะขอให้เพิกถอนไม่ได้ ดังนั้น เมื่อคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ของผู้คัดค้านที่ส่งไปยังผู้ร้องก่อนวันนัดประชุมน้อยกว่าเจ็ดวัน ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการแจ้งให้ผู้ร้องทราบคำบอกกล่าวก่อนกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 1175ดังกล่าวข้างต้น การนัดเรียกประชุมใหญ่ในครั้งนี้จึงไม่ชอบและเป็นผลให้มติของที่ประชุมใหญ่ในวันดังกล่าวเป็นมติอันผิดระเบียบตามมาตรา 1195 ซึ่งกรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดสามารถร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7516/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจที่ประชุมผู้ถือหุ้นในการรับรอง/ยกเลิกความรับผิดของกรรมการ และขอบเขตการเพิกถอนมติ
ตามรายงานการประชุมมีลักษณะเป็นการรับรองหรือให้ความเห็นชอบต่อการกระทำของกรรมการที่ได้กระทำไปในรอบปีที่ผ่านมาและมีอำนาจที่จะลงมติเช่นนั้นได้ไม่ปรากฏว่าที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นยกเลิกความรับผิดชอบของกรรมการที่ได้กระทำไปโดยชอบที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นได้ลงมติปลดหรือยกเลิกการกระทำของกรรมการที่ได้กระทำความผิดหรือกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายหรือข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่1แต่อย่างใดและไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะ22บัญญัติห้ามมิให้ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นลงมติเช่นนี้ได้การที่ที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีของบริษัทจำเลยที่1ลงมติเช่นนี้จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1195
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7516/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นในการรับรองการกระทำของกรรมการ และขอบเขตการลงมติ
ตามรายงานการประชุม มีลักษณะเป็นการรับรอง หรือให้ความเห็นชอบต่อการกระทำของกรรมการที่ได้กระทำไปในรอบปีที่ผ่านมา และมีอำนาจที่จะลงมติเช่นนั้นได้ ไม่ปรากฏว่าที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นยกเลิกความรับผิดชอบของกรรมการที่ได้กระทำไปโดยชอบ ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นได้ลงมติปลดหรือยกเลิกการกระทำของกรรมการที่ได้กระทำความผิดหรือกระทำการฝ่าฝืนกฎหมาย หรือข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด และไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายในป.พ.พ. ลักษณะ 22 บัญญัติห้ามมิให้ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นลงมติเช่นนี้ได้ การที่ที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีของบริษัทจำเลยที่ 1 ลงมติเช่นนี้จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1195
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6063/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีออกจากสารบบเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสถานะทางธุรกิจ ทำให้คำร้องขอเพิกถอนมติเดิมไม่มีประโยชน์
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทผู้คัดค้านที่เลือกตั้งกรรมการของบริษัทผู้คัดค้าน และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทผู้คัดค้านซึ่งลงมติให้ ส.พ.และช. เป็นกรรมการเมื่อปรากฏตามฎีกาของผู้คัดค้านและคำแก้ฎีกาของผู้ร้องว่าได้มีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของผู้คัดค้านที่ประชุมลงมติให้แปรสภาพบริษัทผู้คัดค้านเป็นบริษัทมหาชน จำกัด และกรรมการของบริษัทผู้คัดค้านทุกคนหมดสภาพไปตามการลงมติเป็นบริษัทมหาชน จำกัดพร้อมทั้งที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์เลือกตั้งกรรมการชุดใหม่แล้ว จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยฎีกาของผู้คัดค้านต่อไป เพราะคำร้องของผู้ร้องไม่อยู่ในวิสัยที่จะบังคับคดีให้เป็นไปได้ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความของศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6063/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นหลังการแปรสภาพบริษัทเป็นบริษัทมหาชนจำกัด
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทผู้คัดค้านที่เลือกตั้งกรรมการของบริษัทผู้คัดค้าน และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทผู้คัดค้าน ซึ่งลงมติให้ ส. พ. และ ช.เป็นกรรมการ เมื่อปรากฏตามฎีกาของผู้คัดค้านและคำแก้ฎีกาของผู้ร้องว่าได้มีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของผู้คัดค้านที่ประชุมลงมติให้แปรสภาพบริษัทผู้คัดค้านเป็นบริษัทมหาชน จำกัด และกรรมการของบริษัทผู้คัดค้านทุกคนหมดสภาพไปตามการลงมติเป็นบริษัทมหาชน จำกัด พร้อมทั้งที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์เลือกตั้งกรรมการชุดใหม่แล้ว จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยฎีกาของผู้คัดค้านต่อไป เพราะคำร้องของผู้ร้องไม่อยู่ในวิสัยที่จะบังคับคดีให้เป็นไปได้ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความของศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6557/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการฟ้องเพิกถอนมติสภาเทศบาล: ต้องมีกฎหมายบัญญัติอำนาจไว้ชัดเจน
การที่บุคคลจะใช้สิทธิทางศาลได้จะต้องเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้ แต่พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มิได้บัญญัติให้บุคคลใช้สิทธิทางศาลในเรื่องที่จะขอให้เพิกถอนการประชุมสภาเทศบาลและมติของที่ประชุมสภาเทศบาลไว้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธินำคดีมาสู่ศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 เมื่อพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ได้บัญญัติเกี่ยวกับสภาเทศบาลไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงนำบทบัญญัติ มาตรา 1195 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาวินิจฉัยคดีหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มติที่ประชุมใหญ่เลิกบริษัท แม้การเรียกประชุมไม่ถูกต้องตามขั้นตอน ก็มีผลบังคับใช้ได้จนกว่าศาลจะมีคำสั่งเพิกถอน
ส.กรรมการของโจทก์ได้เรียกประชุมใหญ่โดยจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นกรรมการด้วยไม่ได้มีมติให้นัดเรียกประชุมใหญ่ การนัดเรียกประชุมใหญ่จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.ลักษณะหุ้นส่วนบริษัท แต่หาทำให้การประชุมใหญ่และมติที่เกิดขึ้นเสียไปหรือตกเป็นโมฆะไม่ จนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบนั้นเสียก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1195
เมื่อยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว ต้องถือว่าการนัดเรียกประชุมและการประชุมใหญ่ที่ได้ลงมติพิเศษให้เลิกบริษัทและตั้งผู้ชำระบัญชีซึ่งศาลยังไม่ได้พิพากษาเพิกถอน มีผลเป็นการนัดเรียกประชุมและประชุมใหญ่ตามกฎหมายแล้วมติพิเศษให้เลิกบริษัทและตั้งผู้ชำระบัญชีจึงมีผลบังคับตามกฎหมาย โจทก์โดยผู้ชำระบัญชีจึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองหยุดประกอบกิจการในนามของโจทก์และส่งมอบเอกสารต่าง ๆ ของโจทก์ให้แก่ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ได้
เมื่อยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว ต้องถือว่าการนัดเรียกประชุมและการประชุมใหญ่ที่ได้ลงมติพิเศษให้เลิกบริษัทและตั้งผู้ชำระบัญชีซึ่งศาลยังไม่ได้พิพากษาเพิกถอน มีผลเป็นการนัดเรียกประชุมและประชุมใหญ่ตามกฎหมายแล้วมติพิเศษให้เลิกบริษัทและตั้งผู้ชำระบัญชีจึงมีผลบังคับตามกฎหมาย โจทก์โดยผู้ชำระบัญชีจึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองหยุดประกอบกิจการในนามของโจทก์และส่งมอบเอกสารต่าง ๆ ของโจทก์ให้แก่ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นถึงแม้การเรียกประชุมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ยังผูกพันได้หากศาลยังไม่ได้เพิกถอน
ส. กรรมการของโจทก์ได้เรียกประชุมใหญ่โดยจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นกรรมการด้วยไม่ได้มีมติให้นัดเรียกประชุมใหญ่ การนัดเรียกประชุมใหญ่จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะหุ้นส่วนบริษัท แต่หาทำให้การประชุมใหญ่และมติที่เกิดขึ้นเสียไปหรือตกเป็นโมฆะไม่ จนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบนั้นเสียก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195 เมื่อยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว ต้องถือว่าการนัดเรียกประชุมและการประชุมใหญ่ที่ได้ลงมติพิเศษให้เลิกบริษัทและตั้งผู้ชำระบัญชีซึ่งศาลยังไม่ได้พิพากษาเพิกถอน มีผลเป็นการนัดเรียกประชุมและประชุมใหญ่ตามกฎหมายแล้ว มติพิเศษให้เลิกบริษัทและตั้งผู้ชำระบัญชีจึงมีผลบังคับตามกฎหมาย โจทก์โดยผู้ชำระบัญชีจึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองหยุดประกอบกิจการในนามของโจทก์และส่งมอบเอกสารต่าง ๆ ของโจทก์ให้แก่ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ได้