พบผลลัพธ์ทั้งหมด 129 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราจนถึงแก่ความตาย ศาลฎีกาแก้เป็นประหารชีวิต ลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต
ความผิดฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงและเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำถึงแก่ความตาย ตาม ป.อ. มาตรา 277 ตรี (2) เป็นความผิดที่เป็นผลมาจากการกระทำความผิดฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง ตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคสาม (เดิม) ทำให้ผู้กระทำความผิดต้องรับโทษหนักขึ้น ไม่ว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นหรือไม่ก็ตาม ผลของการกระทำความผิดนั้นซึ่งได้แก่ความตายของผู้ถูกกระทำจึงต้องเป็นผลที่ตามธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้ ตาม ป.อ. มาตรา 63
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ร่วมกันให้ผู้ตายเสพ 3,4 เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน (ยาอี) คีตามีน (ยาเค) และไนเมตาซีแพม (ยาไฟว์) เข้าสู่ร่างกายเพื่อให้ผู้ตายมึนเมาเคลิบเคลิ้มหรือประสาทหลอน จนอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนต่อการกระทำใด ๆ ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ได้ ย่อมเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายผู้ตายตาม ป.อ. มาตรา 1 (6) และเป็นการกระทำที่รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับการกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในการร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้ตาย ไม่อาจแยกออกจากกันเป็นคนละส่วนได้ และการที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ร่วมกันใช้กำลังประทุษร้ายผู้ตายด้วยการนำสารเสพติดเข้าสู่ร่างกายของผู้ตายจนเกินขนาด แล้วผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันข่มขืนกระทำชำเราผู้ตายในขณะที่สภาพร่างกายของผู้ตายอ่อนแออย่างมากจากพิษของสารเสพติดย่อมเรียกได้ว่าเป็นการกระทำต่อผู้ตายทั้งการใช้กำลังประทุษร้ายและการข่มขืนกระทำชำเราด้วยความรุนแรงเกินกว่าที่ร่างกายของผู้ตายจะทนทานได้ จึงต้องถือว่าความตายของผู้ตายเป็นผลโดยตรงและเป็นผลที่ตามธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้จากการกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ร่วมกันให้ผู้ตายเสพ 3,4 เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน (ยาอี) คีตามีน (ยาเค) และไนเมตาซีแพม (ยาไฟว์) เข้าสู่ร่างกายเพื่อให้ผู้ตายมึนเมาเคลิบเคลิ้มหรือประสาทหลอน จนอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนต่อการกระทำใด ๆ ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ได้ ย่อมเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายผู้ตายตาม ป.อ. มาตรา 1 (6) และเป็นการกระทำที่รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับการกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในการร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้ตาย ไม่อาจแยกออกจากกันเป็นคนละส่วนได้ และการที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ร่วมกันใช้กำลังประทุษร้ายผู้ตายด้วยการนำสารเสพติดเข้าสู่ร่างกายของผู้ตายจนเกินขนาด แล้วผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันข่มขืนกระทำชำเราผู้ตายในขณะที่สภาพร่างกายของผู้ตายอ่อนแออย่างมากจากพิษของสารเสพติดย่อมเรียกได้ว่าเป็นการกระทำต่อผู้ตายทั้งการใช้กำลังประทุษร้ายและการข่มขืนกระทำชำเราด้วยความรุนแรงเกินกว่าที่ร่างกายของผู้ตายจะทนทานได้ จึงต้องถือว่าความตายของผู้ตายเป็นผลโดยตรงและเป็นผลที่ตามธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้จากการกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7262/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามเรื่องข้อเท็จจริงใหม่ที่ไม่ปรากฏในฟ้องเดิม แม้การตายของผู้เสียหายจะเป็นผลจากการกระทำจำเลย
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมทั้งสองเข้าร่วมเป็นโจทก์โดยถือเอาคำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องของโจทก์ร่วมทั้งสองด้วย ซึ่งตามคำฟ้องดังกล่าวระบุว่า จำเลยใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วมที่ 2 เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัส ต้องทุพพลภาพและเจ็บป่วยด้วยอาการทุกขเวทนาและจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน ดังนั้น ที่โจทก์ร่วมทั้งสองฎีกาว่า โจทก์ร่วมที่ 2 ได้ถึงแก่ความตายภายหลังโจทก์ร่วมทั้งสองยื่นอุทธรณ์แล้ว การตายของโจทก์ร่วมที่ 2 เป็นความสัมพันธ์และเป็นผลธรรมดาที่เกิดจากการกระทำของจำเลยย่อมเกิดขึ้นได้ตาม ป.อ. มาตรา 63 อันมีผลทำให้จำเลยต้องได้รับโทษหนักขึ้นนั้น เป็นการอ้างข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่แตกต่างจากข้อเท็จจริงที่ระบุในฟ้องดังกล่าว จึงเป็นข้อที่มิได้กล่าวในฟ้องและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7235/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกาย แม้ไม่ได้ลงมือเองโดยตรง และผลกระทบของ พ.ร.บ. ล้างมลทิน ต่อการเพิ่มโทษ
กรณีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 299 นั้น ต้องเป็นการชุลมุนต่อสู้กันระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป และมีบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป และมีบุคคลได้รับอันตรายสาหัสโดยไม่ทราบว่าผู้ใดหรือผู้ใดร่วมกับใครทำร้ายจนได้รับอันตรายสาหัส แต่หากสามารถรู้และแบ่งฝ่ายแบ่งพวกกันได้ ทั้งรู้ว่าผู้ใดหรือฝ่ายใดเป็นผู้ลงมือทำร้ายย่อมลงโทษผู้นั้นกับพวกได้ตามเจตนาและผลของการกระทำ เมื่อข้อเท็จจริงในคดีนี้ได้ความว่าจำเลยกับพวกฝ่ายหนึ่งและผู้เสียหายกับพวกฝ่ายหนึ่งวิวาทต่อสู้กัน แล้วพวกของจำเลยเป็นผู้ใช้มีดฟันทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ย่อมมิใช่กรณีตาม ป.อ. มาตรา 299 และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ที่ใช้มีดฟันทำร้ายผู้เสียหาย คือ น. ซึ่งเป็นพวกของจำเลยที่เข้าร่วมในการทะเลาะวิวาทกับผู้เสียหายด้วย จำเลยซึ่งมีเจตนาทำร้ายผู้เสียหายย่อมต้องรับผลอันเป็นธรรมดา ย่อมเกิดขึ้นจากการนั้นในฐานเป็นตัวการแม้มิได้เป็นผู้ลงมือใช้มีดฟันทำร้ายผู้เสียหายด้วยตนเองก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1867/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายทางกาย แม้ไม่มีเจตนาทำร้าย แต่ผลที่เกิดขึ้นย่อมคาดการณ์ได้ และความผิดฐานพาอาวุธมีอายุความ
จำเลยใช้อาวุธมีดปลายแหลมจี้ขู่ผู้เสียหายและเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายและรถยนต์ของบิดาของผู้เสียหายที่อยู่ในความครอบครองของผู้เสียหายไปและเมื่อการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายเป็นผลให้จำเลยก็ต้องรับโทษหนักขึ้น แม้จำเลยจะฎีกาว่า ผู้เสียหายได้รับบาดแผลที่ต้นแขนซ้ายจากมีดของจำเลยเนื่องจากอุบัติเหตุ จำเลยไม่มีเจตนาทำร้ายผู้เสียหายซึ่งสอดคล้องกับที่ผู้เสียหายเบิกความ ผู้เสียหายไม่ทราบว่าไปโดนคมมีดตอนไหน เข้าใจว่าคงจะโดนตอนที่กลับตัวมาไขกุญแจรถ บาดแผลจึงไม่ได้เกิดจากจำเลยมีเจตนาใช้มีดทำร้ายผู้เสียหายก็ตามก็ไม่ใช่ข้อสำคัญ เพราะการที่จำเลยจะรับโทษหนักขึ้นด้วยเหตุที่ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายนั้น จำเลยไม่จำต้องกระทำโดยมีเจตนา เพียงแต่พิจารณาว่าผลที่ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายนั้น เป็นผลที่ตามธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้ตาม ป.อ. มาตรา 63 หรือไม่ เมื่อการที่จำเลยใช้มีดปลายแหลมจี้ผู้เสียหาย การที่ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายจากมีดนั้น จึงย่อมเป็นผลธรรมดาที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยแล้ว จำเลยมีความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กาย
อนึ่ง ความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรตาม ป.อ. มาตรา 371 มีระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท จึงมีอายุความ 1 ปี นับแต่วันกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2545 เมื่อนับแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2543 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยกระทำผิดแล้วเป็นเวลาเกิน 1 ปี ความผิดฐานนี้จึงขาดอายุความที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันมาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 ด้วยจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
อนึ่ง ความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรตาม ป.อ. มาตรา 371 มีระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท จึงมีอายุความ 1 ปี นับแต่วันกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2545 เมื่อนับแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2543 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยกระทำผิดแล้วเป็นเวลาเกิน 1 ปี ความผิดฐานนี้จึงขาดอายุความที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันมาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 ด้วยจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1867/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์ทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตราย ผลของการกระทำเป็นเหตุให้เกิดอันตรายตามธรรมชาติ และอายุความความผิดพาอาวุธ
จำเลยใช้อาวุธมีดปลายแหลมจี้ขู่ผู้เสียหายและเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายและรถยนต์ของบิดาของผู้เสียหายไป เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายจำเลยก็ต้องรับโทษหนักขึ้น แม้ผู้เสียหายได้รับบาดแผลที่ต้นแขนซ้ายจากมีดของจำเลยเนื่องจากอุบัติเหตุ จำเลยไม่มีเจตนาทำร้ายผู้เสียหาย ก็ไม่ใช่ข้อสำคัญ เพราะการที่จำเลยจะรับโทษหนักขึ้นด้วยเหตุที่ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายนั้น จำเลยไม่จำต้องกระทำโดยมีเจตนา เพียงแต่พิจารณาว่าผลที่ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายนั้น เป็นผลที่ตามธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้ตาม ป.อ. มาตรา 63 หรือไม่ เมื่อจำเลยใช้มีดปลายแหลมจี้ผู้เสียหายการที่ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายจากมีดนั้นจึงย่อมเป็นผลธรรมดาที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยแล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายตามมาตรา 339 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2803/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาทขับรถบรรทุกในเขตชุมชน หักหลบกระทันหันชนรถสวนทาง ผู้ตายไม่มีส่วนประมาท
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อบรรทุกทรายเต็มคันรถในเขตชุมชนใกล้ทางแยกเข้าหมู่บ้านกฤษดานคร ตามหลังรถยนต์กระบะไปตามถนน ควรใช้ความเร็วต่ำและเว้นระยะให้ห่างมากพอที่จะหยุดรถได้ทันโดยไม่ให้ชนรถคันหน้ายิ่งมีฝนตกและเป็นเวลากลางคืน ควรต้องระมัดระวังเว้นระยะให้ห่างมากขึ้น การที่จำเลยที่ 1 ต้องหักหลบไปทางขวาเมื่อรถยนต์กระบะต้องหยุดรถเพราะมีรถยนต์ออกจากปั๊มน้ำมัน ก็เกิดจากจำเลยที่ 1 เกรงว่าจะหยุดไม่ทันเนื่องจากบรรทุกของหนักเป็นเครื่องแสดงอยู่ในตัวว่ารถยนต์บรรทุกสิบล้อที่จำเลยที่ 1 ขับจะต้องใช้ความเร็วสูงทั้งไม่เว้นระยะให้ห่างรถยนต์กระบะซึ่งขับอยู่ข้างหน้าให้อยู่ในระยะที่สามารถหยุดรถได้ทันโดยไม่ต้องหักหลบเช่นนั้น รถของจำเลยที่ 1 จึงล้ำเข้าไปในช่องเดินรถที่ผู้ตายขับรถยนต์สวนมาและเกิดเหตุชนกับรถที่ผู้ตายขับในช่องเดินรถของผู้ตายเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงเป็นผลโดยตรงจากการขับรถโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นจำเลยที่ 1 จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และจำเลยที่ 1 อาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ จึงเป็นการขับรถโดยประมาทและกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 43 (4), 157 และ ป.อ. มาตรา 291 แม้จะมีรถยนต์บรรทุกสิบล้อที่จำเลยที่ 2 ขับตามหลังมาไม่สามารถหยุดรถได้ทัน ก็หามีผลให้การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดและการขับรถยนต์ประมาทของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวไม่ตัดความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นแก่ผู้ตาย ส่วนกรณีที่ตรวจพบแอลกอฮอล์ 0.239 กรัมเปอร์เซ็นต์ ซึ่งปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดระดับนี้มีผลต่อร่างกาย ทำให้การตัดสินใจผิดพลาดได้นั้น ก็ถือว่าผู้ตายมิได้มีส่วนประมาทก่อให้เกิดเหตุชนกันขึ้น ไม่อาจทำให้ผู้ตายหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดเหตุชนกันได้ จึงไม่อาจทำให้จำเลยที่ 1 พ้นผิดไปได้ และกรณีไม่อาจรอการลงโทษให้แก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 56 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4904/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักขัง ทำร้ายร่างกาย และความรับผิดทางอาญาต่อการเสียชีวิตของผู้ถูกกระทำ
ผู้ตายและผู้เสียหายทั้งสามถูกกักขังและถูกทำร้ายร่างกายในลักษณะการทรมานอยู่ในห้องพักที่เกิดเหตุเป็นระยะเวลาประมาณ 3 เดือน โดยไม่มีหนทางหลบเลี่ยงให้พ้นจากการถูกทรมานหรือขอความช่วยเหลือจากผู้ใดได้เห็นได้ว่าผู้เสียหายทั้งสามและผู้ตายต้องตกอยู่ในสภาพถูกบีบคั้นทารุณทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงติดต่อกันเป็นเวลานาน การที่ผู้ตายตัดสินใจกระโดดจากห้องพักเพื่อฆ่าตัวตายนั้นอาจเป็นเพราะผู้ตายมีสภาพจิตใจที่เปราะบางกว่าผู้เสียหายอื่น และไม่อาจทนทุกข์ทรมานได้เท่ากับผู้เสียหายอื่นจึงได้ตัดสินใจกระทำเช่นนั้นเพื่อให้พ้นจากการต้องทนทุกข์ทรมาน พฤติการณ์ฟังได้ว่าการตายของผู้ตายมีสาเหตุโดยตรงมาจากการถูกทรมานโดยทารุณโหดร้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการถีบผู้โดยสารตกจากรถ ความรับผิดทางอาญาต่อการกระทำที่เล็งเห็นผลถึงชีวิต
จำเลยเข้าร่วมทำร้ายผู้ตายกับผู้เสียหายที่ 1 การที่จำเลยกับพวกช่วยกันถีบผู้ตายกับผู้เสียหายที่ 1 ตกจากรถยนต์โดยสารขณะที่รถยนต์นั้นกำลังแล่นด้วยความเร็วประมาณ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าผู้ตายอาจไปกระแทกผู้เสียหายที่ 2 ที่ยืนอยู่ตรงบันไดตกจากรถไปด้วยกันได้และศีรษะกับลำตัวของผู้ตายหรือของผู้เสียหายทั้งสองอาจกระแทกกับพื้นถนนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังปรากฏว่าผู้ตายมีเลือดออกในผนังหัวใจ ในปอดและกระบังลม เนื้อสมองบวมทั้งสมองอันเกิดจากแรงภายนอกกระทำต่อศีรษะและหน้าอกของผู้ตายอย่างรุนแรงอันถือได้ว่าเป็นผลธรรมดาจากการกระทำของจำเลยกับพวก การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่า จำเลยจึงต้องมีความผิดฐานฆ่าผู้ตายและพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8889/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังคำให้การพยานชั้นสอบสวนประกอบการพิจารณาคดีอาญา และการพิสูจน์ความตายจากบาดแผล
โจทก์มีประจักษ์พยานรู้เห็นใกล้ชิดมาให้การต่อพนักงานสอบสวนแต่ประจักษ์พยานโจทก์เบิกความในชั้นศาลเพื่อช่วยเหลือจำเลย ศาลจึงนำคำให้การของพยานโจทก์ดังกล่าวชั้นสอบสวนมาฟังประกอบข้อพิจารณาของศาลได้ทั้งไม่มีบทบัญญัติใดห้ามมิให้ศาลรับฟังคำให้การชั้นสอบสวนหรือให้รับฟังแต่เฉพาะพยานที่มาเบิกความต่อศาลเท่านั้น เมื่อคำให้การชั้นสอบสวนเกิดขึ้นโดยสมัครใจของพยานโจทก์ ศาลจึงนำคำให้การพยานชั้นสอบสวนมาฟังประกอบได้
ผู้ตายถูกจำเลยใช้มีดอีโต้ขนาดยาวประมาณ 1 ศอก ฟันที่บริเวณศีรษะและท้อง กะโหลกศีรษะแตกมีสมองไหลไม่รู้สึกตัวเมื่อมาโรงพยาบาลจนแพทย์ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดและเย็บแผลให้ แม้แผลภายนอกจะหาย แต่ผู้ตายก็ยังมีอาการไม่สามารถพูดได้รับฟังไม่รู้เรื่อง แม้จะออกจากโรงพยาบาลมานอนรักษาตัวต่อที่บ้านอาการผู้ตายก็คงเช่นเดิม การที่จำเลยใช้มีดอีโต้ขนาดใหญ่ฟันที่บริเวณท้องและที่ศีรษะซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญจนเป็นเหตุให้ผู้ตายกะโหลกศีรษะแตกมีสมองไหลเห็นได้ชัดว่าเป็นการฟันอย่างแรง แสดงว่าจำเลยฟันโดยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา ความตายของผู้ตายย่อมเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ใช้มีดอีโต้ฟัน จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตาย
ผู้ตายถูกจำเลยใช้มีดอีโต้ขนาดยาวประมาณ 1 ศอก ฟันที่บริเวณศีรษะและท้อง กะโหลกศีรษะแตกมีสมองไหลไม่รู้สึกตัวเมื่อมาโรงพยาบาลจนแพทย์ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดและเย็บแผลให้ แม้แผลภายนอกจะหาย แต่ผู้ตายก็ยังมีอาการไม่สามารถพูดได้รับฟังไม่รู้เรื่อง แม้จะออกจากโรงพยาบาลมานอนรักษาตัวต่อที่บ้านอาการผู้ตายก็คงเช่นเดิม การที่จำเลยใช้มีดอีโต้ขนาดใหญ่ฟันที่บริเวณท้องและที่ศีรษะซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญจนเป็นเหตุให้ผู้ตายกะโหลกศีรษะแตกมีสมองไหลเห็นได้ชัดว่าเป็นการฟันอย่างแรง แสดงว่าจำเลยฟันโดยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา ความตายของผู้ตายย่อมเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ใช้มีดอีโต้ฟัน จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8889/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังคำให้การชั้นสอบสวนประกอบการพิจารณาคดี และเจตนาฆ่าจากการกระทำด้วยอาวุธอันตราย
โจทก์มีประจักษ์พยานรู้เห็นใกล้ชิดมาให้การต่อพนักงานสอบสวนแต่ประจักษ์พยานโจทก์เบิกความในชั้นศาลเพื่อช่วยเหลือจำเลย ศาลจึงนำคำให้การของพยานโจทก์ดังกล่าวชั้นสอบสวนมาฟังประกอบข้อพิจารณาของศาลได้ ทั้งไม่มีบทบัญญัติใดห้ามมิให้ศาลรับฟังคำให้การชั้นสอบสวนหรือให้รับฟังแต่เฉพาะพยานที่มาเบิกความต่อศาลเท่านั้น เมื่อคำให้การชั้นสอบสวนเกิดขึ้นโดยสมัครใจของพยานโจทก์ ศาลจึงนำคำให้การพยานชั้นสอบสวนมาฟังประกอบได้
ผู้ตายถูกจำเลยใช้มีดอีโต้ขนาดยาวประมาณ 1 ศอก ฟันที่บริเวณศีรษะและท้อง กะโหลกศีรษะแตกมีสมองไหลไม่รู้สึกตัวเมื่อมาโรงพยาบาลจนแพทย์ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดและเย็บแผลให้ แม้แผลภายนอกจะหาย แต่ผู้ตายก็ยังมีอาการไม่สามารถพูดได้รับฟังไม่รู้เรื่อง แม้จะออกจากโรงพยาบาลมานอนรักษาตัวต่อที่บ้านอาการผู้ตายก็คงเช่นเดิม การที่จำเลยใช้มีดอีโต้ขนาดใหญ่ฟันที่บริเวณท้องและที่ศีรษะซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญจนเป็นเหตุให้ผู้ตายกะโหลกศีรษะแตกมีสมองไหลเห็นได้ชัดว่าเป็นการฟันอย่างแรง แสดงว่าจำเลยฟันโดยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา ความตายของผู้ตายย่อมเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ใช้มีดอีโต้ฟัน จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตาย
ผู้ตายถูกจำเลยใช้มีดอีโต้ขนาดยาวประมาณ 1 ศอก ฟันที่บริเวณศีรษะและท้อง กะโหลกศีรษะแตกมีสมองไหลไม่รู้สึกตัวเมื่อมาโรงพยาบาลจนแพทย์ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดและเย็บแผลให้ แม้แผลภายนอกจะหาย แต่ผู้ตายก็ยังมีอาการไม่สามารถพูดได้รับฟังไม่รู้เรื่อง แม้จะออกจากโรงพยาบาลมานอนรักษาตัวต่อที่บ้านอาการผู้ตายก็คงเช่นเดิม การที่จำเลยใช้มีดอีโต้ขนาดใหญ่ฟันที่บริเวณท้องและที่ศีรษะซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญจนเป็นเหตุให้ผู้ตายกะโหลกศีรษะแตกมีสมองไหลเห็นได้ชัดว่าเป็นการฟันอย่างแรง แสดงว่าจำเลยฟันโดยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา ความตายของผู้ตายย่อมเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ใช้มีดอีโต้ฟัน จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตาย