พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13583/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทำให้ความผิดฐานละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเปลี่ยนจาก ป.อ. มาตรา 272 เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
ความผิดฐานเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า หีบ ห่อ วัตถุที่ใช้หุ้มห่อแจ้งความ รายการแสดงราคา จดหมายเกี่ยวกับการค้าหรือสิ่งอื่นทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่นนั้น แม้รูป Seiken ตามเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายจะเป็นรูป รอยประดิษฐ์ที่ใช้ในการประกอบการค้าของผู้เสียหายด้วยก็ตาม แต่เมื่อผู้เสียหายได้นำรูป รอยประดิษฐ์ดังกล่าวไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าจนมีสภาพเป็นเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ในราชอาณาจักร อันมีผลทำให้ได้รับความคุ้มครองอย่างเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนที่หากผู้อื่นปลอมเครื่องหมายการค้าจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) อีก ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้า ร่วมกันมีสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมไว้เพื่อจำหน่าย และร่วมกันเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า หีบ ห่อ วัตถุที่ใช้หุ้มห่อแจ้งความ รายการแสดงราคา จดหมายเกี่ยวกับการค้าหรือสิ่งอื่นทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่น จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ดังฟ้องโจทก์ว่า จำเลยทั้งสองมีเจตนากระทำความผิดดังที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองจะมาอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นอีกมิได้เพราะขัดกับคำรับสารภาพของจำเลยทั้งสอง และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยให้
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้า ร่วมกันมีสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมไว้เพื่อจำหน่าย และร่วมกันเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า หีบ ห่อ วัตถุที่ใช้หุ้มห่อแจ้งความ รายการแสดงราคา จดหมายเกี่ยวกับการค้าหรือสิ่งอื่นทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่น จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ดังฟ้องโจทก์ว่า จำเลยทั้งสองมีเจตนากระทำความผิดดังที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองจะมาอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นอีกมิได้เพราะขัดกับคำรับสารภาพของจำเลยทั้งสอง และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12714/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้คำให้การ การพิพากษาความผิด และการชดใช้ค่าเสียหายที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับความผิดทางอาญา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ.2499 กับฐานแจ้งความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน แม้การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ถูกถอนชื่อออกจากบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น แต่ราคาหุ้นต่อหน่วยรวมเป็นเงิน 8,000,000 บาท ไม่ใช่ความเสียหายที่เป็นผลโดยตรงมาจากการกระทำอันเป็นความผิดทั้งสองฐานตามฟ้อง จึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่โจทก์จะขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ให้ในคดีนี้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องอันเป็นการรับฟ้องในคดีส่วนแพ่งด้วยจึงเป็นการมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12714/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีอาญา: ข้อจำกัดการฟ้อง, ความผิดฐานฟอกเงิน, และการไม่รับฟ้องคดีแพ่ง
จำเลยให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจ การที่จำเลยทั้งสองขอแก้คำให้การเป็นให้การปฏิเสธ โดยอ้างเหตุเพียงว่าบุคคลภายนอกที่ตกลงชดใช้ค่าเสียหายแทนจำเลยทั้งสองไม่ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ และอ้างว่าจำเลยทั้งสองมีพยานหลักฐานที่จะแสดงได้ว่ามิได้กระทำความผิดตามฟ้อง จึงถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุอันควรที่จะอนุญาตให้จำเลยทั้งสองแก้คำให้การได้
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการบริษัท ช. แจ้งความเท็จต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทและเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารของบริษัทดังกล่าว ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นได้รับความเสียหาย โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำความผิดหรือร่วมกระทำความผิด อันเป็นการประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดตามคำฟ้องข้อนี้ด้วย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามคำฟ้องข้อนี้ด้วยและศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง อันเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 กับฐานแจ้งความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน แม้การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ถูกถอนชื่อออกจากบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น แต่ที่โจทก์เรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเท่ากับราคาหุ้นต่อหน่วยรวมเป็นเงิน 8,000,000 บาท ไม่ใช่ความเสียหายที่เป็นผลโดยตรงมาจากการกระทำอันเป็นความผิดทั้งสองฐานตามฟ้อง จึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่โจทก์จะขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ให้ในคดีนี้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องอันเป็นการรับฟ้องในคดีส่วนแพ่งด้วยจึงเป็นการมิชอบ
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการบริษัท ช. แจ้งความเท็จต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทและเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารของบริษัทดังกล่าว ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นได้รับความเสียหาย โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำความผิดหรือร่วมกระทำความผิด อันเป็นการประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดตามคำฟ้องข้อนี้ด้วย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามคำฟ้องข้อนี้ด้วยและศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง อันเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 กับฐานแจ้งความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน แม้การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ถูกถอนชื่อออกจากบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น แต่ที่โจทก์เรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเท่ากับราคาหุ้นต่อหน่วยรวมเป็นเงิน 8,000,000 บาท ไม่ใช่ความเสียหายที่เป็นผลโดยตรงมาจากการกระทำอันเป็นความผิดทั้งสองฐานตามฟ้อง จึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่โจทก์จะขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ให้ในคดีนี้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องอันเป็นการรับฟ้องในคดีส่วนแพ่งด้วยจึงเป็นการมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12452/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการตกลงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในสัญญาอนุญาตใช้สิทธิฯ การใช้สิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้น
แม้ในการตกลงกันตามบันทึกข้อตกลง จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยที่ 1 และ ว. กับ อ. ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทจำเลยที่ 1 ตกลงยินยอมด้วยกับข้อตกลงในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวและลงลายมือชื่อไว้ด้วย และบันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีข้อความระบุว่า เป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ได้ยอมรับในคำฟ้องแล้วว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการบริษัทผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1 กระทำการแทนและมีผลผูกพันบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ และบันทึกข้อตกลงดังกล่าวนั้นมีเพียงลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 โดยไม่มีตราสำคัญของบริษัทจำเลยที่ 1 ประทับไว้ดังเช่นในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในวิทยาการหรือโนว์ - ฮาวระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้สัตยาบันการทำบันทึกข้อตกลงของจำเลยที่ 2 ในภายหลัง จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ลงชื่อในบันทึกข้อตกลงในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 แต่ได้ลงชื่อในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 เท่านั้น บันทึกข้อตกลงจึงไม่มีผลผูกพันถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ได้ร่วมตกลงด้วย แต่ผูกพันเฉพาะจำเลยที่ 2 ให้ต้องปฏิบัติตามในฐานะผู้ถือหุ้นเท่านั้น
แม้ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ของจำเลยที่ 1 ได้ร่วมตกลงและลงชื่อในบันทึกข้อตกลงก็ตาม แต่การที่ผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 1 จะทำข้อตกลงให้มีผลเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้เพียงใด หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาว่าผู้ถือหุ้นนั้นมีสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติให้ไว้หรือไม่ ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1173 และ 1176 กำหนดให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิเพียงการเรียกประชุมและเข้าร่วมประชุมใหญ่กับลงคะแนนในที่ประชุมใหญ่ ซึ่งเป็นอำนาจในการเข้าครอบงำการบริหารจัดการบริษัท แต่หามีสิทธิเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการบริหารจัดการในบริษัทโดยตรงไม่
บันทึกข้อตกลงข้อ 9 มีข้อตกลงในการเลิกบันทึกข้อตกลงว่า ในกรณีที่โจทก์ไม่สามารถใช้สิทธิจัดการบริษัทจำเลยที่ 1 ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 4 โจทก์มีสิทธิที่จะบอกเลิกบันทึกข้อตกลงโดยบอกกล่าวให้คู่สัญญาอีกฝ่ายที่ผิดสัญญารับทราบเป็นหนังสือ และหากภายใน 10 วัน หลังจากที่ได้รับคำบอกกล่าว คู่สัญญาดังกล่าวยังคงเพิกเฉยให้ถือว่า บันทึกข้อตกลงเป็นอันเลิกกันทันทีเมื่อสิ้นระยะเวลา 10 วัน โดยให้ถือว่าสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในวิทยาการหรือโนว์ - ฮาว ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์เป็นอันเลิกกันทันทีด้วยนั้น ข้อตกลงในลักษณะดังกล่าวจึงมีผลต่อการดำเนินกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในวิทยาการหรือโนว์ - ฮาวในการผลิตผลิตภัณฑ์อันเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 และอาจทำให้การดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 ต้องสิ้นสุดลงเนื่องจากไม่สามารถใช้สิทธิตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิดังกล่าวได้ บันทึกข้อตกลงข้อ 4 และข้อ 9 จึงเป็นการตกลงในเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 โดยตรงซึ่งจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 และ ว. กับ อ. ซึ่งเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจที่ตกลงกับโจทก์เช่นนั้นได้ และการออกเสียงลงคะแนนเป็นสิทธิเฉพาะตัวของ ว. และ อ. ผู้ถือหุ้นเท่านั้น บริษัทจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจบังคับให้บุคคลดังกล่าวลงมติให้จำเลยที่ 2 พ้นจากตำแหน่งกรรมการจำเลยที่ 1 ได้ ทั้งตามบันทึกข้อตกลงข้อ 4 ไม่มีข้อความใดที่ระบุว่า จำเลยที่ 2 ตกลงยินยอมลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 แต่กลับมีข้อความอันเป็นลักษณะเป็นการบังคับให้จำเลยที่ 2 ลาออก โดยระบุว่า ผู้ถือหุ้นเดิมและโจทก์ตกลงใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนในบริษัทจำเลยที่ 1 และดำเนินการใด ๆ ที่จำเป็นเพื่อให้จำเลยที่ 2 ลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 และไม่มีข้อตกลงใด ๆ ในบันทึกดังกล่าวว่าจำเลยที่ 2 จะลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อผู้ถือหุ้นไม่มีอำนาจทำบันทึกข้อตกลงให้มีผลโดยตรงเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ การทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ข้อตกลงข้อ 4 ในบันทึกข้อตกลง ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 โจทก์จึงไม่อาจอ้างเหตุแห่งการผิดข้อตกลงดังกล่าวมาเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในวิทยาการหรือโน - ฮาวแก่จำเลยที่ 1 ได้
แม้ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ของจำเลยที่ 1 ได้ร่วมตกลงและลงชื่อในบันทึกข้อตกลงก็ตาม แต่การที่ผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 1 จะทำข้อตกลงให้มีผลเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้เพียงใด หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาว่าผู้ถือหุ้นนั้นมีสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติให้ไว้หรือไม่ ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1173 และ 1176 กำหนดให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิเพียงการเรียกประชุมและเข้าร่วมประชุมใหญ่กับลงคะแนนในที่ประชุมใหญ่ ซึ่งเป็นอำนาจในการเข้าครอบงำการบริหารจัดการบริษัท แต่หามีสิทธิเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการบริหารจัดการในบริษัทโดยตรงไม่
บันทึกข้อตกลงข้อ 9 มีข้อตกลงในการเลิกบันทึกข้อตกลงว่า ในกรณีที่โจทก์ไม่สามารถใช้สิทธิจัดการบริษัทจำเลยที่ 1 ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 4 โจทก์มีสิทธิที่จะบอกเลิกบันทึกข้อตกลงโดยบอกกล่าวให้คู่สัญญาอีกฝ่ายที่ผิดสัญญารับทราบเป็นหนังสือ และหากภายใน 10 วัน หลังจากที่ได้รับคำบอกกล่าว คู่สัญญาดังกล่าวยังคงเพิกเฉยให้ถือว่า บันทึกข้อตกลงเป็นอันเลิกกันทันทีเมื่อสิ้นระยะเวลา 10 วัน โดยให้ถือว่าสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในวิทยาการหรือโนว์ - ฮาว ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์เป็นอันเลิกกันทันทีด้วยนั้น ข้อตกลงในลักษณะดังกล่าวจึงมีผลต่อการดำเนินกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในวิทยาการหรือโนว์ - ฮาวในการผลิตผลิตภัณฑ์อันเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 และอาจทำให้การดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 ต้องสิ้นสุดลงเนื่องจากไม่สามารถใช้สิทธิตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิดังกล่าวได้ บันทึกข้อตกลงข้อ 4 และข้อ 9 จึงเป็นการตกลงในเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 โดยตรงซึ่งจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 และ ว. กับ อ. ซึ่งเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจที่ตกลงกับโจทก์เช่นนั้นได้ และการออกเสียงลงคะแนนเป็นสิทธิเฉพาะตัวของ ว. และ อ. ผู้ถือหุ้นเท่านั้น บริษัทจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจบังคับให้บุคคลดังกล่าวลงมติให้จำเลยที่ 2 พ้นจากตำแหน่งกรรมการจำเลยที่ 1 ได้ ทั้งตามบันทึกข้อตกลงข้อ 4 ไม่มีข้อความใดที่ระบุว่า จำเลยที่ 2 ตกลงยินยอมลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 แต่กลับมีข้อความอันเป็นลักษณะเป็นการบังคับให้จำเลยที่ 2 ลาออก โดยระบุว่า ผู้ถือหุ้นเดิมและโจทก์ตกลงใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนในบริษัทจำเลยที่ 1 และดำเนินการใด ๆ ที่จำเป็นเพื่อให้จำเลยที่ 2 ลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 และไม่มีข้อตกลงใด ๆ ในบันทึกดังกล่าวว่าจำเลยที่ 2 จะลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อผู้ถือหุ้นไม่มีอำนาจทำบันทึกข้อตกลงให้มีผลโดยตรงเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ การทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ข้อตกลงข้อ 4 ในบันทึกข้อตกลง ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 โจทก์จึงไม่อาจอ้างเหตุแห่งการผิดข้อตกลงดังกล่าวมาเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในวิทยาการหรือโน - ฮาวแก่จำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11118/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงความคิดเห็นเพื่อปกป้องสิทธิในฐานะผู้เขียนร่วม ไม่ถือเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
ในระหว่างที่จำเลยที่ 1 รับจ้างทำงานให้แก่สำนักงาน น. ซึ่งเป็นองค์การมหาชนภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวง ว. นั้น โจทก์ร่วมดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงาน น. และในช่วงระยะเวลาเดียวกันนั้น จำเลยที่ 1 รับจ้างทำงานให้แก่ศูนย์ พ. ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศที่ให้ทุนสนับสนุนทางวิชาการด้านเกษตรอินทรีย์แก่สำนักงาน น. เพื่อดำเนินงานโครงการนวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพในหัวข้อ "การเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกของภาคเกษตรอินทรีย์ไทย" (Strengthening the Export Capacity of Thailand's Organic Agriculture) โดยทั้งโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ร่วมอยู่ในทีมงานซึ่งดำเนินงานตามโครงการนี้ดังนั้นไม่ว่าการดำเนินงานตามโครงการนี้จะอยู่ในขอบเขตการทำงานตามที่สำนักงาน น. ว่าจ้างจำเลยที่ 1 หรือไม่ก็ตาม เมื่อปรากฏชื่อโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 เป็นผู้ร่วมดำเนินโครงการนั้นย่อมถือได้ว่าทั้งโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 เป็นผู้ร่วมดำเนินงานตามโครงการดังกล่าว ซึ่งต่อมาทีมดำเนินงานตามโครงการดังกล่าวได้จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ขึ้นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษอันมีใจความสำคัญและรายนามผู้เขียนร่วมกันตรงกันกับบทความที่โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ต่างคนต่างส่งไปพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการฉบับหนึ่ง คงมีความแตกต่างในลำดับของรายนามผู้เขียน ซึ่งโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ต่างก็โต้แย้งว่าตนเองเป็นผู้เขียนหลักในบทความดังกล่าว ดังนั้นเมื่อทั้งรายงานฉบับสมบูรณ์ฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษรวมทั้งบทความที่โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ต่างคนต่างส่งไปพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการดังกล่าวมีรายนามผู้เขียนร่วมกัน 7 คน เหมือนกัน และมีชื่อทั้งโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 เป็นผู้เขียนร่วมกันเหมือนกันโดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้เขียนคนใดเขียนในเนื้อหาส่วนใด จึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าบุคคลทั้งเจ็ดคนดังกล่าวเป็นผู้เขียนบทความดังกล่าวร่วมกันทั้งหมด แม้ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับการดำเนินการตามโครงการนวัตกรรม ชื่อ "โครงการวิเคราะห์เชิงลึกการผลิตหน่อไม้ฝรั่งอินทรีย์ตามกรอบยุทธศาสตร์ด้านเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทย" ที่บริษัท ส. ได้รับทุนอุดหนุนการดำเนินโครงการจากสำนักงาน น. แต่เมื่อปรากฏว่าหัวข้อโครงการที่บริษัท ส. ดำเนินการดังกล่าวมีความคล้ายคลึงกันกับหัวข้อโครงการที่สำนักงาน น. ได้รับทุนสนับสนุนจากศูนย์ พ. ที่โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ร่วมอยู่ในทีมดำเนินงาน และระยะเวลาการดำเนินโครงการของบริษัท ส. เป็นช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกันกับระยะเวลาดำเนินโครงการของสำนักงาน น. ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากศูนย์ พ. และใกล้เคียงกับช่วงระยะเวลาที่ทั้งโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ต่างคนต่างส่งไปพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการ จึงมีเหตุผลให้จำเลยที่ 1 เชื่อว่าเนื้อหาการดำเนินโครงการของบริษัท ส. ดังกล่าวอาจมีความทับซ้อนกันกับเนื้อหาการดำเนินโครงการตามรายงานฉบับสมบูรณ์ที่มีชื่อโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 พร้อมทั้งทีมงานจัดทำขึ้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์ร่วมทำดุษฎีนิพนธ์ในการศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตในหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ที่มีความใกล้เคียงกันกับหัวข้อดำเนินงานวิจัยในโครงการที่สำนักงาน น. ได้รับทุนสนับสนุนจากศูนย์ พ. ที่โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 อยู่ในทีมดำเนินงาน และคล้ายคลึงกันกับหัวข้อบทความที่โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ต่างคนต่างส่งไปพิมพ์เผยแพร่ที่วารสารทางวิชาการ ทั้งยังเป็นช่วงระยะเวลาเดียวกันทั้งหมด โดยเอกสารทางวิชาการที่กล่าวถึงทั้งหมดนั้นมีเนื้อหาอันเป็นใจความสำคัญเหมือนกันโดยบรรณานุกรมของดุษฎีนิพนธ์ที่โจทก์ร่วมทำขึ้นก็อ้างอิงถึงรายงานฉบับสมบูรณ์ที่โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 พร้อมทั้งทีมงานได้จัดทำขึ้นด้วย ทั้งยังได้ความอีกด้วยว่า จำเลยที่ 1 สนใจศึกษาต่อระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตโดยจะเสนอหัวข้อดุษฎีนิพนธ์เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ซึ่งจำเลยที่ 1 เคยส่งบทความทางวิชาการพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการมาแล้วนั้น แต่อาจารย์ที่ปรึกษาของจำเลยที่ 1 แจ้งว่า ไม่สามารถกระทำการดังกล่าวได้ ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 ทราบข้อเท็จจริงว่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้ร่วมดำเนินงานโครงการวิจัยและมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้เขียนร่วมกันในบทความทางวิชาการที่มีการพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการก่อนที่โจทก์ร่วมจะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตทำดุษฎีนิพนธ์ในหัวข้อที่ใกล้เคียงกัน ย่อมมีเหตุผลให้จำเลยที่ 1 เชื่อได้ว่าโจทก์ร่วมนำผลงานทางวิชาการที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ร่วมวินิจฉัยและร่วมเขียนบทความไปใช้ในการเขียนดุษฎีนิพนธ์ของโจทก์ร่วม ทั้งนี้ไม่ว่าจำเลยที่ 1 จะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ร่วมในผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องตามที่กล่าวอ้างถึงข้างต้นหรือไม่ แต่เมื่อจำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้เขียนร่วมในผลงานทางวิชาการที่กล่าวอ้างถึงดังกล่าว จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 อยู่ในฐานะผู้สร้างสรรค์ร่วม ทั้งในวงวิชาการนั้นพึงมีบรรทัดฐานด้านจรรยาบรรณของนักวิชาการในระดับสากลเช่นเดียวกัน กล่าวคือ การที่โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้วิจัยหรือผู้เขียนผลงานทางวิชาการนำผลงานทางวิชาการของผู้สร้างสรรค์ร่วมกันมาใช้ในผลงานทางวิชาการของตน ก็ควรอย่างยิ่งที่โจทก์ร่วมจะได้บอกกล่าวผู้สร้างสรรค์ร่วมกันทุกคนรวมทั้งจำเลยที่ 1 ว่าจะนำบทความที่เขียนร่วมกันนั้นไปใช้ในดุษฎีนิพนธ์ของโจทก์ร่วม และเมื่อโจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทโจทก์ร่วม โดยในส่วนของจำเลยที่ 1 คือการกระทำในส่วนที่ให้สัมภาษณ์แก่จำเลยที่ 2 แล้วจำเลยที่ 2 ลงพิมพ์เผยแพร่ข้อความคำให้สัมภาษณ์ของจำเลยที่ 1 ในหนังสือพิมพ์เป็นบทความภาษาอังกฤษ จึงต้องพิจารณาจากข้อความในบทความที่เป็นภาษาอังกฤษเป็นเบื้องต้น ซึ่งเมื่อพิจารณาจากข้อความภาษาอังกฤษในบทความที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์แล้ว เห็นได้ว่าข้อความดังกล่าวไม่ได้กล่าวยืนยันข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ข้อความดังกล่าวตามฟ้องทั้งหมด ทั้งใจความสำคัญของข้อความที่กล่าวอ้างไว้ในบทความภาษาอังกฤษล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับดุษฎีนิพนธ์ของโจทก์ร่วม รายงานการดำเนินงานวิจัยที่โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ร่วมอยู่ในทีมดำเนินงาน และบทความที่โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ต่างคนต่างส่งพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการ รวมทั้งเกี่ยวข้องกับรายงานการดำเนินงานตามโครงการที่บริษัท ส. เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งงานสร้างสรรค์ในลักษณะงานนิพนธ์อันเป็นงานวรรณกรรมทั้งหกชิ้นดังกล่าวนี้มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันหรืออาจถึงขนาดที่กล่าวได้ว่าทับซ้อนกันในเนื้อหาอันเป็นสาระสำคัญได้ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นทั้งหมด ประกอบกับปรากฏตามสรุปผลการสอบสวนข้อเท็จจริงจากรายงานการสอบสวนข้อเท็จจริงจากรายงานการสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำสั่ง จ. ว่า คณะกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริงมีความเห็นว่า แม้จะไม่สามารถพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนว่าเอกสารทางวิชาการที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างว่าเป็นของจำเลยที่ 1 นั้นเป็นผลงานของจำเลยที่ 1 จริงหรือไม่ แต่ดุษฎีนิพนธ์ของโจทก์ร่วมมีการคัดลอกงานวิชาการจากเอกสารจำนวน 4 ฉบับ ซึ่งเป็นงานเขียนของกลุ่มบุคคลในปริมาณงานที่มาก แม้ว่าโจทก์ร่วมจะอ้างอิงเอกสารบางรายการไว้ในบรรณานุกรมของดุษฎีนิพนธ์ แต่การกระทำดังกล่าวอาจเข้าข่ายเป็นการลอกเลียนวรรณกรรมโดยมิชอบ (Plagiarism) ไม่ว่าจะเป็นการลอกวรรณกรรมของตนเองหรือเป็นการลอกวรรณกรรมของผู้อื่นหรือโดยผู้อื่นเป็นเจ้าของผลงานร่วมด้วย นอกจากนี้ สัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 ในงานวิจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับดุษฎีนิพนธ์ของโจทก์ร่วม ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอย่างชัดเจนโดยปราศจากข้อโต้แย้งของทั้งโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับข้อตกลงเรื่องความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในการทำรายงานการดำเนินโครงการวิจัยและในบทความที่กลุ่มบุคคลซึ่งมีโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 รวมอยู่ด้วยเป็นผู้จัดทำขึ้น รวมทั้งบทความทางวิชาการที่เผยแพร่ต่อเนื่องจากการจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ ด้วยข้อเท็จจริงดังกล่าวมาทั้งหมดข้างต้นย่อมมีเหตุผลให้จำเลยที่ 1 เชื่อว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ร่วมกันกับบุคคลอื่นในคณะบุคคลหรือเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ร่วมกันกับหน่วยงานผู้ให้สนับสนุนการวิจัยที่เกี่ยวข้อง และแม้ลิขสิทธิ์ในรายงานการดำเนินโครงการวิจัยและบทความที่กลุ่มบุคคลซึ่งมีโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 รวมอยู่ด้วยเป็นผู้จัดทำขึ้นจะมิใช่ของจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 1 ร่วมเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ด้วย แต่ในฐานที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เขียนร่วมในผลงานวิชาการในรูปแบบงานนิพนธ์อันเป็นงานวรรณกรรมซึ่งมีลิขสิทธิ์ดังกล่าว จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับการปกป้องคุ้มครองในฐานะผู้สร้างสรรค์งานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์นั้นด้วย ดังนั้น จึงมีเหตุผลให้จำเลยที่ 1 เชื่อว่าจำเลยที่ 1 พึงได้รับการปกป้องคุ้มครองสิทธิในฐานะผู้เขียนเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดดังกล่าวนั้นด้วยการร้องเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความเป็นธรรม การแสดงข้อความตามฟ้องที่ปรากฏในบทความภาษาอังกฤษในหนังสือพิมพ์ตามฟ้องนั้น จึงถือได้ว่าเป็นการที่จำเลยที่ 1 แสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เขียนร่วมในรายงานการดำเนินโครงการวิจัยและบทความที่จำเลยที่ 1 เชื่อว่าโจทก์ร่วมได้ทำซ้ำหรือดัดแปลงข้อความอันเป็นสาระสำคัญดังกล่าวของผลงานวิชาการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดโดยมิได้บอกกล่าวหรือขออนุญาตผู้สร้างสรรค์ร่วมกันหรือผู้เขียนร่วม หรือผู้มีลิขสิทธิ์ในผลงานนั้นครบถ้วนทุกคน ตาม ป.อ. มาตรา 329 (1) การกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวย่อมไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตาม ป.อ. มาตรา 328 ประกอบมาตรา 326 ดังที่โจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10546/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์ – พยานหลักฐานไม่เพียงพอ – จำเลยปฏิเสธ – ศาลยกฟ้อง
เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในข้อหาความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบพยานหลักฐานพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้ครบองค์ประกอบของความผิดฐานดังกล่าวและให้มีน้ำหนักและเหตุผลรับฟังได้โดยปราศจากเหตุอันควรสงสัยว่าจำเลยได้กระทำความผิดดังที่โจทก์ฟ้องจริง จึงจะลงโทษจำเลยสำหรับความผิดดังกล่าวได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปประยุกต์รูปการ์ตูนหุ่นยนต์ดีเซ็ปติคอนส์ รูปหุ่นยนต์บัมเบิลบี รูปหุ่นยนต์ออฟติมัส ไพรม และรูปหุ่นยนต์ทรานฟอร์มเมอร์สของผู้เสียหาย โดยจำเลยนำเอากล่องบรรจุสินค้าของเล่นหุ่นยนต์ที่มีรูปหุ่นยนต์ดีเซ็ปติคอนส์จำนวน 24 ชิ้น กล่องบรรจุสินค้าของเล่นหุ่นยนต์ที่มีรูปหุ่นยนต์บัมเบิลบีจำนวน 132 ชิ้น กล่องบรรจุสินค้าของเล่นหุ่นยนต์และของเล่นหุ่นยนต์ที่มีรูปหุ่นยนต์ออฟติมัส ไพรม จำนวน 14 ชิ้น และกล่องบรรจุสินค้าของเล่นหุ่นยนต์ที่มีรูปหุ่นยนต์ทรานฟอร์มเมอร์ส จำนวน 5,330 ชิ้น ของกลางซึ่งมีผู้ทำซ้ำและดัดแปลงขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกขาย เสนอขาย และมีไว้เพื่อขายแก่บุคคลทั่วไป อันเป็นการกระทำเพื่อแสวงหากำไรในทางการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าสินค้าที่มีรูปการ์ตูนหุ่นยนต์ดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายและโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหาย ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) ดังนี้ โจทก์จึงต้องนำสืบพยานหลักฐานพิสูจน์ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) ให้มีน้ำหนักและเหตุผลรับฟังได้โดยปราศจากเหตุอันควรสงสัยรวม 5 ประการ ได้แก่ ประการที่ 1 ข้อเท็จจริงที่ว่ากล่องบรรจุสินค้าของเล่นหุ่นยนต์ของกลางจำนวน 24 ชิ้น มีรูปหุ่นยนต์ดีเซ็ปติคอนส์ จำนวน 132 ชิ้น มีรูปหุ่นยนต์บัมเบิลบี จำนวน 14 ชิ้น มีรูปหุ่นยนต์ออฟติมัส ไพรม และจำนวน 5,330 ชิ้น มีรูปหุ่นยนต์ทรานฟอร์มเมอร์สซึ่งมีผู้ทำซ้ำและดัดแปลงขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ประการที่ 2 ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าสินค้าที่มีรูปหุ่นยนต์ดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ประการที่ 3 ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยได้ขาย เสนอขาย และมีไว้เพื่อขายแก่บุคคลทั่วไปซึ่งสินค้าของเล่นหุ่นยนต์ที่บรรจุอยู่ในกล่องของกลางดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหาย ประการที่ 4 ข้อเท็จจริงที่ว่าการกระทำของจำเลยในประการที่ 3 เป็นการกระทำโดยมีเจตนาเพื่อหากำไร และประการที่ 5 ข้อเท็จจริงที่ว่าการกระทำของจำเลยในประการที่ 3 และที่ 4 เป็นการกระทำโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อการค้า
โจทก์มี ม. ผู้รับมอบอำนาจช่วงผู้เสียหายมาเบิกความลอย ๆ เพียงว่า ม. พบว่ามีสินค้าที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปประยุกต์ของผู้เสียหาย โดยไม่ปรากฏจากคำเบิกความของ ม. ว่ารูปการ์ตูนหุ่นยนต์ที่ปรากฏอยู่บนกล่องสินค้าของกลางเป็นงานที่ทำซ้ำและดัดแปลงขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายเพราะเหตุใด รูปการ์ตูนดังกล่าวแตกต่างจากรูปการ์ตูนอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายอย่างไร ม. เคยเห็นรูปการ์ตูนอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายหรือไม่ก็ไม่ปรากฏ ทั้งไม่ปรากฏว่า ม. ได้นำวัตถุพยานของกลางไปตรวจสอบกับรูปการ์ตูนซึ่งเป็นงานศิลปกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายว่ารูปการ์ตูนบนกล่องสินค้าของกลางได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในรูปการ์ตูนของผู้เสียหายด้วยการทำซ้ำหรือดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายอย่างไร นอกจากนี้ ม. พยานโจทก์เป็นเพียงพนักงานบริษัท ว. ซึ่งประกอบกิจการดูแลการละเมิดลิขสิทธิ์ให้แก่ผู้เสียหาย ทั้งโจทก์ก็ไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบให้เห็นว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่าวัตถุพยานของกลางมีงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมรูปการ์ตูนของผู้เสียหาย พยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวยังไม่มีน้ำหนักและเหตุผลให้รับฟังได้โดยปราศจากเหตุอันควรสงสัยว่า กล่องสินค้าวัตถุพยานของกลาง มีรูปการ์ตูนที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมรูปการ์ตูนของผู้เสียหายอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) ที่โจทก์ฟ้อง
ส่วนที่พยานโจทก์เบิกความว่า เมื่อมีการจับกุมจำเลย จำเลยให้การรับสารภาพว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายตามบันทึกการตรวจค้นจับกุมนั้น ถ้อยคำของจำเลยผู้ถูกจับตามบันทึกการตรวจค้นจับกุมดังกล่าวเป็นถ้อยคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความผิด จึงต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานและไม่อาจนำมารับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ว่า จำเลยได้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) ดังที่โจทก์ฟ้อง ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบมาตรา 26 และ ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคท้าย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปประยุกต์รูปการ์ตูนหุ่นยนต์ดีเซ็ปติคอนส์ รูปหุ่นยนต์บัมเบิลบี รูปหุ่นยนต์ออฟติมัส ไพรม และรูปหุ่นยนต์ทรานฟอร์มเมอร์สของผู้เสียหาย โดยจำเลยนำเอากล่องบรรจุสินค้าของเล่นหุ่นยนต์ที่มีรูปหุ่นยนต์ดีเซ็ปติคอนส์จำนวน 24 ชิ้น กล่องบรรจุสินค้าของเล่นหุ่นยนต์ที่มีรูปหุ่นยนต์บัมเบิลบีจำนวน 132 ชิ้น กล่องบรรจุสินค้าของเล่นหุ่นยนต์และของเล่นหุ่นยนต์ที่มีรูปหุ่นยนต์ออฟติมัส ไพรม จำนวน 14 ชิ้น และกล่องบรรจุสินค้าของเล่นหุ่นยนต์ที่มีรูปหุ่นยนต์ทรานฟอร์มเมอร์ส จำนวน 5,330 ชิ้น ของกลางซึ่งมีผู้ทำซ้ำและดัดแปลงขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกขาย เสนอขาย และมีไว้เพื่อขายแก่บุคคลทั่วไป อันเป็นการกระทำเพื่อแสวงหากำไรในทางการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าสินค้าที่มีรูปการ์ตูนหุ่นยนต์ดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายและโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหาย ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) ดังนี้ โจทก์จึงต้องนำสืบพยานหลักฐานพิสูจน์ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) ให้มีน้ำหนักและเหตุผลรับฟังได้โดยปราศจากเหตุอันควรสงสัยรวม 5 ประการ ได้แก่ ประการที่ 1 ข้อเท็จจริงที่ว่ากล่องบรรจุสินค้าของเล่นหุ่นยนต์ของกลางจำนวน 24 ชิ้น มีรูปหุ่นยนต์ดีเซ็ปติคอนส์ จำนวน 132 ชิ้น มีรูปหุ่นยนต์บัมเบิลบี จำนวน 14 ชิ้น มีรูปหุ่นยนต์ออฟติมัส ไพรม และจำนวน 5,330 ชิ้น มีรูปหุ่นยนต์ทรานฟอร์มเมอร์สซึ่งมีผู้ทำซ้ำและดัดแปลงขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ประการที่ 2 ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าสินค้าที่มีรูปหุ่นยนต์ดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ประการที่ 3 ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยได้ขาย เสนอขาย และมีไว้เพื่อขายแก่บุคคลทั่วไปซึ่งสินค้าของเล่นหุ่นยนต์ที่บรรจุอยู่ในกล่องของกลางดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหาย ประการที่ 4 ข้อเท็จจริงที่ว่าการกระทำของจำเลยในประการที่ 3 เป็นการกระทำโดยมีเจตนาเพื่อหากำไร และประการที่ 5 ข้อเท็จจริงที่ว่าการกระทำของจำเลยในประการที่ 3 และที่ 4 เป็นการกระทำโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อการค้า
โจทก์มี ม. ผู้รับมอบอำนาจช่วงผู้เสียหายมาเบิกความลอย ๆ เพียงว่า ม. พบว่ามีสินค้าที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปประยุกต์ของผู้เสียหาย โดยไม่ปรากฏจากคำเบิกความของ ม. ว่ารูปการ์ตูนหุ่นยนต์ที่ปรากฏอยู่บนกล่องสินค้าของกลางเป็นงานที่ทำซ้ำและดัดแปลงขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายเพราะเหตุใด รูปการ์ตูนดังกล่าวแตกต่างจากรูปการ์ตูนอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายอย่างไร ม. เคยเห็นรูปการ์ตูนอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายหรือไม่ก็ไม่ปรากฏ ทั้งไม่ปรากฏว่า ม. ได้นำวัตถุพยานของกลางไปตรวจสอบกับรูปการ์ตูนซึ่งเป็นงานศิลปกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายว่ารูปการ์ตูนบนกล่องสินค้าของกลางได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในรูปการ์ตูนของผู้เสียหายด้วยการทำซ้ำหรือดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายอย่างไร นอกจากนี้ ม. พยานโจทก์เป็นเพียงพนักงานบริษัท ว. ซึ่งประกอบกิจการดูแลการละเมิดลิขสิทธิ์ให้แก่ผู้เสียหาย ทั้งโจทก์ก็ไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบให้เห็นว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่าวัตถุพยานของกลางมีงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมรูปการ์ตูนของผู้เสียหาย พยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวยังไม่มีน้ำหนักและเหตุผลให้รับฟังได้โดยปราศจากเหตุอันควรสงสัยว่า กล่องสินค้าวัตถุพยานของกลาง มีรูปการ์ตูนที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมรูปการ์ตูนของผู้เสียหายอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) ที่โจทก์ฟ้อง
ส่วนที่พยานโจทก์เบิกความว่า เมื่อมีการจับกุมจำเลย จำเลยให้การรับสารภาพว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายตามบันทึกการตรวจค้นจับกุมนั้น ถ้อยคำของจำเลยผู้ถูกจับตามบันทึกการตรวจค้นจับกุมดังกล่าวเป็นถ้อยคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความผิด จึงต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานและไม่อาจนำมารับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ว่า จำเลยได้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) ดังที่โจทก์ฟ้อง ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบมาตรา 26 และ ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9629/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ความรับผิดของผู้รับขนและผู้ร่วมขนส่ง การจำกัดความรับผิดตามกฎหมาย
แม้จำเลยที่ 1 ทำหน้าที่เป็นตัวแทนทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศต้องรับผิดโดยลำพังตนเอง เว้นแต่ข้อความแห่งสัญญาจะแย้งกันกับความรับผิดของตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 ก็ตาม แต่เมื่อใบตราส่งกำหนดเงื่อนไขข้อยกเว้นความรับผิดของตัวแทนผู้ขนส่งเอาไว้ ข้อตกลงดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันโจทก์ผู้ส่งและจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งซึ่งเป็นคู่สัญญา จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งจึงไม่ต้องรับผิดโดยลำพังต่อโจทก์สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สินค้า
แม้จำเลยที่ 2 จะให้การต่อสู้เกี่ยวกับการจำกัดความรับผิดตามกฎหมายภายในของประเทศสาธารณรัฐตุรกีอันเป็นประเทศที่เกิดความเสียหายแก่สินค้าที่ขนส่งตาม พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 31 โดยไม่ได้ให้การต่อสู้ถึงข้อจำกัดความรับผิดตามมาตรา 28 วรรคหนึ่ง แต่ความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องย่อมเป็นไปตามที่ พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 กำหนดไว้ แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้นำสืบถึงรายละเอียดในกฎหมายภายในของประเทศสาธารณรัฐตุรกีให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 สามารถจำกัดความรับผิดตามกฎหมายภายในของประเทศที่เกิดความเสียหายมาตรา 31 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 2 ไม่อาจจำกัดความรับผิดได้ตามมาตรา 31 ซึ่งเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 28 เท่านั้น หาได้ตัดสิทธิของจำเลยที่ 2 ที่มีอยู่ตามมาตรา 28 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องไว้เพียง 666.67 หน่วยสิทธิพิเศษถอนเงิน ต่อ 1 หน่วยการขนส่ง หรือ 2 หน่วยสิทธิพิเศษถอนเงิน ต่อ 1 กิโลกรัม ของน้ำหนักทั้งหมดแห่งของที่สูญหาย แล้วแต่จำนวนเงินใดจะมากกว่าไม่
แม้จำเลยที่ 3 จะอุทธรณ์ว่าคดีอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าคดีอยู่ภายในบังคับ พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 และจำเลยที่ 3 เป็นผู้ครอบครองเรือซึ่งต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์สำหรับความเสียหาย และเมื่อจำเลยที่ 2 ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องสามารถจำกัดความรับผิดได้โดยรับผิดในความเสียหายไม่เกินจำนวน 212,001.06 หน่วยสิทธิพิเศษถอนเงิน จำเลยที่ 3 ย่อมสามารถจำกัดความรับผิดได้ ตาม พ.ร.บ.ขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 28 วรรคหนึ่ง เช่นเดียวกับจำเลยที่ 2
แม้จำเลยที่ 2 จะให้การต่อสู้เกี่ยวกับการจำกัดความรับผิดตามกฎหมายภายในของประเทศสาธารณรัฐตุรกีอันเป็นประเทศที่เกิดความเสียหายแก่สินค้าที่ขนส่งตาม พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 31 โดยไม่ได้ให้การต่อสู้ถึงข้อจำกัดความรับผิดตามมาตรา 28 วรรคหนึ่ง แต่ความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องย่อมเป็นไปตามที่ พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 กำหนดไว้ แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้นำสืบถึงรายละเอียดในกฎหมายภายในของประเทศสาธารณรัฐตุรกีให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 สามารถจำกัดความรับผิดตามกฎหมายภายในของประเทศที่เกิดความเสียหายมาตรา 31 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 2 ไม่อาจจำกัดความรับผิดได้ตามมาตรา 31 ซึ่งเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 28 เท่านั้น หาได้ตัดสิทธิของจำเลยที่ 2 ที่มีอยู่ตามมาตรา 28 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องไว้เพียง 666.67 หน่วยสิทธิพิเศษถอนเงิน ต่อ 1 หน่วยการขนส่ง หรือ 2 หน่วยสิทธิพิเศษถอนเงิน ต่อ 1 กิโลกรัม ของน้ำหนักทั้งหมดแห่งของที่สูญหาย แล้วแต่จำนวนเงินใดจะมากกว่าไม่
แม้จำเลยที่ 3 จะอุทธรณ์ว่าคดีอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าคดีอยู่ภายในบังคับ พ.ร.บ.การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 และจำเลยที่ 3 เป็นผู้ครอบครองเรือซึ่งต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์สำหรับความเสียหาย และเมื่อจำเลยที่ 2 ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องสามารถจำกัดความรับผิดได้โดยรับผิดในความเสียหายไม่เกินจำนวน 212,001.06 หน่วยสิทธิพิเศษถอนเงิน จำเลยที่ 3 ย่อมสามารถจำกัดความรับผิดได้ ตาม พ.ร.บ.ขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ.2548 มาตรา 28 วรรคหนึ่ง เช่นเดียวกับจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9476/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ และการแก้ไขค่าเสียหายสกุลเงินต่างประเทศ
คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในคดีนี้เป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแห่งวาเรน - แฟร์ไอน์ แดร์ ฮามบัวร์เกอร์ เบอร์เซ อี.วี. ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จึงเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ซึ่งตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 ถึงมาตรา 44 เห็นได้แจ้งชัดว่า คู่พิพาทอาจร้องขอต่อศาลประเทศไทยที่มีเขตอำนาจให้บังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการซึ่งกระทำขึ้นในต่างประเทศได้ และศาลที่มีเขตอำนาจจะมีคำพิพากษาบังคับตามคำชี้ขาดนั้นให้ต่อเมื่อเป็นคำชี้ขาดที่อยู่ในบังคับแห่งสนธิสัญญา อนุสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีและให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่ประเทศไทยยอมตนเข้าผูกพันเท่านั้น ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 41 หรือคู่พิพาทซึ่งจะถูกบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการซึ่งได้กระทำขึ้นในต่างประเทศอาจขอให้ศาลประเทศไทยที่มีเขตอำนาจมีคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวหากสามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 43 (1) ถึง (6) บัญญัติได้เท่านั้น แต่ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจศาลไทยที่มีเขตอำนาจมีคำสั่งให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการซึ่งกระทำขึ้นในต่างประเทศ การร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการจึงต้องร้องขอต่อศาลในประเทศที่คำชี้ขาดคณะอนุญาโตตุลาการได้กระทำขึ้นเท่านั้น สอดคล้องกับบทบัญญัติมาตรา 5 (1) (อี) ในอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการบังคับตามชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี และกฎหมายแม่แบบว่าด้วยอนุญาโตตุลาการทางพาณิชย์ของคณะกรรมาธิการว่าด้วยกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติหรือ "UNCITRAL Model Laws" ที่กำหนดไว้ใน Ariticle 34 และ 36 การเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 นั้น เฉพาะศาลที่มีการดำเนินกระบวนการทางอนุญาโตตุลาการอยู่ในเขตศาลเท่านั้นที่อาจพิพากษาเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ดังนั้น ผู้คัดค้านจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอแย้งให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวซึ่งเป็นคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการซึ่งกระทำขึ้นในต่างประเทศได้
ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้ผู้คัดค้านชำระเงินสกุลต่างประเทศโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยในวันที่ถึงกำหนดชำระเงินตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการนั้น ยังไม่ถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 ที่บัญญัติให้ลูกหนี้ใช้เป็นเงินไทยได้โดยให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน จึงเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้ผู้คัดค้านชำระเงินสกุลต่างประเทศโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยในวันที่ถึงกำหนดชำระเงินตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการนั้น ยังไม่ถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 ที่บัญญัติให้ลูกหนี้ใช้เป็นเงินไทยได้โดยให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน จึงเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8865/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถยนต์ที่ได้มาจากการยักยอก ผู้รับโอนไม่มีสิทธิที่ดีกว่าผู้โอน แม้ซื้อโดยสุจริต
การที่ ร. ได้รถยนต์พิพาทมาด้วยการกระทำความผิดฐานยักยอกซึ่งคดีอาญาถึงที่สุดแล้ว ร. จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันดังกล่าว แม้จำเลยที่ 1 จะซื้อรถยนต์พิพาทโดยสุจริตแต่เป็นการซื้อจาก ร. ผู้ไม่มีกรรมสิทธิ์ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีสิทธิดีไปกว่า ร. คือไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทด้วยเช่นกัน จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 คืนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ต้องใช้ราคาแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8664/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจอนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทหลังคำชี้ขาดเดิม & สัญญาทางปกครอง vs. สัญญาทั่วไป
ปัญหาที่เกี่ยวกับภาษาที่ใช้ในการทำคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ใช่ปัญหาที่จะทำให้การยอมรับหรือบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน อุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ว่าอนุญาโตตุลาการทำคำชี้ขาดเป็นภาษาไทยขัดกับสัญญาที่ให้ทำเป็นภาษาอังกฤษจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เข้าข้อยกเว้นอันจะไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 45 (1) แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย
อนุญาโตตุลาการชุดแรกมีคำชี้ขาดให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายติดตั้งเครื่องฝึกบินจนแล้วเสร็จ และให้เวลาแก่ผู้ร้องปฏิบัติและส่งมอบงานตามสัญญาแก่ผู้คัดค้านเป็นระยะเวลา 9 เดือน นับแต่วันทำคำชี้ขาด และให้ผู้ร้องติดตั้งอุปกรณ์สำหรับควบคุมกระแสไฟฟ้าแก่ผู้คัดค้านโดยไม่คิดมูลค่าตามที่ผู้ร้องแสดงความประสงค์ และภายหลังจากที่ผู้ร้องปฏิบัติถูกต้องตามคำชี้ขาดแล้วให้ผู้คัดค้านชำระเงินส่วนที่เหลือตามสัญญาอีกร้อยละ 10 ของมูลค่างานตามสัญญาแก่ผู้ร้อง โดยสิทธิและหน้าที่ของทั้งสองฝ่ายนอกจากที่ชี้ขาดไว้เป็นอย่างอื่นในคำชี้ขาดให้เป็นไปตามที่ตกลงกันในสัญญา เมื่อผู้ร้องติดตั้งเครื่องฝึกบินแล้วเสร็จให้ผู้คัดค้านคืนเงินค่าประกันการปฏิบัติตามสัญญาจำนวน 228,850 ดอลลาร์สหรัฐ และเงินหลักประกันค่าชำระราคาล่วงหน้าจำนวน 1,144,250 ดอลลาร์สหรัฐ แก่ผู้ร้อง เห็นได้ว่าเป็นการชี้ขาดให้คู่สัญญายังคงมีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาซื้อขายติดตั้งเครื่องฝึกบินต่อไปตามเดิมโดยเพียงแต่กำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติตามสัญญาของผู้ร้องขึ้นใหม่ ต่อมาเมื่อการปฏิบัติตามสัญญาหลังจากที่อนุญาโตตุลาการชุดแรกมีคำชี้ขาดนั้นเกิดปัญหาพิพาทระหว่างกันอีกเกี่ยวกับเรื่องค่าปรับตามสัญญา ซึ่งเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าในการปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการชุดแรกผู้ร้องส่งมอบเครื่องฝึกบินและอุปกรณ์ให้แก่ผู้คัดค้านล่าช้า จึงเกิดปัญหาข้อพิพาทขึ้นใหม่ในเรื่องค่าปรับตามสัญญาซึ่งมิใช่ข้อพิพาทที่อนุญาโตตุลาการชุดแรกได้วินิจฉัยชี้ขาดไว้ แต่เป็นข้อพิพาทที่เกี่ยวด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ร้องและผู้คัดค้านนอกจากที่อนุญาโตตุลาการชุดแรกชี้ขาดไว้เป็นอย่างอื่นในคำชี้ขาด การระงับข้อพิพาทจึงต้องเป็นไปตามที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านตกลงกันในสัญญา ผู้ร้องย่อมมีสิทธิอาศัยสัญญาซื้อขายติดตั้งเครื่องฝึกบินเสนอข้อพิพาทนี้ให้อนุญาโตตุลาการชุดหลังวินิจฉัยชี้ขาดได้ อนุญาโตตุลาการชุดหลังจึงมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นใหม่เกี่ยวกับการคืนเงินค่าปรับจำนวน 315,813 ดอลลาร์สหรัฐ ตามสัญญาได้ หาใช่เป็นการที่อนุญาโตตุลาการชุดหลังมีคำชี้ขาดอันมีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหรือขยายระยะเวลาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการชุดแรกไม่
แม้กองทัพอากาศผู้คัดค้านจะเป็นส่วนราชการและมีฐานะเป็นนิติบุคคลซึ่งถือเป็นหน่วยงานทางปกครอง และสัญญาซื้อขายติดตั้งเครื่องฝึกบินระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านจะเป็นสัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง แต่สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของผู้คัดค้านโดยเฉพาะไม่มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทานหรือสัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ จึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครองตามความหมายที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542
อนุญาโตตุลาการชุดแรกมีคำชี้ขาดให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายติดตั้งเครื่องฝึกบินจนแล้วเสร็จ และให้เวลาแก่ผู้ร้องปฏิบัติและส่งมอบงานตามสัญญาแก่ผู้คัดค้านเป็นระยะเวลา 9 เดือน นับแต่วันทำคำชี้ขาด และให้ผู้ร้องติดตั้งอุปกรณ์สำหรับควบคุมกระแสไฟฟ้าแก่ผู้คัดค้านโดยไม่คิดมูลค่าตามที่ผู้ร้องแสดงความประสงค์ และภายหลังจากที่ผู้ร้องปฏิบัติถูกต้องตามคำชี้ขาดแล้วให้ผู้คัดค้านชำระเงินส่วนที่เหลือตามสัญญาอีกร้อยละ 10 ของมูลค่างานตามสัญญาแก่ผู้ร้อง โดยสิทธิและหน้าที่ของทั้งสองฝ่ายนอกจากที่ชี้ขาดไว้เป็นอย่างอื่นในคำชี้ขาดให้เป็นไปตามที่ตกลงกันในสัญญา เมื่อผู้ร้องติดตั้งเครื่องฝึกบินแล้วเสร็จให้ผู้คัดค้านคืนเงินค่าประกันการปฏิบัติตามสัญญาจำนวน 228,850 ดอลลาร์สหรัฐ และเงินหลักประกันค่าชำระราคาล่วงหน้าจำนวน 1,144,250 ดอลลาร์สหรัฐ แก่ผู้ร้อง เห็นได้ว่าเป็นการชี้ขาดให้คู่สัญญายังคงมีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาซื้อขายติดตั้งเครื่องฝึกบินต่อไปตามเดิมโดยเพียงแต่กำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติตามสัญญาของผู้ร้องขึ้นใหม่ ต่อมาเมื่อการปฏิบัติตามสัญญาหลังจากที่อนุญาโตตุลาการชุดแรกมีคำชี้ขาดนั้นเกิดปัญหาพิพาทระหว่างกันอีกเกี่ยวกับเรื่องค่าปรับตามสัญญา ซึ่งเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าในการปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการชุดแรกผู้ร้องส่งมอบเครื่องฝึกบินและอุปกรณ์ให้แก่ผู้คัดค้านล่าช้า จึงเกิดปัญหาข้อพิพาทขึ้นใหม่ในเรื่องค่าปรับตามสัญญาซึ่งมิใช่ข้อพิพาทที่อนุญาโตตุลาการชุดแรกได้วินิจฉัยชี้ขาดไว้ แต่เป็นข้อพิพาทที่เกี่ยวด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ร้องและผู้คัดค้านนอกจากที่อนุญาโตตุลาการชุดแรกชี้ขาดไว้เป็นอย่างอื่นในคำชี้ขาด การระงับข้อพิพาทจึงต้องเป็นไปตามที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านตกลงกันในสัญญา ผู้ร้องย่อมมีสิทธิอาศัยสัญญาซื้อขายติดตั้งเครื่องฝึกบินเสนอข้อพิพาทนี้ให้อนุญาโตตุลาการชุดหลังวินิจฉัยชี้ขาดได้ อนุญาโตตุลาการชุดหลังจึงมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นใหม่เกี่ยวกับการคืนเงินค่าปรับจำนวน 315,813 ดอลลาร์สหรัฐ ตามสัญญาได้ หาใช่เป็นการที่อนุญาโตตุลาการชุดหลังมีคำชี้ขาดอันมีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหรือขยายระยะเวลาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการชุดแรกไม่
แม้กองทัพอากาศผู้คัดค้านจะเป็นส่วนราชการและมีฐานะเป็นนิติบุคคลซึ่งถือเป็นหน่วยงานทางปกครอง และสัญญาซื้อขายติดตั้งเครื่องฝึกบินระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านจะเป็นสัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง แต่สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของผู้คัดค้านโดยเฉพาะไม่มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทานหรือสัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ จึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครองตามความหมายที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542