พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17058/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกายกประเด็นเพิ่มเติมโทษจากศาลอุทธรณ์ แม้โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ และลดโทษจำเลยตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, วรรคสาม (2), 66 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 19 ปี ลดโทษมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 76 ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยให้การเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุก 4 ปี 4 เดือน และปรับ 140,000 บาท จำเลยอุทธรณ์การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 67 และลงโทษจำคุก 1 ปี 6 เดือน และปรับ 20,000 บาท โดยไม่ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 76 นั้นถือได้ว่าเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย โดยที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้ไม่ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งแก่จำเลย เป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ มาตรา 212 แม้จำเลยไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. 225 ประกอบมาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16358/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คล้ายคลึงกันของเครื่องหมายการค้าทำให้สับสน: เพิกถอนเครื่องหมายการค้าได้ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า มาตรา 61(4)
การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าใดในขณะที่จดทะเบียนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าสำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันที่มีลักษณะอย่างเดียวกันตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 61 (4) หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาภาพรวมของเครื่องหมายการค้านั้นเปรียบเทียบกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วว่ามีความเหมือนหรือคล้ายกันในสาระสำคัญหรือในลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้านั้นหรือไม่ หากเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำนอกจากจะต้องพิจารณาลักษณะเด่นหรือสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าแล้วยังต้องพิจารณาถึงสำเนียงเรียกขานเครื่องหมายการค้านั้น และที่สำคัญต้องพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้านั้นใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกันที่มีลักษณะอย่างเดียวกันหรือไม่ด้วย
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรไทยคำว่า "แทงโก้" และอักษรโรมันคำว่า "Tango" แต่คำว่า "Tango" ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนกับคำว่า "TANGO", "TANGO THINS", "TANGO MAXCRUNCH" และ "TANGO SAPPHIRE" ของ จ. และคำว่า "TANGO" เป็นคำนำหน้าในเครื่องหมายการค้าทั้งสี่ซึ่งเป็นสาระสำคัญและลักษณะเด่นที่สาธารณชนผู้บริโภคสินค้าประเภทลูกอม ขนมหวาน และช็อกโกแลตจะจดจำในการเลือกซื้อสินค้าดังกล่าวคำว่า "THINS" คำว่า "MAXCRUNCH" และคำว่า "SAPPHIRE" ที่ต่อท้ายคำว่า "TANGO" มิใช่สาระสำคัญหรือส่วนที่เป็นลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าที่ผู้บริโภคจะจดจำเพื่อแยกแยะความแตกต่างในการเลือกซื้อสินค้า เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าทั้งสี่ของ จ.
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรไทยคำว่า "แทงโก้" และอักษรโรมันคำว่า "Tango" แต่คำว่า "Tango" ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนกับคำว่า "TANGO", "TANGO THINS", "TANGO MAXCRUNCH" และ "TANGO SAPPHIRE" ของ จ. และคำว่า "TANGO" เป็นคำนำหน้าในเครื่องหมายการค้าทั้งสี่ซึ่งเป็นสาระสำคัญและลักษณะเด่นที่สาธารณชนผู้บริโภคสินค้าประเภทลูกอม ขนมหวาน และช็อกโกแลตจะจดจำในการเลือกซื้อสินค้าดังกล่าวคำว่า "THINS" คำว่า "MAXCRUNCH" และคำว่า "SAPPHIRE" ที่ต่อท้ายคำว่า "TANGO" มิใช่สาระสำคัญหรือส่วนที่เป็นลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าที่ผู้บริโภคจะจดจำเพื่อแยกแยะความแตกต่างในการเลือกซื้อสินค้า เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าทั้งสี่ของ จ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14629/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเมทแอมเฟตามีนร่วมกัน และขอบเขตการลงโทษในความผิดฐานเสพยาเสพติด
จำเลยที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ต่างมารวมกันเพื่อเสพยาเสพติดให้โทษ โดยเมทแอมเฟตามีนที่ตรวจพบอยู่ในสภาพกระจัดกระจายทั้งบนโต๊ะและบนพื้น มิได้อยู่ในสภาพนำมากองรวมกัน แสดงว่ามีการแบ่งเมทแอมเฟตามีนให้แก่จำเลยที่ตรวจพบสารเสพติดในร่างกายแต่ละคนเข้าครอบครองก่อนแล้ว แต่เมทแอมเฟตามีนที่อยู่ในสภาพกระจัดกระจายดังกล่าวไม่อาจรับฟังให้เป็นผลร้ายว่าจำเลยทั้งหมดมีเจตนาร่วมกันครอบครองทั้งจำนวนตามที่โจทก์ฟ้อง คงฟังได้แต่เพียงว่าเฉพาะจำเลยที่ตรวจพบสารเสพติดในร่างกายมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเฉพาะในส่วนของแต่ละคนที่มีไว้เพื่อเสพเท่านั้น
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้โทษของจำเลยที่ 4 ถึงที่ 9 ในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนจากรอการลงโทษเป็นไม่รอการลงโทษและไม่ปรับจำเลยที่ 4 ถึงที่ 9 โดยโจทก์มิได้อุทธรณ์เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยดังกล่าว ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 จะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และปัญหาดังกล่าวเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 9 ที่มิได้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้โทษของจำเลยที่ 4 ถึงที่ 9 ในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนจากรอการลงโทษเป็นไม่รอการลงโทษและไม่ปรับจำเลยที่ 4 ถึงที่ 9 โดยโจทก์มิได้อุทธรณ์เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยดังกล่าว ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 จะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และปัญหาดังกล่าวเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 9 ที่มิได้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13973/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งบรรจุยาเสพติดเกินปริมาณที่กำหนดตามกฎหมาย และการลงโทษที่ถูกต้อง
การกระทำที่มีลักษณะเป็นแต่เพียงการแบ่งบรรจุอย่างเช่นการนำเมทแอมเฟตามีนไปแบ่งย่อย หรือแยกจำนวนเพื่อบรรจุใส่ลงในหลอดกาแฟ ลักษณะของการกระทำความผิดดังกล่าว แม้จะถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ทำให้ยาเสพติดให้โทษแพร่ระบาดได้ง่ายยิ่งขึ้นและนับว่าเป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมอีกลักษณะหนึ่งก็ตาม แต่ความร้ายแรงของการกระทำความผิดเช่นว่านี้ก็ไม่อาจเทียบเท่าได้กับการกระทำความผิดอันมีลักษณะเป็นการผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยสภาพ กฎหมายจึงบัญญัติบทกำหนดโทษสำหรับการผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุไว้เป็นกรณีเฉพาะตาม มาตรา 65 วรรคสาม และวรรคสี่ อันเป็นการกำหนดโทษเป็นสัดส่วนตามสภาพความร้ายแรงของอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่สังคมและลักษณะความร้ายแรงของการกระทำความผิด
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีน 3 หลอด หลอดละ 10 เม็ด แต่เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยแบ่งบรรจุมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ หรือมีน้ำหนักสุทธิเท่าใด และมิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า การที่จำเลยแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีน 10 เม็ด ใส่หลอดกาแฟเป็นการทำขึ้นซึ่งโดยปกติสำหรับการใช้เสพหนึ่งครั้ง จึงไม่อาจเข้าใจได้ว่าเมทแอมเฟตามีน 10 เม็ด ที่บรรจุในหลอดกาแฟหนึ่งหลอดดังกล่าวเป็น "หน่วยการใช้" ตามความหมายของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงไม่อาจรับฟังได้ว่า การที่จำเลยแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีน 10 เม็ด จำนวน 3 หลอด เป็นการผลิตโดยแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีนมีปริมาณ 30 หน่วยการใช้ อันจะถือว่าจำเลยได้ผลิตเมทแอมเฟตามีนโดยการแบ่งบรรจุจำนวนหน่วยการใช้เกินปริมาณที่กำหนดตามมาตรา 15 วรรคสาม จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 65 วรรคสาม และเมื่อได้ความว่าจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่มีลักษณะการบรรจุอย่างเดียวกันกับที่แบ่งบรรจุให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนโดยการแบ่งบรรจุเพื่อจำหน่ายตามมาตรา 65 วรรคสี่
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีน 3 หลอด หลอดละ 10 เม็ด แต่เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยแบ่งบรรจุมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ หรือมีน้ำหนักสุทธิเท่าใด และมิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า การที่จำเลยแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีน 10 เม็ด ใส่หลอดกาแฟเป็นการทำขึ้นซึ่งโดยปกติสำหรับการใช้เสพหนึ่งครั้ง จึงไม่อาจเข้าใจได้ว่าเมทแอมเฟตามีน 10 เม็ด ที่บรรจุในหลอดกาแฟหนึ่งหลอดดังกล่าวเป็น "หน่วยการใช้" ตามความหมายของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงไม่อาจรับฟังได้ว่า การที่จำเลยแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีน 10 เม็ด จำนวน 3 หลอด เป็นการผลิตโดยแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีนมีปริมาณ 30 หน่วยการใช้ อันจะถือว่าจำเลยได้ผลิตเมทแอมเฟตามีนโดยการแบ่งบรรจุจำนวนหน่วยการใช้เกินปริมาณที่กำหนดตามมาตรา 15 วรรคสาม จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 65 วรรคสาม และเมื่อได้ความว่าจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่มีลักษณะการบรรจุอย่างเดียวกันกับที่แบ่งบรรจุให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนโดยการแบ่งบรรจุเพื่อจำหน่ายตามมาตรา 65 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13157/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาเดิมเนื่องจากพยานหลักฐานไม่ครบถ้วน แม้มีข้อจำกัดเรื่องจำนวนทุนทรัพย์ที่อุทธรณ์ได้
ที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้กำหนดค่าเสียหายเพิ่มจากที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางกำหนดไว้ให้เป็นจำนวนตามคำฟ้องของโจทก์นั้น แม้จำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ชำระเพิ่มขึ้นไม่ถึง 200,000 บาท ซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 41 แต่เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับอุทธรณ์ส่งมายังศาลฎีกาแล้ว และปรากฏว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยพยานหลักฐานไม่ครบถ้วน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมและจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวจึงรับพิจารณาให้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 44
จำเลยที่ 5 ยื่นคำแก้อุทธรณ์ แต่อ้างถึงเหตุที่จำเลยที่ 5 ไม่ต้องรับผิดเพื่อให้ยกฟ้อง กรณีเช่นนี้ต้องยื่นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เมื่อยื่นเป็นคำแก้อุทธรณ์มาโดยไม่ชอบ จึงไม่วินิจฉัยให้
จำเลยที่ 5 ยื่นคำแก้อุทธรณ์ แต่อ้างถึงเหตุที่จำเลยที่ 5 ไม่ต้องรับผิดเพื่อให้ยกฟ้อง กรณีเช่นนี้ต้องยื่นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เมื่อยื่นเป็นคำแก้อุทธรณ์มาโดยไม่ชอบ จึงไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12873/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินในคดียาเสพติด: ต้องยื่นคัดค้านก่อนศาลมีคำสั่ง
คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ริบทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 30 ดังนั้น การดำเนินกระบวนพิจารณาต้องปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 30 วรรคสอง จะนำเอาวิธีพิจารณาคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเกี่ยวกับการขาดนัดยื่นคำให้การ ขาดนัดพิจารณาและการขอพิจารณาคดีใหม่มาใช้บังคับในกรณีนี้โดยที่ไม่มีกฎหมายให้อำนาจหาได้ไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าทรัพย์สินที่พนักงานอัยการผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ริบเป็นรถยนต์ที่ใช้เป็นยานพาหนะเพื่อความสะดวกในการส่งมอบยาเสพติดให้โทษอันเป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและศาลได้ประกาศให้หนังสือพิมพ์ที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นเป็นเวลา 2 วัน ติดต่อกันอันเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนของมาตรา 30 วรรคสอง แล้ว หากผู้คัดค้านที่อ้างว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ของกลางต้องการยื่นคำร้องขอคัดค้านจะต้องยื่นคำร้องคัดค้านเข้ามาในคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งให้ริบรถยนต์ของกลางแล้ว ผู้คัดค้านไม่มีสิทธิยื่นคำคัดค้านเข้ามาในคดีในภายหลังเพื่อขอให้พิจารณาคดีใหม่อีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12735/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์และการเป็นมรดกตกทอด
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ว. มารดาของผู้ร้องได้เข้าครอบครองที่ดินบางส่วนของที่ดินโฉนดเลขที่ 917 และที่ดินบางส่วนของที่ดินโฉนดที่ 918 ทางทิศตะวันตกของ ท. โดยสงบเปิดเผยและด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2529 ต่อเนื่องกันเป็นเวลานานกว่า 22 ปี หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำร้องขอ ว. มารดาของผู้ร้องย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินบางส่วนทางทิศตะวันตกของที่ดินโฉนดเลขที่ 917 และโฉนดเลขที่ 918 โดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 อันเป็นการได้มาซึ่งทรัพยสิทธิจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทได้และตกทอดแก่ผู้ร้องและทายาทอื่นที่เป็นบุตรของ ว. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 และมาตรา 1600 และแม้ผู้ร้องกับทายาททั้งหมดเพิ่งทราบว่า ว. มารดาของผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองภายหลัง ก็ไม่ทำให้ทรัพยสิทธิที่มารดาของผู้ร้องได้มาและเป็นมรดกตกทอดแก่ผู้ร้องกับทายาทอื่นเสียไป ทั้งการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัวของผู้ครอบครอง ประกอบกับผู้ร้องมีสิทธิที่จะขอจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดกตาม ป.ที่ดิน มาตรา 81 โดยที่ดินที่ผู้ร้องอ้างว่าเจ้ามรดกได้มาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ซึ่งต้องดำเนินการขอจดทะเบียนสิทธิตามมาตรา 78 ก่อน ผู้ร้องในฐานะทายาทผู้รับมรดกจาก ว. มารดาของผู้ร้องจึงมีสิทธิตามกฎหมายที่จะยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทที่เป็นมรดกตกทอดมายังผู้ร้องและทายาทอื่นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12634/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คสั่งจ่าย - สิทธิผู้ทรง - การต่อสู้เรื่องยักยอก - สุจริต - ความรับผิดของผู้สั่งจ่าย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับโดยจำเลยที่ 2 ได้สลักหลังแล้วมอบให้โจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้ โจทก์นำเช็คไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้สั่งจ่าย และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้สลักหลังชำระเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับ จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้แก่บริษัท ก. แต่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานบริษัทดังกล่าวยักยอกเช็คไป บริษัท ก. ได้แจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ต่อเจ้าพนักงานตำรวจแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดต่อโจทก์ ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้กล่าวอ้างต่อสู้ว่า โจทก์รับโอนเช็คพิพาททั้งสองฉบับนั้นมาโดยคบคิดกับจำเลยที่ 2 เพื่อฉ้อฉลจำเลยที่ 1 ก็ต้องถือว่าโจทก์ได้รับเช็คพิพาททั้งสองฉบับมาโดยสุจริต การที่จำเลยที่ 2 แต่ฝ่ายเดียวเป็นผู้ทุจริต จึงไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยที่ 1 จะยกขึ้นใช้ยันต่อโจกท์ซึ่งเป็นผู้ทรงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 905 และมาตรา 916 เมื่อเช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นเช็คที่ออกให้แก่ผู้ถือ โจทก์เป็นผู้ถือจึงนับได้ว่าเป็นผู้ทรง เมื่อโจทก์นำไปขึ้นเงินจากธนาคารตามเช็คไม่ได้ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับนั้นให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11149/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาอนุญาตใช้ลิขสิทธิ์สิ่งบันทึกเสียง: โจทก์มีสิทธิเพียงผลิตซ้ำ ไม่ได้มีลิขสิทธิ์ในตัวสิ่งบันทึกเสียงเอง การเปิดเพลงในเครื่องบินไม่เป็นการละเมิด
โจทก์มีสิทธิเพียงผลิตเทปคาสเซต แผ่นเสียง และซีดีเพลง โดยทำซ้ำมาสเตอร์เทปหรือแถบบันทึกเสียงเพลงต้นฉบับซึ่งเป็นสิ่งบันทึกเสียงอันมีลิขสิทธิ์เท่านั้น โจทก์ไม่อาจดัดแปลงเนื้อร้องและทำนองเพลงซึ่งเป็นงานดนตรีกรรมที่บันทึกในสิ่งบันทึกเสียงดังกล่าว สิ่งบันทึกเสียงต่าง ๆ ที่โจทก์ผลิตขึ้นอันเป็นการทำซ้ำโดยอาศัยสิทธิตามหนังสือสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์จึงเป็นเพียงสิ่งบันทึกเสียงที่ทำซ้ำขึ้นโดยชอบมิได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ทำให้โจทก์เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในเทปคาสเซต แผ่นเสียง และซีดีเพลง ซึ่งเป็นสิ่งบันทึกเสียงที่โจทก์ผลิตขึ้น แม้จะรับฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเปิดเพลงที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้นำมาผลิตเป็นสิ่งบันทึกเสียงให้ผู้โดยสารในเครื่องบินของจำเลยฟังโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ ก็ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในสิ่งบันทึกเสียงของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 28 (2) หรือมาตรา 31 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10476/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาที่พิมพ์ตก และการลงโทษฐานจำหน่ายยาเสพติดที่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิมพ์คำพิพากษาว่า "ฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำคุก 5 ปี และปรับ 400,000 บาท" เป็นการพิมพ์ตกเลข 1 ไป เท่านั้น ที่ถูกต้องแล้วศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษ 15 ปี ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นเพียงการแก้ไขในส่วนที่พิมพ์ผิดพิมพ์ตกเท่านั้น มิใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษ