พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13839/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่เคลือบคลุม, อายุความรับผิดสินค้าชำรุด, การยอมรับสภาพหนี้, การแก้ไขสินค้า
จำเลยได้บรรยายฟ้องแย้งให้เข้าใจได้แล้วว่า อุปกรณ์ที่สั่งซื้อจากโจทก์ซึ่งมีความบกพร่องต้องเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ไขคือ อุปกรณ์ระบบควบคุมเครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์ตรวจจับควัน และอุปกรณ์วาล์วผีเสื้อปิดเปิดน้ำ ซึ่งโจทก์ก็ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า สินค้าอุปกรณ์ดังกล่าวที่ส่งให้จำเลยมิได้ชำรุดบกพร่อง แต่สามารถใช้การได้ดี ความเสียหายที่เกิดขึ้นเกิดจากความผิดพลาดจากระบบติดตั้งของจำเลยเอง แสดงว่าโจทก์เข้าใจข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องแย้งเป็นอย่างดี ส่วนค่าใช้จ่ายในการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวที่จำเลยต้องว่าจ้างผู้ชำนาญรายใดมาดำเนินการแก้ไขเป็นรายละเอียดที่จำเลยสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา จำเลยได้บรรยายฟ้องแย้งไว้โดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ดังนั้น ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เคลือบคลุม
ภายหลังจากจำเลยได้รับแจ้งจากบริษัท ซ. ให้ทราบถึงค่าใช้จ่ายในการแก้ไขความชำรุดบกพร่องของสินค้าตามหนังสือลงวันที่ 15 ตุลาคม 2542 เอกสารหมาย ล.9 และจำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบถึงค่าใช้จ่ายนั้นแล้ว โจทก์ได้มาดำเนินการแก้ไขในระบบให้จำเลย แต่ไม่อาจแก้ไขให้สมบูรณ์ได้ ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ผู้เป็นลูกหนี้ได้กระทำการใด ๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายแล้วว่าโจทก์ยอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องของจำเลยแล้ว อายุความจึงสะดุดหยุดลงนับแต่เวลาดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) แม้จำเลยจะมิได้นำสืบให้เห็นว่าการกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นวันเวลาใดก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าเป็นระยะเวลาภายหลังวันที่ 15 ตุลาคม 2542 อันเป็นวันที่บริษัท ซ. เจ้าของสินค้ามีหนังสือแจ้งจำเลยถึงจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงแก้ไข เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้เป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2543 ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นสิ้นสุดลง จึงต้องเริ่มนับอายุความใหม่นับแต่วันดังกล่าวถึงวันที่ 27 มีนาคม 2543 อันเป็นวันฟ้องแย้ง จึงยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2543 และแม้จะนับแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2542 ถึงวันที่ 27 มีนาคม 2543 อันเป็นวันฟ้องแย้ง ก็ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2542 เช่นกัน ดังนั้น สิทธิเรียกร้องให้โจทก์ผู้ขายรับผิดในความชำรุดบกพร่องของสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์ตามฟ้องแย้งของจำเลยจึงยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 474
ภายหลังจากจำเลยได้รับแจ้งจากบริษัท ซ. ให้ทราบถึงค่าใช้จ่ายในการแก้ไขความชำรุดบกพร่องของสินค้าตามหนังสือลงวันที่ 15 ตุลาคม 2542 เอกสารหมาย ล.9 และจำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบถึงค่าใช้จ่ายนั้นแล้ว โจทก์ได้มาดำเนินการแก้ไขในระบบให้จำเลย แต่ไม่อาจแก้ไขให้สมบูรณ์ได้ ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ผู้เป็นลูกหนี้ได้กระทำการใด ๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายแล้วว่าโจทก์ยอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องของจำเลยแล้ว อายุความจึงสะดุดหยุดลงนับแต่เวลาดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) แม้จำเลยจะมิได้นำสืบให้เห็นว่าการกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นวันเวลาใดก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าเป็นระยะเวลาภายหลังวันที่ 15 ตุลาคม 2542 อันเป็นวันที่บริษัท ซ. เจ้าของสินค้ามีหนังสือแจ้งจำเลยถึงจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงแก้ไข เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้เป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2543 ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นสิ้นสุดลง จึงต้องเริ่มนับอายุความใหม่นับแต่วันดังกล่าวถึงวันที่ 27 มีนาคม 2543 อันเป็นวันฟ้องแย้ง จึงยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2543 และแม้จะนับแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2542 ถึงวันที่ 27 มีนาคม 2543 อันเป็นวันฟ้องแย้ง ก็ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2542 เช่นกัน ดังนั้น สิทธิเรียกร้องให้โจทก์ผู้ขายรับผิดในความชำรุดบกพร่องของสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์ตามฟ้องแย้งของจำเลยจึงยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 474
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13825/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองที่ดินเพื่อค่านายหน้าจัดส่งคนงานไปทำงานต่างประเทศ ชำระหนี้แล้ว ศาลยืนหยัดคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2542 และจำเลยได้รับเงินกู้ยืมไปครบถ้วนแล้ว จำเลยให้การว่าจำเลยไม่เคยกู้ยืมเงินจากโจทก์และไม่เคยได้รับเงินไปจากโจทก์ จำเลยทำสัญญาจำนองที่ดินเพื่อประกันการทำสัญญานายหน้าจัดส่งคนงานไปทำงานที่ไต้หวัน เท่ากับจำเลยให้การว่าสัญญากู้ยืมเงินตามคำฟ้องซึ่งเป็นการยืมใช้สิ้นเปลืองไม่สมบูรณ์ เพราะไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 650 จำเลยจึงไม่ต้องห้ามมิให้นำสืบพยานบุคคลว่าสัญญากู้ยืมเงินตามคำฟ้องไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
ที่จำเลยให้การและนำสืบพยานบุคคลว่าสัญญาจำนองดังกล่าวเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญานายหน้าส่งคนไปทำงานที่ดินแดนไต้หวันและจำเลยได้ชำระหนี้หมดแล้วนั้น ก็เป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งมูลหนี้จำนอง หาใช่การนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารอันจะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 ไม่ และการนำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญานายหน้าส่งคนไปทำงานที่ต่างประเทศก็มิใช่การนำสืบถึงการใช้เงินกู้ยืมที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับมาตรา 653 วรรคสอง
ที่จำเลยให้การและนำสืบพยานบุคคลว่าสัญญาจำนองดังกล่าวเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญานายหน้าส่งคนไปทำงานที่ดินแดนไต้หวันและจำเลยได้ชำระหนี้หมดแล้วนั้น ก็เป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งมูลหนี้จำนอง หาใช่การนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารอันจะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 ไม่ และการนำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญานายหน้าส่งคนไปทำงานที่ต่างประเทศก็มิใช่การนำสืบถึงการใช้เงินกู้ยืมที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับมาตรา 653 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13619/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการชำรุดบกพร่องของงานก่อสร้าง: แยกพิจารณาตามสัญญาหรือกฎหมายทั่วไป
การฟ้องร้องให้ผู้รับจ้างรับผิดเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องตามสัญญาจ้างทำของอันมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 601 นั้น ใช้บังคับแก่เฉพาะกรณีความรับผิดเพื่อการที่ทำชำรุดที่เกิดขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 600 กล่าวคือ ในกรณีที่มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาและงานที่ทำปรากฏการชำรุดบกพร่องขึ้นภายหลัง 1 ปี นับแต่วันส่งมอบหรือที่ปรากฏขึ้นภายใน 5 ปี สำหรับสิ่งปลูกสร้างในพื้นดิน กรณีตามคำฟ้องโจทก์เป็นการฟ้องตามข้อสัญญาซึ่งกำหนดความรับผิดเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องไว้เป็นอย่างอื่น กรณีดังกล่าวจึงไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะต้องใช้อายุความทั่วไปคือ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12793-12794/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของโรงพยาบาลในคดีลักทรัพย์นายจ้างและการนับกรรมความผิด
เมื่อคนไข้นอกไปพบแพทย์ผู้ตรวจ แพทย์จะออกใบสั่งตรวจและใบสั่งยาให้คนไข้นำไปยื่นที่แผนกการเงินเพื่อชำระเงินค่าตรวจรักษาและค่ายา เงินที่คนไข้นอกจ่ายให้โรงพยาบาลย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโรงพยาบาล การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่การเงินของโรงพยาบาลเอาเงินนั้นไปเป็นประโยชน์ส่วนตนโดยมิชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการกระทำความผิดในทางอาญาต่อโรงพยาบาล โรงพยาบาลย่อมเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การที่จำเลยซึ่งมีหน้าที่รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากคนไข้แทนผู้เสียหายแล้วส่งต่อให้เจ้าหน้าที่เก็บรักษาเงินของผู้เสียหายในแต่ละวัน เป็นเพียงการยึดถือเงินของผู้เสียหายไว้ชั่วระยะเวลาทำการเท่านั้น ผู้เสียหายหาได้มอบเงินให้อยู่ในความครอบครองของจำเลย เมื่อจำเลยเอาเงินไปเป็นของตนโดยไม่มีสิทธิอันเป็นการทุจริต จำเลยจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง และการที่จำเลยลักทรัพย์ของผู้เสียหายในวันเวลาที่ต่างกัน จำเลยย่อมกระทำไปในแต่ละครั้งโดยอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดคนละเจตนาแยกต่างหากจากกันตามโอกาสที่มีให้กระทำ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
การที่จำเลยซึ่งมีหน้าที่รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากคนไข้แทนผู้เสียหายแล้วส่งต่อให้เจ้าหน้าที่เก็บรักษาเงินของผู้เสียหายในแต่ละวัน เป็นเพียงการยึดถือเงินของผู้เสียหายไว้ชั่วระยะเวลาทำการเท่านั้น ผู้เสียหายหาได้มอบเงินให้อยู่ในความครอบครองของจำเลย เมื่อจำเลยเอาเงินไปเป็นของตนโดยไม่มีสิทธิอันเป็นการทุจริต จำเลยจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง และการที่จำเลยลักทรัพย์ของผู้เสียหายในวันเวลาที่ต่างกัน จำเลยย่อมกระทำไปในแต่ละครั้งโดยอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดคนละเจตนาแยกต่างหากจากกันตามโอกาสที่มีให้กระทำ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11612/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองธนบัตรจากการล่อซื้อยาเสพติด เป็นหลักฐานเชื่อมโยงจำเลยกับความผิด
การตรวจพบธนบัตรของกลางที่ใช้ล่าซื้อ แม้จะขาดหายไปไม่ครบจำนวนก็ไม่ใช่ข้อสำคัญ ข้อสำคัญคือธนบัตรของกลางที่เจ้าพนักงานตำรวจได้ถ่ายสำเนาและลงบันทึกประจำวันไว้อยู่ที่ตัวจำเลย พยานมิได้มีสาเหตุโกรธเคืองใดๆ กับจำเลยขณะเกิดเหตุเป็นเยาวชนได้ให้การต่อพนักงานสอบสวน นักสังคมสงเคราะห์พนักงานอัยการและทนายความ ข้อความที่พยานได้ให้การนั้นไม่ได้เป็นคำซัดทอดเพื่อทำให้ตนเองพ้นผิด พยานจึงมิได้ประโยชน์ใดๆ จากการให้การเช่นนั้น พยานหลักฐานของโจทก์มิได้มีแต่เพียงพยานบอกเล่าและคำซัดทอดของพยาน แต่มีทั้งสิบตำรวจเอก ป. และสิบตำรวจโท ส. ซึ่งเป็นประจักษ์พยานที่ร่วมจับกุมเห็น ล. ส่งมอบธนบัตรที่ล่อซื้อให้แก่จำเลย และตรวจค้นพบธนบัตรของกลางได้ที่ตัวจำเลย เมื่อนำมาประกอบกันทำให้รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยได้กระทำผิดมาจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11027/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายไฟฟ้า: การชำระค่าไฟฟ้าเมื่อเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าชำรุด และการลดเบี้ยปรับ
ตามคำฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 ผู้ซื้อสินค้าไฟฟ้าจากโจทก์รับผิดชำระค่าไฟฟ้าเพิ่มเติมแก่โจทก์ในกรณีที่เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าแสดงค่าคลาดเคลื่อนตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ข้อ 6 ซึ่งกำหนดว่า "ในกรณีที่เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าแสดงค่าคลาดเคลื่อน ผู้ซื้อยินยอมชำระค่าไฟฟ้าประจำเดือนไปก่อน โดยให้นำค่าไฟฟ้าเฉลี่ยของ 3 เดือนหลังสุดที่ถือว่าปกติติดต่อกัน หรือค่าไฟฟ้าที่คำนวณพื้นฐานวิศวกรรมไฟฟ้า โดยอาศัยหลักฐานข้อมูล ซึ่งตรวจสอบได้ในช่วงเวลานั้น มาเป็นค่าไฟฟ้าประจำเดือนของเดือนที่เริ่มมีการผิดพลาดเป็นต้นไป หากภายหลังการตรวจสอบเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า มีผลแตกต่างจากที่เรียกเก็บไปแล้วนั้น คู่สัญญายินยอมให้เก็บเพิ่มหรือจ่ายคืน แล้วแต่กรณี" โจทก์มิได้อ้างในคำฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าไฟฟ้าเพิ่มย้อนหลังในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผู้ซื้อเจตนากระทำหรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำโดยมิชอบต่ออุปกรณ์ระบบจ่ายไฟฟ้าและหรือเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ข้อ 9 ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าไฟฟ้าเพิ่มย้อนหลังต่อโจทก์ เพราะจำเลยที่ 1 มิได้กระทำหรือใช้ผู้อื่นกระทำโดยมิชอบต่ออุปกรณ์เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าตามสัญญาข้อ 9 นั้น เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นหรือในประเด็นที่เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 246 ประกอบมาตรา 142 แต่เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้สืบพยานหลักฐานมาแล้ว ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของโจทก์ไปโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบมาตรา 243 (1)
ดอกเบี้ยที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์ปรากฏตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าว่าเป็นดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าไฟฟ้าโดยกำหนดให้คิดในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ดอกเบี้ยอัตรานี้จึงเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าในกรณีผิดสัญญา มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งหากศาลเห็นว่าเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดไว้นั้นสูงเกินส่วน ศาลย่อมพิจารณาลดลงเป็นจำนวนพอสมควรไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้นำสืบเห็นถึงความเสียหายที่โจทก์ได้รับเพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าไฟฟ้าว่าสูงถึงจำนวนดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ศาลฎีกาเห็นว่า เบี้ยปรับที่เป็นดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวสูงเกินไป จึงเห็นสมควรลดเบี้ยปรับนั้นลงเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
ดอกเบี้ยที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์ปรากฏตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าว่าเป็นดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าไฟฟ้าโดยกำหนดให้คิดในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ดอกเบี้ยอัตรานี้จึงเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าในกรณีผิดสัญญา มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งหากศาลเห็นว่าเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดไว้นั้นสูงเกินส่วน ศาลย่อมพิจารณาลดลงเป็นจำนวนพอสมควรไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้นำสืบเห็นถึงความเสียหายที่โจทก์ได้รับเพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าไฟฟ้าว่าสูงถึงจำนวนดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ศาลฎีกาเห็นว่า เบี้ยปรับที่เป็นดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวสูงเกินไป จึงเห็นสมควรลดเบี้ยปรับนั้นลงเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10843/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนใจเรียกทรัพย์โดยขู่ทำลายชื่อเสียง แม้ข้อกล่าวหาไม่เป็นจริง แต่เข้าข่ายกรรโชก
แม้เรื่องที่จำเลยนำไปขู่เข็ญผู้เสียหายซึ่งเป็นภิกษุว่า ผู้เสียหายมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงจะไม่เป็นความจริง จึงไม่ถือเป็นความลับอันเป็นความผิดฐานรีดเอาทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 338 ดังที่โจทก์ฟ้องก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวก็เป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายให้ยอมให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชื่อเสียงของผู้เสียหายผู้ถูกขู่เข็ญจนผู้เสียหายผู้ถูกข่มขืนใจยอมใช้เงินแก่จำเลยอันเป็นความผิดฐานกรรโชก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 วรรคแรก ซึ่งแม้ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจะแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง แต่ก็เป็นเพียงข้อแตกต่างกันในรายละเอียดเท่านั้น มิใช่ข้อแตกต่างในข้อสาระสำคัญ ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณานั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ จึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานกรรโชกได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 192 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10392/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้างขณะปฏิบัติงานตามคำสั่ง แม้หลังเลิกงาน
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถยนต์บรรทุกไม้ยางให้แก่จำเลยที่ 2 หลังเลิกงานจำเลยที่ 2 ยินยอมให้ลูกจ้างนำรถไปเก็บไว้เอง เพื่อประโยชน์ในการบำรุงรักษารถและนำรถกลับมาบรรทุกไม้ยางให้จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 ไม่ต้องไปส่งลูกจ้าง การที่จำเลยที่ 1 ขับรถไปในเวลากลางคืนในขณะเกิดเหตุซึ่งเป็นเวลาหลังเลิกงานด้วยความยินยอมของจำเลยที่ 2 และเพื่อนำไปเก็บไว้ยังที่พักของจำเลยที่ 1 เป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 เพื่อประโยชน์ของนายจ้างเองที่จะนำรถกลับมาใช้งานให้จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถชนผู้ตายและบุตรระหว่างขับรถกลับบ้าน ถือว่าเป็นการขับรถไปในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในเหตุละเมิดกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9941/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาสุจริตในการฟ้องคดีอาญาและการเบิกความต่อศาล เมื่อเข้าใจผิดในข้อเท็จจริง
ตามพฤติการณ์ทั้งโจทก์ ศ. และ น. ต่างมีความประสงค์ที่จะหาเงินเพื่อมาลงทุนค้าขาย เมื่อโจทก์รับว่าจำเลยเป็นผู้ให้กู้ยืมเงิน การที่มีการผิดนัดชำระหนี้ในเวลาต่อมาไม่ว่าด้วยประการใดๆ ย่อมทำให้จำเลยในฐานะผู้ให้กู้ยืมเงินย่อมต้องเข้าใจว่าการที่ ศ. สั่งจ่ายเช็คซึ่งบัญชีปิดแล้วและลายมือชื่อไม่ตรงตามตัวอย่างที่ให้ไว้กับธนาคารเป็นผลทำให้โจทก์ไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คได้ ซึ่งเท่ากับมีผลทำให้จำเลยไม่ได้รับชำระหนี้เงินกู้ยืมจากโจทก์นั่นเอง บุคคลในสถานะเช่นจำเลยย่อมต้องเข้าใจโดยสุจริตว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ลงลายมือชื่อกู้ยืมเงินต้องมีส่วนรู้เห็นกับ ศ. ออกเช็คชำระหนี้ให้แก่จำเลย โดยมิพักต้องคำนึงว่าตัวโจทก์จะอยู่รู้เห็นในขณะที่ ศ. ออกเช็คนั้นหรือไม่ก็ตาม เมื่อ ศ. เป็นผู้ที่ติดต่อให้โจทก์กู้ยืมเงินจากจำเลยเพื่อประโยชน์ของ น. บุตรโจทก์ที่จะหาเงินร่วมลงทุนค้าขายกับ ศ. และเช็คนั้นก็เป็นเช็คที่สั่งจ่ายตามจำนวนเท่ากับที่โจทก์กู้ยืม และลงวันที่เดียวกับวันครบกำหนดที่โจทก์ต้องชำระหนี้เงินกู้ยืมคืนให้แก่จำเลยเช่นนี้ เช็คฉบับดังกล่าวจึงเป็นเช็คที่ ศ. ได้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายให้แก่จำเลยเพื่อเป็นประกันการกู้ยืมเงินของโจทก์ในอันที่จะได้เงินจากจำเลยไปมอบให้แก่ น. เพื่อร่วมลงทุนค้าขายกับ ศ. เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินทำให้จำเลยไม่ได้รับเงินที่ให้กู้ยืมคืน การที่จำเลยเข้าใจว่าโจทก์รู้เห็นกับ ศ. ในการสั่งจ่ายเช็คดังกล่าวจึงเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ต้องเข้าใจเช่นนั้น ฉะนั้น การที่จำเลยฟ้องคดีอาญาต่อโจทก์และ ศ. กล่าวหาโจทก์และ ศ. ร่วมกันฉ้อโกงโจทก์ จึงเป็นการฟ้องเพราะเข้าใจโดยสุจริตว่าโจทก์และ ศ. ร่วมกันหลอกลวงเอาเงิน 1,100,000 บาท ไปจากจำเลยแล้วไม่คืนให้ตามที่ตกลงกันโดยจำเลยเชื่อว่าตนมีสิทธิตามกฎหมายที่จะฟ้องคดีอาญาได้ การกระทำของจำเลยจึงขาดเจตนาที่จะทำให้เป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ เมื่อจำเลยไม่มีความผิดฐานฟ้องเท็จแล้ว การที่จำเลยเบิกความไปตามที่ฟ้องนั้นจึงไม่เป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9330-9333/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่กำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมและการโต้แย้งคำสั่งศาลที่ไม่ชอบตามขั้นตอน ก่อให้สิทธิอุทธรณ์และฎีกาเสีย
จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องว่า ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไม่ถูกต้องโดยขอให้กำหนดประเด็นเพิ่มว่า จำเลยทั้งสามต่อเติมผนังคอนกรีตด้านหลังตึกแถวของจำเลยทั้งสามรุกล้ำที่ดินของโจทก์ทั้งสองโดยสุจริตหรือไม่ด้วย หากศาลไม่กำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มให้แก่จำเลยทั้งสาม จำเลยทั้งสามจึงขอคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาล เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องว่า คำให้การของจำเลยทั้งสามไม่ชัดแจ้งว่าจะต่อสู้ไปในทางใด จึงไม่กำหนดประเด็นข้อพิพาทให้ ถือเป็นการชี้ขาดคำคัดค้านตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคสาม จำเลยทั้งสามต้องโต้แย้งคำสั่งชี้ขาดของศาลชั้นต้นนั้นไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 วรรคสอง จึงมีสิทธิอุทธรณ์ได้จำเลยทั้งสามจะถือเอาคำร้องของจำเลยทั้งสามดังกล่าวเป็นคำโต้แย้งคำสั่งศาลแล้วไม่ได้เพราะเป็นการโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งชี้ขาด ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ ถึงแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยในปัญหาเรื่องนี้ให้จำเลยทั้งสาม โดยเห็นพ้องกับศาลชั้นต้นที่ไม่กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ ก็เป็นการไม่ชอบ เพราะต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวมิให้อุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยทั้งสามถือเป็นเรื่องที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย