พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5682/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีความผิดฐานอั้งยี่ ซ่องโจร ก่อการร้าย: การฟ้องซ้ำซ้อนและขอบเขตความผิด
การกระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่ ตาม ป.อ. มาตรา 209 เป็นความผิดสำเร็จทันทีเมื่อผู้นั้นได้เข้าเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบ ทั้งยังเป็นความผิดต่อเนื่องติดต่อกันตลอดมา ตราบใดที่ผู้กระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่ยังคงเป็นสมาชิกของคณะบุคคลดังกล่าว เมื่อคณะบุคคลที่จำเลยทั้งเจ็ดเข้าร่วมเป็นสมาชิกตามที่โจทก์บรรยายฟ้องในคดีนี้ กับคณะบุคคลที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 5 เข้าร่วมเป็นสมาชิกตามที่โจทก์บรรยายฟ้องในคดีก่อนเป็นคณะบุคคลเดียวกัน และช่วงระยะเวลาที่จำเลยทั้งเจ็ดสมัครเป็นสมาชิกของคณะบุคคลดังกล่าวอยู่ในช่วงระยะเวลาเดียวกันกับระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 สมัครเป็นสมาชิกของคณะบุคคลในคดีดังกล่าว ความผิดฐานเป็นอั้งยี่ที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 5 ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำหรือเป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าว หากคดีดังกล่าวถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญาในความผิดฐานเป็นอั้งยี่มาฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 5 เป็นอันระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) หรือหากคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 9 หรือศาลฎีกา ห้ามมิให้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 5 ในความผิดเป็นอั้งยี่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ความผิดฐานเป็นซ่องโจรตาม ป.อ. มาตรา 210 เป็นความผิดสำเร็จเมื่อมีการสมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป เพื่อกระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บทบัญญัติไว้ในภาค 2 ของประมวลกฎหมายอาญา ความผิดฐานเป็นซ่องโจรจึงเป็นขั้นตอนการกระทำความผิดที่ยกระดับจากความผิดฐานเป็นอั้งยี่ โดยมีการกระทำถึงขั้นคบคิดหรือตกลงกันหรือประชุมหรือตกลงกันเพื่อกระทำความผิด ส่วนความผิดฐานร่วมกันก่อการร้ายตาม ป.อ. มาตรา 135/2 (2) จะเป็นความผิดต่อเมื่อผู้กระทำได้สะสมกำลังพลหรืออาวุธ จัดหาหรือรวบรวมทรัพย์สิน ให้หรือรับการฝึกการก่อการร้าย หรือการกระทำอื่นใดตามที่บทบัญญัติไว้ในมาตรา 135/2 (2) อันเป็นการยกระดับจากความผิดฐานเป็นอั้งยี่เช่นกัน แม้ความผิดฐานเป็นซ่องโจรและความผิดฐานร่วมกันก่อการร้ายอาจเป็นความผิดกรรมเดียวกันได้หากเป็นการสมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป เพื่อก่อการร้ายซึ่งเป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ในภาค 2 ของประมวลกฎหมายอาญา แต่วันเวลาและสถานที่เกิดเหตุซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจรและฐานร่วมกันก่อการร้ายในคดีนี้ต่างจากวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุที่โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจรและฐานร่วมกันก่อการร้ายในคดีก่อน และเจตนาในการกระทำความผิดคดีนี้ต่างกับเจตนาในการกระทำความผิดที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อน ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานเป็นซ่องโจรและฐานร่วมกันก่อการร้ายคดีนี้เป็นการกระทำความผิดต่างกรรมกันกับความผิดฐานเป็นซ่องโจรและฐานร่วมกันก่อการร้ายในคดีก่อน จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนหรือฟ้องซ้ำกับฟ้องในความผิดฐานเป็นซ่องโจรและฐานร่วมกันก่อการร้ายในคดีดังกล่าว
เมื่อการกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจรในคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 และที่ 7 สมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป เพื่อกระทำการก่อการร้าย และลงมือกระทำความผิดฐานก่อการร้ายโดยร่วมกันมีวัตถุระเบิด ดังนี้ การกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจรและความผิดฐานร่วมกันก่อการร้ายในคดีนี้จึงเป็นกระทำความผิดโดยมีเจตนาเดียวกันในการกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวอันถือเป็นความผิดกรรมเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90 ส่วนการกระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่ และฐานเป็นซ่องโจรเป็นการกระทำความผิดที่ยกระดับถึงขั้นมีการสมคบกันเพื่อกระทำความผิดไม่ว่าโดยร่วมกันคบคิดหรือวางแผนเพื่อกระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในภาค 2 ของประมวลกฎหมายอาญา ดังนั้น การกระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่ และฐานเป็นซ่องโจรจึงเป็นการกระทำความผิดที่ผู้กระทำความผิดมีเจตนาต่างกัน อันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานเป็นซ่องโจรตาม ป.อ. มาตรา 210 เป็นความผิดสำเร็จเมื่อมีการสมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป เพื่อกระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บทบัญญัติไว้ในภาค 2 ของประมวลกฎหมายอาญา ความผิดฐานเป็นซ่องโจรจึงเป็นขั้นตอนการกระทำความผิดที่ยกระดับจากความผิดฐานเป็นอั้งยี่ โดยมีการกระทำถึงขั้นคบคิดหรือตกลงกันหรือประชุมหรือตกลงกันเพื่อกระทำความผิด ส่วนความผิดฐานร่วมกันก่อการร้ายตาม ป.อ. มาตรา 135/2 (2) จะเป็นความผิดต่อเมื่อผู้กระทำได้สะสมกำลังพลหรืออาวุธ จัดหาหรือรวบรวมทรัพย์สิน ให้หรือรับการฝึกการก่อการร้าย หรือการกระทำอื่นใดตามที่บทบัญญัติไว้ในมาตรา 135/2 (2) อันเป็นการยกระดับจากความผิดฐานเป็นอั้งยี่เช่นกัน แม้ความผิดฐานเป็นซ่องโจรและความผิดฐานร่วมกันก่อการร้ายอาจเป็นความผิดกรรมเดียวกันได้หากเป็นการสมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป เพื่อก่อการร้ายซึ่งเป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ในภาค 2 ของประมวลกฎหมายอาญา แต่วันเวลาและสถานที่เกิดเหตุซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจรและฐานร่วมกันก่อการร้ายในคดีนี้ต่างจากวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุที่โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจรและฐานร่วมกันก่อการร้ายในคดีก่อน และเจตนาในการกระทำความผิดคดีนี้ต่างกับเจตนาในการกระทำความผิดที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อน ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานเป็นซ่องโจรและฐานร่วมกันก่อการร้ายคดีนี้เป็นการกระทำความผิดต่างกรรมกันกับความผิดฐานเป็นซ่องโจรและฐานร่วมกันก่อการร้ายในคดีก่อน จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนหรือฟ้องซ้ำกับฟ้องในความผิดฐานเป็นซ่องโจรและฐานร่วมกันก่อการร้ายในคดีดังกล่าว
เมื่อการกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจรในคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 และที่ 7 สมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป เพื่อกระทำการก่อการร้าย และลงมือกระทำความผิดฐานก่อการร้ายโดยร่วมกันมีวัตถุระเบิด ดังนี้ การกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจรและความผิดฐานร่วมกันก่อการร้ายในคดีนี้จึงเป็นกระทำความผิดโดยมีเจตนาเดียวกันในการกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวอันถือเป็นความผิดกรรมเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90 ส่วนการกระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่ และฐานเป็นซ่องโจรเป็นการกระทำความผิดที่ยกระดับถึงขั้นมีการสมคบกันเพื่อกระทำความผิดไม่ว่าโดยร่วมกันคบคิดหรือวางแผนเพื่อกระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในภาค 2 ของประมวลกฎหมายอาญา ดังนั้น การกระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่ และฐานเป็นซ่องโจรจึงเป็นการกระทำความผิดที่ผู้กระทำความผิดมีเจตนาต่างกัน อันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5349/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพหลังสืบพยานแล้ว ถือเป็นการยุติข้อเท็จจริงเดิม โต้เถียงข้อเท็จจริงใหม่จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
คดีนี้จำเลยที่ 1 ถอนคำให้การปฏิเสธหลังจากที่โจทก์สืบพยานหลักฐานไปบ้างแล้วและให้การใหม่เป็นรับสารภาพตามฟ้อง ดังนั้นข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ยุติตามฟ้องว่า ผู้เสียหายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์กับได้มีการร้องทุกข์โดยชอบ และจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามฟ้อง อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ว่าโจทก์มิได้นำพยานหลักฐานมาสืบให้สิ้นสงสัยว่าลิขสิทธิ์ในงานตามฟ้องทั้งหมดเป็นของผู้เสียหายจึงมีความสงสัยตามสมควรว่าผู้เสียหายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือไม่ การมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ไม่ชอบ และจำเลยที่ 1 ไม่ทราบว่าของกลางตามฟ้องเป็นของที่ละเมิดลิขสิทธิ์ จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้ร่วมกระทำความผิดนั้น จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพแล้ว และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 (เดิม) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5348/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษปรับในคดีละเมิดลิขสิทธิ์และภาพยนตร์ โดยใช้กฎหมายที่ให้คุณแก่จำเลยมากที่สุด
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามี พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2558 (ฉบับที่ 2) ใช้บังคับ โดยมาตรา 12 พ.ร.บ.ดังกล่าวได้แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 75 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 จากเดิมที่บัญญัติให้บรรดาสิ่งที่ได้ทำขึ้นอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้กระทำความผิดตามมาตรา 69 หรือมาตรา 70 ให้ตกเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เป็นว่า บรรดาสิ่งที่ได้ทำขึ้นอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ให้ริบเสียทั้งสิ้น กรณีจึงเป็นเรื่องที่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ซึ่ง ป.อ. มาตรา 3 บัญญัติให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด เมื่อบทบัญญัติมาตรา 75 เดิม บัญญัติให้สิ่งที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า จึงต้องใช้มาตรา 75 เดิม บังคับแก่คดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5267/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของจำเลยต่อความเสียหายจากการผิดสัญญาจัดหารายการภาพยนตร์ โดยโจทก์ต้องพิสูจน์ความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงและมีเหตุผล
โจทก์ทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิแพร่ภาพแพร่เสียงรายการโทรทัศน์กับจำเลยซึ่งประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการผลิต จัดซื้อ และจัดหารายการโทรทัศน์ ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะนำรายการโทรทัศน์จากจำเลยมาแพร่เสียงแพร่ภาพทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมของโจทก์ โดยจำเลยรับรองต่อโจทก์ว่าจำเลยเป็นเจ้าของสิทธิในรายการโทรทัศน์นั้นโดยชอบด้วยกฎหมาย ข้อสัญญาดังกล่าวจึงถือเป็นสาระสำคัญ เพราะหากจำเลยไม่ใช่ผู้มีสิทธิในภาพยนตร์ที่อนุญาตให้โจทก์ใช้สิทธิ โจทก์ย่อมไม่ทำสัญญากับจำเลยอย่างแน่แท้ เมื่อบริษัท ส. แจ้งแก่โจทก์ว่าพบการเผยแพร่ภาพยนตร์ที่ตนมีสิทธิจัดจำหน่ายและหรือเผยแพร่แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยทางสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมของโจทก์โดยไม่ได้รับอนุญาต การกระทำของจำเลยถือเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิแพร่เสียงแพร่ภาพรายการโทรทัศน์ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ โจทก์และจำเลยจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่หากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์จากการแพร่เสียงแพร่ภาพภาพยนตร์ที่จำเลยยืนยันว่ามีสิทธิในภาพยนตร์นั้นแล้วอนุญาตให้โจทก์แพร่เสียงแพร่ภาพตามสัญญาดังกล่าว ทั้งที่จำเลยไม่มีสิทธิใด ๆ จึงทำให้โจทก์ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจแพร่เสียงแพร่ภาพได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงและเกียรติคุณ เพราะบุคคลทั่วไปย่อมเข้าใจว่าโจทก์กระทำการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และละเมิดลิขสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ รวมทั้งมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ขององค์กร ความน่าเชื่อถือในวงการธุรกิจโทรคมนาคม และความเชื่อมั่นในกลุ่มลูกค้าของโจทก์ นอกจากนี้การที่โจทก์ต้องชำระค่าทนายความและค่าใช้จ่ายให้แก่สำนักงานกฎหมาย ก็เป็นผลโดยตรงที่เกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยดังกล่าวจนทำให้โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญา จึงเห็นสมควรกำหนดค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับความเสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติคุณเนื่องจากการถูกดำเนินคดีอาญา และค่าเสียหายที่เป็นค่าทนายความและค่าใช้จ่ายทางกฎหมายให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 'CASINO MONTE-CARLO' ศาลอนุญาตจดทะเบียนได้ ยกเว้นบริการพนันโดยตรง
ในการพิจารณาว่าชื่อทางภูมิศาสตร์ที่ประชาชนโดยทั่วไปรู้จักแพร่หลายนั้นต้องพิจารณาจากประชาชนโดยทั่วไปทุกเพศ ทุกวัย และทุกกลุ่มในประเทศไทยว่าเคยได้ยินคำว่า "MONTE CARLO" และคุ้นหูว่า คำดังกล่าวเป็นสถานที่ทางภูมิศาสตร์ในโลกนี้หรือไม่ คือเมื่อเอ่ยถึงคำดังกล่าวประชาชนทุกเพศ ทุกวัย และทุกกลุ่มในประเทศทราบได้ทันทีว่าเป็นชื่อเขตบริหารเขตหนึ่งในประเทศราชรัฐโมโนโก เมื่อพยานหลักฐานรับฟังได้เพียงว่า สาธารณชนในประเทศไทยเฉพาะกลุ่มคนที่เคยเห็นชื่อ "MONTE CARLO" และกลุ่มคนที่สนใจกีฬาแข่งขันรถสูตร 1 กรังด์ปรีซ์เท่านั้น ประชาชนทั่วไปในประเทศไทยจะไม่ทราบว่าชื่อดังกล่าวเป็นชื่อเขตหนึ่งในเขตบริหารของประเทศราชรัฐโมนาโก ซึ่งมีบ่อนการพนันและเป็นสถานที่ที่จัดการแข่งขันรถสูตร 1 กรังด์ปรีซ์ ชื่อ "MONTE CARLO" จึงไม่เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ที่ประชาชนโดยทั่วไปรู้จักกันแพร่หลายในประเทศไทยอันจะถือว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ประกาศกำหนด ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2)
คำว่า "CASINO DE MONTE - CARLO" ที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการดังกล่าวมีความหมายว่า บ่อนการพนันแห่งเมืองมอนติคาร์โล เมื่อพิจารณากับรายการสินค้าและบริการส่วนใหญ่ตามคำขอจดทะเบียนทั้งสี่คำขอแรกของโจทก์ ซึ่งได้แก่รายการสินค้า เครื่องบันทึกส่งและทำเสียงซ้ำ สื่อบันทึกข้อมูล ระบบแม่เหล็ก แผ่นบันทึกเสียง เครื่องขายสินค้าอัตโนมัติ กลไกสำหรับเครื่องที่ทำงานด้วยการหยอดเหรียญเครื่องบันทึกเงินสด เครื่องคิดเลข อุปกรณ์ประมวลผลข้อมูล เครื่องมือที่ใช้กับระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องดับเพลิง วีดีโอเกมส์ที่ทำงานด้วยการหยอดเหรียญ รายการสินค้า กระดาษที่ใช้สำหรับพิมพ์ กระดาษชีตที่ใช้เป็นเครื่องเขียน กระดาษที่ใช้กับเครื่องบันทึก กระดาษแข็ง โบรชัวร์ แม็กกาซีน เอกสารแผ่นพับ ใบปลิว สมุด/หนังสือ เอกสารโฆษณา นิตยสารหรือวารสารที่ออกตามกำหนดเวลา วัสดุที่ใช้ในการเข้าเล่ม ภาพถ่าย กาวหรือสารยึดติดและสำหรับเครื่องเขียนหรือใช้ในครัวเรือน แปรงทาสีหรือพู่กัน เครื่องพิมพ์ดีด วัสดุที่ใช้ในการเรียนการสอน (ยกเว้นเครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์) วัสดุพลาสติกที่ใช้ในการบรรจุหีบห่อ ตัวพิมพ์ แม่พิมพ์ รายการสินค้า เกมอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ปรับใช้กับเครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเล่นเกมและชิ้นส่วนประกอบของเครื่องเล่นเกมที่ไม่ได้ปรับใช้กับเครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องให้ความบันเทิงและชิ้นส่วนประกอบของเครื่องให้ความบันเทิงที่ไม่ได้ปรับใช้กับเครื่องรับโทรทัศน์ อุปกรณ์สำหรับเล่นเกมที่ไม่ได้ปรับใช้กับเครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเล่นเกมอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ปรับใช้กับเครื่องรับโทรทัศน์ ไพ่ เกมกระดาน เกมที่ใช้การ์ดหรือไม่ ชุดบัตรแบบใช้แล้วทิ้งสำหรับเล่นเกมเสี่ยงโชค เครื่องเล่นเกมอิเล็กทรอนิกส์ และวีดีโอเกมแบบมือถือ เกมล็อตเตอรี่ โดมิโน อุปกรณ์เกมในร่ม เกมรูเล็ตต์ วิดีโอโป๊กเกอร์ เกมบลู รายการบริการ บริการถ่ายทอดข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสาร (การส่ง) ทางเครื่องปลายทางคอมพิวเตอร์ การส่งข้อมูลผ่านการใส่รหัสเพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูลและเซิร์ฟเวอร์ของคอมพิวเตอร์หรือเทเลมาติก การสื่อสาร (การส่ง) ข้อมูลโดยเครื่องปลายทางคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายการสื่อสารระดับประเทศ ระดับระหว่างประเทศ และทั่วโลกผ่านทางเคเบิล ดาวเทียม บริการสื่อสารทางโทรทัศน์ บริการสื่อสารทางเทเลมาติก บริการสื่อสารแบบมัลติมีเดีย บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การส่งข้อความและภาพโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ การส่งผ่านข้อมูลทางบริการเทเลมาติกโดยใช้รหัสผ่านบริการไปรษณีย์ออนไลน์ บริการโต้ตอบระดับประเทศและข้ามประเทศ (อินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต) และรายการบริการ บริการศึกษา บริการด้านการฝึกอบรมกิจกรรมกีฬาและวัฒนธรรมดิสโกเธก บริการข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจบันเทิง บริการสโมสร (ธุรกิจบันเทิงหรือการศึกษา) การจัดการแสดง การจัดการและดำเนินการสัมมนา การประชุม การพบปะหารือ การประชุมทางวิชาการ การจัดงานแสดงนิทรรศการด้านวัฒนธรรมหรือการศึกษา การจัดการอีเวนต์ด้านการกีฬา การจัดการแข่งขัน (ด้านการศึกษาหรือด้านบันเทิง) การจัดการประกวดนางงาม การจัดการและดำเนินการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดงานเต้นรำ วางแผนการต้อนรับแขก (ธุรกิจบันเทิง) ผลิตการแสดงไม่อาจให้เข้าใจไปได้ว่าสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่ใช้อยู่ภายในบ่อนการพนันแห่งเมืองมอนติคาร์โลหรือสินค้าและบริการดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับบ่อนการพนันแห่งเมืองมอนติคาร์โล จึงไม่ใช่คำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการนั้นโดยตรง ไม่ต้องห้ามรับจดทะเบียน คงมีรายการบริการจำนวน 9 รายการ ของรายการบริการตามคำขอที่ 5 ของโจทก์ ได้แก่ บริการการพนันเงิน (ที่ได้รับอนุญาต) บริการจัดการสลากกินแบ่ง (ที่ได้รับอนุญาต) บริการการพนันออนไลน์ (จากเครือข่ายประมวลผลข้อมูลที่ได้รับอนุญาต) บริการการพนันและสลากกินแบ่งออนไลน์ (จากเครือข่ายประมวลผลข้อมูลที่ได้รับอนุญาต) บริการห้องเล่นพนัน บริการคาสิโน (เกมที่ได้รับอนุญาต) บริการให้เช่าเครื่องเล่นพนันอัตโนมัติและเครื่องเล่นสำหรับสถานเล่นการพนัน บริการคาสิโนและการพนันการตลาด (ที่ได้รับอนุญาต) และการพนันและสลากกินแบ่งผ่านทางวิทยุโทรทัศน์ ดังนั้น คำว่า "CASINO" ในเครื่องหมายบริการคำว่า "CASINO DE MONTE - CARLO" เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะของบริการทั้งเก้ารายการดังกล่าวซึ่งเกี่ยวกับการพนันโดยตรง จึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะสำหรับบริการทั้งเก้ารายการดังกล่าวตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 7 วรรคสอง (2) เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ยังรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายบริการ "CASINO DE MONTE - CARLO" กับบริการทั้งเก้ารายการดังกล่าวโดยการให้บริการ เผยแพร่หรือโฆษณาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานพอสมควรจนทำให้สาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักและเข้าใจว่าบริการที่โจทก์ขอจดทะเบียนดังกล่าวแตกต่างไปจากบริการอื่นตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องหลักเกณฑ์การพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 คำว่า "CASINO DE MONTE - CARLO" จึงไม่อาจรับจดทะเบียนสำหรับบริการทั้งเก้ารายการได้
คำว่า "CASINO DE MONTE - CARLO" ที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการดังกล่าวมีความหมายว่า บ่อนการพนันแห่งเมืองมอนติคาร์โล เมื่อพิจารณากับรายการสินค้าและบริการส่วนใหญ่ตามคำขอจดทะเบียนทั้งสี่คำขอแรกของโจทก์ ซึ่งได้แก่รายการสินค้า เครื่องบันทึกส่งและทำเสียงซ้ำ สื่อบันทึกข้อมูล ระบบแม่เหล็ก แผ่นบันทึกเสียง เครื่องขายสินค้าอัตโนมัติ กลไกสำหรับเครื่องที่ทำงานด้วยการหยอดเหรียญเครื่องบันทึกเงินสด เครื่องคิดเลข อุปกรณ์ประมวลผลข้อมูล เครื่องมือที่ใช้กับระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องดับเพลิง วีดีโอเกมส์ที่ทำงานด้วยการหยอดเหรียญ รายการสินค้า กระดาษที่ใช้สำหรับพิมพ์ กระดาษชีตที่ใช้เป็นเครื่องเขียน กระดาษที่ใช้กับเครื่องบันทึก กระดาษแข็ง โบรชัวร์ แม็กกาซีน เอกสารแผ่นพับ ใบปลิว สมุด/หนังสือ เอกสารโฆษณา นิตยสารหรือวารสารที่ออกตามกำหนดเวลา วัสดุที่ใช้ในการเข้าเล่ม ภาพถ่าย กาวหรือสารยึดติดและสำหรับเครื่องเขียนหรือใช้ในครัวเรือน แปรงทาสีหรือพู่กัน เครื่องพิมพ์ดีด วัสดุที่ใช้ในการเรียนการสอน (ยกเว้นเครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์) วัสดุพลาสติกที่ใช้ในการบรรจุหีบห่อ ตัวพิมพ์ แม่พิมพ์ รายการสินค้า เกมอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ปรับใช้กับเครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเล่นเกมและชิ้นส่วนประกอบของเครื่องเล่นเกมที่ไม่ได้ปรับใช้กับเครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องให้ความบันเทิงและชิ้นส่วนประกอบของเครื่องให้ความบันเทิงที่ไม่ได้ปรับใช้กับเครื่องรับโทรทัศน์ อุปกรณ์สำหรับเล่นเกมที่ไม่ได้ปรับใช้กับเครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเล่นเกมอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ปรับใช้กับเครื่องรับโทรทัศน์ ไพ่ เกมกระดาน เกมที่ใช้การ์ดหรือไม่ ชุดบัตรแบบใช้แล้วทิ้งสำหรับเล่นเกมเสี่ยงโชค เครื่องเล่นเกมอิเล็กทรอนิกส์ และวีดีโอเกมแบบมือถือ เกมล็อตเตอรี่ โดมิโน อุปกรณ์เกมในร่ม เกมรูเล็ตต์ วิดีโอโป๊กเกอร์ เกมบลู รายการบริการ บริการถ่ายทอดข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสาร (การส่ง) ทางเครื่องปลายทางคอมพิวเตอร์ การส่งข้อมูลผ่านการใส่รหัสเพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูลและเซิร์ฟเวอร์ของคอมพิวเตอร์หรือเทเลมาติก การสื่อสาร (การส่ง) ข้อมูลโดยเครื่องปลายทางคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายการสื่อสารระดับประเทศ ระดับระหว่างประเทศ และทั่วโลกผ่านทางเคเบิล ดาวเทียม บริการสื่อสารทางโทรทัศน์ บริการสื่อสารทางเทเลมาติก บริการสื่อสารแบบมัลติมีเดีย บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การส่งข้อความและภาพโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ การส่งผ่านข้อมูลทางบริการเทเลมาติกโดยใช้รหัสผ่านบริการไปรษณีย์ออนไลน์ บริการโต้ตอบระดับประเทศและข้ามประเทศ (อินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต) และรายการบริการ บริการศึกษา บริการด้านการฝึกอบรมกิจกรรมกีฬาและวัฒนธรรมดิสโกเธก บริการข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจบันเทิง บริการสโมสร (ธุรกิจบันเทิงหรือการศึกษา) การจัดการแสดง การจัดการและดำเนินการสัมมนา การประชุม การพบปะหารือ การประชุมทางวิชาการ การจัดงานแสดงนิทรรศการด้านวัฒนธรรมหรือการศึกษา การจัดการอีเวนต์ด้านการกีฬา การจัดการแข่งขัน (ด้านการศึกษาหรือด้านบันเทิง) การจัดการประกวดนางงาม การจัดการและดำเนินการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดงานเต้นรำ วางแผนการต้อนรับแขก (ธุรกิจบันเทิง) ผลิตการแสดงไม่อาจให้เข้าใจไปได้ว่าสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่ใช้อยู่ภายในบ่อนการพนันแห่งเมืองมอนติคาร์โลหรือสินค้าและบริการดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับบ่อนการพนันแห่งเมืองมอนติคาร์โล จึงไม่ใช่คำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการนั้นโดยตรง ไม่ต้องห้ามรับจดทะเบียน คงมีรายการบริการจำนวน 9 รายการ ของรายการบริการตามคำขอที่ 5 ของโจทก์ ได้แก่ บริการการพนันเงิน (ที่ได้รับอนุญาต) บริการจัดการสลากกินแบ่ง (ที่ได้รับอนุญาต) บริการการพนันออนไลน์ (จากเครือข่ายประมวลผลข้อมูลที่ได้รับอนุญาต) บริการการพนันและสลากกินแบ่งออนไลน์ (จากเครือข่ายประมวลผลข้อมูลที่ได้รับอนุญาต) บริการห้องเล่นพนัน บริการคาสิโน (เกมที่ได้รับอนุญาต) บริการให้เช่าเครื่องเล่นพนันอัตโนมัติและเครื่องเล่นสำหรับสถานเล่นการพนัน บริการคาสิโนและการพนันการตลาด (ที่ได้รับอนุญาต) และการพนันและสลากกินแบ่งผ่านทางวิทยุโทรทัศน์ ดังนั้น คำว่า "CASINO" ในเครื่องหมายบริการคำว่า "CASINO DE MONTE - CARLO" เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะของบริการทั้งเก้ารายการดังกล่าวซึ่งเกี่ยวกับการพนันโดยตรง จึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะสำหรับบริการทั้งเก้ารายการดังกล่าวตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 7 วรรคสอง (2) เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ยังรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายบริการ "CASINO DE MONTE - CARLO" กับบริการทั้งเก้ารายการดังกล่าวโดยการให้บริการ เผยแพร่หรือโฆษณาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานพอสมควรจนทำให้สาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักและเข้าใจว่าบริการที่โจทก์ขอจดทะเบียนดังกล่าวแตกต่างไปจากบริการอื่นตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องหลักเกณฑ์การพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 คำว่า "CASINO DE MONTE - CARLO" จึงไม่อาจรับจดทะเบียนสำหรับบริการทั้งเก้ารายการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4505/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีทรัพย์สินทางปัญญา: อำนาจฟ้อง, การแก้ไขคำฟ้อง, และผู้ถูกฟ้องที่ไม่ใช่ผู้โต้แย้งสิทธิ
โจทก์ระบุตัวบุคคลที่จะถูกฟ้องในช่องชื่อคู่ความกับที่บรรยายว่าขอยื่นฟ้องผู้ใดขัดกันเอง ทั้งการที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องมาในอุทธรณ์โดยขอเพิ่มกรมทรัพย์สินทางปัญญาเข้ามาเป็นจำเลยในคดีอีกคนหนึ่งไม่ใช่การแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย และเป็นการขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องหลังจากที่ศาลทรัพย์สินฯ มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องแล้ว ล่วงเลยเวลาที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 180
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงนามในคำสั่งให้ยกคำขอรับสิทธิบัตรของโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรของโจทก์ โดยจำเลยทั้งสามเป็นเพียงเจ้าหน้าที่ในบังคับบัญชาของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็นผู้แทนของกรม และเป็นผู้ที่กฎหมายบัญญัติให้มีอำนาจพิจารณาและออกคำสั่งเกี่ยวกับคำขอรับสิทธิบัตร จำเลยทั้งสามจึงไม่ใช่ผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ในการพิจารณายกคำขอรับสิทธิบัตรของโจทก์ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 74 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 55 ซึ่งชอบที่ศาลทรัพย์สินฯ จะมีคำสั่งยกฟ้อง การที่ศาลทรัพย์สินฯ เพียงแต่มีคำสั่งไม่รับคำฟ้อง อันเป็นการสั่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 18 จึงไม่ถูกต้อง
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงนามในคำสั่งให้ยกคำขอรับสิทธิบัตรของโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรของโจทก์ โดยจำเลยทั้งสามเป็นเพียงเจ้าหน้าที่ในบังคับบัญชาของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็นผู้แทนของกรม และเป็นผู้ที่กฎหมายบัญญัติให้มีอำนาจพิจารณาและออกคำสั่งเกี่ยวกับคำขอรับสิทธิบัตร จำเลยทั้งสามจึงไม่ใช่ผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ในการพิจารณายกคำขอรับสิทธิบัตรของโจทก์ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 74 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 55 ซึ่งชอบที่ศาลทรัพย์สินฯ จะมีคำสั่งยกฟ้อง การที่ศาลทรัพย์สินฯ เพียงแต่มีคำสั่งไม่รับคำฟ้อง อันเป็นการสั่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 18 จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4488/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการค้า การบรรยายฟ้องต้องครบองค์ประกอบความผิด
การทำซ้ำโปรแกรมคอมพิวเตอร์อันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์นั้น ไม่ว่าจะเป็นการทำซ้ำจากบันทึกของงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์อันมีลิขสิทธิ์ที่ผู้เสียหายอนุญาตให้ทำขึ้น หรือทำซ้ำจากบันทึกของงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ก็ล้วนเป็นการกระทำต่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์อันมีลิขสิทธิ์ซึ่งถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 30 (1) เพราะชุดคำสั่งที่เขียนด้วยภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (source code) หรือภาษาเครื่อง (object code) อันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4 ซึ่งบันทึกอยู่ในงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายหรือบันทึกอยู่ในบันทึกของงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายนั้นเป็นตัวงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์อันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4 และ 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4484/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายห้องชุด, สัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก, ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา, ค่าขาดประโยชน์, การโอนกรรมสิทธิ์
เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้จะขายได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดและเฟอร์นิเจอร์เพื่อติดตั้งในห้องชุดกับโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 ย่อมมีความผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญา ต่อมาจำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายอาคารชุดทั้งหมดให้แก่ ว. ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2547 โดยสัญญาระบุว่า ว. ตกลงรับโอนสิทธิเรียกร้องสำหรับคู่สัญญาที่เป็นลูกค้าทุกรายของจำเลยที่ 1 ในโครงการ และรับผิดชอบภาระตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดกับลูกค้าทุกรายแทนจำเลยที่ 1 ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 16 มิถุนายน 2547 ต่อมา ว. มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 ขอเปลี่ยนคู่สัญญาเป็นจำเลยที่ 2 โดยแจ้งแก่จำเลยที่ 1 ว่าข้อตกลงในการซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ว. ยังมีสภาพบังคับและเงื่อนไขตามสัญญาซื้อขายเดิมที่ทำกันไว้ ต่อมาจำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งหมดแก่จำเลยที่ 2 โดยยังคงมีข้อสัญญาเช่นเดียวกับสัญญาฉบับลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2547 เพียงเปลี่ยนคู่สัญญาจาก ว. เป็นจำเลยที่ 2 เท่านั้น การที่ ว. กับจำเลยที่ 2 ทำสัญญาดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 โดยตกลงว่า ว. และจำเลยที่ 2 จะชำระหนี้แก่ลูกค้ารวมทั้งโจทก์ทั้งสองผู้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 อันเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่ลูกค้าผู้เป็นเจ้าหนี้ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 วรรคหนึ่ง ซึ่งหากโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นตามมาตรา 374 วรรคสอง โจทก์ทั้งสองมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 2 ผู้เป็นลูกหนี้ชำระหนี้โดยตรงแก่โจทก์ทั้งสองได้ การที่จำเลยที่ 1 ตกลงขายอาคารชุดทั้งโครงการแก่ ว. และจำเลยที่ 2 นั้น แม้จะมีข้อสัญญาให้ ว. และจำเลยที่ 2 รับผิดชอบในการชำระหนี้แก่ลูกค้าผู้ทำสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ก็ตาม สัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ว. และจำเลยที่ 2 ดังกล่าวก็เป็นเพียงสัญญาเพื่อประโยชน์แก่ลูกค้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเท่านั้น ไม่ถึงกับเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากความผูกพันในฐานะลูกหนี้ต่อลูกค้าผู้เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 เว้นแต่ลูกค้าผู้เป็นเจ้าหนี้นั้นจะตกลงให้เปลี่ยนตัวลูกหนี้โดยทำสัญญากับลูกหนี้คนใหม่อันเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามมาตรา 350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3999/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างขนส่งสินค้า: การผิดสัญญาจากเหตุระวางเรือไม่ตรงตามกำหนด และขอบเขตความรับผิด
ก่อนมีการตกลงว่าจ้างจำเลยขนส่งสินค้ากังหันไอน้ำความดันต่ำ โจทก์แจ้งกำหนดเวลาส่งมอบสินค้าว่า ประมาณวันที่ 25 มิถุนายน 2552 ให้จำเลยทราบแล้วในหนังสือขอให้จำเลยเสนอราคาค่าจ้างบริการขนส่งสินค้าทางเรือ ดังนั้น ก่อนเสนอราคาจำเลยย่อมต้องตรวจสอบตารางการเดินเรือว่าสามารถดำเนินการรับขนสินค้าจากท่าเรือต้นทางเมืองโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น ได้ทันวันดังกล่าวหรือไม่ แต่จำเลยกลับนำสืบว่าได้จองเรือที่เดินทางออกจากท่าเรือในวันที่ 23 มิถุนายน 2552 นอกจากนี้เมื่อโจทก์สนองรับราคาของจำเลย โจทก์ยังแนบสัญญาซื้อขายกังหันไอน้ำความดันต่ำซึ่งมีกำหนดเวลาส่งมอบสินค้าภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2552 ไปพร้อมกับหนังสือจ้างขนส่งสินค้าทางเรือให้จำเลยทราบอีกด้วย จำเลยจึงย่อมต้องทราบดีว่าหากจำเลยไม่สามารถจัดหาเรือที่จะออกจากท่าเรือต้นทางเมืองโยโกฮามาอย่างช้าที่สุดวันที่ 25 มิถุนายน 2552 ได้ จำเลยยังมีทางเลือกที่จะจัดหาเรือซึ่งออกจากท่าเรือต้นทางอย่างช้าที่สุดวันที่ 30 มิถุนายน 2552 ได้อีกด้วย แม้หนังสือจ้างจะไม่มีข้อตกลงให้จำเลยไปรับสินค้าในวันที่ 25 มิถุนายน 2552 โดยมีเพียงข้อกำหนดให้จำเลยส่งมอบงานภายใน 22 วัน นับจากวันที่จำเลยรับสินค้าจากผู้ขายที่ประเทศญี่ปุ่นเท่านั้นก็ตาม แต่จากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมีน้ำหนักและเหตุผลให้รับฟังได้ว่าจำเลยทราบกำหนดวันที่ผู้ขายจะส่งมอบสินค้าให้แก่โจทก์ หนังสือจ้างขนส่งสินค้าทางเรือจึงเป็นสัญญาที่มีกำหนดเวลาที่จำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญาไว้แน่นอน การที่จำเลยจองระวางเรือซึ่งมีกำหนดการเดินทางออกจากท่าเรือเมืองโยโกฮามาวันที่ 23 มิถุนายน 2552 จึงฟังไม่ได้ว่าเป็นการจองระวางเรือที่เหมาะสมกับกำหนดเวลาส่งมอบสินค้าจากผู้ขาย
แม้จำเลยนำสืบว่าเรือเดินทะเลอาจเทียบท่าก่อนตารางการเดินเรือได้เนื่องจากภัยธรรมชาติตามสัญญาเลย์แคน (Laycan) และเป็นเหตุสุดวิสัยที่จำเลยไม่อาจควบคุมได้ แต่เมื่อจำเลยไม่ได้นำสืบว่าเหตุที่เรือที่จำเลยว่าจ้างเข้าเทียบท่าเรือและออกจากท่าเรือก่อนกำหนดเกิดจากภัยธรรมชาติอย่างไร ทั้งกรณีจะเป็นเหตุสุดวิสัยจะต้องได้ความว่าเหตุดังกล่าวเป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 8 เมื่อจำเลยประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการรับขนสินค้าทางทะเลย่อมต้องทราบดีว่าระยะเวลาการเดินเรือและเข้าเทียบท่าอาจคลาดเคลื่อนได้ หากจำเลยใช้ความระมัดระวังตามสมควรในฐานะผู้ประกอบการก็ไม่ควรจองระวางเรือที่จะออกจากท่าเรือต้นทางก่อนถึงกำหนดส่งมอบสินค้าตามที่โจทก์แจ้งไว้ล่วงหน้า จึงหาใช่เหตุสุดวิสัยดังข้อต่อสู้ของจำเลยไม่
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาจ้างไม่ไปรับสินค้าตามกำหนดที่ตกลงไว้กับโจทก์ทำให้โจทก์เสียหาย หาใช่เป็นคดีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในกรณีที่สินค้าสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบสินค้าชักช้า จึงไม่สามารถนำ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 52 และ 58 มาปรับใช้แก่คดีดังที่จำเลยต่อสู้ได้
เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบกำหนดรับมอบสินค้าว่าประมาณวันที่ 25 มิถุนายน 2552 แล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจัดหาเรือไปรับสินค้าให้ทันวันดังกล่าว โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบว่าโจทก์จะใช้สินค้าเมื่อใด เนื่องจากโจทก์ไม่ได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแก่พฤติการณ์พิเศษตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคสอง
แม้จำเลยนำสืบว่าเรือเดินทะเลอาจเทียบท่าก่อนตารางการเดินเรือได้เนื่องจากภัยธรรมชาติตามสัญญาเลย์แคน (Laycan) และเป็นเหตุสุดวิสัยที่จำเลยไม่อาจควบคุมได้ แต่เมื่อจำเลยไม่ได้นำสืบว่าเหตุที่เรือที่จำเลยว่าจ้างเข้าเทียบท่าเรือและออกจากท่าเรือก่อนกำหนดเกิดจากภัยธรรมชาติอย่างไร ทั้งกรณีจะเป็นเหตุสุดวิสัยจะต้องได้ความว่าเหตุดังกล่าวเป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 8 เมื่อจำเลยประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการรับขนสินค้าทางทะเลย่อมต้องทราบดีว่าระยะเวลาการเดินเรือและเข้าเทียบท่าอาจคลาดเคลื่อนได้ หากจำเลยใช้ความระมัดระวังตามสมควรในฐานะผู้ประกอบการก็ไม่ควรจองระวางเรือที่จะออกจากท่าเรือต้นทางก่อนถึงกำหนดส่งมอบสินค้าตามที่โจทก์แจ้งไว้ล่วงหน้า จึงหาใช่เหตุสุดวิสัยดังข้อต่อสู้ของจำเลยไม่
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาจ้างไม่ไปรับสินค้าตามกำหนดที่ตกลงไว้กับโจทก์ทำให้โจทก์เสียหาย หาใช่เป็นคดีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในกรณีที่สินค้าสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบสินค้าชักช้า จึงไม่สามารถนำ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 52 และ 58 มาปรับใช้แก่คดีดังที่จำเลยต่อสู้ได้
เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบกำหนดรับมอบสินค้าว่าประมาณวันที่ 25 มิถุนายน 2552 แล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจัดหาเรือไปรับสินค้าให้ทันวันดังกล่าว โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบว่าโจทก์จะใช้สินค้าเมื่อใด เนื่องจากโจทก์ไม่ได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแก่พฤติการณ์พิเศษตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3878/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดสิทธิบัตร: โจทก์ต้องพิสูจน์การใช้ความคิดในการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของผู้ละเมิด
โจทก์ที่ 2 เป็นผู้ประดิษฐ์การประดิษฐ์ตู้บรรทุกขยะแบบอัด ซึ่งได้ยื่นขอรับสิทธิบัตรแล้ว แต่โจทก์ทั้งสองอ้างในคำฟ้องและนำสืบว่า โจทก์ที่ 2 ได้โอนสิทธิบัตรดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 1 แล้ว ซึ่งการโอนสิทธิบัตรตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 41 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ไม่ปรากฏตามสิทธิบัตรดังกล่าวว่ามีรายการที่โจทก์ที่ 2 จดทะเบียนโอนสิทธิบัตรดังกล่าวให้โจทก์ที่ 1 แล้ว ทั้งไม่ปรากฏจากทางนำสืบของโจทก์ทั้งสองว่าโจทก์ที่ 2 โอนสิทธิบัตรให้แก่โจทก์ที่ 1 เมื่อใด จึงฟังไม่ได้ว่า โจทก์ที่ 2 โอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ตู้บรรทุกขยะแบบอัดดังกล่าวแล้ว โจทก์ที่ 2 จึงยังคงเป็นผู้ทรงสิทธิบัตรการประดิษฐ์ดังกล่าว ซึ่งมีอำนาจฟ้องว่าจำเลยทั้งสองละเมิดสิทธิบัตรดังกล่าวของโจทก์ที่ 2 แต่โจทก์ที่ 1 ไม่ใช่ผู้ทรงสสิทธิบัตรที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองละเมิดสิทธิบัตรดังกล่าว
คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า จำเลยทั้งสองผลิตตู้บรรทุกขยะแบบอัดท้ายชนิดสามารเปิด-ปิด และปรับระดับที่รองรับขยะได้ โดยลอกเลียนหรือใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรของโจทก์ทั้งสองและร่วมกันขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ตู้บรรทุกขยะดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ทั้งสอง เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธ โจทก์ทั้งสองจึงมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้ผลิตตู้บรรทุกขยะโดยใช้ความคิดในการประดิษฐ์ที่อยู่ในข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์ที่ 2 และจำเลยทั้งสองร่วมกันขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ตู้บรรทุกขยะตามสิทธิบัตรดังกล่าวให้รับฟังได้ตามที่กล่าวอ้างในคำฟ้อง แต่โจทก์ที่ 2 เบิกความว่า คำกล่าวอ้างของจำเลยทั้งสองที่ว่า จำเลยทั้งสองผลิตตามแบบของตนเองไม่ได้ลอกเลียนแบบการประดิษฐ์ของผู้ใดเป็นเท็จ เพราะถ้าเป็นแบบของตนเอง รูปแบบสินค้าที่นำมาเสนอขายควรเป็นแบบหรือภาพถ่ายสินค้าของตนเอง ไม่ควรนำผลงานของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นของตนเอง โจทก์ทั้งสองจึงมั่นใจว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาละเมิดสิทธิบัตรของโจทก์ทั้งสองโดยการคัดลอกแบบแปลนและผลิตออกจำหน่ายให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบล ค. โดยมิได้นำสืบว่า รถยนต์บรรทุกที่อ้างว่า จำเลยทั้งสองผลิตและขายให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบล ค. นั้นมีลักษณะอย่างไร มีกระบวนการการทำงานอย่างไร ตรงกับข้อถือสิทธิที่ได้รับความคุ้มครองในสิทธิบัตรของโจทก์ที่ 2 หรือไม่ เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองผลิตตู้บรรทุกขยะแบบอัดท้ายชนิดสามารถเปิด-ปิด และปรับระดับที่รองรับขยะได้โดยใช้ความคิดในการประดิษฐ์ที่มีรายละเอียดตรงหรือสอดคล้องกับข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ตู้บรรทุกขยะดังกล่าวของโจทก์ที่ 2 แม้ผู้รับมอบอำนาจจำเลยทั้งสองจะตอบทนายโจทก์ทั้งสองถามค้านว่า จำเลยที่ 1 ได้ผลิตรถขนขยะตามแบบที่เสนอตามสเป็กที่กำหนดต่อองค์การบริหารส่วนตำบล ค. และส่งมอบเรียบร้อยแล้ว แต่ก็ยังไม่อาจรับฟังได้ว่ารถยนต์บรรทุกขยะที่จำเลยทั้งสองผลิตและส่งมอบดังกล่าวนั้นมีส่วนใดบ้างที่จำเลยทั้งสองได้ใช้ความคิดในการประดิษฐ์ในข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์ที่ 2 อันเป็นการละเมิดสิทธิบัตรของโจทก์ที่ 2 พยานหลักฐานที่โจทก์ทั้งสองนำสืบบ่งชี้ไปในทางที่ว่า จำเลยทั้งสองนำภาพถ่ายรถต้นแบบและแค็ตตาล็อกของโจทก์ทั้งสองไปใช้ในการเสนอราคาต่อองค์การบริหารส่วนตำบล ค. ซึ่งไม่ใช่การที่จำเลยทั้งสองผลิตออกขายซึ่งตู้บรรทุกขยะโดยใช้การประดิษฐ์ในข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรของโจทก์ที่ 2 จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองรับผลิตออกขายซึ่งตู้บรรทุกขยะโดยใช้การประดิษฐ์ในข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรดังกล่าวของโจทก์ที่ 2 การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ที่ 2 ผู้ทรงสิทธิบัตร ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 36 วรรคหนึ่ง (1)
คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า จำเลยทั้งสองผลิตตู้บรรทุกขยะแบบอัดท้ายชนิดสามารเปิด-ปิด และปรับระดับที่รองรับขยะได้ โดยลอกเลียนหรือใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรของโจทก์ทั้งสองและร่วมกันขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ตู้บรรทุกขยะดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ทั้งสอง เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธ โจทก์ทั้งสองจึงมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้ผลิตตู้บรรทุกขยะโดยใช้ความคิดในการประดิษฐ์ที่อยู่ในข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์ที่ 2 และจำเลยทั้งสองร่วมกันขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ตู้บรรทุกขยะตามสิทธิบัตรดังกล่าวให้รับฟังได้ตามที่กล่าวอ้างในคำฟ้อง แต่โจทก์ที่ 2 เบิกความว่า คำกล่าวอ้างของจำเลยทั้งสองที่ว่า จำเลยทั้งสองผลิตตามแบบของตนเองไม่ได้ลอกเลียนแบบการประดิษฐ์ของผู้ใดเป็นเท็จ เพราะถ้าเป็นแบบของตนเอง รูปแบบสินค้าที่นำมาเสนอขายควรเป็นแบบหรือภาพถ่ายสินค้าของตนเอง ไม่ควรนำผลงานของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นของตนเอง โจทก์ทั้งสองจึงมั่นใจว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาละเมิดสิทธิบัตรของโจทก์ทั้งสองโดยการคัดลอกแบบแปลนและผลิตออกจำหน่ายให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบล ค. โดยมิได้นำสืบว่า รถยนต์บรรทุกที่อ้างว่า จำเลยทั้งสองผลิตและขายให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบล ค. นั้นมีลักษณะอย่างไร มีกระบวนการการทำงานอย่างไร ตรงกับข้อถือสิทธิที่ได้รับความคุ้มครองในสิทธิบัตรของโจทก์ที่ 2 หรือไม่ เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองผลิตตู้บรรทุกขยะแบบอัดท้ายชนิดสามารถเปิด-ปิด และปรับระดับที่รองรับขยะได้โดยใช้ความคิดในการประดิษฐ์ที่มีรายละเอียดตรงหรือสอดคล้องกับข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ตู้บรรทุกขยะดังกล่าวของโจทก์ที่ 2 แม้ผู้รับมอบอำนาจจำเลยทั้งสองจะตอบทนายโจทก์ทั้งสองถามค้านว่า จำเลยที่ 1 ได้ผลิตรถขนขยะตามแบบที่เสนอตามสเป็กที่กำหนดต่อองค์การบริหารส่วนตำบล ค. และส่งมอบเรียบร้อยแล้ว แต่ก็ยังไม่อาจรับฟังได้ว่ารถยนต์บรรทุกขยะที่จำเลยทั้งสองผลิตและส่งมอบดังกล่าวนั้นมีส่วนใดบ้างที่จำเลยทั้งสองได้ใช้ความคิดในการประดิษฐ์ในข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์ที่ 2 อันเป็นการละเมิดสิทธิบัตรของโจทก์ที่ 2 พยานหลักฐานที่โจทก์ทั้งสองนำสืบบ่งชี้ไปในทางที่ว่า จำเลยทั้งสองนำภาพถ่ายรถต้นแบบและแค็ตตาล็อกของโจทก์ทั้งสองไปใช้ในการเสนอราคาต่อองค์การบริหารส่วนตำบล ค. ซึ่งไม่ใช่การที่จำเลยทั้งสองผลิตออกขายซึ่งตู้บรรทุกขยะโดยใช้การประดิษฐ์ในข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรของโจทก์ที่ 2 จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองรับผลิตออกขายซึ่งตู้บรรทุกขยะโดยใช้การประดิษฐ์ในข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรดังกล่าวของโจทก์ที่ 2 การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ที่ 2 ผู้ทรงสิทธิบัตร ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 36 วรรคหนึ่ง (1)