พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2768/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกสงวนสิทธิในการเรียกค่าปรับตามสัญญา การรับมอบชำระหนี้โดยไม่แจ้งสงวนสิทธิทำให้สิทธิเรียกร้องค่าปรับระงับ
แม้โจทก์จะนำสืบได้ว่าหลังจากจำเลยผิดสัญญา จำเลยได้ทำหนังสือถึงโจทก์ขอปรับเปลี่ยนจำนวนตอนการส่งมอบวัสดุรายการงานการ์ตูนแอนิเมชัน "Olly the Little White Van" ก็ตาม แต่หนังสือดังกล่าวหาใช่เป็นการที่โจทก์บอกสงวนสิทธิในการเรียกเบี้ยปรับเอาแก่จำเลยไม่ แต่เป็นเพียงหนังสือที่จำเลยส่งถึงโจทก์เพื่อชี้แจงถึงเหตุที่ไม่อาจส่งมอบวัสดุรายการงานการ์ตูนแอนิเมชันให้แก่โจทก์ตามสัญญาได้ เนื่องจากผู้ผลิตรายการการ์ตูนที่ต่างประเทศขาดเงินทุนและต้องปิดบริษัท และขอให้โจทก์พิจารณาไม่ปรับจำเลยตามสัญญา แต่หากจะปรับก็ขอให้โจทก์รับข้อเสนอของจำเลยที่ขอจ่ายค่าปรับจำนวน 78,000 บาท และเสนอส่วนลดให้โจทก์จำนวน 90,000 บาท รวมจำนวน 168,000 บาท หรืออีกกรณีหนึ่งคือ หากจำเลยสามารถส่งมอบวัสดุรายการงานการ์ตูนแอนิเมชันให้แก่โจทก์ได้จำนวนอีก 2 ตอน ภายในวันที่ 25 มีนาคม 2556 และโจทก์รับไว้ ก็ขอให้โจทก์ปรับจำเลยเป็นเงินจำนวน 138,000 บาท เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้มีหนังสือตอบกลับไปยังจำเลยว่าโจทก์ยังคงสงวนสิทธิที่จะปรับจำเลยตามสัญญาหรือไม่ หรือขณะที่โจทก์รับมอบวัสดุรายการงานการ์ตูนแอนิเมชันอีกจำนวน 6 ตอน จากจำเลยนั้นโจทก์ได้แสดงเจตนาสงวนสิทธิในการปรับให้จำเลยทราบทางใดทางหนึ่งไม่ว่าจะโดยการจดแจ้งข้อสงวนสิทธิในการปรับไว้ในหนังสือรับมอบวัสดุรายการงานการ์ตูนแอนิเมชันดังกล่าวหรือโดยแจ้งให้จำเลยทราบเป็นลายลักษณ์อักษรในขณะที่รับชำระหนี้ดังกล่าวว่าโจทก์ยังคงสงวนสิทธิที่จะเรียกเบี้ยปรับจากจำเลยแต่อย่างใด ดังนั้น แม้จำเลยจะตกลงว่าจะให้เบี้ยปรับแก่โจทก์หากไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องภายในกำหนดตามเอกสารแนบท้ายสัญญา ข้อ 6 วรรคสอง ที่ระบุว่า จำเลยตกลงชำระค่าปรับให้แก่โจทก์เป็นรายวันในอัตราร้อยละ 10 ต่อวัน ต่อตอน ที่ยังไม่ได้รับมอบ จนกว่าโจทก์จะได้รับมอบวัสดุรายการงานการ์ตูนแอนิเมชันตามสัญญา และต่อมาจำเลยไม่ชำระหนี้โดยการส่งมอบวัสดุรายการงานการ์ตูนแอนิเมชันจำนวน 52 ตอน ภายในเดือนตุลาคม 2555 ตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยอมรับมอบวัสดุรายการงานการ์ตูนแอนิเมชันจำนวนอีก 6 ตอน จากจำเลยโดยไม่ได้บอกสงวนสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับตามสัญญาในเวลาที่โจทก์รับการชำระหนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 381 วรรคสาม
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากจำเลยตามสัญญาจำนวน 1,867,290.84 บาท แต่เมื่อหักกลบลบหนี้กับเงินค่ารายการงานการ์ตูนแอนิเมชันที่โจทก์ค้างชำระแก่จำเลยจำนวน 390,000 บาท คงเหลือเบี้ยปรับที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยรับผิดตามคำฟ้องจำนวน 1,477,290.84 บาท แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์จำนวน 156,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ในส่วนคำฟ้องจึงมีจำนวน 1,321,290.84 บาท ซึ่งโจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลจำนวน 26,425 บาท แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาจำนวน 29,545 บาท อันเป็นการชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เกินมาจำนวน 3,120 บาท ส่วนอุทธรณ์ของโจทก์ในส่วนของฟ้องแย้งที่จำเลยขอให้โจทก์ชำระเงินค่ารายการงานการ์ตูนแอนิเมชัน ที่ค้างชำระจำนวน 390,000 บาท นั้น เมื่อจำนวนเงินตามฟ้องแย้งโจทก์ได้หักกลบลบหนี้กับเงินเบี้ยปรับแล้วคงเหลือเงินเบี้ยปรับที่โจทก์นำมาฟ้องเรียกเอาแก่จำเลยจำนวน 1,477,290.84 บาท จึงไม่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตามฟ้องแย้งของจำเลยอีก แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในส่วนของฟ้องแย้งมาด้วยจำนวน 4,680 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ในส่วนที่โจทก์ชำระเกินมาทั้งสองจำนวนให้แก่โจทก์
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากจำเลยตามสัญญาจำนวน 1,867,290.84 บาท แต่เมื่อหักกลบลบหนี้กับเงินค่ารายการงานการ์ตูนแอนิเมชันที่โจทก์ค้างชำระแก่จำเลยจำนวน 390,000 บาท คงเหลือเบี้ยปรับที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยรับผิดตามคำฟ้องจำนวน 1,477,290.84 บาท แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์จำนวน 156,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ในส่วนคำฟ้องจึงมีจำนวน 1,321,290.84 บาท ซึ่งโจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลจำนวน 26,425 บาท แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาจำนวน 29,545 บาท อันเป็นการชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เกินมาจำนวน 3,120 บาท ส่วนอุทธรณ์ของโจทก์ในส่วนของฟ้องแย้งที่จำเลยขอให้โจทก์ชำระเงินค่ารายการงานการ์ตูนแอนิเมชัน ที่ค้างชำระจำนวน 390,000 บาท นั้น เมื่อจำนวนเงินตามฟ้องแย้งโจทก์ได้หักกลบลบหนี้กับเงินเบี้ยปรับแล้วคงเหลือเงินเบี้ยปรับที่โจทก์นำมาฟ้องเรียกเอาแก่จำเลยจำนวน 1,477,290.84 บาท จึงไม่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตามฟ้องแย้งของจำเลยอีก แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในส่วนของฟ้องแย้งมาด้วยจำนวน 4,680 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ในส่วนที่โจทก์ชำระเกินมาทั้งสองจำนวนให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2767/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าและการสับสนของผู้บริโภคในสินค้าประเภทเดียวกัน
เครื่องหมายการค้าคำว่า "COMBID - COMBID" ของโจทก์ประกอบด้วยอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่จำนวน 6 ตัว อ่านออกเสียงว่า คอมบิด ในขณะที่เครื่องหมายการค้าคำว่า "COMBIF Combif" ประกอบด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ 1 ตัว และตัวพิมพ์เล็กอีกจำนวน 5 ตัว อ่านออกเสียงว่า คอมบิฟ แม้เครื่องหมายการค้าทั้งสอง จะมีเสียงเรียกขานคล้ายกัน ประกอบด้วยตัวอักษรโรมันจำนวน 6 ตัว เช่นเดียวกัน และเป็นอักษรโรมันที่เหมือนกันเกือบทั้งหมดโดยมีความแตกต่างกันที่ตัวอักษรตัวสุดท้ายของเครื่องหมายการค้าทั้งสอง โดยเครื่องหมายการค้าคำว่า "COMBID" ของโจทก์เป็นตัวอักษร "D" แต่เครื่องหมายการค้าคำว่า "COMBIF" เป็นตัวอักษร "F" ก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาจากรูปลักษณ์ของเครื่องหมายการค้าทั้งสองแล้ว พบว่ามีความแตกต่างที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจน เนื่องจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด ในขณะที่เครื่องหมายการค้าคำว่า "COMBIF Combif" คำที่ 2 มีเพียงตัวอักษรตัวแรก คืออักษร "C" เท่านั้นที่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ส่วนตัวอักษรที่เหลือทั้งหมดเป็นตัวพิมพ์เล็ก นอกจากนี้เครื่องหมายการค้าทั้งสองแม้จดทะเบียนใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน คือ จำพวกที่ 5 แต่รายการสินค้าที่จดทะเบียนนั้นแตกต่างกัน โดยเครื่องหมายการค้าของโจทก์จดทะเบียนใช้กับรายการสินค้ายาที่เตรียมขึ้นเพื่อใช้ต่อต้านหรือทำลายเชื้อไวรัส ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า "COMBIF Combif" ขอจดทะเบียนใช้กับรายการสินค้าอาหารเสริมใช้ในทางการแพทย์ช่วยย่อยอาหารและป้องกันท้องผูก ซึ่งเป็นสินค้าคนละประเภทกัน โอกาสที่ผู้บริโภคจะสับสนหลงหรือผิดจึงเป็นไปได้น้อย แม้จะเป็นสินค้าจำพวกยาเหมือนกัน แต่มีวัตถุประสงค์ในการใช้ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน อีกทั้งกลุ่มผู้ใช้สินค้าของยาทั้งสองก็แตกต่างกัน สินค้ายาตามเครื่องหมายการค้า "COMBID" ของโจทก์ ผู้ใช้คือผู้ป่วยโรคเอดส์ ซึ่งไม่สามารถซื้อใช้เองได้โดยตรง แต่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์เท่านั้น ในขณะที่ผู้ใช้สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้า "COMBIF" เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่กว้างกว่า ไม่จำกัดเฉพาะผู้ป่วยโรคเอดส์ ดังนั้น แม้เครื่องหมายการค้าทั้งสองจะมีเสียงเรียกขานใกล้เคียงกันก็ตาม แต่เครื่องหมายการค้าคำว่า "COMBIF" ที่ขอจดทะเบียนจึงเป็นเครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 (3) และมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2765/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนค้าต่าง บริหารจัดการเรือ สัญญาจ้างสำรวจเรือ ผู้รับจ้างมีหน้าที่รับผิดชอบค่าบริการ
ตามคำฟ้องเป็นการกล่าวอ้างให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าการงานที่โจทก์ได้ทำไปแล้วในฐานะที่จำเลยเป็นคู่สัญญากับโจทก์ ส่วนที่โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยซึ่งเป็นผู้รับจ้างบริหารจัดการเรือ อ. จากเจ้าของเรือทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ดำเนินการสำรวจและจัดชั้นเรือ (Classification) รวมทั้งออกหนังสือรับรองและทำรายงานการตรวจสภาพเรือ อ. นั้น เป็นการบรรยายให้เห็นถึงมูลเหตุและสถานะของจำเลยที่เข้าทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์ และเพื่อให้การนำเรือที่จำเลยเป็นผู้บริหารจัดการออกให้บริการในน่านน้ำไทยได้ จำเลยจึงจำเป็นต้องนำเรือดังกล่าวไปตรวจสภาพและขอรับการจัดชั้นเรือพร้อมทั้งขอรับใบรับรองสถานภาพเรือจากหน่วยงานหรือองค์กรที่มีความชำนาญและมีหน้าที่โดยตรงซึ่งก็คือโจทก์นั่นเอง หาใช่โจทก์ฟ้องตั้งข้อหาให้จำเลยรับผิดในฐานะตัวแทนซึ่งเข้าทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 ไม่ ส่วนจำเลยให้การเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เพราะจำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์แทนเจ้าของเรือซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายประเทศมาเลเซียและโจทก์ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว อันเป็นการปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้น โดยอ้างเหตุว่าจำเลยมิใช่คู่สัญญากับโจทก์ แต่จำเลยทำสัญญากับโจทก์แทนตัวการซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ให้ตรวจเรือแทนตัวการหรือไม่ และจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าการงานที่โจทก์ทำไปแล้วหลังจากจำเลยเลิกสัญญาหรือไม่ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยในฐานะตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เพียงใด จึงเป็นการกำหนดประเด็นข้อพิพาทผิดไปจากข้ออ้างและข้อเถียง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคหนึ่ง
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทมีความมุ่งหมายเพื่อให้คู่ความแพ้ชนะคดีกันในเนื้อหาแห่งคดีตามกฎหมายสารบัญญัติ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทเป็นไปโดยถูกต้องหรือไม่จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ในปัญหานี้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงให้เพิกถอนการกำหนดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวแล้วพิจารณาพิพากษาคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 และมาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 27 มาตรา 246 และ 142 (5)
จำเลยเป็นผู้รับจ้างบริหารจัดการเรือ อ. (Ship Management Agent) แทนเจ้าของเรือ (Shipowner) โดยจำเลยมีวัตถุประสงค์ในการให้บริการบริหารจัดการเรือแก่เจ้าของเรือเพื่อนำออกให้บริการรับขนส่ง และเมื่อเจ้าของเรือประสงค์จะนำเรือออกให้บริการรับขนส่งระหว่างประเทศ จำเลยจึงย่อมต้องทราบและปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ หลักเกณฑ์ และระเบียบว่าด้วยการนำเรือออกให้บริการระหว่างประเทศ ซึ่งการสำรวจจัดชั้นเรือเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของเรือ เครื่องยนต์ อุปกรณ์ของเรือ และระวางบรรทุกก็เพื่อให้เรือสามารถจดทะเบียนได้ใบอนุญาตใช้เรือและนำเรือออกให้บริการได้ พฤติการณ์และลักษณะการให้บริการของจำเลยแก่เจ้าของเรือในกิจการที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์นาวีและอำนาจหน้าที่ของจำเลยในฐานะผู้บริหารจัดการเรือ อ. แทนเจ้าของเรือรวมทั้งการว่าจ้างโจทก์ดังกล่าวจึงทำให้การบริการของจำเลยมีลักษณะเป็นตัวแทนค้าต่างตาม ป.พ.พ. มาตรา 833 ทั้งนี้ ไม่ว่าโจทก์จะรู้หรือไม่ว่าเจ้าของเรือซึ่งเป็นตัวการคือใคร โดยทั้งเจ้าของเรือและจำเลยต่างก็มีผลประโยชน์ที่จะได้จากการใช้เรือในเชิงพาณิชย์ กล่าวคือ หากจำเลยบริหารจัดการเรือได้อย่างมีประสิทธิภาพเจ้าของเรือก็จะได้ผลกำไรจากการดำเนินการนั้น ส่วนจำเลยก็จะได้ผลประโยชน์เป็นบำเหน็จตอบแทนจากเจ้าของเรือ โดยเฉพาะเมื่อมีความจำเป็นต้องปรับปรุง ซ่อมแซมเรือ อ. จำเลยในฐานะผู้บริหารจัดการเรือซึ่งได้รับมอบหมายเรือไว้จากเจ้าของเรือย่อมต้องมีหน้าที่ดูแลรักษาเรือให้อยู่ในสภาพเหมาะสมแก่การใช้งานดังที่ ป.พ.พ. มาตรา 842 บัญญัติไว้ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการฝากทรัพย์มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามควรแก่เรื่อง จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนค้าต่างจึงย่อมเป็นผู้ต้องผูกพันต่อโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทมีความมุ่งหมายเพื่อให้คู่ความแพ้ชนะคดีกันในเนื้อหาแห่งคดีตามกฎหมายสารบัญญัติ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทเป็นไปโดยถูกต้องหรือไม่จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ในปัญหานี้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงให้เพิกถอนการกำหนดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวแล้วพิจารณาพิพากษาคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 และมาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 27 มาตรา 246 และ 142 (5)
จำเลยเป็นผู้รับจ้างบริหารจัดการเรือ อ. (Ship Management Agent) แทนเจ้าของเรือ (Shipowner) โดยจำเลยมีวัตถุประสงค์ในการให้บริการบริหารจัดการเรือแก่เจ้าของเรือเพื่อนำออกให้บริการรับขนส่ง และเมื่อเจ้าของเรือประสงค์จะนำเรือออกให้บริการรับขนส่งระหว่างประเทศ จำเลยจึงย่อมต้องทราบและปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ หลักเกณฑ์ และระเบียบว่าด้วยการนำเรือออกให้บริการระหว่างประเทศ ซึ่งการสำรวจจัดชั้นเรือเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของเรือ เครื่องยนต์ อุปกรณ์ของเรือ และระวางบรรทุกก็เพื่อให้เรือสามารถจดทะเบียนได้ใบอนุญาตใช้เรือและนำเรือออกให้บริการได้ พฤติการณ์และลักษณะการให้บริการของจำเลยแก่เจ้าของเรือในกิจการที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์นาวีและอำนาจหน้าที่ของจำเลยในฐานะผู้บริหารจัดการเรือ อ. แทนเจ้าของเรือรวมทั้งการว่าจ้างโจทก์ดังกล่าวจึงทำให้การบริการของจำเลยมีลักษณะเป็นตัวแทนค้าต่างตาม ป.พ.พ. มาตรา 833 ทั้งนี้ ไม่ว่าโจทก์จะรู้หรือไม่ว่าเจ้าของเรือซึ่งเป็นตัวการคือใคร โดยทั้งเจ้าของเรือและจำเลยต่างก็มีผลประโยชน์ที่จะได้จากการใช้เรือในเชิงพาณิชย์ กล่าวคือ หากจำเลยบริหารจัดการเรือได้อย่างมีประสิทธิภาพเจ้าของเรือก็จะได้ผลกำไรจากการดำเนินการนั้น ส่วนจำเลยก็จะได้ผลประโยชน์เป็นบำเหน็จตอบแทนจากเจ้าของเรือ โดยเฉพาะเมื่อมีความจำเป็นต้องปรับปรุง ซ่อมแซมเรือ อ. จำเลยในฐานะผู้บริหารจัดการเรือซึ่งได้รับมอบหมายเรือไว้จากเจ้าของเรือย่อมต้องมีหน้าที่ดูแลรักษาเรือให้อยู่ในสภาพเหมาะสมแก่การใช้งานดังที่ ป.พ.พ. มาตรา 842 บัญญัติไว้ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการฝากทรัพย์มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามควรแก่เรื่อง จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนค้าต่างจึงย่อมเป็นผู้ต้องผูกพันต่อโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายสินค้าปลอมเครื่องหมายการค้า: ความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า และประมวลกฎหมายอาญา
ความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 108 บัญญัติให้เฉพาะการเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นซึ่งได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรเท่านั้นเป็นความผิดทางอาญา โดยมิได้คุ้มครองสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วนอกราชอาณาจักร ส่วนการเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นซึ่งได้จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักร จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 275 ประกอบมาตรา 273 คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานจำหน่าย เสนอจำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 6 ที่จดทะเบียนไว้แล้วในราชอาณาจักร และของผู้เสียหายที่ 7 ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วนอกราชอาณาจักร เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงตามฟ้องว่า สินค้าในคดีนี้มีทั้งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของผู้อื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วทั้งในราชอาณาจักรและนอกราชอาณาจักร การกระทำของจำเลยในส่วนของการจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนในราชอาณาจักรของผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 6 จึงเป็นความผิดฐานจำหน่ายและเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในราชอาณาจักร ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 108 ส่วนการกระทำของจำเลยในส่วนของการจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ 7 เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 275 ประกอบมาตรา 273 อีกบทหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2661/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ ละเมิดลิขสิทธิ์: การกระทำความผิดฐานเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพื่อหากำไร เป็นกรรมเดียว แม้ผู้เสียหายต่างกัน
แม้เจ้าของลิขสิทธิ์ในคดีนี้กับในคดีหมายเลขแดงที่ อ.4061/2557 ดังกล่าวไม่ได้เป็นบุคคลเดียวกัน และงานอันมีลิขสิทธิ์เป็นคนละชิ้นกัน แต่การกระทำของจำเลยคือ การเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยจำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าเป็นงานดนตรีกรรมที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นและกระทำแก่งานนั้นเพื่อหากำไร อันเป็นการกระทำและเป็นความผิดในลักษณะเดียวกัน การที่งานอันละเมิดลิขสิทธิ์ของทั้งผู้เสียหายและบริษัท ส. จัดเก็บอยู่ในหน่วยเก็บความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ร้าน ด. เช่นเดียวกัน และจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์โดยการเผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วยวิธีการอย่างเดียวกันคือ การเปิดเพลงเป็นคาราโอเกะโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทมิดี้ไฟล์ที่มีการทำซ้ำดัดแปลงลงไว้ภายในหน่วยเก็บความจำหลักของคอมพิวเตอร์ อีกทั้งเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยในวันเวลาเดียวกัน เท่ากับว่าจำเลยมีเจตนาเดียวกันในการกระทำความผิด การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำกรรมเดียว ส่วนการทำซ้ำหรือดัดแปลงเพลงต่าง ๆ แม้กระทำต่างเวลากัน ก็ไม่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งเป็นการกระทำความผิดตามฟ้องแต่อย่างใด นอกจากนี้การพิจารณาการกระทำของจำเลยว่าเป็นความผิดกรรมเดียวหรือต่างกรรมกัน ต้องพิจารณาเจตนาในการกระทำผิดเป็นสำคัญ หาได้พิจารณาจากการเปิดเพลงในแต่ละครั้งไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้อีกเพราะเป็นความผิดกรรมเดียวกับคดีดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2660/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์งานศิลปประยุกต์เป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์
องค์ประกอบของความผิดในส่วนการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (1) (2) คือการกระทำซ้ำหรือดัดแปลงเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์อันเป็นการกระทำเพื่อการค้า โดยองค์ประกอบในส่วนของงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นนั้นต้องเป็นงานสร้างสรรค์ที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครอง โดยได้มาตามเงื่อนไขของกฎหมาย และต้องอยู่ในอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ด้วย เพราะลิขสิทธิ์เป็นสิทธิที่มีจำกัดเวลาให้ได้รับความคุ้มครองอยู่ภายในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น หลังจากพ้นกำหนดอายุการคุ้มครองแล้วงานอันมีลิขสิทธิ์จะตกเป็นสมบัติสาธารณะที่สาธารณชนสามารถใช้ประโยชน์จากงานนั้นได้ ดังนี้ ในส่วนขององค์ประกอบของความผิดที่ว่างานอันมีลิขสิทธิ์ต้องอยู่ในอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามกฎหมายนั้นจึงเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานนี้ที่เป็นสาระสำคัญ
แม้งานออกแบบและแบบร่างชุดกระโปรงจะเป็นงานจิตรกรรม แต่เมื่อโจทก์ทั้งสามนำไปใช้ประโยชน์ทางการค้า อันเป็นประโยชน์อย่างอื่นนอกเหนือจากการชื่นชมในคุณค่าของตัวงานจิตรกรรมแล้ว งานของโจทก์ทั้งสามจึงเป็นงานศิลปประยุกต์ ตามบทบัญญัติมาตรา 4 วรรคหก (7) แห่งพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ซึ่งมีลักษณะงานและอายุแห่งการคุ้มครองแตกต่างไปจากงานจิตรกรรม ตามบทบัญญัติมาตรา 4 วรรคหก (1) การที่จะรู้ว่างานดังกล่าวอยู่ในอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์หรือไม่ ก็ต้องเป็นไปตามมาตรา 22 ซึ่งบัญญัติว่า ลิขสิทธิ์ในงานศิลปประยุกต์ให้มีอายุยี่สิบห้าปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น แต่ถ้าได้โฆษณางานในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุยี่สิบห้าปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก ดังนี้เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ทั้งสามได้สร้างสรรค์งานดังกล่าวเมื่อใด หรือมีการโฆษณางานหรือไม่ หากมีการโฆษณางาน โจทก์ทั้งสามได้มีการโฆษณางานครั้งแรกเมื่อใด คำฟ้องของโจทก์ทั้งสามจึงไม่มีข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าลิขสิทธิ์ดังกล่าวอยู่ในอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ตามมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 จึงเป็นคำฟ้องที่มิได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิดให้ครบองค์ประกอบของความผิดตามพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (1) (2) ไม่ชอบด้วยพ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
แม้งานออกแบบและแบบร่างชุดกระโปรงจะเป็นงานจิตรกรรม แต่เมื่อโจทก์ทั้งสามนำไปใช้ประโยชน์ทางการค้า อันเป็นประโยชน์อย่างอื่นนอกเหนือจากการชื่นชมในคุณค่าของตัวงานจิตรกรรมแล้ว งานของโจทก์ทั้งสามจึงเป็นงานศิลปประยุกต์ ตามบทบัญญัติมาตรา 4 วรรคหก (7) แห่งพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ซึ่งมีลักษณะงานและอายุแห่งการคุ้มครองแตกต่างไปจากงานจิตรกรรม ตามบทบัญญัติมาตรา 4 วรรคหก (1) การที่จะรู้ว่างานดังกล่าวอยู่ในอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์หรือไม่ ก็ต้องเป็นไปตามมาตรา 22 ซึ่งบัญญัติว่า ลิขสิทธิ์ในงานศิลปประยุกต์ให้มีอายุยี่สิบห้าปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น แต่ถ้าได้โฆษณางานในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุยี่สิบห้าปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก ดังนี้เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ทั้งสามได้สร้างสรรค์งานดังกล่าวเมื่อใด หรือมีการโฆษณางานหรือไม่ หากมีการโฆษณางาน โจทก์ทั้งสามได้มีการโฆษณางานครั้งแรกเมื่อใด คำฟ้องของโจทก์ทั้งสามจึงไม่มีข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าลิขสิทธิ์ดังกล่าวอยู่ในอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ตามมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 จึงเป็นคำฟ้องที่มิได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิดให้ครบองค์ประกอบของความผิดตามพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (1) (2) ไม่ชอบด้วยพ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายบริการ: 'Make THE Difference' ไม่ใช่คำที่ใช้ทั่วไปในการบริการธนาคาร
คำหรือข้อความที่โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการบริการนั้น หากว่าเป็นคำหรือข้อความอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของรายการบริการธนาคารพาณิชย์ที่ขอจดทะเบียนโดยตรงแล้ว คำหรือข้อความนั้นย่อมถือได้ว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเองดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 80 ประกอบมาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 แล้ว ส่วนคำหรือข้อความอันเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของเครื่องหมายบริการที่เมื่อโจทก์ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการแล้ว นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าอาจมีคำสั่งให้โจทก์ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการนั้นแสดงปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้คำหรือข้อความว่า "Make THE Difference" ดังกล่าวตามมาตรา 80 ประกอบมาตรา 17 ต้องได้ความว่า คำหรือข้อความนั้นเป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการบริการสำหรับบริการธนาคารพาณิชย์ที่ขอจดทะเบียนอันไม่ควรให้ผู้ขอจดทะเบียนรายหนึ่งรายใดถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวกรณีหนึ่งหรือเป็นกรณีที่คำหรือข้อความดังกล่าวมีลักษณะไม่บ่งเฉพาะ สำหรับกรณีการขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการคำว่า "TMB Make THE Difference" เพื่อใช้กับบริการจำพวก 36 รายการบริการ ธนาคารพาณิชย์ นี้ ข้อความว่า "Make THE Difference" เป็นข้อความที่นำเอาภาษาอังกฤษจำนวน 3 คำ มาประกอบกัน ซึ่งเมื่อพิจารณาความหมายของคำดังกล่าวตามพจนานุกรมแล้ว สามารถแปลได้ความหมายรวมกัน "ทำให้เกิดความแตกต่าง หรือสร้างความแตกต่าง" ซึ่งมีลักษณะเป็นคำบรรยายทั่วไป ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการให้บริการธนาคารพาณิชย์อันเป็นรายการบริการที่โจทก์ขอจดทะเบียนแต่อย่างใด ข้อความดังกล่าวมีลักษณะเป็นเพียงคำแนะนำ ยังไม่ใช่คำพรรณนาที่จะทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้บริการนั้นทราบและเข้าใจได้โดยทันทีถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับกิจการธนาคารพาณิชย์ทั้งปวงซึ่งใช้เครื่องหมายบริการนี้โดยตรงว่ามีลักษณะหรือคุณสมบัติใดเป็นการเฉพาะเจาะจง แต่ผู้ใช้บริการจะต้องจินตนาการหรือหาข้อมูลเพิ่มเติมจึงจะทราบได้ว่าบริการเกี่ยวกับกิจการธนาคารพาณิชย์ของโจทก์แตกต่างจากบริการอื่นอย่างไร นอกจากนี้ข้อความว่า "Make THE Difference" ยังมิได้เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญสำหรับการให้บริการเกี่ยวกับกิจการธนาคารพาณิชย์แต่อย่างใด ทั้งไม่ปรากฏว่านายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ประกาศกำหนดให้ข้อความดังกล่าวเป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการให้บริการธนาคารพาณิชย์ที่โจทก์ขอจดทะเบียนด้วย ข้อความว่า "Make THE Difference" ดังกล่าวจึงเป็นข้อความที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของบริการธนาคารพาณิชย์โดยตรงและมิได้เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายหรือบริการสำหรับรายการบริการธนาคารพาณิชย์ที่โจทก์ขอจดทะเบียน ดังนั้นเครื่องหมายบริการของโจทก์คำว่า "TMB Make THE Difference" จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเองอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 80 ประกอบมาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 โดยโจทก์ไม่จำต้องแสดงปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวที่จะใช้อักษรโรมันข้อความว่า "Make THE Difference"
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2586/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตร: การละเมิดต้องพิจารณาจากข้อถือสิทธิ การมีส่วนประกอบคล้ายคลึงกันไม่ถือเป็นการละเมิด
ลักษณะการประดิษฐ์ของจำเลยแตกต่างจากลักษณะพิเศษตามข้อถือสิทธิในอนุสิทธิบัตรของโจทก์ 3 รายการ คือ ในลำดับที่ 1 แผ่นปิดกั้นด้านซ้ายตามข้อถือสิทธิในอนุสิทธิบัตรของโจทก์ บริเวณขอบด้านนอกของแผ่นปิดกั้นด้านซ้ายเป็นแนวขอบกั้นด้านซ้ายที่มีแนวร่องยึดด้านซ้ายอย่างน้อยหนึ่งแนวติดตั้งอยู่ สำหรับรองรับการสอดผ่านของนอตยึดด้านซ้ายจากภายนอก ส่วนการประดิษฐ์ของจำเลย บริเวณขอบด้านนอกของแผ่นปิดกั้นด้านซ้ายเป็นแนวขอบกั้นด้านซ้าย ไม่มีแนวร่องยึดด้านซ้ายติดตั้งอยู่ แต่จะมีส่วนต่อยื่นด้านล่างจากขอบด้านนอกของแนวขอบกั้นที่มีรูสำหรับรองรับการสอดผ่านของนอตยึดจากภายนอก ลำดับที่ 3 แผ่นรองด้านล่างในข้อถือสิทธิตามอนุสิทธิบัตรของโจทก์ บริเวณพื้นผิวของแผ่นรองด้านล่างเป็นแนวร่องเปิดด้านบนอย่างน้อยหนึ่งแนว หรือแนวร่องปิดด้านบนอย่างน้อยหนึ่งแนว สำหรับรองรับการยึดของนอตยึดด้านซ้ายที่สอดทะลุผ่านมาจากแนวร่องยึดด้านซ้าย ขณะที่แนวขอบด้านหนึ่งของแผ่นรองด้านล่างสอดเข้าด้านในระหว่างมุมบรรจบด้านหน้าซ้ายกับมุมบรรจบด้านหลังซ้ายของส่วนปิดกั้นด้านซ้าย ส่วนการประดิษฐ์ของจำเลย บริเวณพื้นผิวของแผ่นรองด้านล่างของส่วนรองรับด้านล่างไม่มีแนวร่องเปิดด้านบนหรือแนวร่องปิดด้านบน แต่จะมีรูเจาะสำหรับรองรับการยึดของนอตยึดด้านล่างที่สอดทะลุมาจากส่วนต่อยื่นด้านล่างจากขอบด้านนอกของแนวขอบกั้นของแผ่นปิดกั้นด้านซ้าย ลำดับที่ 7 แผ่นปิดกั้นด้านขวาตามข้อถือสิทธิในอนุสิทธิบัตรของโจทก์ บริเวณขอบด้านนอกของแผ่นปิดกั้นด้านขวาเป็นแนวขอบกั้นด้านขวาที่มีแนวร่องยึดด้านขวาอย่างน้อยหนึ่งแนวติดตั้งอยู่ สำหรับรองรับการสอดผ่านของนอตยึดด้านขวาที่สอดทะลุผ่านมาจากแนวร่องยึดด้านขวา ส่วนการประดิษฐ์ของจำเลย บริเวณขอบด้านนอกของแผ่นปิดกั้นด้านขวาเป็นแนวขอบกั้นด้านขวา ไม่มีแนวร่องยึดด้านขวาติดตั้งอยู่ แต่จะมีส่วนต่อยื่นด้านล่างจากขอบด้านนอกของแนวขอบกั้นของแผ่นปิดกั้นด้านขวาสำหรับรองรับการสอดผ่านของนอตยึดจากภายนอกลักษณะที่แตกต่างกันในลำดับที่ 1 ที่ 3 และที่ 7 ดังกล่าว ถือเป็นข้อสาระสำคัญเนื่องจากความมุ่งหมายในการประดิษฐ์ของโจทก์ต้องการแก้ไขปัญหาแผ่นป้ายแสดงสถานะด้านบนหลังคายานพาหนะแบบเก่าซึ่งใช้เวลามากในการประกอบติดตั้งยึดแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน โดยการเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์ตามอนุสิทธิบัตรของโจทก์ระบุว่า การประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรนี้ ส่วนประกอบต่าง ๆ จะสามารถติดตั้งเข้าด้วยกันหรือถอดออกจากกันได้โดยง่ายด้วยการขันยึดของนอต ดังนั้น วิธีการยึดของนอตจึงหาใช่รายละเอียดปลีกย่อยไม่ ตามข้อถือสิทธิในอนุสิทธิบัตรของโจทก์การประกอบแผ่นปิดกั้นด้านซ้ายเข้ากับแผ่นรองด้านล่างใช้วิธีสอดนอตยึดจากภายนอกผ่านแนวร่องยึดด้านซ้ายโดยมีแนวร่องเปิดด้านบนของแผ่นรองด้านล่างรองรับการยึดของนอตยึดด้านซ้าย การประกอบแผ่นปิดกั้นด้านขวาเข้ากับแผ่นรองด้านล่างมีลักษณะเช่นเดียวกันคือใช้วิธีสอดนอตยึดจากภายนอกผ่านแนวร่องยึดด้านขวาโดยมีแนวร่องเปิดด้านบนของแผ่นรองด้านล่างรองรับการยึดของนอตด้านขวา การใช้นอตยึดในการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของโจทก์จึงต้องอาศัยแนวร่องซึ่งถือว่าเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะที่โจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ และขอรับความคุ้มครองตามข้อถือสิทธิในอนุสิทธิบัตรของโจทก์ แต่เมื่อพิจารณาการประดิษฐ์ของจำเลยปรากฏว่าแผ่นปิดกั้นด้านซ้ายและด้านขวาไม่มีแนวร่องยึดด้านซ้ายและแนวร่องยึดด้านขวา กับแผ่นรองด้านล่างไม่มีแนวร่อง โดยแผ่นปิดกั้นด้านซ้ายและด้านขวาของจำเลยมีส่วนต่อยื่นด้านล่างจากขอบด้านนอกของแนวขอบกั้นด้านซ้ายและด้านขวา และมีรูเพื่อรองรับการสอดผ่านของนอตยึด แผ่นรองด้านล่างมีรูเจาะสำหรับรองรับนอตยึดที่ทะลุมาจากส่วนต่อยื่นด้านล่างจากขอบด้านนอกของแนวขอบกั้นด้านซ้ายและด้านขวา การประดิษฐ์ของจำเลยจึงมีลักษณะแตกต่างจากการประดิษฐ์ตามข้อถือสิทธิในอนุสิทธิบัตรของโจทก์อย่างชัดเจน
ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 65 ทศ ประกอบมาตรา 36 ทวิ สิทธิของผู้ทรงอนุสิทธิบัตรมีขอบเขตดังระบุในข้อถือสิทธิ ซึ่งการวินิจฉัยขอบเขตการประดิษฐ์ตามข้อถือสิทธิต้องพิจารณาจากลักษณะของการประดิษฐ์ที่ระบุในรายละเอียดการประดิษฐ์และรูปเขียนประกอบด้วย ในกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำละเมิดอนุสิทธิบัตรของโจทก์ต้องนำลักษณะการประดิษฐ์ที่โจทก์ระบุไว้ในรายละเอียดการประดิษฐ์ตามข้อถือสิทธิมาเปรียบเทียบกับการประดิษฐ์ของจำเลย ส่วนที่แตกต่างกันเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงว่าการประดิษฐ์ของจำเลยไม่อยู่ในขอบเขตข้อถือสิทธิของโจทก์ในการพิจารณาเปรียบเทียบจึงไม่อาจละเลยส่วนดังกล่าวได้
การประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของโจทก์มีส่วนประกอบแยกได้ดังนี้ คือ ส่วนปิดกั้นด้านซ้ายและด้านขวาที่มีลักษณะเป็นแผ่นสามเหลี่ยม แผ่นรองด้านหลัง ท่อแบนกลวงปิดกั้นด้านบนและแผ่นป้ายปิดด้านหน้าและด้านหลัง ส่วนประกอบต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นสิ่งสามัญซึ่งใช้ในการประดิษฐ์ทั่ว ๆ ไปจำเลยจึงสามารถนำมาใช้ในการประดิษฐ์ได้ สำหรับรูปทรงภายนอกเมื่อประกอบเสร็จแม้จะมีความคล้ายคลึงกันก็ไม่เป็นเหตุให้การกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดอนุสิทธิบัตรของโจทก์ เนื่องจากอนุสิทธิบัตรของโจทก์เป็นเรื่องการประดิษฐ์หาใช่เรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ไม่ จำเลยมิได้นำข้อถือสิทธิของโจทก์ในเรื่องแนวร่องซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่และได้รับความคุ้มครองตามข้อถือสิทธิในอนุสิทธิบัตรของโจทก์มาใช้ในการประดิษฐ์ป้ายไฟบนรถแท็กซี่ของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดอนุสิทธิบัตรของโจทก์
ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 65 ทศ ประกอบมาตรา 36 ทวิ สิทธิของผู้ทรงอนุสิทธิบัตรมีขอบเขตดังระบุในข้อถือสิทธิ ซึ่งการวินิจฉัยขอบเขตการประดิษฐ์ตามข้อถือสิทธิต้องพิจารณาจากลักษณะของการประดิษฐ์ที่ระบุในรายละเอียดการประดิษฐ์และรูปเขียนประกอบด้วย ในกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำละเมิดอนุสิทธิบัตรของโจทก์ต้องนำลักษณะการประดิษฐ์ที่โจทก์ระบุไว้ในรายละเอียดการประดิษฐ์ตามข้อถือสิทธิมาเปรียบเทียบกับการประดิษฐ์ของจำเลย ส่วนที่แตกต่างกันเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงว่าการประดิษฐ์ของจำเลยไม่อยู่ในขอบเขตข้อถือสิทธิของโจทก์ในการพิจารณาเปรียบเทียบจึงไม่อาจละเลยส่วนดังกล่าวได้
การประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของโจทก์มีส่วนประกอบแยกได้ดังนี้ คือ ส่วนปิดกั้นด้านซ้ายและด้านขวาที่มีลักษณะเป็นแผ่นสามเหลี่ยม แผ่นรองด้านหลัง ท่อแบนกลวงปิดกั้นด้านบนและแผ่นป้ายปิดด้านหน้าและด้านหลัง ส่วนประกอบต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นสิ่งสามัญซึ่งใช้ในการประดิษฐ์ทั่ว ๆ ไปจำเลยจึงสามารถนำมาใช้ในการประดิษฐ์ได้ สำหรับรูปทรงภายนอกเมื่อประกอบเสร็จแม้จะมีความคล้ายคลึงกันก็ไม่เป็นเหตุให้การกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดอนุสิทธิบัตรของโจทก์ เนื่องจากอนุสิทธิบัตรของโจทก์เป็นเรื่องการประดิษฐ์หาใช่เรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ไม่ จำเลยมิได้นำข้อถือสิทธิของโจทก์ในเรื่องแนวร่องซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่และได้รับความคุ้มครองตามข้อถือสิทธิในอนุสิทธิบัตรของโจทก์มาใช้ในการประดิษฐ์ป้ายไฟบนรถแท็กซี่ของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดอนุสิทธิบัตรของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2585/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระค่าธรรมเนียมรายปีสิทธิบัตร: ระยะเวลาการคำนวณและผลของการไม่ชำระตามกฎหมาย
หลักเกณฑ์การชำระค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 65 ประกอบมาตรา 43 บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ผู้ทรงสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปีเริ่มแต่ปีที่ 5 ของอายุสิทธิบัตรและต้องชำระภายใน 60 วัน นับแต่วันเริ่มต้นระยะเวลาของปีที่ 5 นั้น และของทุก ๆ ปีต่อไป เมื่อโจทก์ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2546 วันเริ่มต้นระยะเวลาของปีที่ 5 จึงเป็นวันที่ 1 เมษายน 2550 และต้องชำระภายในวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 ไม่ใช่ชำระได้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2551 ถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2551 ดังที่โจทก์อุทธรณ์
พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 62, 65 ประกอบมาตรา 43 และประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญา เรื่อง การนับระยะเวลาตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 ได้บัญญัติเรื่องการนับระยะเวลาค่าธรรมเนียมรายปีของผู้ทรงสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ไว้ชัดเจนแล้ว ไม่จำเป็นที่จำเลยทั้งสองต้องแสดงแผนผังแสดงวิธีการนับระยะเวลาการชำระค่าธรรมเนียมปีที่ 5 ถึงปีที่ 10 ให้โจทก์ทราบอีก
โจทก์ชำระค่าธรรมเนียมรายปี ปีที่ 9 แก่จำเลยที่ 1 วันที่ 23 พฤษภาคม 2555 ที่ถูกโจทก์ต้องชำระระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2554 ถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2554 แต่เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีของจำเลยที่ 1 รับชำระไว้แล้วนั้น จำเลยทั้งสองนำสืบว่า เกิดจากข้อผิดพลาดของระบบฐานข้อมูลสิทธิบัตรซึ่งคณะกรรมการสิทธิบัตรรับฟังว่าผิดพลาดจริงและถือว่าการชำระค่าธรรมเนียมรายปี ปีที่ 9 เป็นการชำระที่พ้นกำหนดเวลา โจทก์มิได้โต้แย้งข้อเท็จจริงดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์มิได้ชำระค่าธรรมเนียมรายปี ปีที่ 9 ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย การที่จำเลยที่ 1 ทำรายงานต่อคณะกรรมการสิทธิบัตรให้เพิกถอนสิทธิบัตรของโจทก์ แล้วต่อมาคณะกรรมการสิทธิบัตรเพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าวจึงชอบด้วย พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 62, 65 ประกอบมาตรา 43 แล้ว
พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 62, 65 ประกอบมาตรา 43 และประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญา เรื่อง การนับระยะเวลาตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 ได้บัญญัติเรื่องการนับระยะเวลาค่าธรรมเนียมรายปีของผู้ทรงสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ไว้ชัดเจนแล้ว ไม่จำเป็นที่จำเลยทั้งสองต้องแสดงแผนผังแสดงวิธีการนับระยะเวลาการชำระค่าธรรมเนียมปีที่ 5 ถึงปีที่ 10 ให้โจทก์ทราบอีก
โจทก์ชำระค่าธรรมเนียมรายปี ปีที่ 9 แก่จำเลยที่ 1 วันที่ 23 พฤษภาคม 2555 ที่ถูกโจทก์ต้องชำระระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2554 ถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2554 แต่เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีของจำเลยที่ 1 รับชำระไว้แล้วนั้น จำเลยทั้งสองนำสืบว่า เกิดจากข้อผิดพลาดของระบบฐานข้อมูลสิทธิบัตรซึ่งคณะกรรมการสิทธิบัตรรับฟังว่าผิดพลาดจริงและถือว่าการชำระค่าธรรมเนียมรายปี ปีที่ 9 เป็นการชำระที่พ้นกำหนดเวลา โจทก์มิได้โต้แย้งข้อเท็จจริงดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์มิได้ชำระค่าธรรมเนียมรายปี ปีที่ 9 ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย การที่จำเลยที่ 1 ทำรายงานต่อคณะกรรมการสิทธิบัตรให้เพิกถอนสิทธิบัตรของโจทก์ แล้วต่อมาคณะกรรมการสิทธิบัตรเพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าวจึงชอบด้วย พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 62, 65 ประกอบมาตรา 43 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2461/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีความลับทางการค้าต้องระบุวิธีการเปิดเผยข้อมูลให้ชัดเจน มิฉะนั้นถือว่าฟ้องไม่ครบองค์ประกอบ
องค์ประกอบของความผิดข้อหนึ่งที่โจทก์ต้องบรรยายมาในคำฟ้องตามมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 คือ การเปิดเผยความลับทางการค้าของผู้อื่นให้เป็นที่ล่วงรู้โดยทั่วไปซึ่งหมายถึงการเปิดเผยข้อมูลให้สาธารณชนได้ล่วงรู้ในลักษณะที่มีผลทำให้ข้อมูลนั้นเสียสภาพหรือคุณสมบัติการเป็นความลับ ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันนำเอาข้อมูลอันเป็นความลับทางการค้าของผู้เสียหายไปเปิดเผยให้กับบุคคลผู้มีชื่ออันเป็นบุคคลทั่วไปล่วงรู้ถึงข้อมูลอันเป็นความลับทางการค้าของผู้เสียหายโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เสียหาย และจำเลยทั้งสามมีเจตนากลั่นแกล้ง อันเป็นเหตุให้ข้อมูลซึ่งเป็นความลับทางการค้าของผู้เสียหายสิ้นสภาพความเป็นความลับทางการค้า ทำให้ผู้เสียหายได้รับความเสียหายในการประกอบธุรกิจ โดยมิได้บรรยายฟ้องระบุวิธีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวนั้นว่าเป็นการโฆษณาด้วยเอกสาร กระจายเสียง หรือการแพร่ภาพหรือเปิดเผยด้วยวิธีอื่นใด จึงไม่ใช่การยืนยันข้อเท็จจริงว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการเปิดเผยความลับทางการค้าของผู้อื่นให้เป็นที่ล่วงรู้โดยทั่วไปในประการที่ทำให้ความลับทางการค้านั้นสิ้นสภาพการเป็นความลับทางการค้าดังกล่าว แต่เป็นการยืนยันเพียงว่าเป็นการเปิดเผยแก่บุคคลหนึ่งที่เป็นบุคคลทั่วไป จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ไม่ครบองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ มาตรา 33 ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง