คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 594

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของชำรุดบกพร่อง & การคิดดอกเบี้ยผิดนัดตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2564 มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 7 แห่ง ป.พ.พ. และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา 7 ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กันและมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบัญญัติหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละสามต่อปี" และมาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 224 แห่ง ป.พ.พ. และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา 224 หนี้เงินนั้น ให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราที่กำหนดตามมาตรา 7 บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี..." ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 และ พ.ร.ก. ดังกล่าว มาตรา 7 บัญญัติให้ใช้บทบัญญัติตามมาตรา 224 แห่ง ป.พ.พ. ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ก. นี้แก่การคิดดอกเบี้ยผิดนัดที่ถึงกำหนดเวลาชำระตั้งแต่วันที่ พ.ร.ก. นี้ใช้บังคับ แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงการคิดดอกเบี้ยผิดนัดในระหว่างช่วงเวลาก่อนที่ พ.ร.ก. นี้ใช้บังคับ คดีนี้โจทก์ต้องชำระดอกเบี้ยของเงินที่ได้รับไว้นับแต่วันที่ 27 เมษายน 2560 ต่อมาจำเลยได้ทวงถามให้โจทก์ชำระเงินคืน และวันที่ 17 พฤศจิกายน 2560 จำเลยฟ้องแย้งขอเรียกคืนเงินสำรองและค่าเสียหาย จึงมีการคิดดอกเบี้ยผิดนัดที่ถึงกำหนดเวลาชำระก่อนที่ พ.ร.ก. นี้ใช้บังคับ กรณีต้องนำบทบัญญัติมาตรา 224 ที่แก้ไขใหม่มาใช้บังคับ โดยจำเลยมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละสามต่อปีตามมาตรา 7 บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปีเท่ากับร้อยละห้าต่อปีนับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 อันเป็นวันที่ พ.ร.ก. นี้มีผลใช้บังคับเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่จำเลยยังคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดในระหว่างช่วงเวลาก่อนที่ พ.ร.ก. นี้ใช้บังคับในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 ทั้งนี้ปัญหาเรื่องการคิดดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลสามารถยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6314/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาสร้างบ้านชำรุด: ศาลตัดสินให้จ่ายค่าจ้างหักค่าแก้ไขบกพร่อง
เมื่อโจทก์ทำงานงวดที่สองชำรุดบกพร่องไม่ถูกต้องตามสัญญาจ้าง และจำเลยได้ให้โจทก์แก้ไขให้เรียบร้อยก่อนแต่โจทก์เพิกเฉยไม่ยอมแก้ไข โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากจำเลย แต่อย่างไรก็ตาม สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยถือว่าเป็นการเลิกกันโดยปริยาย สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 ขณะเดียวกันก็เป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเลิกกันแล้วโจทก์และจำเลยต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง แต่เนื่องจากโจทก์ได้ทำงานงวดที่สองให้จำเลยเสร็จแล้วจึงไม่อาจให้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมได้ กรณีต้องบังคับตามมาตรา 391 วรรคสาม จำเลยต้องใช้เงินค่าก่อสร้างในงวดที่สองให้แก่โจทก์แทน จำเลยไม่มีสิทธิงดจ่ายค่าจ้างเสียทั้งหมด เมื่องานของโจทก์มีสิ่งบกพร่องและจำเลยได้บอกกล่าวให้โจทก์แก้ไขสิ่งบกพร่องให้เป็นไปตามสัญญา แต่โจทก์ไม่ดำเนินการ จำเลยชอบที่จะว่าจ้างบุคคลภายนอกทำการแก้ไขสิ่งบกพร่องดังกล่าวได้ โดยโจทก์จะต้องออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 594 และจำเลยมีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเท่าที่เสียไปจากค่าจ้างของงานงวดที่สองเท่านั้น
เหตุที่โจทก์ทำงานบกพร่องเนื่องจากจำเลยขอเปลี่ยนแบบ ขยายห้องนอนให้กว้างขึ้น ใช้วัสดุผิดจากแบบแปลน ทำให้โครงเหล็กรับน้ำหนักมากกว่าแบบทำให้โค้งงอ จำเลยต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบในความบกพร่องดังกล่าวด้วย และเมื่อปรากฏว่าจำเลยยังไม่ได้ว่าจ้างบุคคลใดให้ทำการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว ศาลชั้นต้นจึงกำหนดค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างบุคคลภายนอกแก้ไขข้อบกพร่องตามความเหมาะสมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5302/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของ: การเลิกสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และความรับผิดในค่าเสียหาย
โจทก์กล่าวในคำฟ้องเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยอันเป็นการผิดสัญญาจ้างทำของ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายจากจำเลยหลายรายการ แต่โจทก์คิดเพียง 400,000 บาท โดยแนบภาพถ่ายทาวน์เฮาส์เครื่องโม่ปูน วัสดุก่อสร้างที่เหลือ บ้านพักคนงาน รวมทั้งสิ่งก่อสร้างตามโครงการก่อสร้างของจำเลยที่ถนนเทพารักษ์มาท้ายฟ้องด้วย แม้มิได้บรรยายว่าโจทก์เริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อใด ทำงานเสร็จไปถึงงวดที่เท่าใดวัสดุก่อสร้างที่เหลืออยู่ จำนวนและราคาเท่าใดและการว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างที่เทพารักษ์มีหลักฐานอย่างใด ก็ไม่เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่ใช่สภาพแห่งข้อหา ไม่จำต้องกล่าวในฟ้องทั้งเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ จำเลยต่อสู้คดีได้ถูกต้องแล้วคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
กรณีเพิ่งเริ่มงานตามสัญญา จำเลยก็ไม่ประสงค์ให้โจทก์ทำการก่อสร้าง เหตุบอกเลิกสัญญา ก็อ้างเหตุโจทก์ทิ้งงานเท่านั้น ซึ่งยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลาก่อสร้างแล้วเสร็จ และโจทก์เองมิได้ทอดทิ้งงาน ส่วนเรื่องโจทก์ก่อสร้างผิดแบบผิดหลักวิชาการก็รับฟังไม่ได้ ดังนี้เมื่อสัญญาจ้างยังไม่ถึงกำหนด และจำเลยผู้ว่าจ้างเห็นว่าหากให้โจทก์ทำการก่อสร้างต่อไปจะเกิดความเสียหายเพราะงานล่าช้ามาก จำเลยจะเลิกสัญญาได้ก็ต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาให้โจทก์ปฏิบัติเสียก่อนตาม ป.พ.พ.มาตรา 387 แต่จำเลยก็มิได้ทำเช่นนั้น จึงบอกเลิกสัญญาโดยเหตุดังกล่าวไม่ได้ การที่โจทก์ขอทำการก่อสร้างต่อไปและจำเลยไม่ยอม โดยว่าจ้างผู้อื่นก่อสร้างต่อไปและให้เลิกสัญญา จะถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ได้ แต่เป็นเรื่องจำเลยใช้สิทธิเลิกสัญญาโดยไม่ชอบ และต้องถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเอง
กรณีจ้างทำของเมื่อจำเลยผู้ว่าจ้างได้บอกเลิกสัญญาเอง โดยโจทก์ผู้รับจ้างไม่ได้ทำผิดสัญญา จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 605
ส่วนค่าเสียหายที่จำเลยต้องรื้อถอนซ่อมแซมและเสียค่าก่อสร้างบ้านจนแล้วเสร็จ เมื่อโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาจากโจทก์ได้
โจทก์ฟ้อง จำเลยให้การและฟ้องแย้ง โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งแล้ว ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้องโดยมิได้พิพากษายกฟ้องแย้งด้วยนั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5302/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาจ้างทำของที่ไม่ชอบธรรม จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายและค่าวัสดุคงเหลือ
โจทก์กล่าวในคำฟ้องเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยอันเป็นการผิดสัญญาจ้างทำของ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายจากจำเลยหลายรายการ แต่โจทก์คิดเพียง400,000 บาท โดยแนบภาพถ่ายทาวน์เฮาส์ เครื่องโม่ปูนวัสดุก่อสร้างที่เหลือ บ้านพักคนงาน รวมทั้งสิ่งก่อสร้างตามโครงการก่อสร้างของจำเลยที่ถนนเทพารักษ์มาท้ายฟ้องด้วยแม้มิได้บรรยายว่าโจทก์เริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อใด ทำงานเสร็จไปถึงงวดที่เท่าใดวัสดุก่อสร้างที่เหลืออยู่ จำนวนและราคาเท่าใดและการว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างที่เทพารักษ์ มีหลักฐานอย่างใด ก็ไม่เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่ใช่สภาพแห่งข้อหา ไม่จำต้องกล่าวในฟ้องทั้งเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ จำเลยต่อสู้คดีได้ถูกต้องแล้วคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม กรณีเพิ่งเริ่มงานตามสัญญา จำเลยก็ไม่ประสงค์ให้โจทก์ทำการก่อสร้าง เหตุบอกเลิกสัญญา ก็อ้างเหตุโจทก์ทิ้งงานเท่านั้น ซึ่งยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลาก่อสร้างแล้วเสร็จ และโจทก์เองมิได้ทอดทิ้งงาน ส่วนเรื่องโจทก์ก่อสร้างผิดแบบผิดหลักวิชาการก็รับฟังไม่ได้ ดังนี้เมื่อ สัญญาจ้างยังไม่ถึงกำหนด และจำเลยผู้ว่าจ้างเห็นว่าหากให้ โจทก์ทำการก่อสร้างต่อไปจะเกิดความเสียหายเพราะงานล่าช้างานจำเลยจะเลิกสัญญาได้ก็ต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาให้โจทก์ปฏิบัติเสียก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387แต่จำเลยก็มิได้ทำเช่นนั้น จึงบอกเลิกสัญญาโดยเหตุดังกล่าวไม่ได้ การที่โจทก์ขอทำการก่อสร้างต่อไปและจำเลยไม่ยอมโดยว่าจ้างผู้อื่นก่อสร้างต่อไปและให้เลิกสัญญา จะถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ได้ แต่เป็นเรื่องจำเลยใช้สิทธิเลิกสัญญาโดยไม่ชอบ และต้องถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเอง กรณีจ้างทำของเมื่อจำเลยผู้ว่าจ้างได้บอกเลิกสัญญาเองโดยโจทก์ผู้รับจ้างไม่ได้ทำผิดสัญญา จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เพื่อความเสียหายใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 605 ส่วนค่าเสียหายที่จำเลยต้องรื้อถอนซ่อมแซมและเสียค่าก่อสร้างบ้านจนแล้วเสร็จ เมื่อโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาจากโจทก์ได้ โจทก์ฟ้อง จำเลยให้การและฟ้องแย้ง โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งแล้ว ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้องโดยมิได้พิพากษายกฟ้องแย้งด้วยนั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสีย ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2876/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องจำเลยที่ 4 (ผู้รับเหมาช่วง) ที่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกฟ้องได้ตามกฎหมาย และการคำนวณค่าเสียหายที่ถูกต้อง
จำเลยทั้งสามไม่ได้ให้การยกเรื่องฟ้องของโจทก์ขาดอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก การที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 4 เข้าทำสัญญาจ้างและรับเงิน แต่จำเลยที่ 1 ได้ออกใบรับเงินให้โจทก์โดยจำเลยที่ 3ที่ 4 ลงชื่อในใบรับเงิน และจำเลยที่ 1 ยื่นรายการภาษีเงินได้ประจำปีระบุรายได้ว่าจากการรับเหมาก่อสร้างเป็นเงินที่ขาดทุนสุทธิตรงกับงบดุลของจำเลยที่ 1 และตามงบกำไรขาดทุนของจำเลยที่ 1ก็ระบุรายได้ไว้ในรายการแรกว่าได้จากการรับเหมาก่อสร้างจำนวนเงินตรงกับใบเสร็จรับเงินของจำเลยที่ 1 ที่รับเงินงวดที่ 1 ซึ่งออกให้แก่โจทก์ ตามพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว เป็นการที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการได้ยอมเข้ารับเอาผลงานที่จำเลยที่ 4ได้กระทำไปเกินขอบอำนาจของตัวแทนถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้สัตยาบันแล้ว จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 เมื่อมีการกระทำผิดสัญญาจำเลยที่ 1 ตัวการต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นตัวแทนไม่ต้องร่วมรับผิด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 4 เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 4 ไม่ได้อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 โจทก์ว่าจ้าง จ. ทำงานส่วนที่เหลือต่อจากจำเลยที่ 1ซึ่งทิ้งงาน โจทก์จึงต้องจ่ายเงินค่าจ้างงานทั้งหมดเป็นเงินเท่ากับเงินที่จ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 ไปแล้ว 1 งวด จำนวน 149,800 บาทบวกด้วยเงินที่ต้องจ่ายให้แก่ จ. เป็นค่าจ้างในการทำงานส่วนที่เหลืออีก 782,965 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 932,765 บาทเพราะฉะนั้นโจทก์ต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่มขึ้นเป็นเงินเท่ากับเงินจำนวนดังกล่าวลบด้วยค่าจ้างที่จะต้องจ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 หากทำงานแล้วเสร็จตามสัญญาจ้างจำนวน 749,000 บาท ซึ่งคิดเป็นเงิน 183,765บาท จำนวนเงินดังกล่าวคือค่าเสียหายจริงที่โจทก์ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น หลักประกันเป็นเงินสดที่ผู้รับจ้างมอบไว้แก่ผู้ว่าจ้างตามสัญญาจ้างเป็นเงินประกันความเสียหาย ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย เมื่อโจทก์รับไปแล้วต้องนำไปหักออกจากค่าเสียหายในจำนวนทั้งหมดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 331/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจัดทำเฟอร์นิเจอร์ชำรุด ผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบความเสียหายและรื้อถอน
โจทก์จ้างจำเลยที่ 3 ควบคุมดูแล การทำงานของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 3 ละเลยไม่ควบคุมให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการจัดทำงานตามแบบที่ตนได้เขียนขึ้น จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ทำเฟอร์นิเจอร์ไม่ตรงตามแบบแปลนและทำไม่แล้วเสร็จ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาและว่าจ้างผู้อื่นทำต้องว่าจ้างในราคาที่สูงขึ้นเพราะวัสดุราคาสูงขึ้น ย่อมเห็นได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการผิดสัญญาของจำเลยแล้ว การที่จะให้จำเลยรื้อเฟอร์นิเจอร์ออกไปจะทำให้จำเลยได้รับความเสียหายมาก โจทก์ต้องรับเฟอร์นิเจอร์ดังกล่าวไว้ และจ่ายค่าแรงให้จำเลยนั้นเมื่อจำเลยทำงานผิดแบบแปลน ใช้วัสดุคุณภาพต่ำไม่ตรงตามความประสงค์ของโจทก์โจทก์ย่อมปฏิเสธไม่ยอมรับงานของจำเลยได้ จำเลยจึงต้องรื้อถอนเฟอร์นิเจอร์ดังกล่าวออกไป แม้จำเลยจะได้รับความเสียหายก็เกิดจากความผิดของฝ่ายจำเลยเอง จำเลยที่ 3 ฎีกาขอให้โจทก์ชำระเงินค่าออกแบบส่วนที่ยังขาดนั้นเมื่อฟ้องแย้งของจำเลยที่ 3 มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 3 ดังนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1629/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาจ้างเหมา การชดใช้ค่าเสียหาย และเบี้ยปรับรายวัน ศาลฎีกาวินิจฉัยผูกพันจำเลยและหุ้นส่วนผู้จัดการ
คดีก่อนจำเลยที่ 1 ได้ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยฐานผิดสัญญาและให้จ่ายเงินค่าก่อสร้างงวดที่ 5 เป็นเงิน608,000 บาท ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาคำพิพากษาดังกล่าวจึงผูกพันจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้น และผูกพันจำเลยที่ 2 ที่ 3ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ด้วย ข้อเท็จจริงในคดีนี้จึงฟังเป็นยุติว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาเกี่ยวกับการทาสีบานประตูหน้าต่างภายในตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง
การที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาทำให้โจทก์ต้องจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ทำการก่อสร้างเป็นเงินเพิ่มไปจากเดิมที่ทำไว้กับจำเลยที่ 1 จำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนี้ถือเป็นค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับโดยตรงจากการที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดสัญญา จำเลยทั้งสามต้องร่วมรับผิดชดใช้ให้โจทก์
โจทก์บอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 โดยอาศัยเหตุที่ว่าจำเลยที่ 1 ทาสีไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดในสัญญา ไม่ได้อาศัยเหตุที่ว่า จำเลยที่ 1 ทำการก่อสร้างไม่แล้วเสร็จบริบูรณ์ภายใน 300 วัน โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับรายวันหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ-ค่าปรับ-ค่าเสียหาย: ผู้รับเหมาผิดสัญญา จำเลยมีสิทธิเรียกค่าปรับและค่าเสียหายได้
เมื่อปรากฏว่างานของโจทก์มีสิ่งที่บกพร่องจำเลยบอกกล่าวให้โจทก์แก้ไขสิ่งที่บกพร่องให้คืนดีหรือทำการให้เป็นไปตามสัญญาภายในเวลาอันสมควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้นแล้วโจทก์ไม่ดำเนินการแก้ไขจนล่วงเลยกำหนดนั้นแล้ว จำเลยจึงจ้างบุคคลภายนอกทำการแก้ไขสิ่งบกพร่องดังกล่าวได้ โดยโจทก์จะต้องออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 594
โจทก์ปลูกบ้านยังไม่เสร็จสมบูรณ์ จำเลยยังไม่ได้รับมอบบ้านนั้นจากโจทก์ยังไม่ถือว่าโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่จำเลยแล้วจำเลยมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับในกรณีไม่ชำระหนี้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้จากโจทก์ได้ตามสัญญา
โจทก์จำเลยตกลงกันว่าหากโจทก์ก่อสร้างไม่เสร็จภายในเวลาที่กำหนดยอมให้จำเลยปรับเป็นรายวันจำเลยจึงมีสิทธิที่จะปรับโจทก์ได้ตั้งแต่วันหมดอายุสัญญาจนถึงวันที่งานก่อสร้างแล้วเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาก่อสร้าง: ผิดสัญญา, ค่าปรับ, การซ่อมแซมโดยจำเลย, การชำระหนี้
เมื่อปรากฏว่างานของโจทก์มีสิ่งที่บกพร่อง จำเลยบอกกล่าวให้โจทก์แก้ไขสิ่งที่บกพร่องให้คืนดี หรือทำการให้เป็นไปตามสัญญาภายในเวลาอันสมควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้นแล้ว โจทก์ไม่ดำเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามสัญญาจนคลาดกำหนดนั้นไป จำเลยจึงจ้างบุคคลภายนอกทำการแก้ไขสิ่งยกพร่องดังกล่าวได้ โดยโจทก์จะต้องออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตร 594
โจทก์ปลูกบ้านยังไม่เสร็จสมบูรณ์ จำเลยยังไม่ได้รับมอบบานนั้นจากโจทก์ยังไม่ถือว่าโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยมีสิทธเรียกเอาเบี้ยปรับในกรณีไม่ชำระหนี้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้จากโจทก์ได้ตามสัญญา
โจทก์จำเลยตกลงกันว่า หากโจทก์ก่อสร้างไม่แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนดยอมให้จำเลยปรับเป็นรายวัน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะปรับโจทก์ได้ตั้งแต่วันหมดอายุสัญญาจนถึงวันที่งานก่อสร้างแล้วเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2269/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างฐานรากไม่ตรงแบบ แม้ผู้ควบคุมงานสั่ง แต่ผู้รับเหมาผิดสัญญา หากไม่แก้ไข จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญา
โจทก์เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างอาคารให้จำเลย โจทก์สร้างฐานรากอาคารบางกว่าแบบแปลนที่กำหนดไว้ แม้ได้กระทำไปตามที่ผู้ควบคุมงานของจำเลยเป็นผู้สั่ง แต่เมื่อผู้ควบคุมงานมีหน้าที่ควบคุมให้การก่อสร้างเป็นไปตามแบบแปลน ไม่มีอำนาจสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขแบบแปลน โดยมิได้รับความยินยอมจากจำเลยหรือคณะกรรมการดูแลการก่อสร้างของจำเลย การที่โจทก์ก่อสร้างฐานรากอาคารบางกว่าแบบแปลนจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา และเมื่อโจทก์ไม่ยอมแก้ไขฐานรากให้ถูกต้อง จำเลยจึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญา
ฐานรากที่โจทก์ก่อสร้างบางกว่าแบบแปลนจะแก้ไขให้ถูกต้องไม่ได้ นอกจากรื้อทิ้งแล้วก่อสร้างใหม่ ฐานรากที่โจทก์ก่อสร้างไว้จึงไม่เป็นประโยชน์แก่จำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดกำไร และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างจากจำเลย
of 2