คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1619

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดกที่ไม่สมบูรณ์และสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้สละ โดยการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดก
ท. เจ้ามรดกถึงแก่ความตายหลังจากโจทก์สละมรดกแล้ว4วันจังเป็นการแสดงเจตนาสละมรดกที่ฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1619การสละมรดกจึงไม่เกิดผลตามกฎหมายถือเท่ากับว่าไม่มีการสละมรดกโจทก์จึงยังคงมีสิทธิในทรัพย์มรดกในส่วนที่โจทก์จะพึงได้รับตามพินัยกรรมและการที่โจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินมรดกและไม่เคยติดใจเรียกร้องทรัพย์มรดกก็ไม่มีบทกฎหมายใดให้ถือว่าเป็นการปิดปากและเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าโจทก์สละมรดกนั้นแล้ว เมื่อการสละมรดกโดยโจทก์ไม่เกิดผลตามกฎหมายโจทก์จึงยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมรดกอยู่การไถ่ถอนจำนองที่ดินมรดกโดยจำเลยตกลงรับสภาพหนี้ต่อธนาคารและผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคารก็ปรากฎว่าโจทก์และน้องๆทุกคนก็ช่วยกันออกเงินคนละ20,000บาทให้จำเลยไปดำเนินการหาใช่เป็นเงินของจำเลยเพียงคนเดียวไม่อีกทั้งไม่ปรากฎว่ามีการตกลงกันระหว่างพี่น้องจำเลยให้จำเลยไปจัดการไถ่ถอนจำนองที่ดินมรดกแล้วจำเลยจะได้รับที่ดินมรดกในส่วนที่โจทก์จะพึงได้รับตามพินัยกรรมเป็นการตอบแทนที่ดินมรดกในส่วนดังกล่าวจึงยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ คดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกโดยโจทก์ฟ้องตั้งประเด็นว่าโจทก์เป็นทายาทโดยพินัยกรรมมีสิทธิรับมรดกจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจัดการมรดกโดยมิชอบไม่ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมรดกกรณีนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1733วรรคสองได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกนั้นมิให้ทายาทฟ้องเกินกว่า5ปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงจึงจะนำอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754มาบังคับใช้กับกรณีนี้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสิทธิในมรดกที่ยังไม่เกิดขึ้น และการครอบครองที่พิพาทของทายาท
การที่โจทก์ร่วมแบ่งที่พิพาทให้แก่จำเลย แล้วจำเลยนำที่พิพาทมาขายคืนให้แก่โจทก์ร่วม ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจำหน่ายจ่ายโอนซึ่งสิทธิอันหากจะมีภายหน้าในการสืบมรดกผู้ที่มีชีวิตอยู่ ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1619 หนังสือสัญญาการซื้อขายจึงตกเป็นโมฆะ
เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ยังไม่อาจรับฟังได้โดยแน่ชัดว่า โจทก์ร่วมมีสิทธิครอบครองที่พิพาทแต่ผู้เดียว ที่พิพาทยังคงเป็นมรดกของ พ. การที่จำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งของ พ. มีสิทธิรับมรดกแทนที่ ป.ผู้เป็นมารดา เข้ายึดถือครอบครองในที่พิพาท จึงเป็นเพียงโต้แย้งสิทธิโจทก์ร่วมในทางแพ่ง ฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสิทธิในมรดกก่อนได้รับมรดกเป็นโมฆะ การครอบครองที่พิพาทของทายาทเป็นการโต้แย้งสิทธิในทางแพ่ง ไม่ถือเป็นบุกรุก
โจทก์ร่วมและ ป. เป็นบุตร พ. จำเลยเป็นบุตร ป. ป.ตายก่อน พ. หลังจาก ป. ตายโจทก์ร่วมแบ่งที่ดินซึ่งเป็นของ พ. และ ป. ให้แก่จำเลยแล้วจำเลยนำที่พิพาทซึ่งโจทก์ร่วมแบ่งให้มาขายคืนให้แก่โจทก์ร่วมก่อนที่ พ. จะตาย เป็นเรื่องที่จำเลยจำหน่ายจ่ายโอนซึ่งสิทธิอันหากจะมีในภายหน้าในการสืบมรดกผู้ที่มีชีวิตอยู่โดยการรับมรดกแทนที่ ป. ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1619 สัญญาซื้อขายจึงตกเป็นโมฆะ ที่พิพาทเป็นมรดกของ พ. ที่ยังไม่ได้แบ่ง การที่จำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งของ พ. มีสิทธิรับมรดกแทนที่ ป. เข้ายึดถือครอบครองที่พิพาท จึงเป็นเพียงโต้แย้งสิทธิของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นทายาทด้วยกันในทางแพ่ง จำเลยไม่มีความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายสิทธิในมรดกที่ยังไม่เกิดขึ้น และการครอบครองที่พิพาทของทายาท การกระทำไม่ถือเป็นบุกรุก
การที่โจทก์ร่วมแบ่งที่พิพาทให้แก่จำเลย แล้วจำเลยนำที่พิพาทมาขายคืนให้แก่โจทก์ร่วม ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจำหน่ายจ่ายโอนซึ่งสิทธิอันหากจะมีภายหน้าในการสืบมรดกผู้ที่มีชีวิตอยู่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1619 หนังสือสัญญาการซื้อขายจึงตกเป็นโมฆะ เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ยังไม่อาจรับฟังได้โดยแน่ชัดว่าโจทก์ร่วมมีสิทธิครอบครองที่พิพาทแต่ผู้เดียว ที่พิพาทยังคงเป็นมรดกของ พ.การที่จำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งของพ. มีสิทธิรับมรดกแทนที่ ป. ผู้เป็นมารดา เข้ายึดถือครอบครองในที่พิพาทจึงเป็นเพียงโต้แย้งสิทธิโจทก์ร่วมในทางแพ่ง ฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2264/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิในมรดกโดยการทำสัญญาและการครอบครองทรัพย์สินอย่างเปิดเผยของจำเลย
ทรัพย์มรดกเป็นที่ดินมือเปล่าเจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกให้โจทก์โดยข้อกำหนดในพินัยกรรมระบุว่าให้พินัยกรรมมีผลเมื่อภริยาของเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้วระหว่างที่โจทก์เป็นผู้เยาว์ให้จำเลยเก็บผลประโยชน์จากทรัพย์มรดกดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายอุปการะเลี้ยงดูโจทก์โจทก์ทราบข้อความในพินัยกรรมตั้งแต่เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่หลังจากเจ้ามรดกตายแล้วแต่ในระหว่างที่ภริยาของเจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่นั้นโจทก์ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วได้แสดงเจตนาสละสิทธิในทรัพย์มรดกเมื่อภริยาของเจ้ามรดกถึงแก่กรรมจำเลยก็ได้ครอบครองทรัพย์มรดกอย่างเป็นเจ้าของนับแต่นั้นเป็นต้นมาดังนี้ทรัพย์มรดกจึงตกเป็นของจำเลยแล้วโจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกและเงินผลประโยชน์อันเกิดจากทรัพย์มรดกจากจำเลยไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2264/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิในมรดกโดยการซื้อขายและครอบครองปรปักษ์ การเปลี่ยนแปลงเจตนาหลังพินัยกรรม
ทรัพย์มรดกเป็นที่ดินมือเปล่า เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกให้โจทก์โดยข้อกำหนดในพินัยกรรมระบุว่า ให้พินัยกรรมมีผลเมื่อภริยาของเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้ว ระหว่างที่โจทก์เป็นผู้เยาว์ให้จำเลยเก็บผลประโยชน์จากทรัพย์มรดกดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ โจทก์ทราบข้อความในพินัยกรรมตั้งแต่เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ หลังจากเจ้ามรดกตายแล้วแต่ในระหว่างที่ภริยาของเจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่นั้นโจทก์ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วได้แสดงเจตนาสละสิทธิในทรัพย์มรดก เมื่อภริยาของเจ้ามรดกถึงแก่กรรม จำเลยก็ได้ครอบครองทรัพย์มรดกอย่างเป็นเจ้าของนับแต่นั้นเป็นต้นมา ดังนี้ทรัพย์มรดกจึงตกเป็นของจำเลยแล้ว โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกและเงินผลประโยชน์อันเกิดจากทรัพย์มรดกจากจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแลกเปลี่ยนที่ดินก่อนได้รับมรดก และการสละสิทธิครอบครองหลังได้รับมรดก
โจทก์ตกลงแลกเปลี่ยนที่พิพาทกับที่ดินของจำเลย ขณะตกลงแลกเปลี่ยนโจทก์ยังไม่มีสิทธิในที่พิพาท และที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมที่บิดายกให้โจทก์ ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีผลเป็นการแลกเปลี่ยน ทั้งเป็นการจำหน่ายจ่ายโอนมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1619 แต่ภายหลังที่บิดาตายแล้วจำเลยได้ครอบครองที่พิพาทเป็นของตนตลอดมาโดยโจทก์ไม่เกี่ยวข้อง ย่อมเป็นปริยายว่าโจทก์สละสิทธิครอบครองที่พิพาทให้แก่จำเลยภายหลังที่ที่พิพาทตกเป็นของโจทก์แล้ว โดยมีเจตนาแลกเปลี่ยนที่ดินกันดังเดิม จำเลยย่อมได้สิทธิครอบครองที่พิพาท โจทก์ต้องไปจดทะเบียนการโอนที่พิพาทให้จำเลย และจำเลยต้องไปจดทะเบียนโอนที่นาของตนที่แลกเปลี่ยนกับที่พิพาทให้โจทก์
ศาลล่างพิพากษาบังคับโจทก์โดยไม่บังคับจำเลยให้โอนที่ดินให้โจทก์ตามข้อตกลงแลกเปลี่ยนไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ให้ถูกต้องได้เพราะเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 2430/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแลกเปลี่ยนที่ดินก่อนได้รับมรดก & การสละสิทธิครอบครองหลังได้รับมรดก ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้อง
โจทก์ตกลงแลกเปลี่ยนที่พิพาทกับที่ดินของจำเลย ขณะตกลงแลกเปลี่ยนโจทก์ยังไม่มีสิทธิในที่พิพาท และที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมที่บิดายกให้โจทก์ ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีผลเป็นการแลกเปลี่ยน ทั้งเป็นการจำหน่ายจ่ายโอนมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1619 แต่ภายหลังที่บิดาตายแล้วจำเลยได้ครอบครองที่พิพาทเป็นของตนตลอดมาโดยโจทก์ไม่เกี่ยวข้อง ย่อมเป็นปริยายว่าโจทก์สละสิทธิครอบครองที่พิพาทให้แก่จำเลยภายหลังที่ที่พิพาทตกเป็นของโจทก์แล้ว โดยมีเจตนาแลกเปลี่ยนที่ดินกันดังเดิม จำเลยย่อมได้สิทธิครอบครองที่พิพาท โจทก์ต้องไปจดทะเบียนการโอนที่พิพาทให้จำเลย และจำเลยต้องไปจดทะเบียนโอนที่นาของตนที่แลกเปลี่ยนกับที่พิพาทให้โจทก์
ศาลล่างพิพากษาบังคับโจทก์โดยไม่บังคับจำเลยให้โอนที่ดินให้โจทก์ตามข้อตกลงแลกเปลี่ยนไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 2430/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุตรบุญธรรมมีสิทธิมรดกก่อนพี่น้องร่วมบิดามารดา สัญญาแบ่งมรดกก่อนเจ้ามรดกเสียชีวิตเป็นโมฆะ
เจ้ามรดกได้จดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรบุญธรรมจำเลยที่ 2 จึงมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1586,1627 เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมโดยมิได้ทำพินัยกรรมมรดกจึงตกได้แก่จำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียว โจทก์ที่1 ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดากับเจ้ามรดกหามีสิทธิได้รับมรดกไม่
ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรม โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกกัน แม้สัญญาดังกล่าวจะกระทำเพื่อระงับข้อพิพาทอันจะมีขึ้นในภายหน้าเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่ก็เป็นสัญญาที่ให้จำเลยที่2 ผู้มีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกแต่ผู้เดียวจำหน่ายจ่ายโอนสิทธิในการรับมรดกในทรัพย์มรดกบางส่วนให้แก่โจทก์เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1619ไม่มีผลใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับบุตรบุญธรรมและสิทธิในมรดก สัญญาประนีประนอมยอมความก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรมเป็นโมฆะ
เจ้ามรดกได้จดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรบุญธรรม จำเลยที่ 2 จึงมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1586, 1627 เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมโดยมิได้ทำพินัยกรรม มรดกจึงตกได้แก่จำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียว โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดากับเจ้ามรดกหามีสิทธิได้รับมรดกไม่
ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรม โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกกัน แม้สัญญาดังกล่าวจะกระทำเพื่อระงับข้อพิพาทอันจะมีขึ้นในภายหน้าเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่ก็เป็นสัญญาที่ให้จำเลยที่ 2 ผู้มีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกแต่ผู้เดียวจำหน่ายจ่ายโอนสิทธิในการรับมรดกในทรัพย์มรดกบางส่วนให้แก่โจทก์ เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1619 ไม่มีผลใช้บังคับ
of 2