คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 228

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7094/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าทดแทนเวนคืน: การแยกสิทธิระหว่างผู้เช่า, เจ้าของที่ดิน และผู้เช่าช่วง
พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ฯ ได้กำหนดบุคคลผู้ที่จะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนอันเนื่องมาจากการดำเนินการเพื่อการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ไว้ในมาตรา 18 (1) ถึง (6) แยกไว้ต่างหากจากกัน การดำเนินการเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์รายการเดียวก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อบุคคลหลายฝ่าย อันเป็นเหตุให้เกิดสิทธิแก่บุคคลหลายคนที่จะได้รับเงินค่าทดแทนแยกต่างหากจากกันได้
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินก่อสร้างตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างมีกำหนด 30 ปี เพื่อนำไปให้บุคคลภายนอกเช่าช่วงภายในกำหนดระยะเวลาที่เช่า และโจทก์มีหน้าที่บำรุงรักษาตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเพื่อส่งมอบให้แก่เจ้าของที่ดินเมื่อครบกำหนดระยะเวลาการเช่าแล้วขณะที่ พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืน ฯ มีผลใช้บังคับ โจทก์คงเป็นเจ้าของตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้อง จึงจัดเป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 (2) แม้ในขณะที่มีการดำเนินการเพื่อเวนคืนตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องยังไม่ได้ตกเป็นของเจ้าของที่ดิน เจ้าของที่ดินจึงไม่ใช่บุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนตามมาตรา 18 (1) ถึง (6) ก็ตาม แต่เมื่อครบกำหนด 30 ปี ตามสัญญาเช่าที่ดิน ตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องจะตกเป็นของเจ้าของที่ดินทันที จึงถือได้ว่าเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าหนี้โจทก์ในหนี้ที่โจทก์จะต้องส่งมอบตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องให้แก่เจ้าของที่ดิน เมื่อตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องถูกเวนคืนไปเสียก่อนที่จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินอันเป็นผลให้ได้เงินค่าทดแทนมาจากการเวนคืน เงินค่าทดแทนนี้จึงเป็นทรัพย์สินซึ่งเข้าแทนที่ตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกันกับตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 วรรคสอง และ 228 วรรคหนึ่ง จำเลยซึ่งมีหน้าที่จ่ายเงินค่าทดแทนจึงต้องแจ้งการกำหนดเงินค่าทดแทนและการที่จะใช้เงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินทราบตาม ป.พ.พ. มาตรา 231 เมื่อเจ้าของที่ดินไม่สามารถจะตกลงกับโจทก์ได้ โจทก์และเจ้าของที่ดินต่างฝ่ายต่างมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้นำเงินจำนวนนั้นไปวางไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์เพื่อประโยชน์อันร่วมกัน เว้นแต่โจทก์จะหาประกันไว้ให้ตามสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 232 ดังนั้น ที่ฝ่ายจำเลยให้โจทก์กับเจ้าของที่ดินตกลงเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนกันให้ได้แล้วจึงมีสิทธิที่จะตกลงทำสัญญารับเงินค่าทดแทนจากฝ่ายจำเลยได้นั้นเป็นการดำเนินที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว และเมื่อโจทก์กับเจ้าของที่ดินตกลงกันไม่ได้ จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่ไม่อาจจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนรายใดได้เพราะมีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์หรือสิทธิอื่น ๆ ในอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืน ฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนจึงวางเงินค่าทดแทนได้ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มาตรา 28 วรรคสอง กรณีเช่นนี้ศาลไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนทั้งหมดไปเพียงผู้เดียว
ผู้เช่าช่วงซึ่งเป็นผู้เช่าตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์ จัดเป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 (3) และเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนอันมีสิทธิได้เงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายนั้นตามมาตรา 21 วรรคท้าย สิทธิของผู้เช่าตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวแยกต่างหากจากโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของตึกแถวและสิ่งปลูกสร้าง และแยกต่างหากจากเจ้าของที่ดิน ดังนั้น ที่ฝ่ายจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนเบื้องต้นให้แก่ผู้เช่าช่วงรวมกันกับโจทก์และเจ้าของที่ดินเป็นเงินจำนวนหนึ่งในลักษณะกรรมสิทธิ์รวม และนำเงินค่าทดแทนเบื้องต้นดังกล่าวไปฝากไว้ต่อธนาคารออมสินในนามของโจทก์กับเจ้าของที่ดินและผู้เช่าช่วงรวมกันจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7094/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง: สิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทนของเจ้าของที่ดิน ผู้เช่า และผู้ได้รับความเสียหาย
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนสังหาริมทรัพย์ฯได้กำหนดบุคคลผู้ที่จะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนอันเนื่องมาจากการดำเนินการเพื่อการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ไว้ในมาตรา 18(1) ถึง (6) แยกไว้ต่างหากจากกัน การดำเนินการเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์รายการเดียวก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อบุคคลหลายฝ่าย อันเป็นเหตุให้เกิดสิทธิแก่บุคคลหลายคนที่จะได้รับเงินค่าทดแทนแยกต่างหากจากกันได้
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินก่อสร้างตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างมีกำหนด 30 ปี เพื่อนำไปให้บุคคลภายนอกเช่าช่วงภายในกำหนดระยะเวลาที่เช่า และโจทก์มีหน้าที่บำรุงรักษาตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเพื่อส่งมอบให้แก่เจ้าของที่ดินเมื่อครบกำหนดระยะเวลาการเช่าแล้วขณะที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่เวนคืนฯมีผลใช้บังคับโจทก์คงเป็นเจ้าของตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้อง จึงจัดเป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตาม มาตรา 18(2)
แม้ในขณะที่มีการดำเนินการเพื่อเวนคืนตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องยังไม่ได้ตกเป็นของเจ้าของที่ดิน เจ้าของที่ดินจึงไม่ใช่บุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตาม มาตรา 18(1) ถึง (6) ก็ตาม แต่เมื่อครบกำนด 30 ปี ตามสัญญาเช่าที่ดินตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องจะตกเป็นของเจ้าของที่ดินทันที จึงถือได้ว่าเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าหนี้โจทก์ในหนี้ที่โจทก์จะต้องส่งมอบตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องให้แก่เจ้าของที่ดิน เมื่อตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องถูกเวนคืนไปเสียก่อนที่จะตกเป็นกรรมสิทธิของเจ้าของที่ดินอันเป็นผลให้ได้เงินค่าทดแทนมาจากการเวนคืนเงินค่าทดแทนนี้จึงเป็นทรัพย์สินซึ่งเข้าแทนที่ตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกับตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226 วรรคสอง และ 228 วรรคหนึ่งจำเลยซึ่งมีหน้าที่จ่ายเงินค่าทดแทนจึงต้องแจ้งการกำหนดเงินค่าทดแทนและการที่จะใช้เงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินทราบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 231 เมื่อเจ้าของที่ดินไม่สามารถจะตกลงกับโจทก์ได้ โจทก์และเจ้าของที่ดินต่างฝ่ายต่างมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้นำเงินจำนวนนั้นไปวางไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์เพื่อประโยชน์อันร่วมกัน เว้นแต่โจทก์จะหาประกันให้ไว้ตามสมควร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 232 ดังนั้น ที่ฝ่ายจำเลยให้โจทก์กับเจ้าของที่ดินตกลงเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนกันให้ได้แล้วจึงมีสิทธิที่จะตกลงทำสัญญารับเงินทดแทนจากฝ่ายจำเลยได้นั้นเป็นการดำเนินที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว และเมื่อโจทก์กับเจ้าของที่ดินตกลงกันไม่ได้จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่ไม่อาจจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนรายใดได้เพราะมีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์หรือสิทธิอื่น ๆ ในอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืน ฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนจึงวางเงินค่าทดแทนได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 28 วรรคสอง กรณีเช่นนี้ศาลไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนทั้งหมดไปเพียงผู้เดียว
ผู้เช่าช่วงซึ่งเป็นผู้เช่าตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์ จัดเป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18(3) และเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนอันมีสิทธิได้เงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายนั้นตามมาตรา 21 วรรคท้าย สิทธิของผู้เช่าตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวแยกต่างหากจากโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของตึกแถวและสิ่งปลูกสร้าง และแยกต่างหากจากเจ้าของที่ดิน ดังนั้นที่ฝ่ายจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนเบื้องต้นให้แก่ผู้เช่าช่วงรวมกันกับโจทก์และเจ้าของที่ดินเป็นเงินจำนวนหนึ่งในลักษณะกรรมสิทธิ์รวม และนำเงินค่าทดแทนเบื้องต้นดังกล่าวไปฝากไว้ต่อธนาคารออมสินในนามของโจทก์กับเจ้าของที่ดินและผู้เช่าช่วงรวมกันจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2094-2095/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายัดสิทธิเรียกร้องชดใช้ค่าเสียหายจากประกันภัย - การบังคับชำระหนี้ - การโอนที่ดิน - สิทธิเรียกร้อง
เมื่อโรงภาพยนตร์ พร้อมอุปกรณ์ที่โจทก์ต้องโอนให้จำเลยที่ 3 ถูกเพลิงไหม้หมด การชำระหนี้ของโจทก์ย่อมกลายเป็นพ้นวิสัย แต่เนื่องจากโจทก์ได้เอาประกันภัยไว้แก่ผู้ร้อง โจทก์ได้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนมา จำเลยที่ 3 จึงมีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 228 ที่จะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนนั้นเสียเองได้ การเรียกร้องตามบทบัญญัตินี้มิใช่เป็นการเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนในฐานะผู้รับโอนวัตถุที่เอาประกันภัยจึงไม่ต้องมีการบอกกล่าวการโอนวัตถุที่เอาประกันภัยให้ผู้รับประกันภัยทราบตามมาตรา 875 ก่อน เมื่อเป็นกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีจำเลยที่ 3 จึงชอบที่จะบังคับเอาค่าสินไหมทดแทนในคดีนี้ได้หาใช่เป็นเรื่องข้อพิพาทตามสัญญาประกันภัยต่างหากจากคดีนี้ไม่
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดเงินประกันภัยก็เพื่อนำมาชำระให้แก่จำเลยที่ 3 เป็นการอายัดสิทธิเรียกร้องอันอยู่ในบังคับแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 310 ถึง 315 การที่ศาลชั้นต้นนัดผู้ร้องและจำเลยที่ 3 มาพร้อมกันสอบถามพิจารณาคำแถลงของคู่ความประกอบกับเอกสารต่าง ๆ แล้วมีคำสั่งให้ผู้ร้องส่งเงิน 15 ล้านบาทที่อายัดมาวางศาล เป็นการไต่สวนและมีคำสั่งตามมาตรา 312 วรรคหนึ่งแล้ว เมื่อคำสั่งนั้นมิได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรือยกเสียข้อเท็จจริงในเรื่องค่าเสียหายของโรงภาพยนตร์ และอุปกรณ์จึงเป็นอันยุติคำแถลงของผู้ร้องในชั้นเสนอหลักทรัพย์เป็นประกัน การทุเลาการบังคับที่ว่า ความเสียหายแท้จริงเป็นเงิน 8 ล้านบาทเศษ จึงไม่อาจรับฟังได้ เมื่อจำเลยที่ 3 ยื่นคำแถลงขอรับเงินที่อายัด ผู้ร้องก็มิได้โต้แย้งว่าโจทก์มีส่วนทำให้เกิดวินาศภัยแต่อย่างใด จนศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งคำแถลงของจำเลยที่ 3 ไปแล้ว จึงล่วงเลยเวลาที่ผู้ร้องจะปฏิเสธหรือโต้แย้งหนี้ที่เรียกร้องเอาแก่ตนตามมาตรา 312 ผู้ร้องหามีสิทธิโต้แย้งตามมูลหนี้เรื่องประกันภัยต่อไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากสิ้นสภาพเมื่อเรือนถูกรื้อถอน การฟ้องขับไล่เรือนหลังใหม่จึงไม่ชอบ
จำเลยขายฝากเรือนเลขที่ 126 ขนาดกว้าง 8 ศอก ยาว 3วาให้โจทก์ ต่อมาระหว่างอายุสัญญาจำเลยรื้อเรือนดังกล่าวแล้วสร้างขึ้นใหม่กว้าง 3 วา ยาว 4 วาโดยใช้ไม้ของเรือนหลังเดิมบางส่วน และใช้บ้านเลขที่ 126 ตามเดิมดังนี้ถือได้ว่าเรือนหลังเดิมซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามสัญญาขายฝากและเป็นวัตถุแห่งหนี้นั้นได้สิ้นสภาพไปแล้วเรือนหลังใหม่คือเรือนพิพาทย่อมไม่ตกอยู่ในบังคับของสัญญาขายฝากโจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในเรือนพิพาท ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากเรือนพิพาท คงมีอำนาจที่จะว่ากล่าวแก่จำเลยในกรณีที่จำเลยรื้อเรือนหลังเดิมอันเป็นวัตถุแห่งหนี้ตามสัญญาขายฝากเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าระงับเมื่อทรัพย์สินถูกทำลาย และผลของการชดเชยค่าเสียหายด้วยการโอนสิทธิครอบครอง
เมื่อตึกแถวซึ่งเป็นวัตถุแห่งการเช่าซึ่งโจทก์เช่าจากจำเลยถูกเพลิงไหม้หมดสิ้นสัญญาเช่าก็ย่อมระงับไป
เมื่อการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดก็ไม่ได้ลูกหนี้ก็หามีสิทธิรับชำระหนี้ตอบแทนไม่
เมื่อจำเลยผู้ให้เช่าให้การต่อสู้คดีไว้อีกว่าหลังจากเกิดเพลิงไหม้ตึกแถวแล้วโจทก์ได้ให้จำเลยโอนสิทธิการครอบครองพื้นที่จัดสร้างอาคารในบริเวณตลาดชั่วคราวของจำเลยให้โจทก์เป็นผู้ใช้ประโยชน์เป็นการชดเชยตึกแถวที่เช่าช่วงที่ถูกเพลิงไหม้ จำเลยก็ยอมตามที่โจทก์เรียกร้อง โจทก์ได้ครอบครองที่ดินใช้ประโยชน์ปลูกสร้างตลาดชั่วคราว จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินค่าเช่าคืนหรือค่าเสียหายใดๆจากจำเลยได้ เป็นประเด็นอีกประเด็นหนึ่ง จึงจำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไป
เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงที่ศาลฎีกาจะรับฟังมาวินิจฉัยข้อกฎหมายได้ อาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ข้อ 3(ข) ประกอบมาตรา 247 ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาของศาลล่าง ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าระงับเมื่อทรัพย์สินถูกทำลาย และการชดเชยด้วยสิทธิการครอบครองที่ดิน
เมื่อตึกแถวซึ่งเป็นวัตถุแห่งการเช่าซึ่งโจทก์เช่าจากจำเลยถูกเพลิงไหม้หมดสิ้น สัญญาเช่าก็ย่อมระงับไป
เมื่อการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดก็ไม่ได้ลูกหนี้ก็หามีสิทธิรับชำระหนี้ตอบแทนไม่
เมื่อจำเลยผู้ให้เช่าให้การต่อสู้คดีไว้อีกว่าหลังจากเกิดเพลิงไหม้ตึกแถวแล้ว โจทก์ได้ให้จำเลยโอนสิทธิการครอบครองพื้นที่จัดสร้างอาคารในบริเวณตลาดชั่วคราวของจำเลย ให้โจทก์เป็นผู้ใช้ประโยชน์เป็นการชดเชยตึกแถวที่เช่าช่วงที่ถูกเพลิงไหม้ จำเลยก็ยอมตามที่โจทก์เรียกร้อง โจทก์ได้ครอบครองที่ดินใช้ประโยชน์ปลูกสร้างตลาดชั่วคราวจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินค่าเช่าคืนหรือค่าเสียหายใดๆ จากจำเลยได้ เป็นประเด็นอีกประเด็นหนึ่ง จึงจำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไป
เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงที่ศาลฎีกาจะรับฟังมาวินิจฉัยข้อกฎหมายได้ อาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ข้อ 3(ข) ประกอบมาตรา 247 ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาของศาลล่าง ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 788/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ซื้อผิดสัญญาซื้อขายแป้ง ผู้ขายมีสิทธิริบมัดจำและเรียกค่าเสียหายพิเศษได้
ผู้ซื้อทำสัญญาซื้อแป้งจากผู้ขายโดยวางมัดจำไว้บางส่วนผู้ขายจึงได้วางมัดจำซื้อแป้งจากบุคคลภายนอกต่อมาผู้ซื้อผิดสัญญาไม่ซื้อแป้งจากผู้ขาย ผู้ขายย่อมมีสิทธิริบมัดจำเสียทั้งยังเรียกร้องให้ผู้ซื้อใช้เงินทดแทนตามจำนวนที่ผู้ขายได้ถูกบุคคลภายนอกริบเงินมัดจำไปด้วยได้โดยถือว่าเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากพฤติการณ์พิเศษทั้งนี้ในเมื่อเป็นพฤติการณ์ที่ผู้ซื้อพึงคาดเห็นล่วงหน้าได้แล้ว
การที่ผู้ซื้อไม่ซื้อแป้งทำให้แป้งเสื่อมคุณภาพต้องขายไปในราคาถูกก็ดีการที่ผู้ขายต้องขาดกำไรที่จะพึงได้จากการขายแป้งก็ดีเหล่านี้เป็นค่าเสียหายตามปกติ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 517/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดต่อค่าเสียหายจากการใช้งานช้างเกินสมควรจนตาย และอำนาจฟ้องของเจ้าของช้าง
ในการขายฝากช้างกันนั้น ถ้าผู้ซื้อฝากใช้ช้างให้ทำการงานเกินสมควร แม้ช้างเจ็บป่วยก็ไม่ให้หยุดพักรักษาช้างสมบูรณ์ดีเสียก่อน กลับใช้งานจนช้างตาย ดังนี้ ผู้ซื้อฝากต้องรบผิดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ขายฝากตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 501.
โจทก์ที่ 1 ซื้อช้างจากโจทก์ที่ 2 ชำระราคาช้าง และส่งมอบช้างกันเสร็จเด็ดขาดแล้ว แต่ยังมิได้โอนตั๋วพิมพ์รูปพรรณ ต่อมาโจทก์ที่ 1 เอาช้างนั้นไปขายฝากไว้แก่จำเลย แต่ให้โจทก์ที่ 2 เป็นคู่สัญญากับจำเลยในการทำสัญญาขายฝากที่อำเภอ เพราะยังมีชื่อโจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของในตั๋วพิมพ์รูปพรรณอยุ่ ดังนี้ ภายหลังจำเลยทำช้างตายโดยความผิดของจำเลย โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ย่อมมีอำนาจมาเป็นโจทก์ร่วมกัน ฟ้องอำนาจเป็นโจทก์ร่วมกัน ฟ้องจำเลยให้ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของช้างที่แท้จริง ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 517/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในสัญญาขายฝาก: ช้างตายจากการใช้งานเกินสมควร
ในการขายฝากช้างกันนั้นถ้าผู้ซื้อฝากใช้ช้างให้ทำการงานเกินสมควรแม้ช้างเจ็บป่วยก็ไม่ให้หยุดพักรักษาให้ช้างสมบูรณ์ดีเสียก่อน กลับใช้งานจนช้างตายดังนี้ผู้ซื้อฝากต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ขายฝากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 501
โจทก์ที่ 1 ซื้อช้างจากโจทก์ที่2 ชำระราคาช้างและส่งมอบช้างกันเสร็จเด็ดขาดแล้ว แต่ยังมิได้โอนตั๋วพิมพ์รูปพรรณ ต่อมาโจทก์ที่ 1เอาช้างนั้นไปขายฝากไว้แก่จำเลย แต่ให้โจทก์ที่ 2 เป็นคู่สัญญากับจำเลยในการทำสัญญาขายฝากที่อำเภอ เพราะยังมีชื่อโจทก์ที่2 เป็นเจ้าของในตั๋วพิมพ์รูปพรรณอยู่ ดังนี้ ภายหลังจำเลยทำช้างตายโดยความผิดของจำเลย โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ย่อมมีอำนาจมาเป็นโจทก์ร่วมกัน ฟ้องจำเลยให้ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของช้างที่แท้จริงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1369/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มรดกผสม: สิทธิทายาท, การจัดการทรัพย์สิน, เงินกู้, และการแบ่งมรดก
พ่อตาได้ยกครัวมาอยู่ร่วมเป็นครอบครัวกับลูกสาวลูกเขย จนลูกสาวตายลงแล้วได้ยกลูกสาวคนเล็กให้เป็นภริยาลูกเขยอีก ส่วนตนก็ยังคงอยู่ร่วมเป็นครัวเดียวกับลูกเขยต่อมาโดยไม่ขอแบ่งหรือฟ้องขอแบ่งมฤดกของลูกสาวคนแรกเกิน 1 ปี ก็ยังถือไม่ได้ว่าพ่อตาได้ทอดทิ้งไม่ฟ้องร้องว่ากล่าวขอแบ่งมรดกของลูกสาวคนแรกในอายุความล่วงเลยเกิน 1 ปี เพราะพฤตติการณ์ดังกล่าวย่อมถือได้ว่าพ่อตาได้เป็นเจ้าของในทรัพย์สินร่วมกับลูกเขยอยู่ด้วย
ทายาทด้วยกันบางคนขอให้ทนายความเข้ามาจัดการเกี่ยวข้องในเรื่องทรัพย์มรดกโดยลำพัง ถือว่าทนายนั้นไม่ใช่ผู้จัดการมรดกอันจะมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีจัดการและปันมรดกแต่มีฐานะเพียงแต่เป็นผู้เข้ามาจัดการทรัพย์สิน แทนทายาทผู้ที่ขอให้เข้ามาจัดการเท่านั้น
ทายาทด้วยกันทำความตกลงกนเองให้ทายาทคนหนึ่งเอาที่ดินของกองมรดกเป็นของตนโดยเอาเงินเข้ากองมรดก จำนวนหนึ่ง ดังนี้เรียกว่าเป็นการประมูลระหว่างทายาท มิใช่เป็นการขายทรัพย์มรดกให้พ้นจากการเป็นทรัพย์มรดำไปได้ หากเป็นการแบ่งมรดกกันเองฉะนั้นที่ดินนั้นยังคงเป็นทรัพย์สินในกองมรดกอยู่ ส่วนเงินจำนวนหนึ่งที่ทายาทผู้นั้นชำระในการประมูลไม่กลายเป็นทรัพย์สินกองมรดกฉะนั้นถ้าในภายหลังเกิดมี การแบ่งที่ดินแปลงนี้กันใหม่ ทายาทผู้ชำระราคาในการประมูลไปแล้วย่อมมีสิทธิหักเงินจำนวนที่ชำระไปแล้วคืนได้
ถ้าได้มีการขายทรัพย์สินกองมรดกให้แก่บุคคลภายนอกแล้วและไม่ปรากฎว่ามีเหตุไม่สุจริตในการขาย ก็ควรต้องถือเอาจำนวนเงินที่ขายได้นั้นเป็นกองมรดกโดยหักค่าใช้จ่ายในการนั้น ๆ ออกได้
ชายหญิงอยู่กินด้วยกันฉันท์สามีภริยา แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส หญิงมอบเงินให้กับชายเพื่อให้หาผลประโยชน์ให้ชายจึงเอาเงินนั้นไปให้คนอื่นกู้ ดังนี้หาใช่เป็นการตั้งชายเป็นตัวแทนไม่ กรณีดังนี้ชายต้องรับผิดคืนเงินนั้นให้หญิงโดยต้องถือว่า ชายเป็นผู้ให้กู้ย่อมมีสิทธิและความรับผิดต่อผู้กู้โดยตรง
เงินทีหญิงมอบให้ชายไว้นั้น ก็เท่ากับเงินฝากซึ่งผู้รับฝากจำต้องคืนให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 672
จำเลยให้การว่าสินสมรสไม่มีตามบัญชีท้ายฟ้องโจทก์ บางสิ่งก็ได้มาภายหลังที่ภรรยาตายแล้ว ซึ่งจำเลยนำสืบเวลาพิจารณาดังนี้ไม่เป็นการแสดงให้ชัดแจ้งในคำให้การว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ในราย การใดจำเลยจะกล่าวเอาเองว่าจะนำสืบในเวลาพิจารณานั้นย่อมไม่ได้
of 2