คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สวัสดิ์ พานิชอัตรา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 509 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1350/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์: การแก้ไขค่าเช่าและผลผูกพันตามสัญญา แม้ไม่ได้จดทะเบียน
การเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น กฎหมายมิได้บังคับว่า ถ้ามิได้ทำให้ถูกต้องตามมาตรา 538 การเช่าจะต้องเป็นโมฆะ กฎหมายบังคับแต่ว่า ถ้ามิได้ทำให้ถูกต้องตามมาตรา 538ก็จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้เท่านั้น มิได้เกี่ยวกับปัญหาที่ว่าจะเป็นสัญญาเช่าหรือไม่อย่างใด
การเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้นย่อมไม่ระงับไปเพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์ แม้ผู้สุจริตก็จะดูหลักฐานแต่ทางทะเบียนอย่างเดียวไม่ได้ จะต้องดูหลักฐานการเช่าที่เป็นหนังสือด้วย ฉะนั้น การทำสัญญาเพิ่มค่าเช่านั้น แม้การเช่าเดิมจะได้จดทะเบียนไว้ ก็อาจนับว่าเป็นหลักฐานการเช่าที่เป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด ซึ่งตามกฎหมายบัญญัติให้ฟ้องร้องบังคับได้สามปีด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1349/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในสลากกินแบ่ง: ผู้ซื้อมีสิทธิติดตามคืนจากผู้เก็บได้ แม้จะถูกขายต่อ
โจทก์ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลไทย โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงสิทธิตามสัญญาสลากกินแบ่งและเหนือใบสลากนั้น ฉะนั้น แม้โจทก์จะทำสลากพิพาทหล่นหาย โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนจากบุคคผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้ ส่วนผู้เก็บสลากพิพาทเป็นเพียงบุคคลผู้เก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหาย ไม่ใช่เจ้าของ จึงไม่มีสิทธิที่จะเอาไปโอนขายให้แก่ใครได้ แม้ผู้รับโอนจะซื้อสลากพิพาทจากผู้ซึ่งเก็บได้โดยสุจริตและเปิดเผย ผู้รับโอนนั้นก็หามีสิทธิดีกว่าผู้โอนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1349/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในสลากกินแบ่ง: ผู้ซื้อมีสิทธิตามสัญญา แม้สลากหาย ผู้เก็บได้ไม่มีสิทธิในสลาก
โจทก์ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลไทย โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงสิทธิตามสัญญาสลากกินแบ่งและเหนือใบสลากนั้น ฉะนั้น แม้โจทก์จะทำสลากพิพาทหล่นหาย โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้ ส่วนผู้เก็บสลากพิพาทเป็นเพียงบุคคลผู้เก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหายไม่ใช่เจ้าของ จึงไม่มีสิทธิที่จะเอาไปโอนขายให้แก่ใครได้ แม้ผู้รับโอนจะซื้อสลากพิพาทจากผู้ซึ่งเก็บได้โดยสุจริตและเปิดเผย ผู้รับโอนนั้นก็หามีสิทธิดีกว่าผู้โอนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1309/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความต่อเนื่องของการกระทำผิด ลักทรัพย์-ชิงทรัพย์ การรับผิดในความตายจากเหตุชิงทรัพย์
การที่พวกจเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายภายหลังที่จำเลยหยิบทรัพย์แล้ว เป็นการกระทำต่อเนื่องกันกับการลักทรัพย์ เพื่อให้เป็นความสะดวกแก่การที่จำเลยกับพวกจะพาทรัพย์หนีหรือเพื่อปกปิดการกระทำผิด หาใช่การชิงทรัพย์ขาดตอนแล้วไม่ จำเลยต้องร่วมรับผิดในผลที่พวกจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายอันเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 วรรคท้าย
โจทก์ฟ้องว่า เหตุเกิดวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2507 พยานโจทก์ต่างเบิกความยืนยันว่าเหตุเกิดตามวันดังกล่าวแต่แพทย์ผู้รับตัวผู้เสียหายได้ทำบันทึกการชันสูตรบาดแผลเขียนเลย 27 ติดต่อกัน ทำให้ดูคล้ายเลข 24 จึงทำให้ผู้คัดสำเนาบันทึกคัดเป็นวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ไม่ใช่ข้อเท็จจริงในการพิจารณาแตกต่างกับฟ้อง และแม้จำเลยจะได้รับสำเนาบันทึกการชันสูตรบาดแผลซึ่งคัดวันเกิดเหตุผิดพลาด ก็ไม่ทำให้จำเลยผิดหลงเกี่ยวกับวันเกิดเหตุ เพราะจำเลยรับอยู่แล้วว่าในวันเกิดเหตุจำเลยไปบ้านผู้เสียหายจริง ไม่ทำให้จำเลยหลงต่อสู้
โจทก์ฟ้องว่า เกิดเหตุตำบลป่าไผ่ แม้พยานโจทก์บางปากจะเบิกความว่าที่เกิดเหตุอยู่ในหมู่ที่ 2 ไม่ตรงกับรายงานชันสูตรพลิกศพว่าเหตุเกิดในหมู่ที่ 4 ทางพิจารณาก็ฟังได้ว่าเหตุเกิดที่บ้านผู้ตายซึ่งอยู่ในตำบลป่าไผ่ตรงตามฟ้องนั่นเอง ทั้งจำเลยก็ยอมรับว่าได้ไปที่บ้านที่เกิดเหตุจริง ปัญหาฐานที่เกิดเหตุอยู่ในหมู่ที่ 2 หรือ หมู่ที่ 4 ของตำบลป่าไผ่จึงไม่ใช่ข้อแตกต่างในสาระสำคัญแห่งคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1309/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดต่อเนื่อง ลักทรัพย์-ฆ่า ปิดบังความผิด ชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย
การที่พวกจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายภายหลังที่จำเลยหยิบทรัพย์แล้ว เป็นการกระทำต่อเนื่องกันกับการลักทรัพย์ เพื่อให้เป็นความสะดวกแก่การที่จำเลยกับพวกจะพาทรัพย์หนีหรือเพื่อปกปิดการกระทำผิด หาใช่การชิงทรัพย์ขาดตอนแล้วไม่ จำเลยต้องร่วมรับผิดในผลที่พวกจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายอันเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 วรรคท้าย
โจทก์ฟ้องว่า เหตุเกิดวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2507 พยานโจทก์ต่างเบิกความยืนยันว่าเหตุเกิดตามวันดังกล่าว แต่แพทย์ผู้รับตัวผู้เสียหายได้ทำบันทึกการชันสูตรบาดแผลเขียนเลข 27 ติดต่อกัน ทำให้ดูคล้ายเลข 24 จึงทำให้ผู้คัดสำเนาบันทึกคัดเป็นวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ไม่ใช่ข้อเท็จจริงในการพิจารณาแตกต่างกับฟ้อง และแม้จำเลยจะได้รับสำเนาบันทึกการชันสูตรบาดแผลซึ่งคัดวันเกิดเหตุผิดพลาด ก็ไม่ทำให้จำเลยผิดหลงเกี่ยวกับวันเกิดเหตุ เพราะจำเลยรับอยู่แล้วว่าในวันเกิดเหตุจำเลยไปบ้านผู้เสียหายจริง ไม่ทำให้จำเลยหลงต่อสู้
โจทก์ฟ้องว่า เกิดเหตุตำบลป่าไผ่ แม้พยานโจทก์บางปากจะเบิกความว่าที่เกิดเหตุอยู่ในหมู่ที่ 2 ไม่ตรงกับรายงานชันสูตรพลิกศพว่าเหตุเกิดในหมู่ที่ 4 ทางพิจารณาก็ฟังได้ว่าเหตุเกิดที่บ้านผู้ตายซึ่งอยู่ในตำบลป่าไผ่ตรงตามฟ้องนั่นเอง ทั้งจำเลยก็ยอมรับว่าได้ไปที่บ้านที่เกิดเหตุจริง ปัญหาฐานที่เกิดเหตุอยู่ในหมู่ที่ 2 หรือ หมู่ที่ 4 ของตำบลป่าไผ่ จึงไม่ใช่ข้อแตกต่างในสารสำคัญแห่งคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำว่า "แซง" ในความหมายทั่วไปตามพจนานุกรม เมื่อไม่มีนิยามเฉพาะในกฎหมายจราจร
ฟ้องกล่าวว่า จำเลยบังอาจขับรถแซงรถเมล์โดยฝ่าฝืนป้ายห้ามแซงของเจ้าพนักงานที่ติดตั้งไ้ เป็นเหตุให้ชนรถเมล์เสียหาและหมุดคอสะพานเสียหาย ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยขับรถสวนกับรถเมล์เหลืองแล้วเกิดชนกันเสียหาย ดังนี้ เมื่อตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก ฯ ไม่มีบทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "แซง" ไว้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493 คำว่า "แซง" หมายความถึงกิริยาที่แทรกหรือเสียด ซึ่งหมายความว่า เบียดเข้าไป หรือเฉียดไป เมื่อไม่มีบทกฎหมายบัญญัติความหมายไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะ ก็ต้องตีความตามความหมายธรรมดา คือ หมายถึงกิริยาแทรกหรือเสียด คือ เบียดเข้าไปหรือ เฉียดไป ตามฟ้องของโจทก์จึงมีความหมายไปในทางที่ว่า ขับรถเสียดหรือแทรกรถเมล์ได้ ซึ่งอาจจะเป็นไปในทางที่แล่นขึ้นหน้าหรือสวนกัน จะตีความหมายว่า แซง หมายถึงขับรถขึ้นหน้าแต่อย่างเดียวดังที่จำเลยโต้เถียงขึ้นมาหาได้ไม่ และตามฟ้องที่บรรยายมาก็แสดงให้เห็นอยู่ว่า รถทั้งสองคันมุ่งหน้าไปคนละทางจะสวนกันข้อเท็จจริงในการพิจารณายังเรียกไม่ได้ว่าแตกต่างกับฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำว่า 'แซง' ใน พ.ร.บ.จราจรทางบก: การกระทำที่เบียดเสียดหรือเฉียดไป แม้จะเป็นการสวนกัน ก็อาจเข้าข่ายได้
ฟ้องกล่าวว่า จำเลยบังอาจขับรถแซงรถเมล์โดยฝ่าฝืนป้ายห้ามแซงของเจ้าพนักงานที่ติดตั้งไว้ เป็นเหตุให้ชนรถเมล์เสียหายและหมุดคอสะพานเสียหาย ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยขับรถสวนกับรถเมล์เหลืองแล้วเกิดชนกันเสียหาย ดังนี้ เมื่อตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ ไม่มีบทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "แซง" ไว้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493 คำว่า "แซง" หมายความถึงกิริยาที่แทรกหรือเสียด ซึ่งหมายความว่า เบียดเข้าไป หรือเฉียดไป เมื่อไม่มีบทกฎหมายบัญญัติความหมายไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะ ก็ต้องตีความตามความหมายธรรมดาคือหมายถึงกิริยาแทรกหรือเสียดคือเบียดเข้าไปหรือเฉียดไป ตามฟ้องของโจทก์จึงมีความหมายไปในทางที่ว่า ขับรถเสียดหรือแทรกรถเมล์ได้ ซึ่งอาจจะเป็นไปในทางที่แล่นขึ้นหน้าหรือสวนกัน จะตีความหมายว่า แซง หมายถึงขับรถขึ้นหน้าแต่อย่างเดียวดังที่จำเลยโต้เถียงขึ้นมาหาได้ไม่และตามฟ้องที่บรรยายมาก็แสดงให้เห็นอยู่ว่า รถทั้งสองคันมุ่งหน้าไปคนละทางจะสวนกัน ข้อเท็จจริงในการพิจารณายังเรียกไม่ได้ว่าแตกต่างกับฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมโมฆะไม่คืนสู่ฐานะเดิม สิทธิเรียกร้องต้องฟ้องลาภมิควรได้
นิติกรรมที่เป็นโมฆะมาแต่ต้น กฎหมายหาได้บัญญัติถึงการให้คู่กรณีกลับคืนฐานะเดิมเหมือนเรื่องโมฆียะกรรมที่ถูกบอกล้างแล้วไม่ ฐานะของคู่กรณีแห่งนิติกรรมที่เป็นโมฆะมาแต่ต้นมิได้มีการเปลี่ยนแปลง คู่กรณีจะมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมหรือสัญญาอย่างใดเป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาตามลักษะลาภมิควรได้อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งต้องฟ้องหรือฟ้องแย้งขอมา เพียงแต่สัญญาปรากฏว่าเป็นโมฆะ จะขอให้ศาลสั่งให้คืนทรัพย์หรือราคากันด้วยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมโมฆะ ไม่คืนสถานะเดิม สิทธิเรียกร้องต้องฟ้องต่างหาก
นิติกรรมที่เป็นโมฆะมาแต่ต้น กฎหมายหาได้บัญญัติถึงการให้คู่กรณีกลับคืนฐานะเดิมเหมือนเรื่องโมฆียะกรรมที่ถูกบอกล้างแล้วไม่ ฐานะของคู่กรณีแห่งนิติกรรมที่เป็นโมฆะมาแต่ต้นมิได้มีการเปลี่ยนแปลง คู่กรณีจะมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมหรือสัญญาอย่างใดเป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาตามลักษณะลาภมิควรได้อีกชั้นหนึ่งซึ่งต้องฟ้องหรือฟ้องแย้งขอมา เพียงแต่สัญญาปรากฏว่าเป็นโมฆะ จะขอให้ศาลสั่งให้คืนทรัพย์หรือราคากันด้วยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1230/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีโดยผู้แทน, ความถูกต้องของเอกสารท้ายฟ้อง, และการคิดดอกเบี้ยสัญญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 63 ให้อำนาจศาลที่จะทำการสอบสวนเรื่องผู้แทนนิติบุคคลจนเป็นที่พอใจได้
ผู้แทนนิติบุคคลมอบอำนาจให้ฟ้องความแล้ว แม้ผู้มอบอำนาจจะตายลง ก็ไม่ทำให้ใบมอบอำนาจในนามของนิติบุคคลนั้นเสียไป
สำเนาเอกสารท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง เมื่อจำเลยไม่ปฏิเสธ ต้องถือว่าจำเลยรับอยู่ในตัว โจทก์ไม่จำต้องส่งต้นฉบับ
of 51