พบผลลัพธ์ทั้งหมด 509 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักกันผู้กระทำผิดซ้ำฐานลักทรัพย์: เกณฑ์การพิจารณาตามประวัติโทษและการกระทำความผิดต่อเนื่อง
จำเลยเคยถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกไม่ต่ำกว่า 6 เดือนมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกฐานรับของโจร ครั้งที่สองฐานลักทรัพย์ เมื่อจำเลยพ้นโทษครั้งที่ 2 ไปแล้วภายในเวลา 10 ปี จำเลยกลับมากระทำผิดฐานลักทรัพย์ จนศาลพิพากษาลงโทษจำคุกเกินกว่า 6 เดือนอีก ความผิดของจำเลยเหล่านี้ ก็เป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ซึ่งอยู่ในประเภทเดียวกันกับที่ระบุไว้ในมาตรา 41(8) ทั้งสิ้น จึงเข้าเกณฑ์ที่ศาลจะให้กักกันได้
จำเลยทำการลักทรัพย์ 2 ราย ในเวลาห่างกันราว 1 เดือน ทั้งเป็นความผิดที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราของมาตรา 335 ตั้งแต่ 2 อนุมาตราขึ้นไป คือ (1)(7)(11) ดังนี้ จึงเห็นได้ชัดว่าเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัย สมควรที่ให้กักกันจำเลย
จำเลยทำการลักทรัพย์ 2 ราย ในเวลาห่างกันราว 1 เดือน ทั้งเป็นความผิดที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราของมาตรา 335 ตั้งแต่ 2 อนุมาตราขึ้นไป คือ (1)(7)(11) ดังนี้ จึงเห็นได้ชัดว่าเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัย สมควรที่ให้กักกันจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักกันผู้กระทำผิดซ้ำเกี่ยวกับทรัพย์สิน โดยพิจารณาจากประวัติการกระทำผิดและการกระทำความผิดซ้ำในระยะเวลาที่กำหนด
จำเลยเคยถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกไม่ต่ำกว่า 6 เดือนมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกฐานรับของโจรครั้งที่สองฐานลักทรัพย์ เมื่อจำเลยพ้นโทษครั้งที่ 2 ไปแล้วภายในเวลา 10 ปี จำเลยกลับมากระทำผิดฐานลักทรัพย์ จนศาลพิพากษาลงโทษจำคุกเกินกว่า 6 เดือนอีก ความผิดของจำเลยเหล่านี้ ก็เป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ซึ่งอยู่ในประเภทเดียวกันกับที่ระบุไว้ในมาตรา 41 (8) ทั้งสิ้น จึงเข้าเกณฑ์ที่ศาลจะให้กักกันได้
จำเลยทำการลักทรัพย์ 2 ราย ในเวลาห่างกันราว 1 เดือน ทั้งเป็นความผิดที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราของมาตรา 335 ตั้งแต่ 2 อนุมาตราขึ้นไป คือ (1) (7) (11) ดังนี้ จึงเห็นได้ชัดว่าเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัย สมควรที่ให้กักกันจำเลย
จำเลยทำการลักทรัพย์ 2 ราย ในเวลาห่างกันราว 1 เดือน ทั้งเป็นความผิดที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราของมาตรา 335 ตั้งแต่ 2 อนุมาตราขึ้นไป คือ (1) (7) (11) ดังนี้ จึงเห็นได้ชัดว่าเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัย สมควรที่ให้กักกันจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะบุตรบุญธรรมกับการยอมความในคดีอาญา: ไม่ถือเป็นผู้สืบสันดาน
คำว่าสืบสันดานตามพจนานุกรมหมายความว่าสืบเชื้อสายมาโดยตรง และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1586, 1587,1627 แสดงว่า บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะแตกต่างกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้รับบุตรบุญธรรมก็มีฐานะต่างกับบุพการีโดยตรงของบุตรบุญธรรมอยู่หลายประการ มาตรา 1586,1627 เป็นบทบัญญัติพิเศษให้สิทธิบางประการแก่บุตรบุญธรรมในทางแพ่งเกี่ยวกับสัมพันธ์ทางครอบครัวและมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมเท่านั้น ต้องใช้โดยเคร่งครัด เฉพาะการตีความถ้อยคำในประมวลกฎหมายอาญาก็ต้องตีความโดยเคร่งครัด จึงหาชอบที่จะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังกล่าวมาใช้ตีความคำว่าผู้สืบสันดาน ตามมาตรา 71 วรรคสอง ไม่ บุตรบุญธรรมจึงไม่ใช่ผู้สืบสันดานกระทำต่อบุพการีตามมาตรา 71 จึงยอมความไม่ได้(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะบุตรบุญธรรมกับการยอมความในคดีอาญา: บุตรบุญธรรมไม่ใช่ผู้สืบสันดาน
คำว่าสืบสันดานตามพจนานุกรมหมายความว่าสืบเชื้อสายมาโดยตรง และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1586, 1587, 1627 แสดงว่า บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะแตกต่างกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้รับบุตรบุญธรรมก็มีฐานะต่างกับบุพการีโดยตรงของบุตรบุญธรรมอยู่หลายประการ มาตรา 1586, 1627 เป็นบทบัญญัติพิเศษให้สิทธิบางประการแก่บุตรบุญธรรมในทางแพ่งเกี่ยวกับสัมพันธ์ทางครอบครัวและมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมเท่านั้น ต้องใช้โดยเคร่งครัด เฉพาะการตีความถ้อยคำในประมวลกฎหมายอาญาก็ต้องตีความโดยเคร่งครัด จึงหาชอบที่จะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังกล่าวมาใช้ตีความคำว่า ผู้สืบสันดาน ตามมาตรา 71 วรรค 2 ไม่ บุตรบุญธรรมจึงไม่ใช่ผู้สืบสันดานกระทำต่อบุพการีตามมาตรา 71 จึงยอมความไม่ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2509)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าหน้าที่สั่งรื้ออาคารต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์กฎหมาย และสิทธิของผู้ยื่นขออนุญาต
ตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 มาตรา 11 ทวิ ซึ่งได้แก้ไขโดยพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2504 และมาตรา 12 ทวิ มิได้บัญญัติโดยเด็ดขาดว่าคำสั่งของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นหรือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวแก่การก่อสร้างอาคาร ให้เป็นที่สุด และเห็นได้ว่าได้ให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นมีอำนาจสั่งการอย่างอื่นได้ด้วย เช่น จะสั่งแต่เพียงให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยไม่ต้องรื้อแทนก็ได้ (อ้างฎีกาที่ 1219/2504) วัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารซึ่งปรากฏในคำปรารภมีว่า เพื่อต้องการควบคุมเพื่อประโยชน์ในความมั่นคง แข็งแรง การอนามัย การสุขาภิบาล การป้องกันอัคคีภัยและการผังเมือง ส่วนการให้ขออนุญาตก่อสร้างนั้นเป็นแต่เพียงวิธีดำเนินการ มิใช่วัตถุประสงค์โดยตรง จึงไม่ใช่นโยบายของกฎหมายว่าเพียงแต่ไม่ขออนุญาตก็ต้องสั่งให้รื้อ โดยไม่คำนึงว่าอาคารนั้นผิดวัตถุประสงค์หรือไม่ ถ้าเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนอาคารของโจทก์โดยไม่ปรากฏว่าได้ก่อสร้างผิดวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร ฯ ก็อาจเป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขต ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนคำสั่งนั้นเสียได้ และเมื่อโจทก์ได้บรรยายมาในฟ้องแล้วว่า คำสั่งของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะสั่งให้รื้อถอนอาคารของโจทก์โดยไม่พิจารณาตรวจคำขออนุญาตปลูกอาคารของโจทก์ หรือให้เหตุผลว่าอาคารของโจทก์ปลูกสร้างขึ้นไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดของกฎหมายอย่างใด จึงเป็นฟ้องที่ต้องรับไว้พิจารณา
คำสั่งจะรื้อถอนอาคารของจำเลยมีถึงภริยาโจทก์ แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ให้ภริยาโจทก์ยื่นขออนุญาตปลูกอาคารรายนี้ จึงแสดงว่าโจทก์ได้ให้ภริยาเป็นผู้ยื่นคำขออนุญาตแทนโจทก์ ทั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1468 และ 1469 โจทก์ก็มีอำนาจจัดการสินบริคณห์และมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ คำสั่งของจำเลยจึงกระทบกระเทือนสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ซึ่งเป็นสามี การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2509)
คำสั่งจะรื้อถอนอาคารของจำเลยมีถึงภริยาโจทก์ แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ให้ภริยาโจทก์ยื่นขออนุญาตปลูกอาคารรายนี้ จึงแสดงว่าโจทก์ได้ให้ภริยาเป็นผู้ยื่นคำขออนุญาตแทนโจทก์ ทั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1468 และ 1469 โจทก์ก็มีอำนาจจัดการสินบริคณห์และมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ คำสั่งของจำเลยจึงกระทบกระเทือนสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ซึ่งเป็นสามี การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งรื้อถอนอาคารของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นต้องไม่เกินขอบเขตและพิจารณาวัตถุประสงค์ของกฎหมายควบคุมอาคาร
ตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 มาตรา 11 ทวิ ซึ่งได้แก้ไขโดยพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2504 และ มาตรา 12 ทวิ มิได้บัญญัติโดยเด็ดขาดว่าคำสั่งของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นหรือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวแก่การก่อสร้างอาคาร ให้เป็นที่สุด และเห็นได้ว่าได้ให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นมีอำนาจสั่งการอย่างอื่นได้ด้วย เช่น จะสั่งแต่เพียงให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยไม่ต้องรื้อแทนก็ได้ (อ้างฎีกาที่ 1219/2504) วัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารซึ่งปรากฏในคำปรารภมีว่า เพื่อต้องการควบคุมเพื่อประโยชน์ในความมั่นคงแข็งแรงการอนามัย การสุขาภิบาล การป้องกันอัคคีภัย และการผังเมือง ส่วนการให้ขออนุญาตก่อสร้างนั้นเป็นแต่เพียงวิธีดำเนินการ มิใช่วัตถุประสงค์โดยตรง จึงไม่ใช่นโยบายของกฎหมายว่าเพียงแต่ไม่ขออนุญาตก็ต้องสั่งให้รื้อ โดยไม่คำนึงว่าอาคารนั้นผิดวัตถุประสงค์หรือไม่ ถ้าเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนอาคารของโจทก์โดยไม่ปรากฏว่าได้ก่อสร้างผิดวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารฯ ก็อาจเป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขตไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนคำสั่งนั้นเสียได้ และเมื่อโจทก์ได้บรรยายมาในฟ้องแล้วว่าคำสั่งของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะสั่งให้รื้อถอนอาคารของโจทก์โดยไม่พิจารณาตรวจคำขออนุญาตปลูกอาคารของโจทก์ หรือให้เหตุผลว่าอาคารของโจทก์ปลูกสร้างขึ้นไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดของกฎหมายอย่างใด จึงเป็นฟ้องที่ต้องรับไว้พิจารณา
คำสั่งจะรื้อถอนอาคารของจำเลยมีถึงภริยาโจทก์ แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ให้ภริยาโจทก์ยื่นขออนุญาตปลูกอาคารรายนี้ จึงแสดงว่าโจทก์ได้ให้ภริยาเป็นผู้ยื่นคำขออนุญาตแทนโจทก์ ทั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1468 และ 1469 โจทก์ก็มีอำนาจจัดการสินบริคณห์และมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ คำสั่งของจำเลยจึงกระทบกระเทือนสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ซึ่งเป็นสามี การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2509)
คำสั่งจะรื้อถอนอาคารของจำเลยมีถึงภริยาโจทก์ แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ให้ภริยาโจทก์ยื่นขออนุญาตปลูกอาคารรายนี้ จึงแสดงว่าโจทก์ได้ให้ภริยาเป็นผู้ยื่นคำขออนุญาตแทนโจทก์ ทั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1468 และ 1469 โจทก์ก็มีอำนาจจัดการสินบริคณห์และมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ คำสั่งของจำเลยจึงกระทบกระเทือนสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ซึ่งเป็นสามี การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 913/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์พิพาท: การโต้แย้งสิทธิและการใช้สิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องไม่เกินขอบเขต
จำเลยโต้แย้งสิทธิในทรัพย์พิพาทอันเป็นของโจทก์ โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาโจทก์มีอำนาจฟ้องห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องในทรัพย์พิพาทนั้นได้
จำเลยให้การลอย ๆ ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมแต่เคลือบคลุมตรงไหน อย่างไรไม่ปรากฏ ไม่แสดงเหตุผลคำให้การจำเลยจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรค 2
จำเลยให้การลอย ๆ ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมแต่เคลือบคลุมตรงไหน อย่างไรไม่ปรากฏ ไม่แสดงเหตุผลคำให้การจำเลยจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรค 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 913/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์พิพาท: การโต้แย้งสิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และการฟ้องห้ามเกี่ยวข้องกับทรัพย์
จำเลยโต้แย้งสิทธิในทรัพย์พิพาทอันเป็นของโจทก์ โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์มีอำนาจฟ้องห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องในทรัพย์พิพาทนั้นได้
จำเลยให้การลอยๆ ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม แต่เคลือบคลุมตรงไหน อย่างไรไม่ปรากฏ ไม่แสดงเหตุผลคำให้การจำเลยจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง
จำเลยให้การลอยๆ ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม แต่เคลือบคลุมตรงไหน อย่างไรไม่ปรากฏ ไม่แสดงเหตุผลคำให้การจำเลยจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899-900/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส มิฉะนั้นสิทธิในทรัพย์สินส่วนที่เกินส่วนของตนจะตกแก่คู่สมรส
ที่ว่าสามีหรือภริยาไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินบริคณห์ให้ผู้อื่นเกินกว่าส่วนของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1477 นั้น แม้ทรัพย์สินตามพินัยกรรมจะมีค่าไม่เกินสินบริคณห์ส่วนของตนก็ตาม แต่ถ้ายังไม่ได้มีการแบ่งทรัพย์สินบริคณห์ระหว่างกัน ทรัพย์สินตามพินัยกรรมก็ยังเป็นสินสมรสซึ่งสามีหรือภริยายังมีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วย ถ้าคู่สมรสอีกฝ่ายมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรค 2 พินัยกรรมนั้นก็มีผลให้ทรัพย์ตกได้แก่ผู้รับพินัยกรรมเพียงตามส่วนของผู้ทำพินัยกรรมเท่านั้น
โจทก์ตั้งฐานฟ้องเป็นเรื่องเรียกทรัพย์ตามพินัยกรรม ไม่ได้ขอให้ใช้ค่าเสียหายฐานละเมิด และจำเลยก็ต่อสู้ว่าพินัยกรรมนั้นปลอม เจ้ามรดกไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้โจทก์ จึงถือว่าการที่จำเลยไม่ยอมส่งทรัพย์ตามพินัยกรรมเป็นการละเมิดมิได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยหรือค่าเสียหาย
ข้อเท็จจริงใดที่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกามีอำนาจให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาใหม่ได้.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2509).
โจทก์ตั้งฐานฟ้องเป็นเรื่องเรียกทรัพย์ตามพินัยกรรม ไม่ได้ขอให้ใช้ค่าเสียหายฐานละเมิด และจำเลยก็ต่อสู้ว่าพินัยกรรมนั้นปลอม เจ้ามรดกไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้โจทก์ จึงถือว่าการที่จำเลยไม่ยอมส่งทรัพย์ตามพินัยกรรมเป็นการละเมิดมิได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยหรือค่าเสียหาย
ข้อเท็จจริงใดที่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกามีอำนาจให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาใหม่ได้.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2509).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899-900/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส มิฉะนั้นสิทธิในทรัพย์สินส่วนนั้นเป็นของคู่สมรส
ที่ว่าสามีหรือภริยาไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินบริคณห์ให้ผู้อื่นเกินกว่าส่วนของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1477 นั้น แม้ทรัพย์สินตามพินัยกรรมจะมีค่าไม่เกินสินบริคณห์ส่วนของตนก็ตาม แต่ถ้ายังไม่ได้มีการแบ่งทรัพย์สินบริคณห์ระหว่างกัน ทรัพย์สินตามพินัยกรรมก็ยังเป็นสินสมรสซึ่งสามีหรือภริยายังมีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วย ถ้าคู่สมรสอีกฝ่ายมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคสอง พินัยกรรมนั้นก็มีผลให้ทรัพย์ตกได้แก่ผู้รับพินัยกรรมเพียงตามส่วนของผู้ทำพินัยกรรมเท่านั้น
โจทก์ตั้งฐานฟ้องเป็นเรื่องเรียกทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้ขอให้ใช้ค่าเสียหายฐานละเมิด และจำเลยก็ต่อสู้ว่าพินัยกรรมนั้นปลอม เจ้ามรดกไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้โจทก์ จึงถือว่าการที่จำเลยไม่ยอมส่งทรัพย์ตามพินัยกรรมเป็นการละเมิดมิได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิ์ได้รับดอกเบี้ยหรือค่าเสียหาย
ข้อเท็จจริงใดที่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกามีอำนาจให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาใหม่ได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2509)
โจทก์ตั้งฐานฟ้องเป็นเรื่องเรียกทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้ขอให้ใช้ค่าเสียหายฐานละเมิด และจำเลยก็ต่อสู้ว่าพินัยกรรมนั้นปลอม เจ้ามรดกไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้โจทก์ จึงถือว่าการที่จำเลยไม่ยอมส่งทรัพย์ตามพินัยกรรมเป็นการละเมิดมิได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิ์ได้รับดอกเบี้ยหรือค่าเสียหาย
ข้อเท็จจริงใดที่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกามีอำนาจให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาใหม่ได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2509)