พบผลลัพธ์ทั้งหมด 509 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีซื้อขายสินค้า แม้ภายหลังมีกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2502 และ 2504 ยังต้องเสียเงินเพิ่มตามอัตราเดิม
โจทก์เป็นผู้ค้าโภคภัณฑ์ได้รับใบสั่งจากพนักงานเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรว่า โจทก์ไม่ชำระภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ จึงให้เสียภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ ภาษีบำรุงเทศบาล กับเงินเพิ่มอีก 5 เท่า เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ซื้อโภคภัณฑ์มา 2 จำนวนเพื่อจำหน่ายแก่ผู้บริโภคโดยยังมิได้เสียภาษีโภคภัณฑ์ ต่อมาปรากฏว่าโภคภัณฑ์นี้ไม่มีอยู่ที่โจทก์ และไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้จำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคไป ย่อมเป็นพฤติการณ์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะถือได้ว่าโจทก์เอาโภคภัณฑ์นั้นไปใช้อันมิใช่เพื่อกิจการค้าโภคภัณฑ์ซึ่งโจทก์ต้องเสียภาษีตามมาตรา 168 และนอกจากนี้โภคภัณฑ์จำนวนหลังโจทก์รับว่าซื้อแล้วมิได้ลงบัญชีรับจ่ายตามประมวลรัษฎากรมาตรา 185 จึงถือว่าเป็นโภคภัณฑ์ที่มีการซื้อแล้วตามมาตรา 190, 191 อีกด้วย จึงต้องเสียภาษีการซื้อโภคภัณฑ์และเงินเพิ่ม แม้จะปรากฏต่อมาว่าความจริงโจทก์ได้จำหน่ายโภคภัณฑ์ให้แก่ผู้บริโภคไปและยังมิได้เสียภาษีการซื้อ โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามใบสั่งอยู่เช่นเดิม พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ต้องออกใบสั่งใหม่เพื่อเรียกเก็บภาษีสำหรับการจำหน่ายโภคภัณฑ์แก่ผู้บริโภคที่ปรากฏข้อเท็จจริงขึ้นในภายหลัง
การที่พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกให้โจทก์เสียเงินเพิ่มห้าเท่า แม้ต่อมาจะมีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ให้เรียกเก็บเพียงสองเท่า และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2504 ให้ยกเลิกการเก็บภาษีประเภทนี้ก็ตาม แต่พระราชบัญญัติทั้งสองฉบับนี้ยังมีบทเฉพาะกาลให้บทบัญญัติที่ถูกแก้ไขหรือยกเลิกนั้นบังคับในการจัดเก็บภาษีอากรที่ค้างอยู่หรือที่พึงชำระก่อนวันพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับนี้ใช้บังคับ และพึงเห็นได้ว่าบทบัญญัติเฉพาะกาลดังกล่าวรวมถึงการเรียกเก็บเงินเพิ่มด้วย โจทก์จึงต้องเสียเงินเพิ่มห้าเท่าของภาษีอยู่ตามเดิม.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2509)
การที่พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกให้โจทก์เสียเงินเพิ่มห้าเท่า แม้ต่อมาจะมีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ให้เรียกเก็บเพียงสองเท่า และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2504 ให้ยกเลิกการเก็บภาษีประเภทนี้ก็ตาม แต่พระราชบัญญัติทั้งสองฉบับนี้ยังมีบทเฉพาะกาลให้บทบัญญัติที่ถูกแก้ไขหรือยกเลิกนั้นบังคับในการจัดเก็บภาษีอากรที่ค้างอยู่หรือที่พึงชำระก่อนวันพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับนี้ใช้บังคับ และพึงเห็นได้ว่าบทบัญญัติเฉพาะกาลดังกล่าวรวมถึงการเรียกเก็บเงินเพิ่มด้วย โจทก์จึงต้องเสียเงินเพิ่มห้าเท่าของภาษีอยู่ตามเดิม.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีซื้อโภคภัณฑ์กรณีมิได้ลงบัญชี และการบังคับใช้บทบัญญัติเดิมตามบทเฉพาะกาล
โจทก์เป็นผู้ค้าโภคภัณฑ์ได้รับใบสั่งจากพนักงานเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรว่า โจทก์ไม่ชำระภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ จึงให้เสียภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ ภาษีบำรุงเทศบาล กับเงินเพิ่มอีกห้าเท่า เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ซื้อโภคภัณฑ์มา 2 จำนวนเพื่อจำหน่ายแก่ผู้บริโภคโดยยังมิได้เสียภาษีโภคภัณฑ์ ต่อมาปรากฏว่าโภคภัณฑ์นี้ไม่มีอยู่ที่โจทก์และไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้จำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคไปย่อมเป็นพฤติการณ์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะถือได้ว่าโจทก์เอาโภคภัณฑ์นั้นไปใช้อันมิใช่เพื่อกิจการค้าโภคภัณฑ์ซึ่งโจทก์ต้องเสียภาษีตามมาตรา 168 และนอกจากนี้โภคภัณฑ์จำนวนหลัง โจทก์รับว่าซื้อแล้วมิได้ลงบัญชีรับจ่ายตามประมวลรัษฎากร มาตรา 185 จึงถือว่าเป็นโภคภัณฑ์ที่มีการซื้อแล้วตามมาตรา 190,191 อีกด้วย จึงต้องเสียภาษีการซื้อโภคภัณฑ์และเงินเพิ่ม แม้จะปรากฏต่อมาว่าความจริงโจทก์ได้จำหน่ายโภคภัณฑ์ให้แก่ผู้บริโภคไปและยังมิได้เสียภาษีการซื้อ โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามใบสั่งอยู่เช่นเดิม พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ต้องออกใบสั่งใหม่เพื่อเรียกเก็บภาษีสำหรับการจำหน่ายโภคภัณฑ์แก่ผู้บริโภคที่ปรากฏข้อเท็จจริงขึ้นในภายหลัง
การที่พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกให้โจทก์เสียเงินเพิ่มห้าเท่า แม้ต่อมาจะมีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2502 ให้เรียกเก็บเพียงสองเท่า และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2504 ให้ยกเลิกการเก็บภาษีประเภทนี้ก็ตาม แต่พระราชบัญญัติทั้งสองฉบับนี้ยังมีบทเฉพาะกาลให้บทบัญญัติที่ถูกแก้ไขหรือยกเลิกนั้นบังคับในการจัดเก็บภาษีอากรที่ค้างอยู่หรือที่พึงชำระก่อนวันพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับนี้ใช้บังคับและพึงเห็นได้ว่าบทบัญญัติเฉพาะกาลดังกล่าวรวมทั้งการเรียกเก็บเงินเพิ่มด้วย โจทก์จึงต้องเสียเงินเพิ่มห้าเท่าของภาษีอยู่ตามเดิม
การที่พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกให้โจทก์เสียเงินเพิ่มห้าเท่า แม้ต่อมาจะมีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2502 ให้เรียกเก็บเพียงสองเท่า และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2504 ให้ยกเลิกการเก็บภาษีประเภทนี้ก็ตาม แต่พระราชบัญญัติทั้งสองฉบับนี้ยังมีบทเฉพาะกาลให้บทบัญญัติที่ถูกแก้ไขหรือยกเลิกนั้นบังคับในการจัดเก็บภาษีอากรที่ค้างอยู่หรือที่พึงชำระก่อนวันพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับนี้ใช้บังคับและพึงเห็นได้ว่าบทบัญญัติเฉพาะกาลดังกล่าวรวมทั้งการเรียกเก็บเงินเพิ่มด้วย โจทก์จึงต้องเสียเงินเพิ่มห้าเท่าของภาษีอยู่ตามเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีผิดประเด็น การสืบพยานไม่สอดคล้องกับข้ออ้าง ทำให้ขาดฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าเป็นเจ้าของที่ดิน ขอให้ศาลแสดงว่ามีสิทธิครอบครอง และขอให้ขับไล่ ทางพิจารณาข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของเป็นแต่เพียงได้รับมอบที่พิพาทจากเจ้าของเพื่อให้ทำกินต่างดอกเบี้ยดังนี้ ศาลต้องยกฟ้องเพราะโจทก์สืบไม่สมฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย่งครอบครองที่ดิน: โจทก์ต้องพิสูจน์ความเป็นเจ้าของตามที่ฟ้อง หากพิสูจน์ไม่ได้ต้องยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าเป็นเจ้าของที่ดิน ขอให้ศาลแสดงว่ามีสิทธิครอบครอง และขอให้ขับไล่ ทางพิจารณาข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของเป็นแต่เพียงได้รับมอบที่พิพาทจากเจ้าของเพื่อให้ทำกินต่างดอกเบี้ย ดังนี้ ศาลต้องยกฟ้องเพราะโจทก์สืบไม่สมฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาสงเคราะห์ระงับสิทธิเดิม: สัญญา ล.๑ แทนที่สัญญาจะซื้อจะขายเดิมได้
เดิมสามีจำเลยทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้โจทก์ ยังไม่ทันจดทะเบียนโอนกัน สามีจำเลยก็ตาย ต่อมาโจทก์จำเลยจะพิพาทกัน จึงพากันไปอำเภอและทำสัญญาต่อกันไว้ว่า จำเลยจะให้เงินโจทก์ 4,000 บาท โจทก์จะคืนที่สวนแปลงหนึ่งและต่อไปก็จะคืนที่พิพาทให้บุตรจำเลยอีกด้วย สัญญานี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความหลังการตายของคู่สัญญาเดิม
เดิมสามีจำเลยทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้โจทก์ยังไม่ทันจดทะเบียนโอนกันสามีจำเลยก็ตายต่อมาโจทก์จำเลยจะพิพาทกันจึงพากันไปอำเภอและทำสัญญาต่อกันไว้ว่าจำเลยจะให้เงินโจทก์ 4,000 บาท โจทก์จะคืนที่สวนแปลงหนึ่งและต่อไปก็จะคืนที่พิพาทให้บุตรจำเลยอีกด้วยสัญญานี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 756/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ในที่ดิน ที่ดินพิพาทถูกทิ้งร้างและจำเลยครอบครองเกิน 10 ปี
ที่พิพาทเป็นที่สวนตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ บทที่ 42 จำเลยครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของมาเกิน 10 ปี ย่อมได้กรรมสิทธิ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 756/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์เกิน 10 ปี แม้มีชื่อเจ้าของเดิม
ที่พิพาทเป็นที่สวนตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ บทที่ 42 จำเลยครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของมาเกิน 10 ปีย่อมได้กรรมสิทธิ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751-752/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลตัดพยาน, การรับฟังพยานเพิ่มเติม, และผลของใบมอบอำนาจที่มิได้กรอกรายละเอียด
ศาลมีอำนาจตัดหรืองดสืบพยานตามที่เห็นสมควรเพื่อให้คดีดำเนินไปโดยไม่ชักช้าในกรณีที่ศาลสอบทนายโจทก์ว่าจะสืบพยานต่อไปในข้อใดและทนายโจทก์แถลงว่ายังแถลงไม่ได้ขอสงวนไว้ก่อนแม้ทนายอีกฝ่ายแถลงว่าพยานที่จะสืบข้อใดหากรับข้อเท็จจริงได้ก็จะรับเพื่อไม่ให้คดีล่าช้าทนายโจทก์ก็ยังยืนยันเช่นเดิมดังนี้ การที่ทนายโจทก์ไม่แถลงให้ศาลทราบการประวิงคดีให้ชักช้า ศาลจึงชอบจะงดสืบพยานโจทก์ต่อไปได้
คำสั่งให้งดสืบพยานไม่ใช่คำวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี
ผู้พิพากษานายเดียวมีอำนาจสั่งได้ตามมาตรา 21 แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรม
การที่ศาลอนุญาตให้อ้างพยานเพิ่มเติมโดยมิได้สอบถามคู่ความอีกฝ่ายนั้น แม้จะเป็นการผิดระเบียบวิธีพิจารณาอยู่บ้างแต่ถ้าไม่เสียความเป็นธรรมแก่คู่ความอีกฝ่ายแล้วเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
ลงชื่อในใบมอบอำนาจโดยมิได้กรอกข้อความเพื่อให้ผู้อื่นทำการแทนถือว่าเป็นการกระทำที่ทำให้บุคคลภายนอกหลงเชื่อจำต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 822,821
โจทก์ฟ้อง จำเลยต่อสู้ว่าได้ทำนิติกรรมขายฝากโดยมิได้รับอนุญาตจากสามีและสามีได้บอกล้างแล้วดังนี้ คดีมีประเด็นที่จะต้องนำสืบว่าสามีจำเลยได้อนุญาตหรือไม่ทั้งสองฝ่ายมีสิทธินำสืบข้อเท็จจริงในประเด็นข้อนี้ได้
คำสั่งให้งดสืบพยานไม่ใช่คำวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี
ผู้พิพากษานายเดียวมีอำนาจสั่งได้ตามมาตรา 21 แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรม
การที่ศาลอนุญาตให้อ้างพยานเพิ่มเติมโดยมิได้สอบถามคู่ความอีกฝ่ายนั้น แม้จะเป็นการผิดระเบียบวิธีพิจารณาอยู่บ้างแต่ถ้าไม่เสียความเป็นธรรมแก่คู่ความอีกฝ่ายแล้วเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
ลงชื่อในใบมอบอำนาจโดยมิได้กรอกข้อความเพื่อให้ผู้อื่นทำการแทนถือว่าเป็นการกระทำที่ทำให้บุคคลภายนอกหลงเชื่อจำต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 822,821
โจทก์ฟ้อง จำเลยต่อสู้ว่าได้ทำนิติกรรมขายฝากโดยมิได้รับอนุญาตจากสามีและสามีได้บอกล้างแล้วดังนี้ คดีมีประเด็นที่จะต้องนำสืบว่าสามีจำเลยได้อนุญาตหรือไม่ทั้งสองฝ่ายมีสิทธินำสืบข้อเท็จจริงในประเด็นข้อนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินจัดสรรนิคมสร้างตนเองต้องเข้าทำประโยชน์และมีเอกสารรับรองสิทธิ จึงจะพ้นจากการเป็นที่ดินสาธารณะ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปปลูกเรือนในที่พิพาทของร้อยโทบุญเกิดซึ่งอ้างว่าได้รับจัดสรรจากนิคมสร้างตนเอง ดังนี้ ต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2485 มาตรา 7, 8 ซึ่งจะเห็นได้ว่า ที่ดินที่นิคมจัดสรรให้นั้น ผู้ที่ได้รับจัดสรรต้องเข้าครอบครองทำประโยชน์และปฏิบัติการอย่างอื่นอีกจนเจ้าหน้าที่ออกหนังสือรับรองว่าได้ทำประโยชน์ และได้รับโฉนดแผนที่หรือตราจองแล้ว จึงจะพ้นจากการเป็นที่หวงห้าม ตามข้อเท็จจริง ร้อยโทบุญเกิดยังไม่ได้รับโฉนดแผนที่หรือตราจอง ที่ดินรายนี้จึงยังไม่พ้นจากการเป็นที่หวงห้ามหรือนัยหนึ่งยังไม่เป็นของร้อยโทบุญเกิด ฉะนั้นหากจะฟังว่าร้อยโทบุญเกิดได้รับจัดสรรมา ก็ยังไม่ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ ที่พิพาทยังไม่เป็นของร้อยโทบุญเกิด แม้จำเลยเข้าครอบครองก็ฟังไม่ได้ว่าเป็นการรบกวนสิทธิหรือการครอบครองของร้อยโทบุญเกิด ร้อยโทบุญเกิดจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย.