คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สวัสดิ์ พานิชอัตรา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 509 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินจัดสรรนิคมสร้างตนเองต้องเข้าทำประโยชน์และมีเอกสารรับรองสิทธิ จึงจะพ้นจากการเป็นที่ดินสาธารณะ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปปลูกเรือนในที่พิพาทของร้อยโทบุญเกิดซึ่งอ้างว่าได้รับจัดสรรจากนิคมสร้างตนเอง ดังนี้ ต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2485 มาตรา 7, 8 ซึ่งจะเห็นได้ว่า ที่ดินที่นิคมจัดสรรให้นั้น ผู้ที่ได้รับจัดสรรต้องเข้าครอบครองทำประโยชน์และปฏิบัติการอย่างอื่นอีกจนเจ้าหน้าที่ออกหนังสือรับรองว่าได้ทำประโยชน์ และได้รับโฉนดแผนที่หรือตราจองแล้ว จึงจะพ้นจากการเป็นที่หวงห้าม ตามข้อเท็จจริง ร้อยโทบุญเกิดยังไม่ได้รับโฉนดแผนที่หรือตราจอง ที่ดินรายนี้จึงยังไม่พ้นจากการเป็นที่หวงห้ามหรือนัยหนึ่งยังไม่เป็นของร้อยโทบุญเกิด ฉะนั้นหากจะฟังว่าร้อยโทบุญเกิดได้รับจัดสรรมา ก็ยังไม่ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ ที่พิพาทยังไม่เป็นของร้อยโทบุญเกิด แม้จำเลยเข้าครอบครองก็ฟังไม่ได้ว่าเป็นการรบกวนสิทธิหรือการครอบครองของร้อยโทบุญเกิด ร้อยโทบุญเกิดจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ศาลมีอำนาจขยายเวลาได้ แม้ไม่มีคำร้อง
'เหตุสุดวิสัย' ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา23 หมายถึงเหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาหรือคู่ความมีคำขอเช่นนั้นขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งได้มิได้หมายถึงว่า'พฤติการณ์พิเศษที่ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาไม่อาจกระทำได้ภายในกำหนดนั้นต้องเป็นเหตุสุดวิสัยเหตุสุดวิสัยตามมาตรา 23 จึงไม่จำต้องเป็นเหตุอันเกิดจากภัยธรรมชาติซึ่งไม่มีใครอาจป้องกันได้ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 หากมีพฤติการณ์นอกเหนือที่ศาลไม่อาจมีคำสั่งขยายเวลาให้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ในการดำเนินกระบวนพิจารณาย่อมนับได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยการสั่งขยายเวลาศาลมีอำนาจสั่งเองได้ โดยคู่ความไม่ต้องร้องขอ
ระยะเวลา 14 วันที่กำหนดให้ลูกหนี้ของบุคคลผู้ล้มละลายปฏิเสธหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 119 นั้นศาลอาจสั่งขยายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 และการที่เจ้าหนี้ปฏิเสธหนี้ส่งทางไปรษณีย์ถึงเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ช้าไป 1 วันนั้น ก็ถือเป็นเหตุสุดวิสัยที่ศาลจะสั่งขยายเมื่อพ้นกำหนดเวลาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23: ศาลมีอำนาจขยายเวลาเองได้ แม้ไม่ใช่ภัยธรรมชาติ
"เหตุสุดวิสัย" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 หมายถึงเหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาหรือคู่ความมีคำขอเช่นนั้นขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งได้ มิได้หมายถึงว่า "พฤติการณ์พิเศษที่ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาไม่อาจกระทำได้ภายในกำหนดนั้นต้องเป็นเหตุสุดวิสัย เหตุสุดวิสัยตามมาตรา 23 จึงไม่จำต้องเป็นเหตุอันเกิดจากภัยธรรมชาติซึ่งไม่มีใครอาจป้องกันได้ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 หากมีพฤติการณ์นอกเหนือที่ศาลไม่อาจมีคำสั่งขยายเวลาให้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ในการดำเนินกระบวนพิจารณา ย่อมนับได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย การสั่งขยายเวลาศาลมีอำนาจสั่งเองได้ โดยคู่ความไม่ต้องร้องขอ
ระยะเวลา 14 วันที่กำหนดให้ลูกหนี้ของบุคคลล้มละลายปฏิเสธหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 119 นั้น ศาลอาจสั่งขยายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23 และการที่เจ้าหนี้ปฏิเสธหนี้ส่งทางไปรษณีย์ถึงเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ช้าไป 1 วันนั้น ก็ถือเป็นเหตุสุดวิสัยที่ศาลจะสั่งขยายเมื่อพ้นกำหนดเวลาได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฎีกา: เริ่มนับเมื่อโจทก์ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แม้จำเลยทราบก่อน
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2508 แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เซ็นทราบการฟังคำพิพากษาในวันนั้นด้วย จนถึงวันที่ 28 ธันวาคม 2508 ความจึงปรากฏว่าจำเลยได้ลงชื่อในการฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แต่ฝ่ายเดียว ศาลชั้นต้นจึงสั่งให้เรียกโจทก์มาทราบคำพิพากษา และได้มีบันทึกว่า โจทก์ได้ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในวันที่ 28 ธันวาคม 2508 ดังนี้ จึงต้องนับอายุฎีกาตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2508 อันเป็นวันที่โจทก์ได้ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โจทก์ยื่นฎีกาวันที่ 7 มกราคม 2509 ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่โจทก์ได้ทราบคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ เช่นนี้ ฎีกาของโจทก์ย่อมไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 216.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฎีกา: เริ่มนับเมื่อโจทก์ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แม้จำเลยฟังก่อน
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2508 แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เซ็นทราบการฟังคำพิพากษาในวันนั้นด้วย จนถึงวันที่ 28 ธันวาคม 2508 ความจึงปรากฏว่าจำเลยได้ลงชื่อในการฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แต่ฝ่ายเดียวศาลชั้นต้นจึงสั่งให้เรียกโจทก์มาทราบคำพิพากษา และได้มีบันทึกว่า โจทก์ได้ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในวันที่ 28 ธันวาคม 2508 ดังนี้จึงต้องนับอายุฎีกาตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2508 อันเป็นวันที่โจทก์ได้ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โจทก์ยื่นฎีกาวันที่ 7 มกราคม 2509 ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่โจทก์ได้ทราบคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ เช่นนี้ ฎีกาของโจทก์ย่อมไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเสียหายจากฟันหักเพื่อประเมินอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(3)
คำว่า อวัยวะอื่นใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(3) หมายถึงอวัยวะส่วนสำคัญ เช่น แขน ขา มือ เท้า นิ้ว ดังระบุไว้ในตอนต้น
ฟันทั้งหมดในปากรวมกัน ก็เป็นอวัยวะส่วนสำคัญ ถ้าฟันหักไปหลายซี่ เป็นเหตุให้ส่วนที่เหลืออยู่ใช้การไม่ได้ตามสภาพของฟัน เช่น เคี้ยวอาหารไม่ได้ไปแถบหนึ่ง ก็ถือได้ว่าเป็นการเสียอวัยวะส่วนสำคัญอันเป็นอันตรายสาหัส เพียงแต่ได้ความว่าฟันแท้บนด้านหน้าหักไป 3 ซี่ จะถือว่าเป็นการเสียอวัยวะส่วนสำคัญยังมิได้ เว้นแต่โจทก์จะนำสืบให้เห็นว่า เมื่อถูกทำร้ายแล้ว ผู้เสียหายใช้ฟันที่เหลืออยู่เคี้ยวอาหารไม่ได้ ตามนัยที่กล่าวข้างต้น.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2508).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความรุนแรงของการทำร้ายร่างกายจนถึงขั้นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(3) โดยพิจารณาจากผลกระทบต่อการใช้งานอวัยวะ
คำว่า อวัยวะอื่นใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(3)หมายถึง อวัยวะส่วนสำคัญ เช่น แขน ขา มือ เท้า นิ้วดังระบุไว้ในตอนต้น
ฟันทั้งหมดในปากรวมกันก็เป็นอวัยวะส่วนสำคัญ ถ้าฟันหักไปหลายซี่ เป็นเหตุให้ส่วนที่เหลืออยู่ใช้การไม่ได้ตามสภาพของฟัน เช่นเคี้ยวอาหารไม่ได้ไปแถบหนึ่งก็ถือได้ว่าเป็นการเสียอวัยวะส่วนสำคัญอันเป็นอันตรายสาหัสเพียงแต่ได้ความว่าฟันแท้บนด้านหน้าหักไป 3 ซี่จะถือว่าเป็นการเสียอวัยวะส่วนสำคัญยังมิได้เว้นแต่โจทก์จะนำสืบให้เห็นว่าเมื่อถูกทำร้ายแล้วผู้เสียหายใช้ฟันที่เหลืออยู่เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามนัยที่กล่าวข้างต้น (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีรายชื่อพยานล่าช้า: ศาลอาจอนุญาตได้หากมีเหตุสมควรและจำเป็นต่อการวินิจฉัย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรค 3 นั้น ถ้าคู่ความที่มิได้ระบุอ้างพยานก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน ขออนุญาตระบุพยานก่อนศาลพิพากษาคดี ศาลอาจอนุญาตตามคำขอได้ เมื่อมีเหตุอันสมควรและศาลเห็นว่าเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จำเป็นจะต้องสืบพยานเช่นว่านั้น
โจทก์ไม่ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยานโจทก์ 3 วัน อ้างว่าโจทก์ไปเที่ยวหาซื้อสินค้ามาใส่ร้าน จำเลยมิได้คัดค้านเหตุที่โจทก์อ้างว่าไปหาซื้อสินค้าว่าไม่เป็นความจริง ขณะนั้นคดียังมิได้มีการสืบพยานอย่างใด จะถือว่าโจทก์จงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 88 วรรค 1 ที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วันหรือประสงค์จะเอาเปรียบในทางคดียังไม่ได้ โจทก์ก็ได้ยื่นบัญชีระบุพยานช้าไปเพียงวันเดียว พฤติการณ์แห่งคดีจึงมีเหตุสมควรอนุญาตให้โจทก์อ้างพยานหลักฐานได้เพื่อให้วินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรมตามมาตรา 88 วรรค 3.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตอ้างพยานนอกกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด: เหตุสมควร & ความเที่ยงธรรมในการพิจารณาคดี
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสาม นั้น
ถ้าคู่ความที่มิได้ระบุอ้างพยานก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน ขออนุญาตระบุพยานก่อนศาลพิพากษาคดีศาลอาจอนุญาตตามคำขอได้เมื่อมีเหตุอันสมควรและศาลเห็นว่าเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จำเป็นจะต้องสืบพยานเช่นว่านั้น
โจทก์ไม่ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยานโจทก์ 3 วันอ้างว่าโจทก์ไปเที่ยวหาซื้อสินค้ามาใส่ร้านจำเลยมิได้คัดค้านเหตุที่โจทก์อ้างว่าไปหาซื้อสินค้าว่าไม่เป็นความจริงขณะนั้นคดียังมิได้มีการสืบพยานอย่างใดจะถือว่าโจทก์จงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 88 วรรคหนึ่งที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วันหรือประสงค์จะเอาเปรียบในทางคดียังไม่ได้โจทก์ก็ได้ยื่นบัญชีระบุพยานช้าไปเพียงวันเดียว พฤติการณ์แห่งคดีจึงมีเหตุสมควรอนุญาตให้โจทก์อ้างพยานหลักฐานได้เพื่อให้วินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรมตามมาตรา 88 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องคืนดอกเบี้ยเกินอัตรา แม้ชำระหนี้ตามคำพิพากษา
จำเลยเคยฟ้องโจทก์ขอให้ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยตามสัญญาจำนอง โจทก์ต่อสู้ว่าจำเลยนำดอกเบี้ยที่เกินอัตราตามกฎหมายมารวมกับต้นเงินด้วย ศาลพิพากษาให้โจทก์ใช้เงินเต็มตามสัญญาจำนอง โจทก์อุทธรณ์ และขอทุเลาการบังคับคดี แต่ก่อนศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเรื่องทุเลาการบังคับคดี จำเลยได้ขอให้ยึดทรัพย์ของโจทก์ขายทอดตลาดเพื่อชำระต้นเงินที่โจทก์มิได้โต้แย้ง โจทก์จึงได้ไถ่ถอนการจำนอง (รวมทั้งดอกเบี้ยที่อ้างว่าเกินอัตราตามกฎหมายด้วย) ต่อมาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ทุเลาการบังคับคดีและให้ยกคำพิพากษาศาลแพ่งให้สืบพยานต่อไป จำเลยจึงขอถอนฟ้อง ศาลอนุญาต คำสั่งนั้นถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเรียกดอกเบี้ยที่เกินอัตราคืน ดังนี้ จะถือว่าโจทก์กระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือทำการชำระดอกเบี้ยนั้นไปตามอำเภอใจดังที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 411 และ 407 บัญญัติไว้มิได้ เพราะโจทก์ต้องชำระดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไปเพราะผลบังคับของคำพิพากษาศาลชั้นต้น และการบังคับคดีของจำเลย.
of 51