คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชนรถยนต์: ไม่ใช้ ม.437 และไม่สันนิษฐานความผิดในคดีแพ่ง
กรณีรถยนต์อันเป็นยานพาหนะซึ่งต่างเดินด้วยเครื่องจักรกลชนกันนั้นจะนำ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 มาบังคับหาได้ไม่พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 ป.ว.59 ก็สันนิษฐานความผิดของคนขับรถนำมาใช้ในคดีแพ่งไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขับรถประมาท แข่งรถและกินทาง ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ศาลฎีกายืนโทษตามกฎหมายเดิม
จำเลยขับรถบรรทุกน้ำมันยอมให้รถที่ตามมาแซงขึ้นแล้วแต่ยังแซงไม่พ้น จำเลยกลับแข่งและกินทางเข้าไปในทางรถที่แซง จึงเฉี่ยวกันจำเลยประมาทเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 มาตรา 29,66 ซึ่ง พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43(4),157 ยังเป็นผิด แต่โทษสูงกว่า ลงโทษตาม พระราชบัญญัติเดิม เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้กฎหมายจราจรใหม่และการปรับบทลงโทษ: กฎหมายฉบับใหม่เป็นคุณแก่จำเลย
จอดรถไม่ขนานชิดขอบทาง มีความผิดตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 54,148 เป็นคุณกว่า พระราชบัญญัติจราจร พ.ศ. 2477 มาตรา 19, 66 ศาลใช้กฎหมายใหม่ลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1278/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ขับขี่บาดเจ็บหลังเกิดอุบัติเหตุ ไม่ต้องรับผิดฐานละเลยไม่ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บหากไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
จำเลยขับรถเกิดอุบัติเหตุคนตาย จำเลยมีอาการงงเลือดเต็มหน้ามีคนช่วยนำจำเลยขึ้นรถไปส่งสถานีอนามัยรักษาตัวอยู่ 2 วันจึงมีญาติมารับไปสถานีตำรวจ เป็นการที่จำเลยได้รับบาดเจ็บไม่สามารถช่วยตัวเองได้ จำเลยมิได้เจตนาทำผิดฐานไม่ช่วยเหลือตามสมควรและไม่แจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันทีศาลยกฟ้องความผิดฐานนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รถจอดกีดขวาง-ชนท้ายกลางคืน: ไม่ต้องแจ้งเหตุตาม พรบ.จราจร
รถที่จอดอยู่เกือบกึ่งกลางถนนในเวลากลางคืนโดยไม่มีไฟให้เห็น ถูกรถที่ขับมาชนท้าย รถที่จอดและถูกชนมิใช่รถที่ขับอยู่ในทางผู้ขับรถคันนี้ไม่ต้องแจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 30 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 529/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถโดยสาร ชนรถไฟ ทำให้เสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัส ศาลไม่ลดโทษแม้รับสารภาพ
จำเลยขับรถยนต์โดยสารประจำทางด้วยความประมาทเพื่อตัดหน้ารถไฟ รถจำเลยจึงถูกรถไฟชน เป็นเหตุให้คนโดยสารในรถจำเลยตาย 25 คน และบาดเจ็บ 36 คน การกระทำของจำเลยเกิดผลเสียหายร้ายแรงมาก และเกิดเหตุในเวลากลางวัน ต่อหน้าคนจำนวนมาก ยากที่จำเลยจะหลบหนีทัน แม้จำเลยจะรับสารภาพ ก็ไม่เป็นเหตุถึงขนาดที่จะต้องลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 195/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องด้วยวาจาต้องระบุข้อเท็จจริงครบถ้วนพอให้ศาลพิจารณาลงโทษได้ หากฟ้องด้วยวาจาอ้างหลักฐานบาดเจ็บสาหัส ศาลพิจารณาประกอบได้
ฟ้องด้วยวาจานั้น ผู้ว่าคดีต้องบรรยายข้อเท็จจริงให้ปรากฏครบถ้วนพอที่ศาลจะลงโทษตามบทกฎหมายที่ขอประกอบด้วยข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องพอสมควร เท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และมาตราซึ่งบัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงมาตรา 19 ด้วย และเป็นหน้าที่ของศาลต้องถามผู้ต้องหา ถ้าให้การรับสารภาพ ศาลจะบันทึกคำฟ้องให้ได้ใจความแห่งข้อหาเพื่อพิพากษาคดีต่อไป ถ้าคำฟ้องที่ศาลบันทึกไว้ไม่ปรากฏว่าที่บาดเจ็บรักษา 30 วันหายนั้นถึงสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297 ข้อใด ศาลย่อมพิจารณาบันทึกคำฟ้องประกอบหลักฐานการฟ้องด้วยวาจาและรายงานชันสูตรบาดแผลท้ายฟ้องได้ เมื่อเห็นว่าปรากฏข้อเท็จจริงพอที่จะพิจารณาพิพากษาลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ได้ ก็พิพากษาลงโทษไปได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ตัวผู้ขับขี่ในคดีขับรถประมาท การพิจารณาพยานหลักฐานเพื่อตัดสินว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดหรือไม่
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถโดยประมาทชนกับรถที่สวนมา เป็นเหตุให้ผู้โดยสารถึงแก่ความตายและบาดเจ็บ ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยมิได้เป็นคนขับรถคนที่ชนกันนี้ ศาลพิพาษายกฟ้อง (ประชุมใหญ่ ครั้ง 25/2507)
(หมายเหตุ มีบันทึกท่านอาจารย์ประกอบ หุตะสิงห์เจ้าของสำนวน(รับโอน) ความว่า ท่านตรวจสำนวนแล้วตามฟ้องและที่จำเลยเถียง ประเด็นคงเหลือว่าจำเลยเป็นคนขับหรือคนอื่นขับเท่านั้น ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ได้รับ จึงยกฟ้อง โจทก์ฎีกาว่า จำเลยขับ ประเด็นที่เสนอเป็นข้อกฎหมายเข้าประชุมใหญ่มีว่า "จำเลยเป็นผู้ขับรถคันที่ชนกันนี้เป็นประจำ แต่ได้ปล่อยให้คนอื่นขับจนเป็นเหตุให้รถชนกันมีคนตาย จำเลยจะมีความผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาทด้วยหรือไม่ " นั้น จึงไม่มีในสำนวน ท่านจึงชึ้ขาดข้อเท็จจริงแต่อย่างเดียว โดยไม่ได้กล่าวถึงมติที่ประชุมใหญ่ เพราะจะเป็นการวินิฉัยนอกประเด็น)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถ: การพิสูจน์ความรับผิดทางอาญาต้องมีเหตุผลรองรับ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถด้วยความประมาทและฝ่าฝืนกฎหมายโดยขับผ่านสี่แยกด้วยความเร็วกว่า 20กิโลเมตรต่อชั่วโมง และขับผ่านสี่แยกนั้นฝ่าฝืนเครื่องหมายลูกศรให้เลี้ยวซ้าย เป็นเหตุให้ชนรถอื่นมีผู้บาดเจ็บสาหัส ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติจราจรฯ และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 300 ศาลชั้นต้นฟังว่า จำเลยผิดตามฟ้อง พิพากษาลงโทษตามมาตรา 300 ซึ่งเป็นบทหนัก จำคุก 6 เดือน ศาลอุทธรณ์ฟังว่า จำเลยขับรถเร็วกว่า 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยผิดพระราชบัญญัติจราจรฯปรับ 100 บาท โจทก์ฎีกาศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงแล้ว พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
(หมายเหตุ คำพิพากษาฎีกานี้ มีผลเป็นว่า รูปคดีเช่นนี้ โจทก์ฎีกาข้อเท็จจริงได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการผ่านทางแยก: รถที่มาถึงก่อนมีสิทธิไปก่อน แม้กฎหมายกำหนดรถจากซ้ายไปก่อน
ตามประกาศเจ้าพนักงานจราจร ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก ซึ่งกำหนดไว้ว่า'ในทางเอกด้วยกัน ณ ที่ร่วมกัน ตัดกันหรือแยกกันให้รถที่มาจากทางซ้ายผ่านไปก่อน'นั้น หมายถึงกรณีที่รถทั้งสองคันมาถึงปากทางที่ร่วมกันตัดกัน หรือแยกกัน พร้อมกันแต่ถ้าหากรถคันทางขวามาถึงปากทางดังกล่าวแล้วก่อนก็ไม่จำเป็นต้องหยุดรอให้รถคันทางซ้ายไปก่อน
of 3