คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ยุ้ย อาตมียะนันทน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 172 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำไพ่ปลอม: ความผิดตาม พ.ร.บ.ไพ่ vs. ปลอมแปลงเครื่องหมายการค้า
ผู้ที่จะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272(1) จะต้องเป็นผู้กระทำขึ้นด้วย เพียงแต่มีเครื่องทำชื่อ รูปรอยประดิษฐ์ และเครื่องอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272(1)
ผู้ที่มีบล๊อกแบบพิมพ์ประเภทเครื่องมือทำไพ่ปลอมมีความผิดตามพระราชบัญญัติไพ่ พ.ศ.2486 มาตรา 11 เท่านั้น หามีความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 273 ด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้า จำเลยต้องเป็นผู้กระทำเอง การมีเครื่องมือทำผิดยังไม่ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
ผู้ที่จะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 272(1) จะต้องเป็นผู้กระทำขึ้นด้วย เพียงแต่มีเครื่องทำ-ชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ และเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ ไว้ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272(1)
ผู้ที่มีบล๊อกแบบพิพม์ประเภทเครืองมือทำไพ่ปลอมมีความผิดตามพระราชบัญญัติไพ่ พ.ศ.2486 มาตรา 11 เท่านั้น หามีความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 272 ด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขุดทำนบสาธารณะเสียหาย แม้ไม่เป็นอันตรายร้ายแรง ก็ยังมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
เมื่อจำเลยรับว่าได้ขุดทำนบซึ่งบุคคลใช้เป็นทางสาธารณะขาดออกกว้าง 7 วา ยาว 5 วาจริง แต่ต่อสู้ว่าไม่ได้ทำให้ทางสาธารณะเสียหายและไม่เป็นอันตรายต่อการจราจร ดังนี้ทำนบซึ่งใช้เป็นทางสัญจรไปมานี้ เป็นทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์เมื่อจำเลยทำการขุดให้ลักษณะดังกล้าวข้างต้น ถือได้ว่าจำเลยทำให้เสียหาย ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา 160 ส่วนที่จะผิดตามมาตรา 229 ด้วยหรือไม่นั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความจากพยานโจทก์เพียงว่าราษฎรไม่อาจเกินหรือใช้เกวียนบนทำนบนี้ได้ก่อนที่จะถมให้กลับคืนดีโดยไม่ปรากฎว่ามีลักษณะอันน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่การจราจรแต่อย่างใด ต้องถือว่าจำเลยได้ทำแต่เพียงให้ทางเสียหายใช้การไม่ได้ไปชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น จำเลยจึงไม่ผิดตามมาตรา 229 ด้วย
ข้อที่จำเลยอ้างว่าจำเลยขุดทำนบเสียหายก็เพื่อระบายน้ำออกจากนาจำเลย มิฉะนั้นน้ำจะท่วมข้าวของจำเลยตายหมดนั้น ไม่พอจะก่อให้เกิดสิทธิอันเป็นความจำเป็นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 67 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขุดทำนบสาธารณะเสียหาย แม้ไม่ถึงอันตรายร้ายแรง ก็ยังมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 360
เมื่อจำเลยรับว่าได้ขุดทำนบซึ่งบุคคลใช้เป็นทางสาธารณะขาดออกกว้าง 7 วา ยาว 5 วาจริง แต่ต่อสู้ว่าไม่ได้ทำให้ทางสาธารณะเสียหายและไม่เป็นอันตรายต่อการจราจร ดังนี้ ทำนบซึ่งใช้เป็นทางสัญจรไปมานี้ เป็นทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ เมื่อจำเลยทำการขุดในลักษณะดังกล่าวข้างต้น ถือได้ว่าจำเลยทำให้เสียหายย่อม มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 360 ส่วนที่จะผิดตามมาตรา 229 ด้วยหรือไม่นั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความจากพยานโจทก์เพียงว่าราษฎรไม่อาจเดินหรือใช้เกวียนบนทำนบนี้ได้ก่อนที่จะถมให้กลับคืนโดยไม่ปรากฏว่ามีลักษณะอันน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่การจราจรแต่อย่างใด ต้องถือว่าจำเลยได้ทำแต่เพียงให้ทางเสียหายใช้การไม่ได้ไปชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น จำเลยจึงไม่ผิดตามมาตรา 229 ด้วย
ข้อที่จำเลยอ้างว่าจำเลยขุดทำนบเสียหายก็เพื่อระบายน้ำออกจากนาจำเลย มิฉะนั้นน้ำจะท่วมข้าวของจำเลยตายหมดนั้น ไม่พอจะก่อให้เกิดสิทธิอันเป็นความจำเป็นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1953/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตสำคัญในความผิดฉ้อโกงค่าจ้าง: ต้องมีตั้งแต่ตกลงจ้าง ไม่ใช่เกิดจากเหตุขัดข้องภายหลัง
ความผิดฐานฉ้อโกงค่าจ้างแรงงาน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 344 นั้น จะต้องได้ความว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตหลอกลวงผู้เสียหายในขณะที่ตกลงจะให้ผู้เสียหายประกอบการงานให้แก่ตนโดยเจตนาจะไม่ใช้ค่าแรงงาน หรือค่าจ้าง หรือจะใช้ค่าแรงงาน หรือค่าจ้างต่ำกว่าที่ตกลงจึงจะเป็นความผิดได้ ถ้าหากไม่ได้ความว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตเช่นนั้นในขณะที่จะตกลงกัน แต่เป็นเรื่องที่ตกลงกันมาแล้ว จึงมีเหตุขัดข้องเกิดขึ้นแก่จำเลย ทำให้จำเลยไม่อาจใช้ค่าแรงงานหรือค่าจ้างได้ตามที่ตกลงกันไว้ ก็เป็นเพียงการผิดสัญญาในทางแพ่งเท่านั้น จะปรับบทเป็นความผิดทางอาญาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1951/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นรายเดือนในสัญญากู้ ธนาคารพาณิชย์ทำตามประเพณีการค้าได้ ไม่เป็นโมฆะ
ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจในการให้กู้เงินด้วยการคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนเป็นปกติเสมอมา ทำสัญญาให้กู้ยืมเงินโดยตกลงคิดดอกเบี้ยทบต้นเมื่อผิดนัดเป็นรายเดือนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1885/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดและการยินยอมของจำเลยในการเป็นคู่ความร่วม – กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องว่า ทรัพย์สินที่จำเลยเช่าเป็นของโจทก์และมารดาโจทก์ร่วมกัน จำเลยทำสัญญาเช่ากับโจทก์ ครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้ว ขอให้ขับไล่จำเลยและให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าทรัพย์สินที่เช่าเป็นของมารดาโจทก์ผู้เดียว จำเลยเป็นสามีมารดาโจทก์และเป็นบิดาเลี้ยงโจทก์ เหตุที่ต้องทำสัญญาเช่ากันเนื่องจากมารดาโจทก์ไม่ไว้ใจจำเลย กลัวจำเลยทำหนี้สินผูกพันทรัพย์สินที่เช่า มารดาโจทก์จึงให้โจทก์จำเลยทำสัญญาเช่าไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง มารดาโจทก์ยื่นคำร้องสอดว่าทรัพย์สินที่เช่าเป็นของผู้ร้องสอดผู้เดียวสัญญาเช่าที่โจทก์ฟ้องจำเลยนั้น โจทก์จำเลยมิได้มีเจตนามุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ต่อกันดังที่จำเลยให้การ โจทก์มีเจตนาไม่สุจริตแอบเอาสัญญาเช่าไปจากครอบครองของผู้ร้องสอดเพื่อฉ้อโกงทรัพย์ตามสัญญาเช่าเป็นของโจทก์ จึงขออนุญาตเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 ดังนี้ ข้อที่โต้เถียงกันทำให้เกิดประเด็นแห่งคดีว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทเป็นของโจทก์กับผู้ร้องสอดหรือว่าเป็นของผู้ร้องสอดผู้เดียวถ้าเป็นของผู้ร้องสอดผู้เดียวสัญญาเช่าก็อาจไม่มีเจตนาผูกพันกันดังที่จำเลยและผู้ร้องสอดต่อสู้ไว้ ผู้ร้องสอดจึงมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) ชอบที่จะร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1885/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน, การร้องสอด - การอนุญาตให้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความแทนจำเลยเมื่อมีส่วนได้เสียในคดี
โจทก์ฟ้องว่า ทรัพย์สินที่จำเลยเช่าเป็นของโจทก์และมารดาโจทก์ร่วมกัน จำเลยทำสัญญาเช่ากับโจทก์ ครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้ว ขอให้ขับไล่จำเลยและให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าทรัพย์สินที่เช่าเป็นของมารดาโจทก์ผู้เดียว จำเลยเป็นสามีมารดาโจทก์และเป็นบิดาเลี้ยงโจทก์ เหตุที่ต้องทำสัญญาเช่ากันเนื่องจากมารดาโจทก์ไม่ไว้ใจจำเลย กลัวจำเลยทำหนี้สินผูกพันทรัพย์สินที่เช่า มารดาโจทก์จึงให้โจทก์จำเลยทำสัญญาเช่าไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง มารดาโจทก์ยื่นคำร้องสอดว่าทรัพย์สินที่เช่าเป็นของผู้ร้องสอดผู้เดียว สัญญาเช่าที่โจทก์ฟ้องจำเลยนั้น โจทก์จำเลยมิได้มีเจตนามุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ต่อกันดังที่จำเลยให้การ โจทก์มีเจตนาไม่สุจริตแอบเอาสัญญาเช่าไปจากครอบครองของผู้ร้องสอดเพื่อฉ้อโกงทรัพย์ตามสัญญาเช่าเป็นของโจทก์ จึงขออนุญาตเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57 ดังนี้ ข้อทีโต้เถียงกันทำให้เกิดปรเด็นแห่งคดีว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทเป็นของโจทก์กับผู้ร้องสอดหรือว่าเป็นของผู้ร้องสอดผู้เดียว ถ้าเป็นของผู้ร้องสอดผู้เดียว สัญญาเช่าก็อาจไม่มีเจตนาผูกพันกันดังที่จำเลยและผู้ร้องสอดต่อสู้ไว้ผู้ร้องสอดจึงมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) ขอบที่จะร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1841/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันครอบคลุมค่าเสียหายจากสัญญาเช่า แม้เกิดหลังสัญญาเช่าสิ้นสุด การบอกเลิกสัญญาค้ำประกันก่อนกำหนดไม่สมเหตุสมผล
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าอาคารและที่ดินของโจทก์มีข้อความว่าเช่ามีกำหนด 1 ปี เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าแล้ว ถ้าไม่มีการทำสัญญาเช่ากันใหม่ ผู้เช่าจะต้องขนย้ายออกจากที่เช่าภายใน 30 วันถ้าไม่ขนย้ายออกไปจะต้องเสียค่าเสียหายเป็นรายวันๆละ 100 บาทให้แก่โจทก์ โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันเงินค่าเช่าและค่าเสียหายซึ่งโจทก์จะเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ในการที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาเช่า ดังนี้จำเลยที่ 2 จะบอกเลิกการค้ำประกันเมื่อครบกำหนด 1 ปี โดยไม่ยอมรับผิดในค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระเพราะไม่ออกไปจากที่เช่าไม่ได้ เพราะรูปคดีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 699
แม้จะระบุไว้ในสัญญาเช่าว่า เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้ว ผู้เช่าไม่ออกไปจะต้องเสียค่าเสียหายแก่ผู้ให้เช่าวันละ 200 บาทก็ดี เมื่อศาลเห็นว่าค่าเสียหายสูงไปก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้แก่ผู้ให้เช่าตามควรแก่พฤติการณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1841/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันสัญญาเช่าและการบอกเลิกสัญญาค้ำประกันก่อนครบกำหนด
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าอาคารและที่ดินของโจทก์มีข้อความว่า เช่ามีกำหนด 1 ปี เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าแล้ว ถ้าไม่มีการทำสัญญาเช่ากันใหม่ ผู้เช่าจะต้องขนย้ายออกจากที่เช่าภายใน 30 วัน ถ้าไม่ขนย้ายออกไปจะต้องเสียค่าเสียหายเป็นรายวัน ๆ ละ 100 บาท ให้แก่โจทก์ โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันเงินค่าเช่าและค่าเสียหายซึ่งโจทก์จะเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ในการที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาเช่าดังนี้ จำเลยที่ 2 จะบอกเลิกการค้ำประกันเมื่อครบกำหนด 1 ปี โดยไม่ยอมรับผิดในค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระเพราะไม่ออกไปจากที่เช่าไม่ได้ เพราะรูปคดีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 699
แม้จะระบุไว้ในสัญญาเช่าว่า เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้ว ผู้เช่าไม่ออกไป จะต้องเสียค่าเสียหายผู้ให้เช่าวันละ 200 บาทก็ดี เมื่อศาลเห็นว่าค่าเสียหายสูงไป ก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้แก่ผู้ให้เช่าตามควรแก่พฤติการณ์ได้
of 18