พบผลลัพธ์ทั้งหมด 172 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายจากความรับรองและการเลี้ยงดู แม้เกิดจากภรรยาที่ไม่จดทะเบียน
บุตรที่เกิดจากภรรยาลับก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แต่บิดาได้รับรองว่าเป็นบุตร ย่อมเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นทายาทของบิดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุตรที่เกิดจากการสมรสโดยไม่จดทะเบียน และการรับรองบุตรโดยบิดา ย่อมมีสิทธิในทรัพย์สิน
บุตรที่เกิดจากภรรยาลับก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 แต่บิดาได้รับรองว่าเป็นบุตร ย่อมเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทของบิดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1621/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการเรียกพยานหลักฐานเพิ่มเติมระหว่างไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญา และคำสั่งรอคดีที่ไม่ทำให้ประเด็นคดีเสร็จ
ในการไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญา แม้เมื่อโจทก์แถลงว่าหมดพยานแล้วศาลก็มีอำนาจสั่งเรียกพยานหลักฐานมาเองเพื่อประกอบการวินิจฉัยทำคำสั่งชั้นไต่สวนมูลฟ้องได้ และคำสั่งที่ให้รอคดีเพื่อฟังพยานหลักฐานเช่นนี้ เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196 และถึงแม้ว่าในคำสั่งนั้นศาลจะได้สั่งไว้ด้วยว่าให้จำหน่ายคดีเสียชั่วคราว ถ้าสำนวนคดีที่ศาลสั่งเรียกมาเพื่อประกอบการวินิจฉัยนั้นเสร็จเมื่อใดก็ให้โจทก์แถลงให้ศาลทราบ เพื่อจะได้ยกคดีที่มีการไต่สวนมูลฟ้องนี้ขึ้นพิจารณาสั่งต่อไป ดังนี้ ก็ต้องถือว่าเป็นการสั่งจำหน่ายคดีที่ไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีเสร็จไป โจทก์ก็ยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งนี้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 18/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1621/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการไต่สวนมูลฟ้อง & คำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่รับอุทธรณ์
ในการไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญา แม้เมื่อโจทก์แสดงว่าหมดพยานแล้ว ศาลก็มีอำนาจสั่งเรียกพยานหลักฐานมาเองเพื่อประกอบการวินิจฉัยทำคำสั่งชั้นไต่สวนมูลฟ้องได้ และคำสั่งที่ให้รอคดีเพื่อฟังพยานหลักฐานเช่นนี้ เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196 และถึงแม้ว่าในคำสั่งนั้นศาลจะได้สั่งไว้ด้วยว่าให้จำหน่ายคดีเสียชั่วคราว ถ้าสำนวนคดีที่ศาลสั่งเรียกมาเพื่อประกอบการวินิจฉัยนั้นเสร็จเมื่อใด ก็ให้โจกท์แถลงให้ศาลทราบ เพื่อจะได้ยกคดีที่มีการไต่สวนมูลฟ้องนี้ขึ้นพิจารณาสั่งต่อไป ดังนี้ ก็ต้องถือว่าเป็นการสั่งจำหน่ายคดีที่ไม่ทำให้ประเด็นแพ่งคดีเสร็จไป โจทก์ก็ยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งนี้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 18/2506)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 18/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1614/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสันนิษฐานทางกฎหมายศุลกากร: พยานหลักฐานต้องแสดงเค้ามูลความผิดผู้ครอบครองสินค้า
พระราชบัญญัติศุลกากร(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 มาตรา 10 มิได้ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่าเมื่อปรากฎว่าผู้ใดมีสิ่งซึ่งต้องห้าม หรือสิ่งมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นสิ่งต้องกำกัดหรือเป็นสิ่งลักลอยหนีศุลกากรไว้ในครอบครอง ก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นได้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือนำเข้ามาโดยลักลอบหนีศุลกากร หากแต่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นความจริงตามข้อเท็จจริงที่จดแจ้งไว้ในบันทึกของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้พบเห็นข้อนี้เป็นข้อสันนิษฐานข้อแรก ส่วนข้อสันนิษฐานว่าผู้มีสิ่งนั้นไว้ในครอบครองเป็นผู้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบ ฯ นั้น เป็นเพียงพอที่สืบเนื่องจากข้อสันนิษฐานข้อแรกนั้น
ข้อเท็จจริงที่จดแจ้งไว้ในบันทึกตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติที่กล่าวนั้น อย่างน้อยจะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ประกอบกันเป็นพยานพฤติเหตุแวดล้อมพอจะแสดงเค้ามูลว่าผู้มีไว้ในครอบครองนั้นเป็นผู้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือนำเข้ามาโดยการลักลอบหนีศุลกากร
บันทึกของเจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งไว้แต่ว่า ตำรวจได้ตรวจค้นบ้านจำเลย ค้นพบสิ่งของบรรจุอยู่ในกระสอบ ได้สอบถามจำเลย จำเลยว่ารับฝากไว้จากชายไม่ทราบชื่อ บรรทุกรถมา 1 คัน ตอนเช้าวันนั้นเอง ตำรวจสงสัยว่าเป็นสินค้าที่หลบหนีศุลกากร จึงยึดสินค้าและคุมตัวจำเลยมาดำเนินคดี เพียงเท่านี้ย่อมไม่มีลักษณะเป็นบันทึกอันจะก่อให้เกิดข้อสันนิษฐานตามมาตรา 10 ที่กล่าวนั้น และเมื่อเป็นดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยร่วมกับผู้อื่นนำสินค้าเหล่านั้นเข้ามาในราชอาณาจักรโจทก์ก็ต้องมีหน้าที่นำสืบพิสูจน์ความผิดของจำเลย และจะลงโทษจำเลยได้ก็ต่อเมื่อพยานหลักฐานของโจทก์เพียงพอให้ฟังว่าจำเลยกระทำผิดตามข้อหา
ถ้าศาลชั้นต้นถือว่าโจทก์ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายจึงมิได้พิเคราะห์พยานหลักฐานของโจทก์ คงวินิจฉัยแต่ของจำเลยแล้วฟังว่าจำเลยมีความผิดลงโทษจำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายแต่ก็เอาข้อสันนิษฐานนั้นมาประกอบด้วย แล้วจึงฟังว่าจำเลยมีความผิดและพิพากษายืน เมื่อศาลฎีกาเห็นว่ากรณีแห่งคดีนี้ไม่มีข้อสันนิษฐานของกฎหมาย และเห็นว่าศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยโดยชอบด้วยวิธีพิจารณา ศาลฎีกาก็ไม่จำต้องฟังข้อเท็จจริงตามศาลล่าง แต่พึงวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ตามพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยได้นำสืบมาแล้ว
ข้อเท็จจริงที่จดแจ้งไว้ในบันทึกตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติที่กล่าวนั้น อย่างน้อยจะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ประกอบกันเป็นพยานพฤติเหตุแวดล้อมพอจะแสดงเค้ามูลว่าผู้มีไว้ในครอบครองนั้นเป็นผู้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือนำเข้ามาโดยการลักลอบหนีศุลกากร
บันทึกของเจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งไว้แต่ว่า ตำรวจได้ตรวจค้นบ้านจำเลย ค้นพบสิ่งของบรรจุอยู่ในกระสอบ ได้สอบถามจำเลย จำเลยว่ารับฝากไว้จากชายไม่ทราบชื่อ บรรทุกรถมา 1 คัน ตอนเช้าวันนั้นเอง ตำรวจสงสัยว่าเป็นสินค้าที่หลบหนีศุลกากร จึงยึดสินค้าและคุมตัวจำเลยมาดำเนินคดี เพียงเท่านี้ย่อมไม่มีลักษณะเป็นบันทึกอันจะก่อให้เกิดข้อสันนิษฐานตามมาตรา 10 ที่กล่าวนั้น และเมื่อเป็นดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยร่วมกับผู้อื่นนำสินค้าเหล่านั้นเข้ามาในราชอาณาจักรโจทก์ก็ต้องมีหน้าที่นำสืบพิสูจน์ความผิดของจำเลย และจะลงโทษจำเลยได้ก็ต่อเมื่อพยานหลักฐานของโจทก์เพียงพอให้ฟังว่าจำเลยกระทำผิดตามข้อหา
ถ้าศาลชั้นต้นถือว่าโจทก์ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายจึงมิได้พิเคราะห์พยานหลักฐานของโจทก์ คงวินิจฉัยแต่ของจำเลยแล้วฟังว่าจำเลยมีความผิดลงโทษจำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายแต่ก็เอาข้อสันนิษฐานนั้นมาประกอบด้วย แล้วจึงฟังว่าจำเลยมีความผิดและพิพากษายืน เมื่อศาลฎีกาเห็นว่ากรณีแห่งคดีนี้ไม่มีข้อสันนิษฐานของกฎหมาย และเห็นว่าศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยโดยชอบด้วยวิธีพิจารณา ศาลฎีกาก็ไม่จำต้องฟังข้อเท็จจริงตามศาลล่าง แต่พึงวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ตามพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยได้นำสืบมาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1614/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสันนิษฐานทางกฎหมายในคดีศุลกากร: พยานหลักฐานต้องแสดงเค้ามูลความผิดของผู้ครอบครอง
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 มาตรา 10มิได้ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า เมื่อปรากฏว่าผู้ใดมีสิ่งซึ่งต้องห้าม หรือสิ่งมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นสิ่งกำกัดหรือเป็นสิ่งลักลอบหนีศุลกากรไว้ในครอบครอง ก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นได้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือนำเข้ามาโดยการลักลอบหนีศุลกากร หากแต่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นความจริงตามข้อเท็จจริงที่จดแจ้งไว้ในบันทึกของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้พบเห็นข้อนี้เป็นข้อสันนิษฐานข้อแรก ส่วนข้อสันนิษฐานว่าผู้มีสิ่งนั้นไว้ในความครอบครองเป็นผู้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบ นั้น เป็นเพียงผลที่สืบเนื่องจากข้อสันนิษฐานข้อแรกนั้น
ข้อเท็จจริงที่จะจดแจ้งไว้ในบันทึกตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติที่กล่าวนั้น อย่างน้อยจะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ประกอบกันเป็นพยาน พฤติเหตุแวดล้อมพอจะแสดงเค้ามูลว่าผู้มีไว้ในครอบครองนั้นเป็นผู้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือนำเข้ามาโดยการลักลอบหนีศุลกากร
บันทึกของเจ้าหน้าที่ตำรวจจดแจ้งไว้แต่ว่าตำรวจได้ตรวจค้นบ้านจำเลยค้นพบสิ่งของบรรจุอยู่ในกระสอบ ได้สอบถามจำเลยจำเลยว่ารับฝากไว้จากชายไม่ทราบชื่อบรรทุกรถมา 3 คัน ตอนเช้าวันนั้นเอง ตำรวจสงสัยว่าเป็นสินค้าที่หลบหนีศุลกากร จึงยึดสินค้าและคุมตัวจำเลยมาดำเนินคดีเพียงเท่านี้ย่อมไม่มีลักษณะเป็นบันทึกอันจะก่อให้เกิดข้อสันนิษฐานตามมาตรา 10 ที่กล่าวนั้น และเมื่อเป็นดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยร่วมกับผู้อื่นนำสินค้าเหล่านั้นเข้ามาในราชอาณาจักร โจทก์ก็ต้องมีหน้าที่นำสืบพิสูจน์ความผิดของจำเลย และจะลงโทษจำเลยได้ก็ต่อเมื่อพยานหลักฐานของโจทก์เพียงพอให้ฟังว่าจำเลยกระทำผิดตามข้อหา
ถ้าศาลชั้นต้นถือว่าโจทก์ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมาย จึงมิได้พิเคราะห์พยานหลักฐานของโจทก์ คงวินิจฉัยแต่ของจำเลย แล้วฟังว่าจำเลยมีความผิดลงโทษจำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่าย แต่ก็นำเอาข้อสันนิษฐานนั้นมาประกอบด้วย แล้วจึงฟังว่าจำเลยมีความผิดและพิพากษายืน เมื่อศาลฎีกาเห็นว่ากรณีแห่งคดีนี้ไม่มีข้อสันนิษฐานของกฎหมาย และเห็นว่าศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยโดยชอบด้วยวิธีพิจารณา ศาลฎีกาก็ไม่จำต้องฟังข้อเท็จจริงตามศาลล่าง แต่พึงวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ตามพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยได้นำสืบมาแล้ว
ข้อเท็จจริงที่จะจดแจ้งไว้ในบันทึกตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติที่กล่าวนั้น อย่างน้อยจะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ประกอบกันเป็นพยาน พฤติเหตุแวดล้อมพอจะแสดงเค้ามูลว่าผู้มีไว้ในครอบครองนั้นเป็นผู้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือนำเข้ามาโดยการลักลอบหนีศุลกากร
บันทึกของเจ้าหน้าที่ตำรวจจดแจ้งไว้แต่ว่าตำรวจได้ตรวจค้นบ้านจำเลยค้นพบสิ่งของบรรจุอยู่ในกระสอบ ได้สอบถามจำเลยจำเลยว่ารับฝากไว้จากชายไม่ทราบชื่อบรรทุกรถมา 3 คัน ตอนเช้าวันนั้นเอง ตำรวจสงสัยว่าเป็นสินค้าที่หลบหนีศุลกากร จึงยึดสินค้าและคุมตัวจำเลยมาดำเนินคดีเพียงเท่านี้ย่อมไม่มีลักษณะเป็นบันทึกอันจะก่อให้เกิดข้อสันนิษฐานตามมาตรา 10 ที่กล่าวนั้น และเมื่อเป็นดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยร่วมกับผู้อื่นนำสินค้าเหล่านั้นเข้ามาในราชอาณาจักร โจทก์ก็ต้องมีหน้าที่นำสืบพิสูจน์ความผิดของจำเลย และจะลงโทษจำเลยได้ก็ต่อเมื่อพยานหลักฐานของโจทก์เพียงพอให้ฟังว่าจำเลยกระทำผิดตามข้อหา
ถ้าศาลชั้นต้นถือว่าโจทก์ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมาย จึงมิได้พิเคราะห์พยานหลักฐานของโจทก์ คงวินิจฉัยแต่ของจำเลย แล้วฟังว่าจำเลยมีความผิดลงโทษจำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่าย แต่ก็นำเอาข้อสันนิษฐานนั้นมาประกอบด้วย แล้วจึงฟังว่าจำเลยมีความผิดและพิพากษายืน เมื่อศาลฎีกาเห็นว่ากรณีแห่งคดีนี้ไม่มีข้อสันนิษฐานของกฎหมาย และเห็นว่าศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยโดยชอบด้วยวิธีพิจารณา ศาลฎีกาก็ไม่จำต้องฟังข้อเท็จจริงตามศาลล่าง แต่พึงวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ตามพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยได้นำสืบมาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1589/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดในการยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นอุทธรณ์และฎีกา หากมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในชั้นศาลล่าง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยโดยกล่าวว่าสัญญาเช่าสิ้นอายุและได้บอกเลิกการเช่าแก่จำเลยแล้ว จำเลยต่อสู้ว่า โจทก์ไม่เคยบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลย คำบอกกล่าวท้ายฟ้องหากมีจริงก็เป็นเอกสารทำขึ้นโดยมิชอบในภายหลัง ดังนี้ จำเลยหาได้ต่อสู้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวจำเลย แต่เป็นการบอกกล่าวที่ไม่ให้โอกาสจำเลยรู้ตัวก่อนระยะเวลาเก็บค่าเช่าระยะหนึ่งไม่ เมื่อจำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ดังนั้นจำเลยจะยกขึ้นเป็นข้ออุทธรณ์หรือฎีกาไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225,249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1589/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าและการยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกาที่ไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยโดยกล่าวว่าสัญญาเช่าสิ้นอายุและได้บอกเลิกการเช่าแก่จำเลยแล้ว จำเลยต่อสู้ว่า โจทก์ไม่เคยบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลย คำบอกกล่าวท้ายฟ้องหากมีจริงก็เป็นเอกสารทำขึ้นโดยมิชอบในภายหลัง ดังนี้ จำเลยหาได้ต่อสู้ว่า โจทก์ได้บอกกล่าวจำเลย แต่เป็นการบอกกล่าวที่ไม่ให้โอกาสจำเลยรู้ตังก่อนระยะเวลาเก็บค่าเช่าระยะหนึ่งไม่ เมื่อจำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ดังนั้น จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้ออุทธรณ์หรือฎีกาไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225,249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีสิทธิเป็นบุคคลในครอบครัวของผู้เช่าตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯ ต้องมีการอยู่อาศัยร่วมกันจริง
โจทก์มิได้ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องที่โจทก์ให้จำเลยเช่าหรือที่โจทก์ให้จำเลยอาศัย แต่เป็นคดีที่ฟ้องขับไล่จำเลย ในฐานที่จำเลยฉวยโอกาสเข้าอยู่ในห้องพิพาทแทนผู้เช่าเดิมซึ่งตาย โดยจำเลยไม่มีอำนาจ เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
จำเลยซึ่งเป็นน้องผู้เช่าได้ย้ายทะเบียนสำมะโนครัว เป็นผู้อยู่ในห้องพิพาทก่อนผู้เช่าตาย 1 ปีเศษ แต่จำเลยไม่ได้เข้ามาอยู่ร่วมกับผู้เช่า จำเลยเพิ่งมาปรนนิบัติผู้เช่าเมื่อผู้เช่าป่วยและตาย การกระทำของจำเลยไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะเป็นบุคคลในครอบครัวของผู้เช่าซึ่งอาศัยอยู่ในทรัพย์สินที่เช่าขณะผู้เช่าตาย ตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขันฯ มาตรา 17
จำเลยซึ่งเป็นน้องผู้เช่าได้ย้ายทะเบียนสำมะโนครัว เป็นผู้อยู่ในห้องพิพาทก่อนผู้เช่าตาย 1 ปีเศษ แต่จำเลยไม่ได้เข้ามาอยู่ร่วมกับผู้เช่า จำเลยเพิ่งมาปรนนิบัติผู้เช่าเมื่อผู้เช่าป่วยและตาย การกระทำของจำเลยไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะเป็นบุคคลในครอบครัวของผู้เช่าซึ่งอาศัยอยู่ในทรัพย์สินที่เช่าขณะผู้เช่าตาย ตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขันฯ มาตรา 17
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าหลังผู้เช่าเดิมเสียชีวิต: การอยู่อาศัยร่วมและการแสดงเจตนาเช่า
โจทก์มิได้ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องที่โจทก์ให้จำเลยเช่าหรือที่โจทก์ให้จำเลยอาศัย แต่เป็นคดีที่ฟ้องขับไล่จำเลยในฐานที่จำเลยฉวยโอกาสเข้าอยู่ในห้องพิพาทแทนผู้เช่าเดิมซึ่งตาย โดยจำเลยไม่มีอำนาจ เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
จำเลยซึ่งเป็นน้องผู้เช่าได้ย้ายทะเบียนสำมะโนครัวเป็นผู้อยู่ในห้องพิพาทก่อนผู้เช่าตาย 1 ปีเศษ แต่จำเลยไม่ได้เข้ามาอยู่ร่วมกับผู้เช่า จำเลยเพิ่งมาปรนนิบัติผู้เช่าเมื่อผู้เช่าป่วยและตาย การกระทำของจำเลยไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะเป็นบุคคลในครอบครัวของผู้เช่าซึ่งอาศัยอยู่ในทรัพย์สินที่เช่าขณะผู้เช่าตาย ตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขันฯ มาตรา 17
จำเลยซึ่งเป็นน้องผู้เช่าได้ย้ายทะเบียนสำมะโนครัวเป็นผู้อยู่ในห้องพิพาทก่อนผู้เช่าตาย 1 ปีเศษ แต่จำเลยไม่ได้เข้ามาอยู่ร่วมกับผู้เช่า จำเลยเพิ่งมาปรนนิบัติผู้เช่าเมื่อผู้เช่าป่วยและตาย การกระทำของจำเลยไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะเป็นบุคคลในครอบครัวของผู้เช่าซึ่งอาศัยอยู่ในทรัพย์สินที่เช่าขณะผู้เช่าตาย ตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขันฯ มาตรา 17