คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ยุ้ย อาตมียะนันทน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 172 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1580/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการทำพินัยกรรม: การยกทรัพย์สินให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ที่ชัดเจน มิใช่เพียงมอบเอกสารพินัยกรรม
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมไว้ว่า
ข้อ 1 ถ้าข้าพเจ้าถึงแก่ความตายไปแล้ว บรรดาทรัพย์สิ่งของที่ข้าพเจ้ามีอยู่ และจะเกิดขึ้นในภายหน้า ข้าพเจ้ายอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้รับทรัพย์ซึ่งกำหนดไว้ ดังนี้
เนื้อที่นา........ฯลฯ......
ข้อ 2 ข้าพเจ้าขอมอบพินัยกรรมนี้ให้แก่นายพา ขนาดถัง (โจทก์) และขอตั้งให้นายสวน เข็มมุข เป็นผู้จัดการมรดกของข้าพเจ้าตามพินัยกรรมนี้
ถ้อยคำในพินัยกรรมแสดงว่า เจ้ามรดกเจตนาให้ยกนาตามพินัยกรรมให้นายพา ขนาดถัง โจทก์ และตั้ง นายสวน เข็มมุข เป็นผู้จัดการมรดกหาใช่มีเจตนาเพียงแต่มอบเอกสารพินัยกรรมให้โจทก์รักษาไว้เฉย ๆ เท่านั้นไม่ ข้อกำหนดดังกล่าวไม่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1570/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในพินัยกรรม: การยกทรัพย์สินให้แก่ผู้รับผลประโยชน์และแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมไว้ว่า
ข้อ 1. ถ้าข้าพเจ้าถึงแก่ความตายไปแล้ว บรรดาทรัพย์สิ่งของที่ข้าพเจ้ามีอยู่และจะเกิดขึ้นในภายหน้า ข้าพเจ้ายอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้รับทรัพย์ซึ่งกำหนดไว้ ดังนี้
เนื้อที่นา....................ฯลฯ.............
ข้อ 2. ข้าพเจ้าขอมอบพินัยกรรมนี้ให้แก่นายพา ขนาดถัง(โจทก์) และขอตั้งให้นายสวน เข็มมุข เป็นผู้จัดการมรดกของข้าพเจ้าตามพินัยกรรมนี้
ถ้อยคำในพินัยกรรมแสดงว่าเจ้ามรดกเจตนาให้ยกนาตามพินัยกรรมให้นายพา ขนาดถัง โจทก์ และตั้งนายสวน เข็มมุขเป็นผู้จัดการมรดก หาใช่มีเจตนาเพียงแต่มอบเอกสารพินัยกรรมให้โจทก์รักษาไว้เฉยๆ เท่านั้นไม่ ข้อกำหนดดังกล่าวไม่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1560/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความในคดีหนี้จากการล้มละลาย: หนังสือยืนยันหนี้หลังการสอบสวนเป็นเหตุสะดุดอายุความ
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือไปยังผู้ร้องเตือนให้ชำระหนี้เงินกู้ (ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 119 วรรค 1) เป็นแต่เพียงหนังสือพวงหนี้ หาใช่หนังสือยืนยันหนี้สินอันจะเป็นการแสดงว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 119 วรรค 4 ซึ่งจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงไม่
แต่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือยืนยันหนี้สินไปยังผู้ร้อง (ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 119 วรรค 2 ) ถือได้ว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กระทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องร้องคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 อายุความย่อมสะดุดหยุดลง
ผู้ร้องกู้เงินผู้ล้มละลายเมื่อ 11 เมษายน 2495 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือไปยังผู้ร้องเตือนให้ชำระหนี้ เมื่อ 19 กันยายน 2504 ผู้ร้องได้รับเมื่อ 20 ตุลาคม 2504 และปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อ 2 พฤศจิกายน 2504 เจ้าพนักงานพิทักษ์สอบสวนแล้ว แจ้งความเป็นหนังสือยืนยันหนี้ไปยังผู้ร้องเมื่อ 21 มิถุนายน 2504 ผู้ร้องได้รับเมื่อ 12 กรกฎาคม 2505 เป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้ว นับตั้งแต่วันกู้ คดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1560/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีหนี้เงินกู้และการแจ้งยืนยันหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 119
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือไปยังผู้ร้องเตือนให้ชำระหนี้เงินกู้ (ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 119 วรรคหนึ่ง) เป็นแต่เพียงหนังสือทวงหนี้หาใช่หนังสือยืนยันหนี้สินอันจะเป็นการแสดงว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 119 วรรคสี่ ซึ่งจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงไม่
แต่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือยืนยันหนี้สินไปยังผู้ร้อง(ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 119 วรรคสอง)ถือได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กระทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องร้องคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 อายุความย่อมสะดุดหยุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1456/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่นศาลและผู้พิพากษา, การใส่ความหมิ่นประมาท, และการเพิ่มเติมฟ้องในคดีอาญา
ขณะที่ ก. ผู้พิพากษานั่งพิจารณาคดีอยู่ จำเลยกำลังนั่งฟังอยู่ข้างนอก ได้พูดกับผู้อื่นว่า " ไม่นึกเลยว่าสำนวนนี้จะมาตกอยู่แก่คนๆ นี้" รูปการณ์เช่นนี้บ่งชัดว่าหมายถึงสำนวนเรื่องนั้นตกแก่ ก. ซึ่งกำลังนั่งพิจารณาอยู่นั้น และศาลจะต้องพิจารณาพฤติการณ์ตามที่โจทก์นำสืบประกอบคำกล่าวของจำเลยต่อไป จึงจะชี้ชัดถึงเจตนาของจำเลยได้ (แม้คำฟ้องจะมิได้บรรยายถึงพฤติการณ์ต่างๆเหล่านั้นก็ตาม) เมื่อเห็นเจตนาว่า ที่จำเลยกล่าวข้อความนั้นเพราะไม่พอใจที่เห็นสำนวนความเรื่องนั้นตกแก่ ก. ผู้ซึ่งจำเลยเห็นว่าเป็นผู้พิพากษาที่พิจารณาความด้วยอคติไม่ให้ความยุติธรรม จึงได้กล่าวตำหนิ ก. เป็นนัยเช่นนั้น อันมีความหมายไปในทางไม่ดี เป็นที่ระคายเคืองแก่ศักดิ์ศรีของ ก. การกระทำของจำเลยก็เป็นการดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาคดีตามมาตรา 198 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยทำโทรเลขและหนังสือกล่าวโทษ ก. ผู้พิพากษาไปยังอธิบดีฯภาค อันเป็นการใส่ความหมิ่นประมาท (ผิดตามมาตรา 326) นั้น ต้องถือว่าเป็นการดูหมิ่น ก. ผู้พิพากษาไปในขณะเดียวกันด้วยว่า พิจารณาคดีไม่เที่ยงธรรม แม้จะมิได้ทำในขณะที่ ก. ทำการพิจารณาคดีอยู่ก็ดีก็นับได้ว่าได้หมิ่นผู้พิพากษาในการพิจารณาคดี ต้องตามมาตรา 198ด้วย เมื่อเป็นความผิดตามมาตรา 198 แล้ว ก็ไม่เป็นผิดตามมาตรา 136 อีก เพราะกฎหมายบัญญัติแยกความผิดฐานดูหมิ่นผู้พิพากษากับดูหมิ่นเจ้าพนักงานอื่นทั่วๆ ไปไว้ต่างหากจากกัน จึงต้องปรับบทแยกกัน (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2506เฉพาะข้อกฎหมายข้างต้นนี้)
การที่จำเลยกล่าวโทษ ก. ไปนั้น ถือว่าเป็นกรรมเดียวเป็นผิดต่อกฎหมายหลายบทโทษตามมาตรา 198 หนักกว่ามาตรา 326 จึงลงโทษตามมาตรา 198 เพียงบทเดียว
การยื่นคำแถลงโต้แย้งคำสั่งในระหว่างพิจารณาเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์เมื่อมีคำพิพากษาแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) ไม่มีกำหนดเวลาว่าต้องยื่นภายหลังทราบคำสั่งแล้วเพียงใดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196 ก็มิได้บัญญัติให้ต้องโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาไว้อย่างใด ดังนั้นการที่โจทก์ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้อง ศาลสั่งไม่อนุญาตโจทก์ก็ยังไม่ยื่นคำแถลงโต้แย้งหรือคัดค้านคำสั่งแล้ว โจทก์ยังยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องเช่นเดียวกับฉบับแรกอีกแล้วจึงยื่นคำแถลงโต้แย้งหรือคัดค้านคำสั่งศาลตามคำร้องฉบับแรก ดังนี้ โจทก์ก็ชอบที่จะทำได้ ศาลอุทธรณ์จึงรับวินิจฉัยคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องได้
แม้เมื่อได้สืบพยานโจทก์ไปมากแล้ว ก็ยังไม่พ้นเวลาที่โจทก์จะขอเพิ่มฟ้อง การที่โจทก์ขอเพิ่มเติมความในฟ้องว่า "ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ให้เจ้าพนักงานนำคดีขึ้นว่ากล่าวแล้ว"และเพิ่มมาตรา 326 แห่งประมวลกฎหมายอาญาลงในคำขอท้ายฟ้อง โดยอ้างว่าเป็นรายละเอียดที่ยังบกพร่องไม่ครบถ้วนเนื่องจากผู้พิมพ์ฟ้องพิมพ์ตกไป ดังนี้ เป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดและอ้างบทขอให้ลงโทษตามฐานความผิดที่ได้บรรยายไว้ในฟ้องมาแต่ต้นแล้วไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบหรือหลงต่อสู้คดี ชอบที่จะอนุญาตให้เพิ่มเติมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1439-1440/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบธรรมของ พ.ร.บ.ควบคุมตัวผู้ต้องหาคดีคอมมิวนิสต์ และผลกระทบต่อสิทธิในการร้องขอปล่อยตัว
พระราชบัญญัติการควบคุมตัวผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดต่อกฎหมายว่าด้วยป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2505 ไม่ใช่กฎหมายที่บัญญัติย้อนหลังให้ลงโทษบุคคลในทางอาญา และไม่ใช่เป็นการบัญญัติดังศาลขึ้นใหม่แต่เป็นเพียงวางวิธีการร้องขอให้ผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดกฎหมายว่าด้วยป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ปฏิบัติเพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองเท่านั้น จึงหาขัดต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.250+ มาตรา 20 ไม่ นอกจากนี้พระราชบัญญัติดังกล่าวยังไม่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลและวิธีพิจารณาความให้ใช้บังคับเฉพาะคดีและเฉพาะคนกลุ่มหนึ่งเพราะเป็นกรณีที่บัญญัติขึ้นใช้แก่คดีประเภทใดประเภทหนึ่ง เป็นการทั่วไป ฉะนั้น จึงต้องถือว่า ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้โดยชอบ หาตกเป็นโมฆะอย่างใดไม่
ฉะนั้น ผู้ร้องซึ่งถูกควบคุมตัวไว้ในข้อหาว่ามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ยื่นคำร้องขอให้ศาลปล่อย ระหว่างศาลไต่สวนมีพระราชบัญญัติดังกล่าวประกาศใช้ ศาลย่อมมีคำสั่งให้ยกคำร้องนั้นเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1419/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารลักษณะคล้ายตั๋วแลกเงิน/ใบรับ ต้องเสียอากรตามประเภทที่เข้าข่าย และการใช้ดุลพินิจเรื่องเงินเพิ่ม
เอกสารที่ประกอบด้วยลักษณะของใบรับอันต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรกับมีลักษณะและการใช้ทำนองเดียวกับตัวแทนเงินรวมอยู่ด้วย
ตั๋วแลกเงินอันจะต้องเสียอากรตามบัญชีอากรแสตมป์ข้อ 9 คือ ตั๋วแลกเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อทำผิดแบบก็ไม่อาจถือว่าเป็นตั๋วแลกเงินอันจะต้องเสียอากรตามอัตราดังกล่าวได้
เอกสารที่มีลักษณะของใบรับ กับมีลักษณะและการใช้ทำนองเดียวกับตั๋วแลกเงินด้วย ถ้าทำขึ้นเมื่อใช้บังคับพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 แล้ว ก็เข้าลักษณะต้องเสียอากรอย่างตั๋วแลกเงินและต้องถือว่าไม่อยู่ในลักษณะเป็นใบรับที่ต้องเสียอากรอีกด้วย
การลดหย่อนเงินเพิ่มอากรตามกฎกระทรวงฉบับที่ 80 นั้นเป็นดุลพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่โดยเฉพาะ จะขอให้ศาลให้ดุลพินิจเปลี่ยนแปลงหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1419/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารลักษณะตั๋วแลกเงินที่ผิดแบบและใบรับ: การเสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
เอกสารที่ประกอบด้วยลักษณะของใบรับอันต้องปิออากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรกับมีลักษณะและการใช้ทำนองเดียวกับตั๋วแลกเงินรวมอยู่ด้วย
ตั๋วแลกเงินอันจะต้องเสียอากรตามบัญชี อากรแสดมป์ข้อ 9 คือ ตั๋วแลกเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อทำผิดแบบไม่อาจถือว่าเป็นตั๋วแลกเงินอันจะต้องเสียอากรตามอัตราดังกล่าวได้
เอกสารที่มีลักษณะของใบรับ กับมีลักษณะและการใช้ทำนองเดียวกับตั๋วแลกเงินด้วย ถ้าทำขึ้นเมื่อใช้บังคับพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 แล้ว ก็เข้าลักษณะต้องเสียอากรอย่างตั๋วแลกเงินและต้องถือว่าไม่อยู่ในลักษณะเป็นใบรับที่ต้องเสียอากรอีกด้วย
การลดหย่อนเงินเพิ่มอากรตามกฎกระทรวงฉบับที่ 80 นั้น เป็นดุลยพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่โดยเฉพาะ จะขอให้ศาลใช้ดุลยพินิจเปลี่ยนแปลงหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1355/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องเรียนเจ้าพนักงานต่อผู้บังคับบัญชา ไม่ถือเป็นการละเมิด หากข้อความนั้นเป็นความจริงและสุจริต
จำเลยยื่นคำร้องทุกข์ไปยังผู้บังคับบัญชากลางโจทก์ กล่าวหาว่าโจทก์กลั่นแกล้งให้จำเลยได้รับความเดือดร้อน โดยบรรยายรายละเอียดด้วยว่า โจทก์กระทำอย่างใดต่อจำเลยบ้าง แล้วขอให้สั่งสอบสวนพฤติการณ์ที่โจทก์กระทำต่อจำเลยนั้น ดังนี้ เมื่อได้ความว่าพฤติการณ์ตามที่จำเลยร้องเรียนไปนั้นเป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นแก่จำเลยจริง จำเลยกล่าวไปโดยไม่มีข้อความที่ผิดกฎหมายหรือฝ่าฝืนความจริง แม้ผลของการสอบสวนโจทก์จะปรากฎว่าโจทก์ได้กระทำการไปตามหน้าที่ราชการแล้ว โจทก์ก็จะอ้างว่าคำร้องของจำเลยที่ว่าโจทก์กลั่นแกล้งนั้นเป็นการฝ่าฝืนต่อความจริงหาได้ไม่การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1355/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องเรียนเจ้าหน้าที่โดยสุจริต ไม่ถือเป็นการละเมิด แม้การสอบสวนพบเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามหน้าที่
จำเลยยื่นคำร้องทุกข์ไปยังผู้บังคับบัญชาของโจทก์กล่าวหาว่าโจทก์กลั่นแกล้งให้จำเลยได้รับความเดือดร้อน โดยบรรยายรายละเอียดด้วยว่าโจทก์กระทำอย่างใดต่อจำเลยบ้าง แล้วขอให้สั่งสอบสวนพฤติการณ์ที่โจทก์กระทำต่อจำเลยนั้น ดังนี้ เมื่อได้ความว่าพฤติการณ์ตามที่จำเลยร้องเรียนไปนั้นเป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นแก่จำเลยจริงจำเลยกล่าวไปโดยไม่มีข้อความที่ผิดกฎหมายหรือฝ่าฝืนความจริง แม้ผลของการสอบสวนโจทก์จะปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำการไปตามหน้าที่ราชการแล้ว โจทก์ก็จะอ้างว่าคำร้องของจำเลยที่ว่าโจทก์กลั่นแกล้งนั้นเป็นการฝ่าฝืนต่อความจริงหาได้ไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดโจทก์
of 18