คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุธรรมานุวัตน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนจำหน่ายสินค้า: หน้าที่, ความรับผิด, อายุความ และขอบเขตการฟ้องเรียกทรัพย์สิน
(1) องค์การสรรพาหารเป็นราชการไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ ไม่ว่าเป็นเอกสารประเภทใด (2) กรณีที่จำเลยมิใช่แต่เพียงเป็นสื่อกลางให้เขาทำสัญญากัน หากแต่จำเลยยังรับสินค้าไปจำหน่าย และชำระเงินค่าสินค้าคืนให้ตัวการโดยจำเลยได้รับบำเหน็จเป็นผลประโยชน์ และจำเลยยังมีอำนาจครอบครองสินค้า แล้วส่งมอบแก่ผู้ซื้อเรียกและรับเงินค่าสินค้า ทั้งหนังสือก็ยังระบุว่าหนังสือสัญญารับเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า อนึ่งการจัดหาระวางเรือโดยจำเลยตกลงกับผู้รับผลแทน โดยองค์การสรรพาหารเสียค่าระวางเองนั้น ย่อมเป็นการที่จำเลยทำในฐานเป็นตัวแทน มิใช่เป็นนายหน้าส่วนการที่จำเลยรับสินค้าไป แม้จะมีผู้ควบคุมโดยต้องตกลงราคากับผู้ควบคุมก่อนนั้นเป็นเรื่องที่ต้องทำตามคำสั่งขององค์การ(ตัวการ) (3) การส่งสินค้า เมื่อมีข้อผูกพันอย่างใดก็ต้องเป็นไปตามข้อตกลงแม้บริษัทจำเลยจะมีวัตถุประสงค์ทำกิจการเช่นนั้นหรือไม่ก็ตาม เมื่อจำเลยรับสินค้าไปขายแล้ว หักเอาบำเหน็จออกจากเงินที่ขายสินค้าไว้แล้วก็ต้องคืนเงินค่าสินค้าที่รับไปจำเลยจะยกเรื่องวัตถุประสงค์ของบริษัทมาสู้ เพื่อไม่ต้องคืนค่าสินค้าให้เขาหาได้ไม่
อนึ่ง เป็นการมิชอบในการที่จะอ้างว่าองค์การตั้งขึ้นไม่ชอบ ได้เงินมาไม่ชอบ เพราะถึงอย่างไรก็ต้องคืนเงินที่ตนรับไปในฐานตัวแทนให้แก่ตัวการตามกฎหมาย
(4) เมื่อองค์การสรรพาหารเป็นราชการในสังกัดสำนักคณะรัฐมนตรี โจทก์ โจทก์ ก็มีอำนาจฟ้องเรียกทรัพย์สินที่ยังตกอยู่แก่จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนได้ (5) ถึงแม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องว่า จำเลยละเมิดสัญญาตัวแทน คือ ไม่ปฏิบัติตามสัญญาแต่โจทก์มิได้เรียกค่าเสียหายเนื่องจากตัวแทนทำให้เกิดขึ้นแก่ตัวการหากแต่เรียกเอาเงินที่จำเลยหักไว้เกินคืน คือ เรียกเอาทรัพย์ของตนซึ่งอยู่ที่จำเลยนั่นเองคืน นั้น คดีมีอายุความ 10 ปี (6) ถึงแม้เอกสารที่โจทก์อ้างท้ายฟ้องปรากฏว่าจำเลยมิได้เป็นผู้รับสินค้าและการส่งสินค้าออกก็ทำในนามขององค์การสรรพาหาร โจทก์ก็ย่อมนำสืบถึงหน้าที่และความรับผิดของตัวแทนตามสัญญาได้ ไม่ใช่เป็นการสืบแก้ไขเอกสาร (7) การที่บริษัทขนส่งยอมรับสินค้าของจำเลยที่ 1 บรรทุกเพิ่มเติมลงไปอีก ก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัทรับขน ส่วนองค์การสรรพาหารมิใช่ผู้รับขน จะเรียกเอาค่าระวางจากจำเลยที่ 1 ไม่ได้ถึงแม้องค์การสรรพาหารจะเถียงว่าเป็นผู้เหมาลำเป็นเจ้าของระวางคนอื่นไม่มีสิทธิบรรทุกก็ตาม ทั้งนี้ก็เพราะมิได้มีสัญญารับขนกับจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องที่บริษัทรับขนจะต้องรับผิดต่อองค์การสรรพาหารเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่และความรับผิดของตัวแทนจำหน่ายสินค้าและการคืนเงินค่าสินค้าที่รับไป
(1) องค์การสรรพาหาร เป็น+ ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ ไม่ว่าเป็นเอกสารประเภทใด
กรณีที่จำเลยมิใช่แต่เพียงเป็นสื่อกลางให้เอาทำสัญญากัน หากแต่จำเลยยังรับสินค้าไปจำหน่ายและชำระเงินค่าสินค้าให้ตัวการโดยจำเลยได้รับบำเหน็จเป็นผลประโยชน์ และจำเลยยังมีอำนาจครอบครองสินค้าแล้วส่งมอบแก่ผู้ซื้อเรียกและรับเงินค่าสินค้า ทั้งหนังสือยังระบุว่าหนังสือสัญญารับเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า อนึ่งการจัดหาระวางเรือโดยจำเลยตกลงกับผู้รับขนแทน โดยองค์การสรรพาหาร เสียค่าระวางเองนั้น ย่อมเป็นการที่จำเลยทำในฐานเป็นตัวแทน มิใช่เป็นนายหน้า ส่วนการที่จำเลยรับสินค้าไป แม้จะมีผู้ควบคุมโดยต้อตกลงราคานั้น ผู้ควบคุมก่อนนั้นเป็นเรื่องที่ต้องทำตามคำสั่งขององค์การ (ตัวการ)
การส่งสินค้า เมื่อมีข้อผูกพันอย่างไรก็ต้องเป็นไปตามข้อตกลง แม้บริษัทจำเลยจะมีวัตถุประสงค์ทำกิจการเช่นนั้นหรือไม่ก็ตาม เมื่อจำเลยรับสินค้าไป+แล้ว หักเอาบำเหน็จออกจากเงินที่ขายสินค้าไว้แล้ว ก็ต้องคืนเงินค่าสินค้าที่รับไป จำเลยจะยกเรื่องวัตถุประสงค์ของบริษัทมาสู้เพื่อไม่ต้องเสียค่าสินค้าให้เขาหาได้ไม่
อนึ่ง เป็นการมิชอบในการที่จะอ้างว่าองค์การ+ขึ้นไม่ชอบ ให้เงินมาไม่ชอบ เพราะถึงอย่างไรก็ต้องคืนเงินที่ตนรับไปในฐานตัวแทนให้แก่ตัวการตามกฎหมาย
เมื่อองค์การสรรพหารเป็นราชการในสังกัดสำนักคณะรัฐมนตรี โจทก์ ๆ ก็มีอำนาจฟ้องเรียกทรัพย์สินที่ยังตกอยู่แก่จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนได้
ถึงแม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องว่าจำเลยละเมิดสัญญาตัวแทน คือไม่ปฏิบัติตามสัญญา แต่โจทก์มิได้เรียกค่าเสียหายเนื่องจากตัวแทนทำให้เกิดขึ้นแก่ตัวการ หากแต่เรียกเอาเงินที่จำเลยหักไว้เกินคืน คือ เรียกเอาทรัพย์ของตนซึ่งอยู่ที่จำเลยนั่นเองคืน นั้น คดีมีอายุความ 10 ปี
ถึงแม้เอกสารที่โจทก์อ้างท้ายฟ้องปรากฎว่าจำเลยมิได้เป็นผู้รับสินค้าและการส่งสินค้าออกก็ทำในนามขององค์การสรรพหาร โจทก์ก็ย่อมนำสืบถึงหน้าที่และความรับผิดของตัวแทนตามสัญญาได้ มิใช่เป็นการสืบแก้ไขเอกสาร
การที่บริษัทขนส่งยอมรับสินค้าของจำเลยที่ 1 บรรทุกเพิ่มเติมลงไปอีก ก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัทรับขน ส่วนองค์การสรรพาหารมิใช่ผู้รับขน จะเรียกเอาค่าระวางจากจำเลยที่ 1 ไม่ได้ ถึงแม้องค์การสรรพาหาร จะเถียงว่าเป็นผู้เหมาลำเป็นเจ้าของระวาง คนอื่นไม่มีสิทธิบรรทุกก็ตาม ทั้งนี้ก็เพราะมิได้มีสัญญารับขนกับจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องที่บริษัทรับขนจะต้องรับผิดต่อองค์การสรรพาหารเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1229/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายวงแชร์: สัญญาโดยปริยายและการรับรองหนี้
ความรับผิดของนายวงในการเล่นแชร์นั้น ย่อมแล้วแต่ตกลงสัญญากัน จะเป็นโดยตรงหรือโดยปริยาย คือ อาศัยระเบียบหรือวิธีปฎิบัติที่เคยเล่นกันมาก็ได้ และจะอ้างประเพณีการเล่นแชร์มาใช้ก็ได้ในเมื่อหมายถึงการตกลงเล่นแชร์ตามวิธีที่เคยปฏิบัติกันมานั่นเอง ซึ่งถือว่าได้ตกลงโดยปริยานเช่นนั้น
นายวงแชร์รับเงินลงแชร์จากลูกวง แล้วออกใบรับเงินซึ่งตนเป็นผู้ลงชื่อให้ยึดถือไว้ เงินที่รวบรวมจากลูกวงนั้น นายวงเอาไปให้ผู้ที่ประมูลหรือเปียแชร์ได้ โดยผู้ที่ประมูลได้นั้นต้องทำหนังสือสัญญากู้เงินให้นายวงไว้เท่ากับจำนวนที่ผู้นั้นจะต้องส่งเงินแชร์ต่อไปจนถึงเดือนสุดท้าย ดังนี้ ทำให้นายวงมีสิทธิเรียกร้องเอาเงินจากผู้ทำสัญญากู้ดังว่าเป็นเงินของนายวงเอง ลูกวงคนอื่น ๆ ทำได้เป็นเจ้าหนี้ด้วยไม่ การที่นายวงรับเงินจากลูกวงจึงเป็นการรับโดยมีข้อตกลงโดยปริยายว่านายวงจะเป็นผู้รับผิดคืนเงินนี้ให้เมื่อถูกวงนั้น ๆ ประมูลได้ หรือรับเป็นมือท้าย นายวงจึงต้องรับผิดในเงินที่รับไปจากลูกวงแล้ว และนายวงเช่นนี้ไม่ใช่เป็นคนกลางเพราะลูกวงไม่ได้ตกลงเล่นแชร์กันเอง แต่เล่นกับนายวง
นายวงจ่ายเงินให้ผู้ประมูลได้โดยทำสัญญาเป็นลูกหนี้นายวง นายวงจึงไม่ใช่ผู้ค้ำประกันอย่างค้ำประกันลูกหนี้ จึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือเช่นค้ำประกันธรรมดา
ลูกวงที่ต้องส่งเงินลงแชร์ให้นายวงเดือนละ 1,000 บาท แม้จะส่งจริงไม่ถึง 1,000 บาทเพราะหักดอกเบี้ยที่นายวงจะต้องไปเก็บจากผู้ประมูลได้มาชำระให้ไว้เสียเลย เมื่อส่งเงินลงแชร์ได้ 10 ครั้ง แล้วแชร์ล้ม ลูกวงมีสิทธิอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้ของนายวงอยู่เป็นจำนวนแน่นอนคือ 10,000 บาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1227/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายวงแชร์: สัญญาโดยปริยายและลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างนายวงกับลูกวง
ความรับผิดของนายวงในการเล่นแชร์นั้นย่อมแล้วแต่ตกลงสัญญากัน จะเป็นโดยตรงหรือโดยปริยาย คือ อาศัยระเบียบหรือวิธีปฏิบัติที่เคยเล่นกันมาก็ได้ และจะอ้างประเพณีการเล่นแชร์มาใช้ก็ได้ในเมื่อหมายถึงการตกลงเล่นแชร์ตามวิธีที่เคยปฏิบัติกันมานั่นเอง จึงถือว่าได้ตกลงโดยปริยายเช่นนั้น
นายวงแชร์รับเงินลงแชร์จากลูกวง แล้วออกใบรับเงินซึ่งตนเป็นผู้ลงชื่อให้ยึดถือไว้ เงินที่รวบรวมจากลูกวงนั้นนายวงเอาไปให้ผู้ที่ประมูลหรือเปียแชร์ได้ โดยผู้ที่ประมูลได้นั้นต้องทำหนังสือสัญญากู้เงินให้นายวงไว้เท่ากับจำนวนที่ผู้นั้นจะต้องส่งเงินแชร์ต่อไปจนถึงเดือนสุดท้ายดังนี้ ทำให้นายวงมีสิทธิเรียกร้องเอาเงินจากผู้ทำสัญญากู้ดังว่าเป็นเงินของนายวงเองลูกวงคนอื่นๆ หาได้เป็นเจ้าหนี้ด้วยไม่ การที่นายวงรับเงินจากลูกวงจึงเป็นการรับโดยมีข้อตกลงโดยปริยายว่านายวงจะเป็นผู้รับผิดคืนเงินนี้ให้เมื่อลูกวงนั้นๆ ประมูลได้ หรือรับเป็นมือท้าย นายวงจึงต้องรับผิดในเงินที่รับไปจากลูกวงแล้วและนายวงเช่นนี้ไม่ใช่เป็นเพียงคนกลางเพราะลูกวงไม่ได้ตกลงเล่นแชร์กันเอง แต่เล่นกับนายวง
นายวงจ่ายเงินให้ผู้ประมูลได้โดยทำสัญญาเป็นลูกหนี้นายวงนายวงจึงไม่ใช่ผู้ค้ำประกันอย่างค้ำประกันลูกหนี้ จึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือเช่นค้ำประกันธรรมดา
ลูกวงที่ต้องส่งเงินลงแชร์ให้นายวงเดือนละ 1,000 บาท แม้จะส่งจริงไม่ถึง 1,000 บาทเพราะหักดอกเบี้ยที่นายวงจะพึงไปเก็บจากผู้ประมูลได้มาชำระให้ไว้เสียเลย เมื่อส่งเงินลงแชร์ได้ 10 ครั้งแล้วแชร์ล้ม ลูกวงมีสิทธิอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้ของนายวงอยู่เป็นจำนวนแน่นอนคือ 10,000 บาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1209/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเกวียนและกระบือที่ใช้ในการขนย้ายไม้ผิดกฎหมาย ถือเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำผิด
การใช้เกวียนและกระบือบรรทุกไม้แปรรูปผิดกฎหมายจากป่ามาไว้ที่เรือนนั้นเป็นการใช้เกวียนและกระบือเป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำผิด เกวียนและกระบือต้องริบตามพระราชบัญญัติป่าไม้(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2503 มาตรา 18

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมโดยไม่มีหมายจับและการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน: การจับกุมต้องเป็นไปตามกฎหมาย มิฉะนั้นการต่อสู้ไม่เป็นความผิด
การที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุมจำเลยโดยไม่มีหมายจับ และกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 78(1) ถึง (4) และวรรคสุดท้ายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้น เป็นการจับกุมโดยไม่มีอำนาจ แม้จำเลยต่อสู้ขัดขวางการจับกุมก็ไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมโดยไม่มีหมายจับและข้อยกเว้นตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา การต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน
การที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุมจำเลยโดยไม่มีหมายจับและกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 78(1) ถึง (4)และวรรคสุดท้ายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้น เป็นการจับกุมโดยไม่มีอำนาจ แม้จำเลยต่อสู้ขัดขวางการจับกุมก็ไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพัน, อำนาจอำเภอ, การระงับข้อพิพาท
(1) สัญญาใดที่ทั้งสองฝ่ายมีความประสงค์จะระงับข้อพิพาทโดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน คือ โจทก์ยอมถอนฟ้องคดีซึ่งอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล กับทั้งจะไม่เรียกร้องเกี่ยวข้องด้วยทรัพย์สินใดๆ ของจำเลยต่อไป และฝ่ายจำเลยก็ยอมให้เงินแก่โจทก์จำนวนหนึ่งเป็นการตอบแทนสัญญานั้นย่อมเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 (2) คดีที่ฟ้องร้องอยู่ในศาลแล้ว ไม่จำเป็นที่คู่กรณีจะต้องทำสัญญาดังกล่าวในข้อ (1) นั้น แต่เฉพาะในศาลเท่านั้น อาจจะทำกันนอกศาลก็ได้ ขอแต่ให้ถูกต้องตามแบบในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 (3) สัญญาประนีประนอมยอมความตามที่กล่าวในข้อ (1)(2)นั้น แม้จะเกี่ยวด้วยทรัพย์ราคามากกว่า 200 บาท ซึ่งเกินจำนวนราคาที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 108 ก็ตาม แต่อำเภอย่อมมีอำนาจทำให้ได้ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว มาตรา 87 ถ้าเป็นเรื่องที่โจทก์จำเลยตกลงกันให้อำเภอทำ ส่วนตามมาตรา108 นั้น เป็นเรื่องที่กฎหมายให้อำนาจกรมการอำเภอหมายเรียกคู่กรณีมาเปรียบเทียบ (4) ผลของสัญญาดังกล่าวในข้อ (1) ถึง (3) ย่อมทำให้การเรียกร้องที่โจทก์ได้ยอมสละไว้สิ้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 และสิทธิดำเนินคดีต่อไปย่อมระงับหมดสิ้นลง แม้จำเลยไม่ฟ้องแย้งให้ถอนฟ้องศาลก็พิพากษายกฟ้องได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพันทางกฎหมายและการระงับข้อพิพาทนอกศาล
(1) สัญญาใดที่ทั้งสองฝ่ายมีความประสงค์จะระงับข้อพิพาทโดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน คือ โจทก์ยอมถอนฟ้องคดีซึ่งอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล กับทั้งจะไม่เรียกร้องเกี่ยวข้องด้วยทรัพย์สินใด ๆ ของจำเลยต่อไป และฝ่ายจำเลยก็ยอมให้เงินแก่โจทก์จำนวนหนึ่งเป็นการตอบแทน สัญญานั้นย่อมเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850
(2) คดีที่ฟ้องร้องอยู่ศาลแล้ว ไม่จำเป็นที่คู่กรณีจะต้องทำสัญญาดังกล่าวในข้อ (1) นั้น แต่เฉพาะในศาลเท่านั้น อาจจะทำกันนอกศาลก็ได้ ขอแต่ให้ถูกต้องตามแบบในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 850
(3) สัญญาประนีประนอมยอมความตามที่กล่าวในข้อ (1) (2) นั้น แม้จะเกี่ยวด้วยทรัพย์ราคามากกว่า 200 บาท ซึ่งเกินจำนวนราคาที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 108 ก็ตาม แต่อำเภอย่อมมีอำนาจทำให้ได้ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว มาตรา 87 ถ้าเป็นเรื่องที่โจทก์จำเลยตกลงกันให้อำเเภอทำ ส่วนตามมาตรา 108 นั้น เป็นเรื่องที่กฎหมายให้อำนาจกรมการอำเภอหมายเรียกคู่กรณีมาเปรียบเทียบ
(4) ผลของสัญญาดังกล่าวในข้อ (1) ถึง (3) ย่อมทำให้การเรียกร้องที่โจทก์ได้ยอมสละไว้สิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 852 และสิทธิดำเนินคดีต่อไปย่อมระงับหมดสิ้นลง แม้จำเลยไม่ฟ้องแย้งให้ถอนฟ้อง ศาลก็พิพากษายกฟ้องได้.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2506)
of 6