คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 130

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่ากระแสไฟฟ้าของรัฐวิสาหกิจ, การคำนวณหน่วยไฟฟ้าผิดพลาด, และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
หนังสือสัญญาเช่ามีข้อตกลงว่า ผู้ให้เช่าสัญญาว่าเมื่อครบกำหนดอายุสัญญานี้แล้ว ผู้ให้เช่าก็จะให้ผู้เช่าได้เช่าต่อไปอีกเป็นเวลา 10 ปี ทั้งนี้ โดยผู้ให้เช่าตกลงยินยอมให้ผู้เช่าเช่าที่ดินดังกล่าวแล้วในค่าเช่าเดือนละ 800 บาท โดยผู้เช่ามิต้องจ่ายเงินเป็นก้อนเพิ่มเติม ข้อตกลงดังกล่าวเป็นคำมั่นของฝ่ายผู้ให้เช่าที่จะให้ผู้เช่าเลือกจะบังคับผู้ให้เช่าให้ต้องยอมทำสัญญาเช่าต่อไปอีกเป็นเวลา 10 ปีหรือไม่ และตามข้อตกลงนี้มีผลทำให้ผู้ให้เช่าตกเป็นฝ่ายลูกหนี้ที่ผู้เช่ามีสิทธิที่จะเรียกร้องบังคับเอาได้ก่อนครบกำหนดตามสัญญาเช่า ผู้เช่าได้แจ้งความจำนงขอเช่าต่ออีก 10 ปี ผู้ให้เช่าจะไม่ยอมให้เช่าไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเช่าต่ออายุ: คำมั่นของผู้ให้เช่าผูกพันได้ ผู้เช่ามีสิทธิบังคับได้
หนังสือสัญญาเช่ามีข้อตกลงว่า ผู้ให้เช่าสัญญาว่าเมื่อครบกำหนดอายุสัญญานี้แล้ว ผู้ให้เช่าก็จะให้ผู้เช่าได้เช่าต่อไปอีกเป็นเวลา 10 ปี ทั้งนี้ โดยผู้ให้เช่าตกลงยินยอมให้ผู้เช่าเช่าที่ดินดังกล่าวแล้วในค่าเช่าเดือนละ 800 บาท โดยผู้เช่ามิต้องจ่ายเงินเป็นก้อนเพิ่มเติม ข้อตกลงดังกล่าวเป็นคำมั่นของฝ่ายผู้ให้เช่าที่จะให้ผู้เช่าเลือกจะบังคับผู้ให้เช่าให้ต้องยอมทำสัญญาเช่าต่อไปอีกเป็นเวลา 10 ปีหรือไม่ และตามข้อตกลงนี้มีผลทำให้ผู้ให้เช่าตกเป็นฝ่ายลูกหนี้ที่ผู้เช่ามีสิทธิที่จะเรียกร้องบังคับเอาได้ก่อนครบกำหนดตามสัญญาเช่า ผู้เช่าได้แจ้งความจำนงขอเช่าต่ออีก 10 ปี ผู้ให้เช่าจะไม่ยอมให้เช่าไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2739/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับทราบคำสั่งทางปกครอง: การรับทราบโดยพนักงานชั้นผู้น้อยไม่ถือว่าเป็นการรับทราบของโจทก์
การที่ ป. เป็นเพียงพนักงานชั้นผู้น้อยทำหน้าที่รับส่งหนังสือของโจทก์ รับซอง หนังสือและคำสั่งของอธิบดีกรมแรงงานที่สั่งให้โจทก์จ่ายเงินทดแทนแก่ ค. ไว้ไม่ว่า ป. จะได้เปิดซอง ทราบเนื้อความในหนังสือนำส่งและคำสั่งแล้วหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์โดย ป. ทราบคำสั่งนั้นแล้ว เพราะ ป. มิใช่ผู้แทนของโจทก์ผู้สามารถจะแสดงความประสงค์ประการใดแทนโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 75 ฉะนั้นเมื่อคำสั่งดังกล่าวถูกนำเสนอขึ้นไปตามลำดับชั้น จนวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2530รองผู้ว่าการผู้ทำการแทนผู้ว่าการของโจทก์จึงทราบคำสั่ง เช่นนี้ต้องถือว่าโจทก์โดยรองผู้ว่าการได้ทราบคำสั่งเมื่อวันที่ 10กุมภาพันธ์ 2530 และครบกำหนดสามสิบวันนับแต่วันโจทก์ทราบคำสั่งอันจะทำให้คำสั่งดังกล่าวเป็นที่สุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 60 ที่แก้ไขใหม่ในวันที่ 12 มีนาคม 2530โจทก์นำคดีมาสู่ศาลวันที่ 9 มีนาคม 2530 จึงหาพ้นกำหนดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 60 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2739/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรู้คำสั่งทางปกครอง: การรับรู้ผ่านพนักงานชั้นผู้น้อยไม่ถือว่าเป็นการรับรู้ของโจทก์โดยตรง
การที่ ป. เป็นเพียงพนักงานชั้นผู้น้อยทำหน้าที่รับส่งหนังสือของโจทก์ รับซองหนังสือและคำสั่งของอธิบดีกรมแรงงานที่สั่งให้โจทก์จ่ายเงินทดแทนแก่ ค. ไว้ ไม่ว่า ป. จะได้เปิดซองทราบเนื้อความในหนังสือนำส่งและคำสั่งแล้วหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์โดย ป. ทราบคำสั่งนั้นแล้วเพราะ ป. มิใช่ผู้แทนของโจทก์ผู้สามารถจะแสดงความประสงค์ประการใดแทนโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 75 ฉะนั้นเมื่อคำสั่งดังกล่าวถูกนำเสนอขึ้นไปตามลำดับชั้น จนวันที่ 10 กุมภาพันธ์2530 รองผู้ว่าการผู้ทำการแทนผู้ว่าการของโจทก์จึงทราบคำสั่งเช่นนี้ต้องถือว่าโจทก์โดยรองผู้ว่าการได้ทราบคำสั่งเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2530 และครบกำหนดสามสิบวันนับแต่วันโจทก์ทราบคำสั่งอันจะทำให้คำสั่งดังกล่าวเป็นที่สุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 60 ที่แก้ไขใหม่ในวันที่ 12 มีนาคม 2530 โจทก์นำคดีมาสู่ศาลวันที่ 9 มีนาคม2530 จึงหาพ้นกำหนดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 60 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่า, ค่าเสียหายจากการครอบครองปรปักษ์, และดุลพินิจศาลในการกำหนดค่าเสียหาย
การบอกเลิกการเช่าซึ่งโจทก์บอกกล่าวแก่ห้างจำเลยที่ 1 โดยส่งหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับฝ่ายจำเลยไม่ยอมรับถือว่าได้บอกกล่าวโดยชอบแล้ว
โจทก์เรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าที่พิพาทอยู่ในย่านชุมชน มีรถประจำทางผ่านหลายสาย ถ้าโจทก์นำไปสร้างศูนย์การค้าหรืออาคารชุด (คอนโดมิเนียม) จะมีรายได้เดือนละ 20,000 บาท แต่เป็นเพียงความคาดหมายไม่แน่นอนว่าจะมีรายได้เท่านั้นจริงศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายที่โจทก์จะพึงได้รับตามที่เห็นสมควร
ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีเป็นดุลพินิจคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือดำเนินคดีของคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่า, การเรียกร้องค่าเสียหายจากการครอบครองปรปักษ์, และดุลพินิจศาลในการกำหนดค่าเสียหาย
การบอกเลิกการเช่าซึ่งโจทก์บอกกล่าวแก่ห้างจำเลยที่1โดยส่งหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยที่2ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับฝ่ายจำเลยไม่ยอมรับถือว่าได้บอกกล่าวโดยชอบแล้ว โจทก์เรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าที่พิพาทอยู่ในย่านชุมชนมีรถประจำทางผ่านหลายสายถ้าโจทก์นำไปสร้างศูนย์การค้าหรืออาคารชุด(คอนโดมิเนียม)จะมีรายได้เดือนละ20,000บาทแต่เป็นเพียงความคาดหมายไม่แน่นอนว่าจะมีรายได้เท่านั้นจริงศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายที่โจทก์จะพึงได้รับตามที่เห็นสมควร ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีเป็นดุลพินิจคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือดำเนินคดีของคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา161.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่า, ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา, และการกำหนดค่าเสียหายโดยศาล
การบอกเลิกการเช่าซึ่งโจทก์บอกกล่าวแก่ห้างจำเลยที่ 1 โดยส่งหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับฝ่ายจำเลยไม่ยอมรับถือว่าได้บอกกล่าวโดยชอบแล้ว
โจทก์เรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าที่พิพาทอยู่ในย่านชุมชนมีรถประจำทางผ่านหลายสาย ถ้าโจทก์นำไปสร้างศูนย์การค้าหรืออาคารชุด (คอนโดมิเนียม) จะมีรายได้เดือนละ 20,000 บาท แต่เป็นเพียงความคาดหมายไม่แน่นอนว่าจะมีรายได้เท่านั้นจริงศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายที่โจทก์จะพึงได้รับตามที่เห็นสมควร
ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีเป็นดุลพินิจคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือดำเนินคดีของคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3550/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงเจตนาทำสัญญาและการยกเลิกการประกวดข้อเสนอ
ตามประกาศระบุว่าผู้ชนะการประกวดข้อเสนอจะต้องมาทำ สัญญากับจำเลยภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากจำเลยแม้ผู้อำนวยการองค์การจำเลยจะได้ลงชื่อในหนังสือแจ้งให้โจทก์ ทราบว่าโจทก์เป็นผู้ชนะการประกวดขอให้มาทำสัญญา แต่จำเลย ก็ยังมิได้ส่ง หนังสือไปให้โจทก์ทราบ กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 130 ถือไม่ได้ว่า จำเลยได้แสดงเจตนายินยอมรับว่าโจทก์เป็น ผู้ชนะประกวดราคาและให้มาทำสัญญากับจำเลยได้ ( เจ้าหน้าที่ของจำเลยส่งร่างสัญญาไปให้โจทก์ตรวจสอบก็ส่งไปในฐานะส่วนตัว มิใช่จำเลยเป็นผู้ส่ง ทั้งหลังจากโจทก์เสนอโครงการต่อจำเลยแล้ว ยังยื่นข้อเสนอเพิ่มอีกหลายข้อ จำเลยมิได้มีหนังสือตอบการที่โจทก์ จำเลยเจรจากันก็มุ่งประสงค์ที่จะทำความตกลงกันโดยละเอียดก่อนแล้วจึงทำสัญญาเป็นหนังสือ เมื่อจำเลยยังไม่แจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์เป็นผู้ชนะการประกวดราคาและยังไม่ได้ทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกัน ตามประกาศ กรณีต้องบังคับตาม มาตรา 366 วรรคสอง สัญญาระหว่าง โจทก์จำเลยยังไม่เกิดขึ้น จำเลยมีสิทธิยกเลิกการประกวดข้อเสนอได้ ไม่เป็นการผิดสัญญาหรือละเมิดต่อโจทก์ )

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งภาษีหลังผู้เสียภาษีเสียชีวิต: อำนาจฟ้องของกรมสรรพากรและการดำเนินการตามกฎหมาย
ผู้ต้องเสียภาษีอากรตาย มรดกของผู้ตายอันประกอบด้วยทรัพย์สินตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ก็ตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599, 1600 ทายาทย่อมเป็นผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมาย
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และมาตรา 20 ซึ่งว่าด้วยการแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินเพิ่มเติมมิได้บัญญัติไว้ว่าในกรณีที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายเสียก่อน ให้เจ้าพนักงานประเมินปฏิบัติอย่างไร แต่ถึงอย่างไรเจ้าพนักงานประเมินก็จะแจ้งไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรซึ่งถึงแก่ความตายแล้วหาได้ไม่ เพราะผู้ตายสิ้นสภาพบุคคลแล้วไม่อาจรับทราบการแจ้งได้ การแจ้งจึงไม่มีผล แม้ต่อมาหัวหน้าเขตจะมีหนังสือเร่งรัดภาษีไปยังจำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่ง หัวหน้าเขตก็มิใช่เจ้าพนักงานประเมิน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินเพิ่มเติมเมื่อเจ้าพนักงานประเมินยังมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรโดยครบถ้วน กรมสรรพากรโจทก์ ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งภาษีหลังผู้เสียภาษีเสียชีวิต เจ้าพนักงานต้องแจ้งทายาท และการฟ้องขาดอายุความ
ผู้ต้องเสียภาษีอากรตาย มรดกของผู้ตายอันประกอบด้วยทรัพย์สินตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ก็ตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599, 1600 ทายาทย่อมเป็นผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมาย
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และมาตรา 20 ซึ่งว่าด้วยการแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินเพิ่มเติมมิได้บัญญัติไว้ว่าในกรณีที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายเสียก่อน ให้เจ้าพนักงานประเมินปฏิบัติอย่างไร แต่ถึงอย่างไรเจ้าพนักงานประเมินก็จะแจ้งไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรซึ่งถึงแก่ความตายแล้วหาได้ไม่ เพราะผู้ตายสิ้นสภาพบุคคลแล้วไม่อาจรับทราบการแจ้งได้ การแจ้งจึงไม่มีผล แม้ต่อมาหัวหน้าเขตจะมีหนังสือเร่งรัดภาษีไปยังจำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่ง หัวหน้าเขตก็มิใช่เจ้าพนักงานประเมิน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินเพิ่มเติมเมื่อเจ้าพนักงานประเมินยังมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรโดยครบถ้วน กรมสรรพากรโจทก์ ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
of 6