พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2638/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงทองคำ - การบังคับชำระราคาทองคำที่แท้จริง - อัตราดอกเบี้ยตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่
จำเลยทั้งสองร่วมกันฉ้อโกงทองคำของโจทก์ร่วมไปหลายรายการ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 11,075,012 บาท แต่โจทก์และโจทก์ร่วมขอให้บังคับจำเลยทั้งสองคืนทองคำที่ฉ้อโกงไปคืนหรือใช้ราคา 11,103,793 บาท ซึ่งเกินไปกว่าราคาทองคำที่แท้จริงที่จำเลยทั้งสองฉ้อโกงไป โดยส่วนที่เกินกว่าราคาทองคำที่แท้จริงเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 พนักงานอัยการโจทก์มีสิทธิเรียกร้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองคืนหรือชดใช้ราคาทองคำที่แท้จริงที่จำเลยทั้งสองฉ้อโกงไปแทนโจทก์ร่วม อันเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ร่วมต้องสูญเสียไปเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองได้เท่านั้น ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มมิใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่โจทก์ร่วมสูญเสียไปเนื่องมาจากการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงของจำเลยทั้งสอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ทั้งไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมและจำเลยทั้งสองซื้อขายทองคำกันจริง หากแต่เป็นเพียงอุบายของจำเลยทั้งสองในการฉ้อโกงโจทก์ร่วมเท่านั้น โจทก์ร่วมจึงไม่ต้องมีหน้าที่นำส่งค่าภาษีมูลค่าเพิ่มแก่กรมสรรพากร ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจึงมิใช่เป็นค่าเสียหายในทางทรัพย์สิน อันเกิดจากการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงของจำเลยทั้งสองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 โจทก์ร่วมไม่อาจเรียกร้องให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ส่วนดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของราคาทองคำที่จำเลยทั้งสองฉ้อโกงโจทก์ร่วมไปนั้น โจทก์ร่วมมีสิทธิเรียกร้องให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 440 แต่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2564 มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 7 แห่ง ป.พ.พ. และมาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 224 แห่ง ป.พ.พ. ให้ใช้ข้อความใหม่แทน ซึ่งมีผลให้กรณีเสียดอกเบี้ยให้แก่กัน และมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยโดยนิติกรรมหรือกฎหมายอันชัดแจ้งให้ใช้ดอกเบี้ยร้อยละสามต่อปี เว้นแต่เจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราที่กำหนดตามมาตรา 7 บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี เว้นแต่เจ้าหนี้จะได้เรียกดอกเบี้ยสูงกว่านั้น โดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไป แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงการคิดดอกเบี้ยในช่วงเวลาก่อนที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ดังนั้นดอกเบี้ยของค่าเสียหายที่จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วม จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ โดยโจทก์ร่วมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยของราคาทองคำในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่จำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานฉ้อโกงทองคำของโจทก์ร่วมแต่ละรายการ จนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสองจะชดใช้ราคาทองคำเสร็จแก่โจทก์ร่วม โดยดอกเบี้ยในส่วนนี้ให้ปรับเปลี่ยนไปตามอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนดโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 วรรคสอง (ที่แก้ไขใหม่) แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามที่โจทก์ร่วมขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11224/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกสลากถูกรางวัล – การคืนเงินรางวัลและค่าสินไหมทดแทน – ความรับผิดทางอาญาของผู้สนับสนุน
การที่สลากกินแบ่งรัฐบาลถูกรางวัลที่หนึ่งและจำเลยทั้งสองร่วมกันไปรับเงินรางวัลมาแล้ว ย่อมทำให้โจทก์ร่วมหมดโอกาสที่จะได้รับเงินรางวัล เท่ากับว่าโจทก์ร่วมต้องสูญเสียเงินจำนวนนั้นไปเนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองโดยตรง โจทก์จึงมีสิทธิขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนเงินหรือใช้เงินเท่ากับจำนวนเงินรางวัลที่หนึ่งให้แก่โจทก์ร่วมได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 แต่ได้ความว่าในการขอรับเงินรางวัล จำเลยทั้งสองได้รับเงินมาเพียง 3,980,000 บาท เพราะต้องเสียอากรแสตมป์ 20,000 บาท จำเลยทั้งสองต้องคืนหรือใช้เงินจำนวนเท่าที่ได้รับมาเท่านั้น และโจทก์ร่วมซึ่งได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธิที่จะขอให้บังคับจำเลยทั้งสองใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วม โดยเรียกดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ต้องใช้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 440 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6385/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาคดีอาญา การฟ้องล้มละลาย และการเรียกดอกเบี้ย
คำพิพากษาในคดีอาญาที่ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ 34,922 บาท จำเลยทั้งสองมีหนี้ที่จะต้องปฏิบัติการชำระหนี้ในลำดับแรกคือส่งมอบทรัพย์คืนให้แก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสองไม่ส่งมอบทรัพย์และโจทก์ไม่สามารถบังคับคดีให้จำเลยทั้งสองร่วมส่งมอบทรัพย์ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยทั้งสองใช้ราคาทรัพย์จำนวน 34,922 บาท หนี้ตามคำพิพากษาจึงเป็นหนี้ให้ส่งมอบทรัพย์ ส่วนหนี้เงินจำนวน 34,922 บาท ตามคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าวนั้นเป็นหนี้ซึ่งกำหนดเป็นจำนวนเงินที่แน่นอน อีกทั้งคำพิพากษาในคดีอาญานั้นก็มิได้กำหนดเรื่องดอกเบี้ยให้จำเลยทั้งสองต้องรับผิดในกรณีที่ใช้ราคาทรัพย์ แม้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการประมาณราคาตาม ป.พ.พ. มาตรา 440 แต่การเรียกดอกเบี้ยตามบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกรณีที่ให้สิทธิแก่ฝ่ายผู้ต้องเสียหายที่จะเรียกเอาดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จะต้องใช้เมื่อฟ้องคดีต่อศาลเพื่อขอให้บังคับตามสิทธิดังกล่าว มิใช่ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกดอกเบี้ยภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้ว เมื่อหนี้ตามคำพิพากษามีจำนวน 34,922 บาท จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6035/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การซื้อขายสินค้าเคมีภัณฑ์, และฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข
ข.ผู้รับมอบอำนาจช่วงของโจทก์เบิกความว่า โจทก์เป็นนิติ-บุคคลจดทะเบียนตามกฎหมายประเทศอังกฤษ โจทก์มอบอำนาจให้ ส.ฟ้องคดีนี้ได้ในประเทศไทย กับให้อำนาจ ส.มอบอำนาจช่วงได้ และ ส.มอบอำนาจให้ทนายฟ้องคดีนี้แทน โดยโจทก์มีเอกสารที่มีข้อความตรงตามที่ ช.พยานเบิกความทุกประการ ซึ่งเอกสารฉบับนี้มีโนตารีปับลิกและเลขานุการสถานเอกอัครราชทูตไทย-ประจำกรุงลอนดอนลงลายมือชื่อรับรอง จำเลยไม่ได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้อง กรณีไม่จำเป็นต้องนำเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูต-ไทยประจำกรุงลอนดอนหรือผู้ทำเอกสารดังกล่าวมาสืบประกอบ
โจทก์และจำเลยซื้อสินค้าเคมีภัณฑ์เหลวชนิดเดียวกัน เป็นการซื้อขายโดยกำหนดจำนวนหรือปริมาณและราคาของทรัพย์สินที่ซื้อขายกันแน่นอน โดยไม่ต้องหมาย หรือนับ ชั่ง ตวง วัด หรือคัดเลือก เพื่อให้บ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นแน่นอนอีก ทั้งสินค้าดังกล่าวได้บรรทุกมาในเรือลำเดียวกัน เที่ยวเดียวกัน และบรรจุในแท็งก์เดียวกันด้วย ถือว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันแล้วตามป.พ.พ. มาตรา 458 เมื่อจำเลยรับสินค้าเคมีภัณฑ์ซึ่งเป็นของโจทก์เกินไปจำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์
ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยถึงเรื่องที่จำเลยฎีกาเลย การที่จำเลยฎีกาเรื่องดังกล่าวโดยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านว่า ที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยเรื่องที่จำเลยฎีกาดังกล่าวไม่ชอบเพราะเหตุใด ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงไว้โดยชัดแจ้งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระราคาสินค้าพิพาทที่จำเลยเอาไปจากโจทก์โดยละเมิด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จะต้องใช้ คิดตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการประมาณราคานั้นได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 440
ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับโจทก์ชำระค่าภาษีและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แก่จำเลยก็ต่อเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยคืนสินค้าพิพาทแก่โจทก์แล้ว การที่จำเลยจะต้องคืนสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่ ยังไม่เป็นที่แน่นอนโดยจะต้องรอจนศาลพิพากษาให้จำเลยคืนสินค้าพิพาทแก่โจทก์ตามฟ้องเดิมเสียก่อน จึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม และ 189วรรคสุดท้าย
โจทก์และจำเลยซื้อสินค้าเคมีภัณฑ์เหลวชนิดเดียวกัน เป็นการซื้อขายโดยกำหนดจำนวนหรือปริมาณและราคาของทรัพย์สินที่ซื้อขายกันแน่นอน โดยไม่ต้องหมาย หรือนับ ชั่ง ตวง วัด หรือคัดเลือก เพื่อให้บ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นแน่นอนอีก ทั้งสินค้าดังกล่าวได้บรรทุกมาในเรือลำเดียวกัน เที่ยวเดียวกัน และบรรจุในแท็งก์เดียวกันด้วย ถือว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันแล้วตามป.พ.พ. มาตรา 458 เมื่อจำเลยรับสินค้าเคมีภัณฑ์ซึ่งเป็นของโจทก์เกินไปจำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์
ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยถึงเรื่องที่จำเลยฎีกาเลย การที่จำเลยฎีกาเรื่องดังกล่าวโดยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านว่า ที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยเรื่องที่จำเลยฎีกาดังกล่าวไม่ชอบเพราะเหตุใด ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงไว้โดยชัดแจ้งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระราคาสินค้าพิพาทที่จำเลยเอาไปจากโจทก์โดยละเมิด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จะต้องใช้ คิดตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการประมาณราคานั้นได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 440
ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับโจทก์ชำระค่าภาษีและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แก่จำเลยก็ต่อเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยคืนสินค้าพิพาทแก่โจทก์แล้ว การที่จำเลยจะต้องคืนสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่ ยังไม่เป็นที่แน่นอนโดยจะต้องรอจนศาลพิพากษาให้จำเลยคืนสินค้าพิพาทแก่โจทก์ตามฟ้องเดิมเสียก่อน จึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม และ 189วรรคสุดท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6035/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสินค้า กรรมสิทธิ์โอนเมื่อทำสัญญา, การคืนสินค้าที่รับเกิน, และดอกเบี้ยจากราคาสินค้า
ข.ผู้รับมอบอำนาจช่วงของโจทก์เบิกความว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนตามกฎหมายประเทศอังกฤษ โจทก์มอบอำนาจให้ส.ฟ้องคดีนี้ได้ในประเทศไทยกับให้อำนาจส. มอบอำนาจช่วงได้ และ ส. มอบอำนาจให้ทนายฟ้องคดีนี้แทน โดยโจทก์มีเอกสารที่มีข้อความตรงตามที่ ช. พยานเบิกความทุกประการซึ่งเอกสารฉบับนี้มีโนตารีปับลิกและเลขานุการสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอนลงลายมือชื่อรับรอง จำเลยไม่ได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้อง กรณีไม่จำเป็นต้องนำเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอนหรือผู้ทำเอกสารดังกล่าวมาสืบประกอบ โจทก์และจำเลยซื้อสินค้าเคมีภัณฑ์เหลวชนิดเดียวกัน เป็นการซื้อขายโดยกำหนดจำนวนหรือปริมาณและราคาของทรัพย์สินที่ซื้อขายกันแน่นอน โดยไม่ต้องหมาย หรือนับ ชั่ง ตวง วัด หรือคัดเลือกเพื่อให้บ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นแน่นอนอีก ทั้งสินค้าดังกล่าวได้บรรทุกมาในเรือลำเดียวกัน เที่ยวเดียวกัน และบรรจุในแท็งก์เดียวกันด้วย ถือว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 458 เมื่อจำเลยรับสินค้าเคมีภัณฑ์ซึ่งเป็นของโจทก์เกินไปจำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยถึงเรื่องที่จำเลยฎีกาเลย การที่จำเลยฎีกาเรื่องดังกล่าวโดยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านว่า ที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยเรื่องที่จำเลยฎีกาดังกล่าวไม่ชอบเพราะเหตุใดฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงไว้โดยชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระราคาสินค้าพิพาทที่จำเลยเอาไปจากโจทก์โดยละเมิด โจทก์จึงมีสิทธิ เรียกดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จะต้องใช้ คิดตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการประมาณราคานั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 440 ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับโจทก์ชำระค่าภาษีและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แก่จำเลยก็ต่อเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยคืนสินค้าพิพาทแก่โจทก์แล้ว การที่จำเลยจะต้องคืนสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่ ยังไม่เป็นที่แน่นอนโดยจะต้องรอจนศาลพิพากษาให้จำเลยคืนสินค้าพิพาทแก่โจทก์ตามฟ้องเดิมเสียก่อนจึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม และ179 วรรคสุดท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3329/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของข้าราชการต่อทรัพย์สินสูญหาย การประเมินค่าเสียหายตามราคาจริง และการเริ่มต้นนับอายุความ
จำเลยเป็นหัวหน้าแผนกคลัง แม้จำเลยได้ใช้ความระมัดระวังจัดเวรยามเฝ้าดูแลบริเวณรอบนอกคลังพัสดุที่เก็บทรัพย์สินของทางราชการตลอด 24 ชั่วโมงแล้ว แต่ทรัพย์สินที่หายได้เก็บรักษาไว้ในตู้เหล็กในคลังพัสดุโดยไม่ได้ใส่กุญแจ เพียงแต่ใช้กระดาษเขียนชื่อเจ้าหน้าที่ปิดไว้เท่านั้น ทั้งทรัพย์สินที่หายก็มีขนาดเล็ก สามารถเอาแอบซุกซ่อนไปกับตัวได้โดยสะดวก เมื่อปรากฏว่า คนร้ายที่ลักทรัพย์ดังกล่าวไปเป็นเจ้าหน้าที่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลยเอง จึงถือได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อแล้ว เพราะการที่จะป้องกันทรัพย์สินให้พ้นจากการลักขโมยของคนภายในด้วยกันเองนั้น นอกจากจะต้องเก็บรักษาไว้ในสถานที่อันเหมาะสมกับลักษณะของตัวทรัพย์แล้ว ยังจะต้องอยู่ในสภาพที่ยากต่อการที่บุคคลจะหยิบฉวยเอาไปได้โดยง่ายอีกด้วย
กรณีที่พัสดุของทางราชการได้จัดหามาโดยการซื้อขายพอเป็นพิธีเพื่อมิให้ขัดต่อระเบียบของทางราชการ และราคาที่จัดซื้อมาก็ต่ำต่างกับราคาที่แท้จริงมาก การจะให้ผู้ต้องรับผิดชดใช้ราคาของทรัพย์สินนั้น ต้องถือตามราคาที่แท้จริง
ข้าราชการกองทัพเรือประมาทเลินเล่อทำให้ทรัพย์สินของกองทัพเรือสูญหายไป อายุความ 1 ปี เริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้บัญชาการทหารเรือได้ลงนามรับทราบรายงานผลการสอบสวนว่าจำเลยจะต้องรับผิด มิใช่เริ่มนับในวันที่รู้ว่าเกิดมีการทำละเมิดขึ้น.
กรณีที่พัสดุของทางราชการได้จัดหามาโดยการซื้อขายพอเป็นพิธีเพื่อมิให้ขัดต่อระเบียบของทางราชการ และราคาที่จัดซื้อมาก็ต่ำต่างกับราคาที่แท้จริงมาก การจะให้ผู้ต้องรับผิดชดใช้ราคาของทรัพย์สินนั้น ต้องถือตามราคาที่แท้จริง
ข้าราชการกองทัพเรือประมาทเลินเล่อทำให้ทรัพย์สินของกองทัพเรือสูญหายไป อายุความ 1 ปี เริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้บัญชาการทหารเรือได้ลงนามรับทราบรายงานผลการสอบสวนว่าจำเลยจะต้องรับผิด มิใช่เริ่มนับในวันที่รู้ว่าเกิดมีการทำละเมิดขึ้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3329/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหัวหน้าแผนกคลังต่อการสูญหายของทรัพย์สินราชการ และการคำนวณค่าเสียหายตามราคาจริง
จำเลยเป็นหัวหน้าแผนกคลัง แม้จำเลยได้ใช้ความระมัดระวังจัดเวรยามเฝ้าดูแลบริเวณรอบนอกคลังพัสดุที่เก็บทรัพย์สินของทางราชการตลอด 24 ชั่วโมงแล้ว แต่ทรัพย์สินที่หายได้เก็บรักษาไว้ในตู้เหล็กในคลังพัสดุโดยไม่ได้ใส่กุญแจ เพียงแต่ใช้กระดาษเขียนชื่อเจ้าหน้าที่ปิดไว้เท่านั้น ทั้งทรัพย์สินที่หายก็มีขนาดเล็ก สามารถเอาแอบซุกซ่อนไปกับตัวได้โดยสะดวก เมื่อปรากฏว่า คนร้ายที่ลักทรัพย์ดังกล่าวไปเป็นเจ้าหน้าที่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลยเอง จึงถือได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อแล้ว เพราะการที่จะป้องกันทรัพย์สินให้พ้นจากการลักขโมยของคนภายในด้วยกันเองนั้น นอกจากจะต้องเก็บรักษาไว้ในสถานที่อันเหมาะสมกับลักษณะของตัวทรัพย์แล้ว ยังจะต้องอยู่ในสภาพที่ยากต่อการที่บุคคลจะหยิบฉวยเอาไปได้โดยง่ายอีกด้วย
กรณีที่พัสดุของทางราชการได้จัดหามาโดยการซื้อขายพอเป็นพิธีเพื่อมิให้ขัดต่อระเบียบของทางราชการ และราคาที่จัดซื้อมาก็ต่ำต่างกับราคาที่แท้จริงมาก การจะให้ผู้ต้องรับผิดชดใช้ราคาของทรัพย์สินนั้น ต้องถือตามราคาที่แท้จริง
ข้าราชการกองทัพเรือประมาทเลินเล่อทำให้ทรัพย์สินของกองทัพเรือสูญหายไป อายุความ 1 ปี เริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้บัญชาการทหารเรือได้ลงนามรับทราบรายงานผลการสอบสวนว่าจำเลยจะต้องรับผิด มิใช่เริ่มนับในวันที่รู้ว่าเกิดมีการทำละเมิดขึ้น.
กรณีที่พัสดุของทางราชการได้จัดหามาโดยการซื้อขายพอเป็นพิธีเพื่อมิให้ขัดต่อระเบียบของทางราชการ และราคาที่จัดซื้อมาก็ต่ำต่างกับราคาที่แท้จริงมาก การจะให้ผู้ต้องรับผิดชดใช้ราคาของทรัพย์สินนั้น ต้องถือตามราคาที่แท้จริง
ข้าราชการกองทัพเรือประมาทเลินเล่อทำให้ทรัพย์สินของกองทัพเรือสูญหายไป อายุความ 1 ปี เริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้บัญชาการทหารเรือได้ลงนามรับทราบรายงานผลการสอบสวนว่าจำเลยจะต้องรับผิด มิใช่เริ่มนับในวันที่รู้ว่าเกิดมีการทำละเมิดขึ้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1674/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-ประเด็นยังไม่วินิจฉัย-ราคาที่ดิน: ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม แม้มีการเปลี่ยนแปลงราคา
ในคดีก่อนศาลฎีกายกฟ้องโจทก์เพราะศาลไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอท้ายฟ้องได้ โดยศาลฎีกายังไม่ได้วินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินให้ดังที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ ดังนั้นคำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ที่ขอให้จำเลยชำระราคาที่ดินให้โจทก์ จึงไม่ใช่ประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยแล้ว อันจะเป็นการต้องห้ามมิให้โจทก์นำมาฟ้องจำเลยอีก ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
ฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
การกำหนดราคาที่ดินที่จำเลยจะต้องชดใช้แก่โจทก์ ต้องถือตามราคาในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ ไม่ถือตามที่โจทก์เคยตีราคาในการเสียค่าขึ้นศาลในคดีก่อน
ฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
การกำหนดราคาที่ดินที่จำเลยจะต้องชดใช้แก่โจทก์ ต้องถือตามราคาในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ ไม่ถือตามที่โจทก์เคยตีราคาในการเสียค่าขึ้นศาลในคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการละเมิด: การคำนวณค่าเสียหายต่อทรัพย์สินและขอบเขตค่าชดเชย
ค่าเสียหายเพราะละเมิดทำให้บุตรของโจทก์ตาย ต้องบังคับตามมาตรา 443 ไม่มีบัญญัติให้เรียกค่าชอกช้ำระกำใจด้วย
ค่าเสียหายแก่รถยนต์ที่ถูกชนเกิดเพลิงไหม้เสียหายหมดคิดราคาในกรณีนี้ตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการประมาณราคา คือเวลาทำละเมิด กับดอกเบี้ยจากเงินจำนวนนั้น ไม่ใช่ราคารถในปัจจุบัน
ค่าเสียหายแก่รถยนต์ที่ถูกชนเกิดเพลิงไหม้เสียหายหมดคิดราคาในกรณีนี้ตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการประมาณราคา คือเวลาทำละเมิด กับดอกเบี้ยจากเงินจำนวนนั้น ไม่ใช่ราคารถในปัจจุบัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเหนือพื้นดินไม่สมบูรณ์ การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินของผู้อื่นและการละเมิด
โจทก์ก่อสร้างตึกเต็มเนื้อที่ดินของโจทก์ แล้วทำทางเท้าและคันหินบนทางเท้าล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยซึ่งอยู่ติดกัน โดยจำเลยตกลงยินยอมถือว่าเป็นการได้มาซึ่งสิทธิเหนือพื้นดิน อันเป็นทรัพยสิทธิ เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ย่อมไม่บริบูรณ์ ครั้นต่อมาจำเลยบอกกล่าวไม่ยินยอมให้มีทางเท้าและคันหินล้ำบนที่ดินของจำเลยอีกต่อไป โจทก์ก็ไม่มีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินของจำเลยได้แต่ทางเท้าและคันหินนั้นไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินจำเลย
เมื่อจำเลยบอกกล่าวให้โจทก์รื้อถอนทางเท้าและคันหินออกไปจากที่ดินของจำเลย โจทก์ไม่ยอมรื้อถอน ก็ชอบที่จำเลยจะใช้สิทธิทางศาลไม่มีอำนาจเข้ารื้อถอนโดยพลการ เพราะไม่เข้าเกณฑ์แห่งบทบัญญัติว่าด้วยนิรโทษกรรม หากจัดการรื้อถอนเสียเอง ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ซึ่งจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
เมื่อจำเลยบอกกล่าวให้โจทก์รื้อถอนทางเท้าและคันหินออกไปจากที่ดินของจำเลย โจทก์ไม่ยอมรื้อถอน ก็ชอบที่จำเลยจะใช้สิทธิทางศาลไม่มีอำนาจเข้ารื้อถอนโดยพลการ เพราะไม่เข้าเกณฑ์แห่งบทบัญญัติว่าด้วยนิรโทษกรรม หากจัดการรื้อถอนเสียเอง ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ซึ่งจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน