คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สวิง ลัดพลี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,124 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน - หน้าที่แจ้งการยึดทรัพย์ - ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ ไม่ได้กำหนดว่า เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ใช้เงินค่าเช่าซื้อ หรือเมื่อผู้ให้เช่าซื้อเลิกสัญญายึดทรัพย์ที่เช่าซื้อคืน.ผู้ให้เช่าซื้อจะต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบก่อน.ผู้ให้เช่าซื้อจึงไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบ.
ฎีกาซึ่งมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แต่ประการใด เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนรับเหมาช่วง หน้าที่ส่งมอบเงินให้ตัวการ และความรับผิดชอบค่าปรับ
บริษัทจำเลยยอมให้โจทก์ยืมชื่อไปทำการประมูลเมื่อโจทก์ประมูลได้ บริษัทจำเลยยังถือว่าโจทก์เป็นเจ้าของงานอยู่ทั้งในการให้โจทก์เอาชื่อบริษัทจำเลยไปประมูลบริษัทจำเลยคิดเอาผลประโยชน์จากโจทก์ ดังนั้นการที่บริษัทจำเลยทำสัญญารับเหมากับการรถไฟจึงเป็นการออกหน้าเป็นตัวการ ทำสัญญาแทนโจทก์โดยแสดงตนต่อการรถไฟว่าบริษัทจำเลยเป็นคู่สัญญา แท้จริงแล้วเป็นเพียงทำสัญญาแทนโจทก์เท่านั้นเมื่อบริษัทจำเลยเป็นเพียงตัวแทนโจทก์ จึงไม่มีสิทธิเอางานนี้ซึ่งเป็นของโจทก์มาทำสัญญาเป็นผู้จ้างให้โจทก์ผู้เป็นตัวการกลับกลายเป็นผู้รับจ้างแม้โจทก์ลงนามในสัญญารับเหมาช่วง ก็หามีผลทำให้โจทก์กลับกลายเป็นผู้รับจ้างไปไม่บริษัทจำเลยยังคงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อโจทก์ในฐานเป็นตัวแทนของโจทก์เมื่อโจทก์ทำงานเสร็จ การรถไฟรับมอบงานและจ่ายเงินให้บริษัทจำเลยรับมาจำเลยจึงมีหน้าที่ส่งเงินนั้นให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 810 การที่บริษัทจำเลยรับเงินที่โจทก์ทำงานเสร็จจากการรถไฟถือว่ารับมาแทนโจทก์บริษัทจำเลยไม่ส่งมอบเงินนั้นให้โจทก์ โจทก์ไม่สามารถทำงานงวดต่อไปได้เป็นเหตุให้บริษัทจำเลยถูกการรถไฟปรับจึงเกิดจากความผิดของบริษัทจำเลยเอง บริษัทจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในจำนวนเงินที่ถูกปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 812เมื่อบริษัทจำเลยเสียค่าปรับให้การรถไฟไปแล้วจึงเรียกคืนจากโจทก์ไม่ได้
โจทก์ซึ่งเป็นตัวการและบริษัทจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนตกลงกันว่าโจทก์ทำงานงวดใดเสร็จ ก็ให้บริษัทจำเลยส่งมอบงานนั้นแก่การรถไฟผู้ว่าจ้าง เพื่อขอรับเงินตามสัญญา แต่ตามสัญญากำหนดการจ่ายเงินไว้เป็นงวดๆ เมื่อทำเสร็จและการรถไฟรับมอบงานแล้ว การคิดผลประโยชน์ให้บริษัทจำเลยจึงคิดให้เมื่อโจทก์รับเงินมาแต่ละงวดหาได้คิดให้ในคราวเดียวกัน จำนวนรวมกัน 5% ของเงินที่ประมูลไม่ดังนั้น เมื่อโจทก์ทำงานเสร็จงวดที่ 1 ได้รับเงินมาเพียงงวดเดียวก็ต้องเลิกทำ เพราะบริษัทจำเลยเป็นต้นเหตุ ไม่มอบเงินให้บริษัทจำเลยจึงเรียกเอาได้เฉพาะ 5% ของเงินงวดที่ 1 ที่ได้รับมาแล้ว จะเรียกเอา5% ของเงินที่ยังไม่ได้รับมาจากการรถไฟหาได้ไม่
หนี้เงินซึ่งอีกฝ่ายหนึ่งยังมีข้อต่อสู้อยู่ จะหักกันไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทน ตัวการ และความรับผิดชอบในสัญญาประมูลก่อสร้าง
บริษัทจำเลยยอมให้โจทก์ยืมชื่อไปทำการประมูล เมื่อโจทก์ประมูลได้ บริษัทจำเลยยังถือว่าโจทก์เป็นเจ้าของงานอยู่ ทั้งในการให้โจทก์เอาชื่อบริษัทจำเลยไปประมูลบริษัทจำเลยคิดเอาผลประโยชน์จากโจทก์ ดังนั้นการที่บริษัทจำเลยทำสัญญารับเหมากับการรถไฟจึงเป็นการออกหน้าเป็นตัวการ ทำสัญญาแทนโจทก์ โดยแสดงตนต่อการรถไฟว่าบริษัทจำเลยเป็นคู่สัญญา แท้จริงแล้วเป็นเพียงทำสัญญาแทนโจทก์เท่านั้น เมื่อบริษัทจำเลยเป็นเพียงตัวแทนโจทก์ จึงไม่มีสิทธิเอางานนี้ซึ่งเป็นของโจทก์มาทำสัญญาเป็นผู้จ้างให้โจทก์ผู้เป็นตัวการกลับกลายเป็นผู้รับจ้าง แม้โจทก์ลงนามในสัญญารับเหมาช่วง ก็หามีผลทำให้โจทก์กลับกลายเป็นผู้รับจ้างไปไม่ บริษัทจำเลยยังคงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อโจทก์ในฐานเป็นตัวแทนของโจทก์เมื่อโจทก์ทำงานเสร็จ การรถไฟรับมอบงานและจ่ายเงินให้บริษัทจำเลยรับมา จำเลยจึงมีหน้าที่ส่งเงินนั้นให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 810 การที่บริษัทจำเลยรับเงินที่โจทก์ทำงานเสร็จจากการรถไฟถือว่ารับมาแทนโจทก์บริษัทจำเลยไม่ส่งมอบเงินนั้นให้โจทก์ โจทก์ไม่สามารถทำงานงวดต่อไปได้ เป็นเหตุให้บริษัทจำเลยถูกการรถไฟปรับจึงเกิดจากความผิดของบริษัทจำเลยเอง บริษัทจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในจำนวนเงินที่ถูกปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 812 เมื่อบริษัทจำเลยเสียค่าปรับให้การรถไฟไปแล้วจึงเรียกคืนจากโจทก์ไม่ได้.
โจทก์ซึ่งเป็นตัวการและบริษัทจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนตกลงกันว่า โจทก์ทำงานงวดใดเสร็จ ก็ให้บริษัทจำเลยส่งมอบงานนั้นแก่การรถไฟผู้ว่าจ้าง เพื่อขอรับเงินตามสัญญา แต่ตามสัญญากำหนดการจ่ายเงินไว้เป็นงวดๆ เมื่อทำเสร็จและการรถไฟรับมอบงานแล้ว การคิดผลประโยชน์ให้บริษัทจำเลยจึงคิดให้เมื่อโจทก์รับเงินมาแต่ละงวด หาได้คิดให้ในคราวเดียวกัน จำนวนรวมกัน 5% ของเงินที่ประมูลไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์ทำงานเสร็จงวดที่ 1 ได้รับเงินมาเพียงงวดเดียวก็ต้องเลิกทำ เพราะบริษัทจำเลยเป็นต้นเหตุ ไม่มอบเงินให้ บริษัทจำเลยจึงเรียกเอาได้เฉพาะ5% ของเงินงวดที่ 1 ที่ได้รับมาแล้ว จะเรียกเอา 5% ของเงินที่ยังไม่ได้รับมาจากการรถไฟหาได้ไม่
หนี้เงินซึ่งอีกฝ่ายหนึ่งยังมีข้อต่อสู้อยู่ จะหักกันไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทน ตัวการ สัญญาประมูล และความรับผิดชอบต่อค่าปรับจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญา
บริษัทจำเลยยอมให้โจทก์ยืมชื่อไปทำการประมูล. เมื่อโจทก์ประมูลได้ บริษัทจำเลยยังถือว่าโจทก์เป็นเจ้าของงานอยู่. ทั้งในการให้โจทก์เอาชื่อบริษัทจำเลยไปประมูลบริษัทจำเลยคิดเอาผลประโยชน์จากโจทก์. ดังนั้นการที่บริษัทจำเลยทำสัญญารับเหมากับการรถไฟจึงเป็นการออกหน้าเป็นตัวการ ทำสัญญาแทนโจทก์. โดยแสดงตนต่อการรถไฟว่าบริษัทจำเลยเป็นคู่สัญญา แท้จริงแล้วเป็นเพียงทำสัญญาแทนโจทก์เท่านั้น. เมื่อบริษัทจำเลยเป็นเพียงตัวแทนโจทก์ จึงไม่มีสิทธิเอางานนี้ซึ่งเป็นของโจทก์.มาทำสัญญาเป็นผู้จ้างให้โจทก์ผู้เป็นตัวการกลับกลายเป็นผู้รับจ้าง. แม้โจทก์ลงนามในสัญญารับเหมาช่วง ก็หามีผลทำให้โจทก์กลับกลายเป็นผู้รับจ้างไปไม่. บริษัทจำเลยยังคงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อโจทก์ในฐานเป็นตัวแทนของโจทก์เมื่อโจทก์ทำงานเสร็จ. การรถไฟรับมอบงานและจ่ายเงินให้บริษัทจำเลยรับมา. จำเลยจึงมีหน้าที่ส่งเงินนั้นให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 810. การที่บริษัทจำเลยรับเงินที่โจทก์ทำงานเสร็จจากการรถไฟถือว่ารับมาแทนโจทก์บริษัทจำเลยไม่ส่งมอบเงินนั้นให้โจทก์. โจทก์ไม่สามารถทำงานงวดต่อไปได้. เป็นเหตุให้บริษัทจำเลยถูกการรถไฟปรับจึงเกิดจากความผิดของบริษัทจำเลยเอง. บริษัทจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในจำนวนเงินที่ถูกปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 812. เมื่อบริษัทจำเลยเสียค่าปรับให้การรถไฟไปแล้วจึงเรียกคืนจากโจทก์ไม่ได้.
โจทก์ซึ่งเป็นตัวการและบริษัทจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนตกลงกันว่า. โจทก์ทำงานงวดใดเสร็จ ก็ให้บริษัทจำเลยส่งมอบงานนั้นแก่การรถไฟผู้ว่าจ้าง เพื่อขอรับเงินตามสัญญา. แต่ตามสัญญากำหนดการจ่ายเงินไว้เป็นงวดๆ เมื่อทำเสร็จและการรถไฟรับมอบงานแล้ว. การคิดผลประโยชน์ให้บริษัทจำเลยจึงคิดให้เมื่อโจทก์รับเงินมาแต่ละงวด หาได้คิดให้ในคราวเดียวกัน จำนวนรวมกัน 5% ของเงินที่ประมูลไม่.ดังนั้น เมื่อโจทก์ทำงานเสร็จงวดที่ 1 ได้รับเงินมาเพียงงวดเดียวก็ต้องเลิกทำ เพราะบริษัทจำเลยเป็นต้นเหตุ ไม่มอบเงินให้. บริษัทจำเลยจึงเรียกเอาได้เฉพาะ5% ของเงินงวดที่ 1 ที่ได้รับมาแล้ว. จะเรียกเอา 5% ของเงินที่ยังไม่ได้รับมาจากการรถไฟหาได้ไม่.
หนี้เงินซึ่งอีกฝ่ายหนึ่งยังมีข้อต่อสู้อยู่ จะหักกันไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 655/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่า: การบอกเลิกสัญญาเนื่องจากผู้เช่าผิดนัด ไม่ทำให้เกิดสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการปรับปรุงสถานที่
สัญญาข้อ 11 มีว่า ถ้าผู้เช่าผิดสัญญาข้อใดผู้ให้เช่ามีสิทธิเข้าครอบครองสถานที่เช่าได้โดยพลัน. และมีสิทธิบอกเลิกสัญญาทันที. ส่วนสัญญาข้อ 12 มีว่า ถ้าผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาหรือรื้อถอนหรือขายทรัพย์สินที่เช่าก่อนครบกำหนดสัญญาเช่า. ผู้ให้เช่ายอมชดใช้ค่าซ่อมแซมและค่าเสียหายที่ผู้เช่าลงทุนเป็นจำนวนเงิน 25,000 บาทให้ผู้เช่า ฯลฯ. ดังนี้เมื่อผู้เช่าผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่า. ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาตามข้อ 11 แล้วก็ตาม. ผู้เช่าไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายค่าซ่อมแซมตามสัญญาข้อ 12.
ความประสงค์หรือเจตนาของคู่สัญญาต้องแปลจากสัญญาทั้งฉบับ. ไม่ใช่ยกเอาข้อความเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งหรือสัญญาข้อใดข้อหนึ่งขึ้นมาแปล. ฉะนั้น การแปลข้อ 12 ของสัญญา ก็จะต้องแปลรวมกับข้อ 11 อันเป็นข้อความที่กล่าวถึงสิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้เช่ากับผู้ให้เช่าที่มีต่อกัน. การที่โจทก์นำส.ผู้เขียนเข้าเบิกความว่า ก่อนทำสัญญาโจทก์จำเลยตกลงกันว่าหากจำเลยบอกเลิกการเช่า. ไม่ว่าจะเป็นเพราะโจทก์ผิดสัญญาหรือไม่ก็ตาม. จำเลยจะต้องชดใช้เงินให้แก่โจทก์นั้น เป็นการนำพยานบุคคลเข้าสืบเพิ่มเติมข้อความในเอกสาร. เพราะในสัญญาไม่ได้เขียนไว้เลยว่า. ถึงแม้ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญา เพราะผู้เช่าผิดสัญญา ผู้ให้เช่าก็ต้องชดใช้เงินให้แก่ผู้เช่า. การสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมข้อความในเอกสารเช่นนี้ ต้องห้าม. (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2511).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 655/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่า: สิทธิบอกเลิกสัญญาของผู้ให้เช่าเมื่อผู้เช่าผิดสัญญา และข้อยกเว้นการชดใช้ค่าเสียหาย
สัญญาข้อ 11 มีว่า ถ้าผู้เช่าผิดสัญญาข้อใดผู้ให้เช่ามีสิทธิเข้าครอบครองสถานที่เช่าได้โดยพลัน และมีสิทธิบอกเลิกสัญญาทันที ส่วนสัญญาข้อ 12 มีว่า ถ้าผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาหรือรื้อถอนหรือขายทรัพย์สินที่เช่าก่อนครบกำหนดสัญญาเช่า ผู้ให้เช่ายอมชดใช้ค่าซ่อมแซมและค่าเสียหายที่ผู้เช่าลงทุนเป็นจำนวนเงิน 25,000 บาทให้ผู้เช่า ฯลฯ ดังนี้เมื่อผู้เช่าผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่า ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาตามข้อ 11 แล้วก็ตาม ผู้เช่าไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายค่าซ่อมแซมตามสัญญาข้อ 12
ความประสงค์หรือเจตนาของคู่สัญญาต้องแปลจากสัญญาทั้งฉบับ ไม่ใช่ยกเอาข้อความเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งหรือสัญญาข้อใดข้อหนึ่งขึ้นมาแปล ฉะนั้น การแปลข้อ 12 ของสัญญา ก็จะต้องแปลรวมกับข้อ 11 อันเป็นข้อความที่กล่าวถึงสิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้เช่ากับผู้ให้เช่าที่มีต่อกัน การที่โจทก์นำ ส.ผู้เขียนเข้าเบิกความว่า ก่อนทำสัญญาโจทก์จำเลยตกลงกันว่าหากจำเลยบอกเลิกการเช่า ไม่ว่าจะเป็นเพราะโจทก์ผิดสัญญาหรือไม่ก็ตาม จำเลยจะต้องชดใช้เงินให้แก่โจทก์นั้น เป็นการนำพยานบุคคลเข้าสืบเพิ่มเติมข้อความในเอกสาร เพราะในสัญญาไม่ได้เขียนไว้เลยว่า ถึงแม้ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญา เพราะผู้เช่าผิดสัญญา ผู้ให้เช่าก็ต้องชดใช้เงินให้แก่ผู้เช่า การสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมข้อความในเอกสารเช่นนี้ ต้องห้าม
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 655/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าชดใช้ค่าซ่อมแซมสถานที่เช่าเมื่อผู้เช่าผิดสัญญา และผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญา
สัญญาข้อ 11 มีว่า ถ้าผู้เช่าผิดสัญญาข้อใดผู้ให้เช่ามีสิทธิเข้าครอบครองสถานที่เช่าได้โดยพลันและมีสิทธิบอกเลิกสัญญาทันทีส่วนสัญญาข้อ 12 มีว่า ถ้าผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาหรือรื้อถอนหรือขายทรัพย์สินที่เช่าก่อนครบกำหนดสัญญาเช่า ผู้ให้เช่ายอมชดใช้ค่าซ่อมแซมและค่าเสียหายที่ผู้เช่าลงทุนเป็นจำนวนเงิน 25,000 บาทให้ผู้เช่า ฯลฯดังนี้เมื่อผู้เช่าผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่า ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาตามข้อ 11 แล้วก็ตามผู้เช่าไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายค่าซ่อมแซมตามสัญญาข้อ 12
ความประสงค์หรือเจตนาของคู่สัญญาต้องแปลจากสัญญาทั้งฉบับไม่ใช่ยกเอาข้อความเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งหรือสัญญาข้อใดข้อหนึ่งขึ้นมาแปล ฉะนั้น การแปลข้อ 12 ของสัญญา ก็จะต้องแปลรวมกับข้อ 11 อันเป็นข้อความที่กล่าวถึงสิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้เช่ากับผู้ให้เช่าที่มีต่อกันการที่โจทก์นำ ส. ผู้เขียนเข้าเบิกความว่า ก่อนทำสัญญาโจทก์จำเลยตกลงกันว่าหากจำเลยบอกเลิกการเช่าไม่ว่าจะเป็นเพราะโจทก์ผิดสัญญาหรือไม่ก็ตาม จำเลยจะต้องชดใช้เงินให้แก่โจทก์นั้น เป็นการนำพยานบุคคลเข้าสืบเพิ่มเติมข้อความในเอกสาร เพราะในสัญญาไม่ได้เขียนไว้เลยว่าถึงแม้ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญา เพราะผู้เช่าผิดสัญญา ผู้ให้เช่าก็ต้องชดใช้เงินให้แก่ผู้เช่าการสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมข้อความในเอกสารเช่นนี้ ต้องห้าม
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือเลิกสภาพสมรส, พฤติกรรมชู้สาว, ข่มขู่ทำร้าย และสิทธิค่าอุปการะเลี้ยงดูในคดีหย่า
สามีภริยาได้ทำหนังสือลงลายมือชื่อสามีภริยาและพยาน 2 คน มีข้อความว่าได้พร้อมใจกันเลิกสภาพการเป็นสามีภริยากันตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เช่นนี้ เป็นการเลิกสภาพการเป็นสามีภริยาโดยพฤตินัย แต่โดยทางนิตินัยยังมิได้หย่าขาดกันตามกฎหมาย หรือมีความประสงค์จะไปจดทะเบียนในภายหลัง และต่อมาอีก 5 วัน สามีโทรเลขให้ภริยากลับบ้านบอกว่าฉีกหนังสือนั้นแล้ว ต่อมาได้คืนดีกันและประพฤติต่อกันฉันสามีภริยาอีก ดังนี้ จะถือว่าหย่าขาดจากกันตามหนังสือดังกล่าวไม่ได้
ภริยาส่งจดหมายถึงสามีมีใจความว่า สามีเป็นสัตว์ป่าในร่างมนุษย์ เป็นการหมิ่นประมาทสามีอย่างร้ายแรง อันเป็นเหตุให้สามีฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1500 (2)
ภริยาส่งจดหมายถึงสามีข้อความว่า ภริยาจะจ้างด้วยเงิน ด้วยตัวกับผู้ที่หลงรักภริยา ให้เอาน้ำกรดสาดหน้าสามี ย่อมถือได้ว่าภริยาทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง จนสามีไม่อาจจะอยู่กินกันได้ เพราะอาจได้รับอันตรายจากภริยาเมื่อใดก็ได้ อันเป็นเหตุให้สามีฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1500 (3)
ภริยามีที่ดินและอาคารราคาสองแสนบาทเศษ ใช้อาคารนั้นเป็นหอพักเก็บผลประโยชน์ได้เดือนละ 1,000 บาทเศษ และทำงานได้เงินเดือน ๆ ละ 1,975 บาท ถือว่าภริยามีรายได้พอจากทรัพย์สินและการงานที่ทำ เมื่อหย่ากันโดยสามีภริยาเป็นผู้ต้องรับผิดทั้งสองฝ่าย สามีไม่ต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1506
แม้โจทก์ฟ้องขอหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ราคา 1500 (2) (3) เมื่อพ้นกำหนด 3 เดือนนับแต่วันรู้เหตุหย่าก็ตาม แต่จำเลยไม่ได้ยกเอาเหตุแห่งการระงับของสิทธิฟ้องร้องตามมาตรา 1509 ขึ้นต่อสู้ไว้ ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าจากเหตุหมิ่นประมาท, ทำร้ายร่างกาย, และฐานะทางการเงินของคู่สมรส
สามีภริยาได้ทำหนังสือลงลายมือชื่อสามีภริยาและพยาน 2คน มีข้อความว่าได้พร้อมใจกันเลิกสภาพการเป็นสามีภริยากันตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป. เช่นนี้ เป็นการเลิกสภาพการเป็นสามีภริยาโดยพฤตินัย. แต่โดยทางนิตินัยยังมิได้หย่าขาดกันตามกฎหมาย หรือมีความประสงค์จะไปจดทะเบียนในภายหลัง. และต่อมาอีก 5 วัน สามีโทรเลขให้ภริยากลับบ้านบอกว่าฉีกหนังสือนั้นแล้ว. ต่อมาได้คืนดีกันและประพฤติต่อกันฉันสามีภริยาอีก. ดังนี้ จะถือว่าหย่าขาดจากกันตามหนังสือดังกล่าวไม่ได้.
ภริยาส่งจดหมายถึงสามีมีใจความว่า สามีเป็นสัตว์ป่าในร่างมนุษย์. เป็นการหมิ่นประมาทสามีอย่างร้ายแรง อันเป็นเหตุให้สามีฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1500(2).
ภริยาส่งจดหมายถึงสามีมีข้อความว่า ภริยาจะจ้างด้วยเงิน ด้วยตัวกับผู้ที่หลงรักภริยา ให้เอาน้ำกรดสาดหน้าสามี. ย่อมถือได้ว่าภริยาทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง. จนสามีไม่อาจจะอยู่กินกันได้. เพราะอาจได้รับอันตรายจากภริยาเมื่อใดก็ได้. อันเป็นเหตุให้สามีฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1500(3).
ภริยามีที่ดินและอาคารราคาสองแสนบาทเศษ ใช้อาคารนั้นเป็นหอพักเก็บผลประโยชน์ได้เดือนละ 1,000 บาทเศษ และทำงานได้เงินเดือนเดือนละ 1,975 บาทถือว่าภริยามีรายได้พอจากทรัพย์สินและการงานที่ทำ. เมื่อหย่ากันโดยสามีภริยาเป็นผู้ต้องรับผิดทั้งสองฝ่าย สามีไม่ต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1506.
แม้โจทก์ฟ้องขอหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1500(2)(3). เมื่อพ้นกำหนด 3 เดือนนับแต่วันรู้เหตุหย่าก็ตาม. แต่จำเลยไม่ได้ยกเอาเหตุแห่งการระงับของสิทธิฟ้องร้องตามมาตรา 1509 ขึ้นต่อสู้ไว้. ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่าขาดจากกัน, เหตุหย่าตามกฎหมาย, การระงับสิทธิฟ้องร้อง, และค่าอุปการะเลี้ยงดู
สามีภริยาได้ทำหนังสือลงลายมือชื่อสามีภริยาและพยาน 2คน มีข้อความว่าได้พร้อมใจกันเลิกสภาพการเป็นสามีภริยากันตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เช่นนี้ เป็นการเลิกสภาพการเป็นสามีภริยาโดยพฤตินัย แต่โดยทางนิตินัยยังมิได้หย่าขาดกันตามกฎหมาย หรือมีความประสงค์จะไปจดทะเบียนในภายหลังและต่อมาอีก 5 วัน สามีโทรเลขให้ภริยากลับบ้านบอกว่าฉีกหนังสือนั้นแล้ว ต่อมาได้คืนดีกันและประพฤติต่อกันฉันสามีภริยาอีกดังนี้ จะถือว่าหย่าขาดจากกันตามหนังสือดังกล่าวไม่ได้
ภริยาส่งจดหมายถึงสามีมีใจความว่า สามีเป็นสัตว์ป่าในร่างมนุษย์เป็นการหมิ่นประมาทสามีอย่างร้ายแรง อันเป็นเหตุให้สามีฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1500(2)
ภริยาส่งจดหมายถึงสามีมีข้อความว่า ภริยาจะจ้างด้วยเงิน ด้วยตัวกับผู้ที่หลงรักภริยา ให้เอาน้ำกรดสาดหน้าสามี ย่อมถือได้ว่าภริยาทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรงจนสามีไม่อาจจะอยู่กินกันได้เพราะอาจได้รับอันตรายจากภริยาเมื่อใดก็ได้อันเป็นเหตุให้สามีฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1500(3)
ภริยามีที่ดินและอาคารราคาสองแสนบาทเศษ ใช้อาคารนั้นเป็นหอพักเก็บผลประโยชน์ได้เดือนละ 1,000 บาทเศษ และทำงานได้เงินเดือนเดือนละ 1,975 บาทถือว่าภริยามีรายได้พอจากทรัพย์สินและการงานที่ทำเมื่อหย่ากันโดยสามีภริยาเป็นผู้ต้องรับผิดทั้งสองฝ่าย สามีไม่ต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1506
แม้โจทก์ฟ้องขอหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1500(2)(3) เมื่อพ้นกำหนด 3 เดือนนับแต่วันรู้เหตุหย่าก็ตามแต่จำเลยไม่ได้ยกเอาเหตุแห่งการระงับของสิทธิฟ้องร้องตามมาตรา 1509 ขึ้นต่อสู้ไว้ ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
of 113