คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สวิง ลัดพลี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,124 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดก แม้มีข้อตกลงแบ่งมรดกแล้ว ก็ยังจำเป็นต้องมีผู้จัดการมรดกเพื่อให้การโอนมรดกสมบูรณ์
แม้จะมีข้อตกลงระหว่างผู้ร้องกับผู้คักค้าน ในการแบ่งปันมรดกกันไว้หมดแล้ว แต่การที่จะจัดการโอนมรดกให้แก่กันตามข้อตกลง ก็ยังจำเป็นจะต้องมีผู้จัดการมรดกเป็นผู้จัดการให้บังเกิดผลเสร็จสิ้นไปตามข้อตกลงนั้น
ในคดีที่ร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดก ผู้ร้องจะต้องบรรยายในคำร้องถึงรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงและพฤติการณ์อันจำเป็นและสมควรที่จะต้องมีผู้จัดการมรดก ให้ได้ความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 เท่านั้น ข้อตกลงแบ่งทรัพย์ระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านมิใช่รายละเอียดเกี่ยวกับประเด็นที่ศาลจะพึงต้องพิจารณา ผู้ร้องจึงไม่ จำต้องบรรยายถึงข้อตกลงนั้นมาในคำร้อง หรือต้องคัดสำเนาข้อตกลงยื่นต่อศาลพร้อมคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดก แม้มีข้อตกลงแบ่งมรดกแล้ว ก็ยังจำเป็นเพื่อจัดการโอนทรัพย์ให้สมบูรณ์ตามข้อตกลง
แม้จะมีข้อตกลงระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้าน ในการแบ่งปันมรดกกันไว้หมดแล้ว แต่การที่จะจัดการโอนมรดกให้แก่กันตามข้อตกลง ก็ยังจำเป็นจะต้องมีผู้จัดการมรดกเป็นผู้จัดการให้บังเกิดผลเสร็จสิ้นไปตามข้อตกลงนั้น
ในคดีที่ร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดก ผู้ร้องจะต้องบรรยายในคำร้องถึงรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงและพฤติการณ์อันจำเป็นและสมควรที่จะต้องมีผู้จัดการมรดก ให้ได้ความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 เท่านั้น ข้อตกลงแบ่งทรัพย์ระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านมิใช่รายละเอียดเกี่ยวกับประเด็นที่ศาลจะพึงต้องพิจารณา ผู้ร้องจึงไม่จำต้องบรรยายถึงข้อตกลงนั้นมาในคำร้อง หรือต้องคัดสำเนาข้อตกลงยื่นต่อศาลพร้อมคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1435/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้โดยการบังคับคดี: วันที่ชำระหนี้เสร็จคือวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับเงินจากการขายทอดตลาด
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งดำเนินการตามหมายบังคับคดีได้ทำการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลย รวมทั้งรับเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไว้เพื่อชำระหนี้ให้โจทก์พร้อม ด้วยดอกเบี้ย เจ้าพนักงานบังคับคดีได้กระทำไปในฐานเป็นผู้แทนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 278 จึงต้องถือว่าเงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลยซึ่งครบจำนวนหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยทั้งหมด เป็นเงินที่โจทก์ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์ของจำเลยเสร็จในวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดและรับเงินไว้แทนโจทก์แล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์หลังจากวันนั้นอีกต่อไป ส่วนการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินให้โจทก์ในภายหลัง เป็นเรื่องของเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้แทนโจทก์เพิ่งส่งเงินที่รับไว้แทนโจทก์ให้แก่โจทก์ จึงถือเอาวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินให้โจทก์เป็นวันที่จำเลยชำระหนี้เสร็จตามคำพิพากษาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1435/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้จากการบังคับคดี: วันที่ชำระหนี้เสร็จคือวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีรับเงิน ไม่ใช่จ่ายเงินให้เจ้าหนี้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งดำเนินการตามหมายบังคับคดี ได้ทำการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลย รวมทั้งรับเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไว้เพื่อชำระหนี้ให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย เจ้าพนักงานบังคับคดีได้กระทำไปในฐานเป็นผู้แทนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 278 จึงต้องถือว่าเงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลยซึ่งครบจำนวนหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยทั้งหมด เป็นเงินที่โจทก์ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์ของจำเลยเสร็จในวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาด และรับเงินไว้แทนโจทก์แล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์หลังจากวันนั้นอีกต่อไป ส่วนการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินให้โจทก์ในภายหลัง เป็นเรื่องของเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้แทนโจทก์เพิ่งส่งเงินที่รับไว้แทนโจทก์ให้แก่โจทก์ จึงถือเอาวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินให้โจทก์เป็นวันที่จำเลยชำระหนี้เสร็จตามคำพิพากษาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1430-1432/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าช่วง: ความรับผิดของผู้ให้เช่าช่วงเมื่อสัญญาหลักสิ้นสุด และสิทธิในการเรียกค่าเช่าคืน
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินจากเจ้าของที่ดินเพื่อปลูกสร้างตึกแถวให้เช่า โดยเมื่อจำเลยสร้างตึกเสร็จ ตึกตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดิน แต่เจ้าของที่ดินยอมให้จำเลยมีสิทธิครอบครองและให้เช่าช่วงต่อไปได้การที่โจทก์เช่าตึกรายนี้จากจำเลยจึงเป็นการเช่าช่วงโดยชอบ แต่เมื่อต่อมาเจ้าของที่ดินบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลย และใช้สิทธิครอบครองตึกเพราะจำเลยผิดสัญญา จำเลยก็หมดสิทธิที่จะครอบครองและให้โจทก์เช่าช่วงได้ต่อไป ถือได้ว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาเช่าที่ทำไว้กับโจทก์ เพราะจำเลยไม่สามารถให้โจทก์ได้ใช้ประโยชน์ในตึกที่เช่าได้ตามสัญญา และกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องที่จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทให้เจ้าของที่ดินหลังจากที่จำเลยให้โจทก์เช่า จึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 เจ้าของที่ดินไม่ต้องรับเอาผลของสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยแต่ประการใด
ฟ้องเรียกเงินค่าเช่าที่ชำระให้ผู้ให้เช่าไปล่วงหน้าคืนมีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1430-1432/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าช่วง: ผลกระทบจากการบอกเลิกสัญญาเช่าหลัก และสิทธิเรียกร้องเงินค่าเช่าล่วงหน้าคืน
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินจากเจ้าของที่ดินเพื่อปลูกสร้างตึกแถวให้เช่า โดยเมื่อจำเลยสร้างตึกเสร็จ ตึกตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของทีดิน แต่เจ้าของที่ดินยอมให้จำเลยมีสิทธิครอบครองและให้เช่าช่วงต่อไปได้ การที่โจทก์เช่าตึกรายนี้จากจำเลยจึงเป็นการเช่าช่วงโดยชอบ แต่เมื่อต่อมาเจ้าของที่ดินบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลย และใช้สิทธิครอบครองตึกเพราะจำเลยผิดสัญญา จำเลยก็หมดสิทธิที่จะครอบครองและให้โจทก์เช่าช่วงได้ต่อไป ถือได้ว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาเช่าที่ทำไว้กับโจทก์ เพราะจำเลยไม่สามารถให้โจทก์ได้ใช้ประโยชน์ในตึกที่เช่าได้ตามสัญญา และกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องที่จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทให้เจ้าของที่ดินหลังจากที่จำเลยให้โจทก์เช่า จึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 เจ้าของที่ดินไม่ต้องรับเอาผลของสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยแต่ประการใด
ฟ้องเรียกเงินค่าเช่าที่ชำระให้ผู้เช่าไปล่วงหน้าคืน มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1420/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน แม้ยังไม่ได้รังวัดแบ่งแยกที่ดิน การแบ่งเงินจากการขายต้องเป็นไปตามข้อตกลง
ที่พิพาทมีชื่อโจทก์จำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในโฉนดโดยมิได้ระบุส่วนของใครเท่าใด ในเบื้องต้นก็ต้องถือว่าโจทก์จำเลยต่างมีส่วนเป็นเจ้าของคนละครึ่ง แต่เมื่อต่อมาโจทก์จำเลยได้ตกลงแบ่งที่พิพาทกัน จำเลยได้ 3 ไร่ โจทก์ได้ 5 ไร่ 70 ตารางวา ข้อตกลงแบ่งที่ดินดังกล่าวนี้เข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 เพราะการตกลงกำหนดลงไปว่า ใครได้เนื้อที่เท่าไรย่อมเป็นการระงับข้อพิพาทอันจะมีขึ้นให้เสร็จไปไม่ต้องโต้เถียงกันว่าฝ่ายใดมีเหตุสมควรจะได้มากได้น้อยกว่าครึ่งอย่างไร เมื่อข้อตกลงนี้ได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์จำเลยเป็นสำคัญ ซึ่งโจทก์จำเลยต่างรับรองต้องกัน จึงมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ส่วนที่การรังวัดแบ่งแยกให้เป็นไปตามคำขอ ยังมิได้สำเร็จลง จะเป็นเพราะเหตุใดก็ตาม ก็ไม่ทำให้ข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1420/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน แม้ยังมิได้รังวัดแบ่งแยกที่ดิน
ที่พิพาทมีชื่อโจทก์จำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในโฉนด โดยมิได้ระบุส่วนของใครเท่าใด ในเบื้องต้นก็ต้องถือว่าโจทก์จำเลยต่างมีส่วนเป็นเจ้าของคนละครึ่ง แต่เมื่อต่อมาโจทก์จำเลยได้ตกลงแบ่งที่พิพาทกัน จำเลยได้ 3 ไร่ โจทก์ได้ 5 ไร่ 70 ตารางวา ข้อตกลงแบ่งที่ดินดังกล่าวนี้เข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 เพราะการตกลงกำหนดลงไปว่า ใครได้เนื้อที่เท่าไรย่อมเป็นการระงับข้อพิพาทอันจะมีขึ้นให้เสร็จไปไม่ต้องโต้เถียงกันว่าฝ่ายใดมีเหตุสมควรจะได้มากได้น้อยกว่าครึ่งอย่างไร เมื่อข้อตกลงนี้ได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์จำเลยเป็นสำคัญ ซึ่งโจทก์จำเลยต่างรับรองต้องกัน จึงมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ส่วนที่การรังวัดแบ่งแยกให้เป็นไปตามคำขอ ยังมิได้สำเร็จลง จะเป็นเพราะเหตุใดก็ตาม ก็ไม่ทำให้ข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินมือเปล่าจากผู้ไม่มีสิทธิ การคุ้มครองผู้รับโอน และอายุความฟ้องเพิกถอนนิติกรรม
ผู้รับโอนที่ดินมือเปล่าทางทะเบียนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนจากผู้โอนซึ่งไม่ใช่เจ้าของและไม่มีสิทธิครอบครอง ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300และผู้รับโอนนี้จะอ้างว่าได้สิทธิโดยการครอบครองก็ไม่ได้ เพราะครอบครองยังไม่ครบ 1 ปี
บริวารของผู้ครอบครองที่มิได้ต่อสู้ว่าได้สืบสิทธิมาจากผู้ครอบครองจะอ้างข้อต่อสู้ของผู้ครอบครองยันโจทก์ไม่ได้
การฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมมีอายุความ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยผู้ไม่มีสิทธิและผลกระทบต่อผู้รับโอนสุจริต รวมถึงอายุความฟ้องเพิกถอนนิติกรรม
ผู้รับโอนที่ดินมือเปล่าทางทะเบียนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนจากผู้โอนซึ่ง ไม่ใช่เจ้าของและไม่มีสิทธิครอบครอง ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 และผู้รับโอนนี้จะอ้างว่าได้สิทธิโดยการครอบครองก็ไม่ได้ เพราะครอบครองยังไม่ครบ 1 ปี
บริวารของผู้ครอบครองที่มิได้ต่อสู้ว่าได้สิทธิว่าได้สืบสิทธิมาจากผู้ครอบครอง จะอ้างข้อต่อสู้ของผู้ครอบครองยันโจทก์ไม่ได้
การฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมมีอายุความ 10 ปี
of 113