คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สวิง ลัดพลี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,124 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041-1046/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จและผลกระทบต่อการลงโทษซ้ำซ้อน ศาลฎีกาตัดสินเรื่องกรรมเดียวแต่ฟ้องหลายสำนวน
จำเลยทำผิดเป็นกรรมเดียว แต่โจทก์แต่ละคนแยกฟ้องจำเลยเป็น 5 สำนวน จึงแยกสำนวนลงโทษจำเลยเรียงไปแต่ละสำนวนมิได้ มิฉะนั้นก็จะกลายเป็นว่าจำเลยทำผิดเพียงครั้งเดียว แต่ถูกลงโทษในความผิดอันเดียวกันนั้นซ้ำกันหลายๆ ครั้งได้
คดีที่ศาลชั้นต้นลงโทษ 6 เดือน และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้รอการลงโทษ โจทก์ฎีกาขอมิให้รอการลงโทษจำเลย เป็นฎีกาในเรื่องดุลพินิจของศาล เป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินธรณีสงฆ์ที่เป็นโมฆะ เนื่องจากการสมยอมกันโดยไม่สุจริต และการไม่มีนิติสัมพันธ์กับวัด
เดิมกรมการศาสนาเป็นผู้ดูแลและจัดการผลประโยชน์ที่ดินธรณีสงฆ์ของวัดจำเลย. เมื่อกรมการศาสนาฟ้อง ส.และว.ขอเลิกการเช่า. ได้มีผู้อื่นยื่นคำเสนอขอเช่าที่ดินแปลงนี้หลายราย. แต่กรมการศาสนามิได้พิจารณาให้ผู้ใดเช่า.กรมการศาสนาได้บอกปัดข้อเสนอของโจทก์และผู้แทนชาวตลาด.ไม่ยอมทำสัญญาเช่าให้โจทก์กับพวกตามความเห็นของพระพุทธิวงศาจารย์ผู้รักษาการเจ้าอาวาส.ซึ่งพระพุทธิวงศาจารย์ก็มิได้มีปฏิกิริยาคัดค้านอำนาจของกรมการศาสนาแต่ประการใด. คงรับรองอำนาจของกรมการศาสนาว่ามีอำนาจเด็ดขาดที่จะให้เช่าหรือไม่ให้เช่าที่พิพาท. จึงถือไม่ได้ว่ากรมการศาสนาร่วมกับพระพุทธิวงศาจารย์ได้ตกลงให้โจทก์กับพวกเช่าที่ดินพิพาท. เมื่อกรมการศาสนาผู้มีอำนาจจัดการให้เช่าที่ดินพิพาทไม่ยอมทำสัญญาเช่าให้โจทก์.ข้อเสนอเช่าของโจทก์ย่อมตกไป. โจทก์และวัดจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์อย่างใดต่อกัน. แม้สัญญาเช่าฉบับนี้จะได้ทำกันภายหลังที่พระพุทธิวงศาจารย์ถอนอำนาจจัดการผลประโยชน์จากกรมการศาสนามาจัดการเองในฐานะผู้รักษาการเจ้าอาวาสและมีอำนาจที่จะทำสัญญาให้เช่าที่พิพาทได้ก็ดี.
จ.มีผลประโยชน์ร่วมกับพวกโจทก์หากได้เช่าตลาดพิพาทเป็นเวลานานปี. แต่พระพุทธิวงศาจารย์ กลับตั้งให้จ.เป็นไวยาวัจกรของวัด. มอบอำนาจให้จ.ทำสัญญาเช่าฉบับพิพาทกับโจทก์เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2505 และเก็บค่าเช่าในนามของวัดจำเลย. จนกระทั่งพระพุทธิวงศาจารย์พ้นจากตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2507 และไม่ยอมมอบงานให้แก่พระครูวินัยธรนวนเจ้าอาวาสองค์ใหม่. ต่อมาวันที่ 2 สิงหาคม 2507 พระพุทธิวงศาจารย์จึงได้มอบงานในหน้าที่ให้พระครูวินัยธรนวน. จึงได้ปรากฏสัญญาเช่าฉบับพิพาทขึ้นว่า พระพุทธิวงศาจารย์ได้มอบอำนาจให้ จ. ทำสัญญาเช่ากับโจทก์แล้วแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2505.พฤติการณ์ดังนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าสัญญาเช่าฉบับนี้เกิดจากพระพุทธิวงศาจารย์และ จ.สมยอมกับโจทก์ทำขึ้นโดยไม่สุจริต. เพราะโจทก์เองก็รู้แล้วว่าเป็นทางให้วัดจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและตลาดได้รับความเสียหาย. สัญญาเช่าฉบับลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2505 ระหว่างโจทก์กับพระพุทธิวงศาจารย์จึงไม่ผูกพันวัดจำเลย. โจทก์ไม่มีอำนาจนำสัญญาเช่าซึ่งเกิดจากการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของโจทก์มาฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามสัญญาหรือบังคับให้จดทะเบียนสัญญาเช่าตามฟ้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินธรณีสงฆ์โมฆะ: การสมยอมทุจริตและขาดนิติสัมพันธ์ที่ถูกต้อง
เดิมกรมการศาสนาเป็นผู้ดูแลและจัดการผลประโยชน์ที่ดินธรณีสงฆ์ของวัดจำเลย เมื่อกรมการศาสนาฟ้อง ส.และว.ขอเลิกการเช่า ได้มีผู้อื่นยื่นคำเสนอขอเช่าที่ดินแปลงนี้หลายราย แต่กรมการศาสนามิได้พิจารณาให้ผู้ใดเช่า กรมการศาสนาได้บอกปัดข้อเสนอของโจทก์และผู้แทนชาวตลาด ไม่ยอมทำสัญญาเช่าให้โจทก์กับพวกตามความเห็นของพระพุทธิวงศาจารย์ผู้รักษาการเจ้าอาวาส ซึ่งพระพุทธิวงศาจารย์ก็มิได้มีปฏิกิริยาคัดค้านอำนาจของกรมการศาสนาแต่ประการใด คงรับรองอำนาจของกรมการศาสนาว่ามีอำนาจเด็ดขาดที่จะให้เช่าหรือไม่ให้เช่าที่พิพาท จึงถือไม่ได้ว่ากรมการศาสนาร่วมกับพระพุทธิวงศาจารย์ได้ตกลงให้โจทก์กับพวกเช่าที่ดินพิพาท เมื่อกรมการศาสนาผู้มีอำนาจจัดการให้เช่าที่ดินพิพาทไม่ยอมทำสัญญาเช่าให้โจทก์ ข้อเสนอเช่าของโจทก์ย่อมตกไป โจทก์และวัดจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์อย่างใดต่อกัน แม้สัญญาเช่าฉบับนี้จะได้ทำกันภายหลังที่พระพุทธิวงศาจารย์ถอนอำนาจจัดการผลประโยชน์จากกรมการศาสนามาจัดการเองในฐานะผู้รักษาการเจ้าอาวาสและมีอำนาจที่จะทำสัญญาให้เช่าที่พิพาทได้ก็ดี
จ.มีผลประโยชน์ร่วมกับพวกโจทก์หากได้เช่าตลาดพิพาทเป็นเวลานานปี แต่พระพุทธิวงศาจารย์ กลับตั้งให้จ.เป็นไวยาวัจกรของวัด มอบอำนาจให้จ.ทำสัญญาเช่าฉบับพิพาทกับโจทก์เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2505 และเก็บค่าเช่าในนามของวัดจำเลย จนกระทั่งพระพุทธิวงศาจารย์พ้นจากตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2507 และไม่ยอมมอบงานให้แก่พระครูวินัยธรนวนเจ้าอาวาสองค์ใหม่ ต่อมาวันที่ 2 สิงหาคม 2507 พระพุทธิวงศาจารย์จึงได้มอบงานในหน้าที่ให้พระครูวินัยธรนวน จึงได้ปรากฏสัญญาเช่าฉบับพิพาทขึ้นว่า พระพุทธิวงศาจารย์ได้มอบอำนาจให้ จ. ทำสัญญาเช่ากับโจทก์แล้วแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2505 พฤติการณ์ดังนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าสัญญาเช่าฉบับนี้เกิดจากพระพุทธิวงศาจารย์และ จ.สมยอมกับโจทก์ทำขึ้นโดยไม่สุจริต เพราะโจทก์เองก็รู้แล้วว่าเป็นทางให้วัดจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและตลาดได้รับความเสียหาย สัญญาเช่าฉบับลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2505 ระหว่างโจทก์กับพระพุทธิวงศาจารย์จึงไม่ผูกพันวัดจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจนำสัญญาเช่าซึ่งเกิดจากการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของโจทก์มาฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามสัญญาหรือบังคับให้จดทะเบียนสัญญาเช่าตามฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำในคดีอาญาที่ศาลได้พิพากษาถึงที่สุดแล้ว ถือเป็นการระงับสิทธิฟ้องร้อง
โจทก์ฟ้องคดีก่อนที่พนักงานอัยการจะเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยและโจทก์ที่ 2 ในความผิดอันเกิดจากกรรมเดียวกัน. ศาลสั่งให้รอคดีโจทก์ไว้จนกว่าคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์จะถึงที่สุด. เมื่อศาลได้พิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่พนักงานอัยการได้ฟ้องคู่กรณีในเรื่องนี้ทั้งสองฝ่ายนั้นไปแล้ว. โดยพิพากษายกฟ้องว่าทั้งสองฝ่ายต่างไม่มีความผิด. โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีนั้นด้วยจะกลับมารื้อร้องฟ้องให้ศาลทำการพิจารณาพิพากษาคดีซึ่งเกิดจากกรรมอันเดียวกันนั้นอีก. โดยให้ศาลพิพากษาเสียใหม่ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดไม่ได้. เพราะตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 บัญญัติว่า สิทธินำคดีมาฟ้องย่อมระงับไป '(4) เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง' นั้น. ย่อมมีความมุ่งหมายว่า คดีอาญาที่มีผู้นำมาฟ้องร้องต่อศาลนั้นให้ทำได้แต่เพียงครั้งเดียวหรือคราวเดียว. ห้ามการฟ้องซ้ำให้เป็นที่ยุ่งยากแก่การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของศาล.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำในความผิดกรรมเดียวกันหลังมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ถือเป็นการระงับสิทธิฟ้อง
โจทก์ฟ้องคดีก่อนที่พนักงานอัยการจะเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยและโจทก์ที่ 2 ในความผิดอันเกิดจากกรรมเดียวกัน ศาลสั่งให้รอคดีโจทก์ไว้จนกว่าคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์จะถึงที่สุด เมื่อศาลได้พิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่พนักงานอัยการได้ฟ้องคู่กรณีในเรื่องนี้ทั้งสองฝ่ายนั้นไปแล้ว โดยพิพากษายกฟ้องว่าทั้งสองฝ่ายต่างไม่มีความผิด โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีนั้นด้วยจะกลับมารื้อร้องฟ้องให้ศาลทำการพิจารณาพิพากษาคดีซึ่งเกิดจากกรรมอันเดียวกันนั้นอีก โดยให้ศาลพิพากษาเสียใหม่ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดไม่ได้ เพราะตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 บัญญัติว่า สิทธินำคดีมาฟ้องย่อมระงับไป "(4) เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง" นั้น ย่อมมีความมุ่งหมายว่า คดีอาญาที่มีผู้นำมาฟ้องร้องต่อศาลนั้นให้ทำได้แต่เพียงครั้งเดียวหรือคราวเดียว ห้ามการฟ้องซ้ำให้เป็นที่ยุ่งยากแก่การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำหลังมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดเดียวกัน สิทธิฟ้องระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
โจทก์ฟ้องคดีก่อนที่พนักงานอัยการจะเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยและโจทก์ที่ 2 ในความผิดอันเกิดจากกรรมเดียวกัน ศาลสั่งให้รอคดีโจทก์ไว้จนกว่าคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์จะถึงที่สุด เมื่อศาลได้พิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่พนักงานอัยการได้ฟ้องคู่กรณีในเรื่องนี้ทั้งสองฝ่ายนั้นไปแล้ว โดยพิพากษายกฟ้องว่าทั้งสองฝ่ายต่างไม่มีความผิด โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีนั้นด้วยจะกลับมารื้อร้องฟ้องให้ศาลทำการพิจารณาพิพากษาคดีซึ่งเกิดจากกรรมอันเดียวกันนั้นอีก โดยให้ศาลพิพากษาเสียใหม่ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดไม่ได้ เพราะตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 บัญญัติว่า สิทธินำคดีมาฟ้องย่อมระงับไป "(4) เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง" นั้น ย่อมมีความมุ่งหมายว่า คดีอาญาที่มีผู้นำมาฟ้องร้องต่อศาลนั้นให้ทำได้แต่เพียงครั้งเดียวหรือคราวเดียว ห้ามการฟ้องซ้ำให้เป็นที่ยุ่งยากแก่การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 998/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต: ไม่เข้าข่ายริบยาเพราะยาชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยได้รับอนุญาตให้ขายยาได้แต่เฉพาะยาสำเร็จรูปซึ่งไม่ใช่ยาอันตราย. จำเลยได้ขายยาซึ่งเป็นยาอันตรายตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข โดยจำเลยมิได้รับอนุญาตให้ขายยาประเภทก.. ความผิดของจำเลยจึงอยู่ที่มิได้รับใบอนุญาตขายยาประเภทดังกล่าวจากพนักงานเจ้าหน้าที่. ยาของกลางที่ยึดมาจากจำเลยนั้น แม้จะเป็นยาอันตราย แต่ก็เป็นยาชอบด้วยกฎหมายและอาจขายได้ หากจำเลยได้รับใบอนุญาตให้ขายยาจากพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อน. จึงไม่ใช่สิ่งของที่จำเลยใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิดโดยตรงอันจะพึงต้องริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ศาลจึงไม่ริบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 998/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต: ไม่ถือเป็นสิ่งของที่ใช้ในการกระทำผิดโดยตรง จึงไม่ริบ
จำเลยได้รับอนุญาตให้ขายยาได้แต่เฉพาะยาสำเร็จรูปซึ่งไม่ใช่ยาอันตราย จำเลยได้ขายยาซึ่งเป็นยาอันตรายตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข โดยจำเลยมิได้รับอนุญาตให้ขายยาประเภทก. ความผิดของจำเลยจึงอยู่ที่มิได้รับใบอนุญาตขายยาประเภทดังกล่าวจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ยาของกลางที่ยึดมาจากจำเลยนั้น แม้จะเป็นยาอันตราย แต่ก็เป็นยาชอบด้วยกฎหมายและอาจขายได้ หากจำเลยได้รับใบอนุญาตให้ขายยาจากพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อน จึงไม่ใช่สิ่งของที่จำเลยใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิดโดยตรงอันจะพึงต้องริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ศาลจึงไม่ริบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 998/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต: ยาชอบด้วยกฎหมายไม่เข้าข่ายต้องริบ
จำเลยได้รับอนุญาตให้ขายยาได้แต่เฉพาะยาสำเร็จรูปซึ่งไม่ใช่ยาอันตราย จำเลยได้ขายยาซึ่งเป็นยาอันตรายตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข โดยจำเลยมิได้รับอนุญาตให้ขายยาประเภท ก. ความผิดของจำเลยจึงอยู่ที่มิได้รับใบอนุญาตขายยาประเภทดังกล่าวจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ยาของกลางที่ยึดมาจากจำเลยนั้น แม้จะเป็นยาอันตราย แต่ก็เป็นยาชอบด้วยกฎหมายและอาจขายได้ หากจำเลยได้รับใบอนุญาตให้ขายยาจากพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อน จึงไม่ใช่สิ่งของที่จำเลยใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิดโดยตรงอันจะพึงต้องริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ศาลจึงไม่ริบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ร่วมกับผู้อื่นหลอกลวงให้ลงนามในสัญญา ทำให้เกิดความเสียหาย
นายอำเภอสั่งให้จำเลยที่ 1 จัดการเรื่องเพิกถอนการร้องขอขายที่ดินจัดการใส่ชื่อบุตรโจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของที่ดิน. จำเลยที่ 1 ก็ไม่ยอมปฏิบัติ. กลับพูดจาเป็นทำนองขู่เข็ญโจทก์. ยิ่งกว่านั้นยังร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 พูดหลอกลวงโจทก์ให้ลงชื่อเป็นพยานในสัญญากู้เงินระหว่างจำเลยที่ 2 ที่ 3. โดยบอกว่าเป็นการถอนเรื่องการซื้อขาย โอนชื่อให้เด็กได้. จึงเป็นการส่อแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่ 1 ว่า ตั้งใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ. และเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เพราะโจทก์โอนที่ดินให้บุตรไม่ได้. และถ้าโจทก์ไม่ทราบถึงการหลอกลวงของจำเลยทั้งสามคนหลงเชื่อตาม.เมื่อเวลาเนิ่นนานออกไป สิทธิที่โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ปฏิบัติตามสัญญาหย่าอาจขาดอายุความได้. นอกจากนั้น จำเลยทั้งสามยังร่วมกันก่อให้เกิดภาระผูกพันกับที่ดิน โดยนำที่ดินไปเป็นหลักประกันในสัญญากู้เงิน. และการกระทำของจำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต. จำเลยที่ 2 ที่ 3ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1. แต่มิได้เป็นเจ้าพนักงาน. จึงมีความผิดฐานสนับสนุนการกระทำผิด.
of 113