คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ภาษีชั้นใน (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2486

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีและใช้แสตมป์สุราปลอมเป็นความผิดตามกฎหมายอาญา แม้โจทก์มิได้อ้าง พ.ร.บ.ภาษีชั้นใน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสั่งให้กรมสรรพสามิตจัดทำแสตมป์สุราขึ้นใช้ในสมัยที่ใช้ พ.ร.บ.ภาษีชั้นใน(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2486 นั้น หาจำเป็นต้องออกเป็นกฎกระทรวงเสียก่อนดังเช่น พ.ร.บ.สุรา พ.ศ.2493บังคับไว้ ก็สมบูรณ์และย่อมถือว่าแสตมป์สุรานั้นเป็นบัตรตาม กฎหมายแล้ว ผู้ใดมีไว้หรือใช้แสตมป์สุราปลอม ย่อมมีผิดตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 216
ฟ้องหาว่าจำเลยมีและใช้แสตมป์สุราปลอม ขอให้ลงโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 216 นั้น ย่อมหมายถึงแสตมป์สุราตาม พ.ร.บ.ภาษีชั้นในนั่นเอง แม้โจทก์ไม่อ้างพ.ร.บ.ภาษีชั้นในมาก็หาทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่
การมีแสตมป์สุราปลอมไว้จำหน่ายนั้นเป็นผิดมาตรา 216
ในกรณีที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้ชี้ขาดข้อเท็จจริงนั้นกฎหมายบัญญัติให้ศาลอุทธรณ์ ฎีกามีอำนาจสั่งย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นชี้ขาดข้อเท็จจริงได้ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ฎีกาเห็นไม่จำเป็นต้องใช้อำนาจนั้น ก็ชี้ขาดข้อเท็จจริงไปได้โดยไม่ต้องใช้อำนาจที่ กฎหมายให้ไว้ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้แสตมป์สุราปลอมเป็นความผิดตามกฎหมาย แม้ไม่มีกฎกระทรวงรองรับ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังส่งให้กรมสรรพสามิตต์จัดทำแสตมป์สุราขึ้นใช้ในสมัยที่ใช้ พ.ร.บ.ภาษีชั้นใน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2486 นั้น หาจำเป็นต้องออกเป็นกฎกระทรวงเสียก่อนดังเช่น พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 บังคับไว้ ก็สมบูรณ์และย่อมถือว่าแสตมป์สุรานั้นเป็นบัตรตาม ก.ม.แล้ว ผู้ใดมีไว้หรือใช้แสดมป์สุราปลอม ย่อมมีผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 216
ฟ้องหาว่าจำเลยมีและใช้แสตมป์สุราปลอม ขอให้ลงโทษตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 216 นั้น ย่อมหมายถึงแสตมป์สุราตาม พ.ร.บ.ภาษีชั้นในนั่นเอง, แม้โจทก์ไม่อ้าง พ.ร.บ.ภาษีชั้นในมาก็หาทำให้เป็นการฟ้องเคลือบคลุมไม่
การมีแสตมป์สุราปลอมไว้จำหน่ายนั้นเป็นผิดมาตรา 216
ในกรณีที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้ชี้ขาดข้อเท็จจริงนั้น กฎหมายบัญญัติให้ศาลอุทธรณ์, ฎีกามีอำนาจสั่งย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นชี้ขาดข้อเท็จจริงได้ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ฎีกาเห็นไม่จำเบ็นต้องใช้อำนาจนั้น ก็ชี้ขาดข้อเท็จจริงไปได้โดยไม่ต้องใช้อำนาจที่ ก.ม.ให้ไว้ดังกล่าว