คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1698 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6013/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการวินิจฉัยพินัยกรรมปลอม และสิทธิผู้รับพินัยกรรม/ทายาทโดยธรรมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้ร้องอ้างสิทธิในคำร้องขอจัดการมรดกว่าร้องขอในฐานะที่ผู้ร้องเป็นผู้รับพินัยกรรม มิได้ร้องขอในฐานะทายาทโดยธรรมด้วย เมื่อผู้คัดค้านอ้างในคำคัดค้านว่าพินัยกรรมดังกล่าวผู้ร้องทำปลอมขึ้นปัญหาว่าพินัยกรรมปลอมหรือไม่ย่อมเป็นประเด็นที่จำต้องวินิจฉัยเพราะหากพินัยกรรมที่ผู้ร้องอ้างเป็นพินัยกรรมที่ผู้ร้องทำปลอมขึ้นผู้ร้องย่อมถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1606(5) จึงไม่มีอำนาจร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดก แม้ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อนี้ผู้ร้องซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีในศาลชั้นต้นก็มีสิทธิที่จะอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ก็ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยประเด็นข้อนี้ ซึ่งเป็นประเด็นแห่งคดีที่ถูกต้องได้ ท. ซึ่งมีสิทธิรับมรดกตามพินัยกรรมข้อ 9 และข้อ 10 ตายก่อนเจ้ามรดก ข้อกำหนดในพินัยกรรมส่วนนี้จึงเป็นอันตกไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1698(1) และต้องบังคับตามมาตรา 1699 ประกอบมาตรา 1620 วรรคสอง กล่าวคือต้องตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก ซึ่งรวมทั้งผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านในฐานะทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกจึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ศาลย่อมใช้ดุลพินิจคำนึงถึงความเหมาะสมหรือพฤติการณ์เพื่อประโยชน์แก่กองมรดกข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้คัดค้านมีความประพฤติดีไม่เคยทำร้ายหรือเป็นหนี้เจ้ามรดกดังคำพยานผู้ร้อง ส่วนข้อที่ผู้คัดค้านอ้างเป็นเหตุไม่สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกก็เป็นเรื่องเล็กน้อยเมื่อผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 จึงสมควรตั้งผู้ร้องและ ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2784/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมชอบด้วยกฎหมาย การตกทอดมรดก และข้อยกเว้นการรับมรดกตามพินัยกรรม
คู่ความยอมรับกันว่า ไม่มีอะไรที่จะต้องนำสืบกันต่อไปคงขอให้ศาลวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเพียงว่าพินัยกรรมสมบูรณ์โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เท่านั้น แล้วให้ศาลพิพากษาไปตามรูปคดี จึงเป็นที่เห็นได้ว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายต่างสละประเด็นอื่น รวมทั้งประเด็นที่ว่ามรดกรายนี้มีพินัยกรรมหรือไม่แล้ว อันเป็นการยอมรับว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมฉบับที่จำเลยอ้างจริง เป็นแต่โต้เถียงกันว่าเป็นพินัยกรรมที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เท่านั้น การที่โจทก์ และโจทก์ร่วมอุทธรณ์ฎีกาว่า พินัยกรรมฉบับนั้นเป็นเพียงร่างพินัยกรรมยังไม่ได้ทำพินัยกรรมตัวจริงขึ้นเลยก็เท่ากับอุทธรณ์ฎีกาว่ามรดกรายนี้ไม่มีพินัยกรรมซึ่งเป็นประเด็นที่คู่ความทั้งสองฝ่ายต่างสละแล้วนั่นเองโจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิยกประเด็นข้อนี้ขึ้นกล่าวอ้างอีกได้
ผู้ตายทำพินัยกรรมยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างส่วนหนึ่งให้บุตรคนหนึ่งแต่บุตรผู้รับพินัยกรรมนั้นตายไปก่อนผู้ทำพินัยกรรมข้อกำหนดเกี่ยวกับทรัพย์สินตามพินัยกรรมนั้นจึงเป็นอันตกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1698(1) และต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1699 ประกอบกับ มาตรา 1620 วรรคสอง ทรัพย์สินดังกล่าวต้องตกทอดแก่ผู้สืบสันดานของบุตรผู้รับพินัยกรรมซึ่งตายไปก่อนผู้ทำพินัยกรรมนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1639

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินเดิม, สินสมรส, พินัยกรรม, การแบ่งมรดก, สิทธิทายาท
"สินเดิม" คือทรัพย์สินของผัวหรือของเมียที่มีอยู่ก่อนแต่งงาน ซึ่งอาจนำมาใช้ประกอบการทำมาหากินให้เกิดผลได้ หรืออาจนำมาใช้เพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งในภายหลังที่ทำการสมรสแล้ว ถึงแม้จะมิได้นำมาบริคณห์กันในเวลาแต่งงานแล้วก็ดี
การที่โจทก์มีเงินสดติดตัวมาและมีเครื่องทองเพชรสำหรับแต่งตัวเป็นสินเดิมมา เมื่อมาอยู่กับเจ้ามรดกแม้เจ้ามรดกทำแต่ราชการอย่างเดียวมิได้ค้าขายก็ถือว่ามีสินเดิม มีสิทธิขอแบ่งสินสมรสได้
ผู้ทำพินัยกรรมจะเอาส่วนสินสมรสของโจทก์ไปทำยกให้ผู้อื่นไม่ได้
เมื่อพินัยกรรมระบุยกทรัพย์สินให้ น.ส.หนุ่ย.น.ส.หนุ่ยตายก่อนเจ้ามรดก ต้องเอาส่วนของ น.ส.หนุ่ยมาแบ่งแก่ทายาทที่มิได้มีคำสั่งกำจัดมรดกทุกคน
การที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งสินสมรสและส่วนมรดก ไม่เป็นการฟ้องให้เพิกถอนข้อกำหนดในพินัยกรรม จึงไม่จำต้องฟ้องภายใน 3 เดือน นับแต่ทราบข้อความในพินัยกรรม
การยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม ไม่ใช่เป็นการรับรองพินัยกรรม พินัยกรรมระบุจำนวนเงินที่จะใช้ทำศพแน่นอน ถ้าผู้จัดการมรดกใช้เงินเกินไปจากที่กำหนด ที่ประชุมใหญ่ให้ถือว่าเป็นหนี้ทางศีลธรรมซึ่งผู้ออกเงินไป สมัครออกไปเองจะหักเงินนี้จากกองมรดกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินเดิม, สินสมรส, การแบ่งมรดกตามพินัยกรรม, และสิทธิของผู้จัดการมรดก
"สินเดิม" คือทรัพย์สินของผัวหรือของเมียที่มีอยู่ก่อนแต่งงานซึ่งอาจนำมาใช้ประกอบการทำมาหากินให้เกิดผลได้หรืออาจนำมาใช้เพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งในภายหลังที่ทำการสมรสแล้ว ถึงแม้จะมิได้นำมาบริคณห์กันในเวลาแต่งงานแล้วก็ดี
การที่โจทก์มีเงินสดติดตัวมาและมีเครื่องทองเพชรสำหรับแต่งตัวเป็นสินเดิม เมื่อมาอยู่กับเจ้ามรดก แม้เจ้ามรดกทำแต่ราชการอย่างเดียวมิได้ค้าขายก็ถือว่ามีสินเดิม มีสิทธิขอแบ่งสินสมรสได้
ผู้ทำพินัยกรรมจะเอาส่วนสินสมรสของโจทก์ไปทำยกให้ผู้อื่นไม่ได้
เมื่อพินัยกรรมได้ระบุยกทรัพย์สินให้ น.ส. หนุ่ย ๆ ตายก่อนเจ้ามรดก ต้องเอาส่วนของ น.ส.หนุ่ยมาแบ่งแก่ทายาทที่มิได้มีคำสั่งกำจัดมรดกทุกคน
การที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งสินสมรสและส่วนมรดก ไม่เป็นการฟ้องให้เพิกถอนข้อกำหนดในพินัยกรรม จึงไม่จำต้องฟ้องภายใน
3 เดือน นับแต่ทราบข้อความในพินัยกรรม
การยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม ไม่ใช่เป็นการรับรองพินัยกรรม พินัยกรรมระบุจำนวนเงินที่จะใช้ทำศพแน่นอน ถ้าผู้จัดการใช้เงินเกินไปจากที่กำหนด ที่ประชุมใหญ่ให้ถือว่าเป็นหนี้ทางศีลธรรม ซึ่งผู้ออกเงินไป สมัครออกไปเองจะหักเงินนี้จากกองมรดกไม่ได้
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1788/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามพินัยกรรมที่มีเงื่อนไข และผลเมื่อผู้รับตามพินัยกรรมถึงแก่กรรมก่อนปฏิบัติตามเงื่อนไข
พินัยกรรมมีข้อความระบุไว้ว่า ให้นาแปลงหนึ่งแก่ผู้รับ2 คนคนละครึ่ง แต่มีเงื่อนไขว่าให้ผู้รับคนหนึ่งให้เงินแก่ผู้รับคนที่ 2 เป็นเงิน 200 บาท ถ้าผู้รับคนที่หนึ่งไม่ให้เงิน 200 แก่ผู้รับคนที่ 2 ก็ให้นาแปลงนี้เป็นของผู้รับคนที่ 2 คนเดียว ดังนี้ ถ้าผู้รับคนที่ 1 ตายเสียก่อนผู้ทำพินัยกรรม ผู้รับคนที่ 1 ก็ไม่ได้ชำระเงิน 200 บาท เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้รับคนที่ 2 ก็ไม่มีโอกาสจะได้รับส่วนครึ่งหนึ่งของผู้รับคนที่หนึ่งตามเงื่อนไขนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1788/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมมีเงื่อนไข: ผลเมื่อผู้รับผลประโยชน์เสียชีวิตก่อนปฏิบัติตามเงื่อนไข
พินัยกรรม์มีข้อความระบุไว้ว่าให้นาแปลงหนึ่งแก่ผู้รับ 1 คนๆละครึ่ง แต่มีเงื่อนไขว่าให้ผู้รับคนหนึ่งให้เงินแก่ผู้รับคนที่ 2 เป็นเงิน 200 บาท ถ้าผู้รับคนที่หนึ่งไม่ให้เงิน 200 แก่ผู้รับคนที่ 2 ก็ให้นาแปลงนี้เป็นของผู้รับคนที่ 2 คนเดียวดังนี้ ถ้าผู้รับคนที่ 1 ตายเสียก่อนผู้ทำพินัยกรรม์ ผู้รับคนที่ 1 ก็ไม่ได้ชำระเงิน 200 บาท เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้รับคนที่ 2 ก็ไม่มีโอกาศจะได้รับส่วนครึ่งหนึ่งของผู้รับคนที่หนึ่งตามเงื่อนไขนั้นได้