คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1055

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 68 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2186/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนผลประโยชน์จากห้างหุ้นส่วนไปเป็นหุ้นในบริษัท ทำให้สิทธิเรียกร้องในฐานะหุ้นส่วนสิ้นสุดลง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ได้ผลตอบแทนการลงแรงเป็นหุ้นในบริษัท2,000หุ้นโดยไม่ได้ออกเงินซึ่งถือว่าโจทก์ได้ลงเงินในบริษัทก. ผลประโยชน์ที่ได้จากการเป็นหุ้นส่วนจึงโอนมาเป็นหุ้นในบริษัทก. แล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องในฐานะหุ้นส่วนตามสัญญาห้างหุ้นส่วนอีกต่อไปเมื่ออุทธรณ์ของโจทก์อ้างเพียงว่าสัญญาห้างหุ้นส่วนยังไม่เลิกกันโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้ได้แต่ไม่ได้อุทธรณ์ในข้อที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องในฐานะหุ้นส่วนตามสัญญาห้างหุ้นส่วนเพราะผลประโยชน์ที่ได้จากการเป็นหุ้นส่วนโอนมาเป็นหุ้นในบริษัทก. อันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่ชำระเงินตามฟ้องแล้วข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวยุติไปดังนั้นปัญหาว่าสัญญาห้างหุ้นส่วนเลิกกันแล้วหรือไม่แม้วินิจฉัยก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2186/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนผลประโยชน์จากหุ้นส่วนไปเป็นหุ้นในบริษัท ทำให้สิทธิเรียกร้องในฐานะหุ้นส่วนสิ้นสุดลง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ได้ผลตอบแทนการลงแรงเป็นหุ้นในบริษัท 2,000 หุ้น โดยไม่ได้ออกเงิน ซึ่งถือว่าโจทก์ได้ลงเงินในบริษัท ก. ผลประโยชน์ที่ได้จากการเป็นหุ้นส่วนจึงโอนมาเป็นหุ้นในบริษัท ก. แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องในฐานะหุ้นส่วนตามสัญญาห้างหุ้นส่วนอีกต่อไป เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์อ้างเพียงว่า สัญญาห้างหุ้นส่วนยังไม่เลิกกันโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้ได้แต่ไม่ได้อุทธรณ์ในข้อที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องในฐานะหุ้น ส่วนตามสัญญาห้างหุ้นส่วนเพราะผลประโยชน์ที่ได้จากการเป็นหุ้นส่วนโอนมาเป็นหุ้น ในบริษัท ก. อันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่ชำระเงินตามฟ้องแล้ว ข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวยุติไป ดังนั้นปัญหาว่าสัญญาห้างหุ้น ส่วนเลิกกันแล้วหรือไม่ แม้วินิจฉัยก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการมรดกขอตั้งผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน
ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลศรีสุทธา ซึ่ง ก.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการตาม ป.พ.พ.มาตรา 1251 วรรคสอง จึงมีอำนาจร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการมรดกในการร้องขอตั้งผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน
ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลศรีสุทธา ซึ่ง ก.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1251 วรรคสอง จึงมีอำนาจร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดหลังผู้จัดการเสียชีวิต และอำนาจของผู้ชำระบัญชีในการดำเนินคดีแทน
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯ จำเลยที่ 1 ถึง แก่กรรมห้างฯ จำเลยที่ 1 ต้อง เลิกกันและจัดให้มีการชำระบัญชี ว.หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดห้างฯ จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจแต่ง ทนายสู้ คดีแทนห้างฯ จำเลยที่ 1 กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่ ว. แต่งตั้ง ทนายสู้ คดีแทนจำเลยที่ 1 ต้อง เพิกถอนเสีย เพราะเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชี การที่จะอ้างเหตุฉุกเฉิน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 802 ต้อง เป็นตัวแทนกันมาก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดหลังผู้จัดการเสียชีวิต อำนาจการดำเนินคดีเป็นของผู้ชำระบัญชี
จำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ได้ ถึงแก่ความตายไปก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลาย ห้างฯ จำเลยที่ 1 ซึ่ง มีผู้เป็นหุ้นส่วนอยู่สองคนคือจำเลยที่ 2 และ ว. จึงต้อง เลิกกัน เนื่องจากสภาพความเป็นหุ้นส่วนย่อมไม่มีอยู่ต่อไปอีก คงมีอยู่แต่ เฉพาะ ว. ผู้เดียวหากจะดำเนิน กิจการของห้างฯ จำเลยที่ 1 ต่อไปก็เท่ากับดำเนินการในกิจการส่วนตัวของ ว. เท่านั้น เมื่อห้างฯ จำเลยที่ 1เลิกกันก็ต้อง จัดให้มีการชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1247 ถึง1273 ว. จึงไม่มีอำนาจตั้ง ตนเองเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 และแต่งทนายเข้ามาสู้ คดีแทนจำเลยที่ 1 ได้ เพราะเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชีตาม มาตรา 1259(1) และกรณีดังกล่าวก็ไม่ต้องด้วยป.พ.พ. มาตรา 802 เนื่องจาก ว. มิได้เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 มาก่อน ว. จึงไม่มีอำนาจเข้าดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 1เพราะเหตุฉุกเฉิน ได้ ดังนี้ ศาลชอบที่จะเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนับแต่ ว. แต่งทนายเข้ามาสู้ คดีแทนจำเลยที่ 1เสียทั้งหมด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วน, อำนาจผู้ชำระบัญชี, การแต่งทนาย, และการดำเนินคดีเมื่อหุ้นส่วนถึงแก่กรรม
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯ จำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรม ห้างฯ จำเลยที่ 1 ต้องเลิกกันและจัดให้มีการชำระบัญชี ว.หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดห้างฯ จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจแต่งทนายสู้คดีแทนห้างฯ จำเลยที่ 1 กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่ ว. แต่งตั้งทนายสู้คดีแทนจำเลยที่ 1 ต้องเพิกถอนเสีย เพราะเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชี การที่จะอ้างเหตุฉุกเฉินตาม ป.พ.พ.มาตรา 802 ต้องเป็นตัวแทนกันมาก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2190/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเช็คเพื่อประกันการปฏิบัติตามสัญญาหุ้นส่วน และการฉ้อฉลในการฟ้องร้อง
จำเลยที่ 1 มีอาชีพเป็นผู้กำกับการแสดงภาพยนตร์ จำเลยที่ 2 ว.และส.เข้าหุ้นส่วนกันสร้างภาพยนตร์โทรทัศน์โดยว.ลงทุนด้วยเงินสด จำเลยที่ 2 และ ส. ลงทุนด้วยแรงงานโดยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึง ได้จากกิจการสร้างภาพยนตร์นั้นส่วนโจทก์เป็นหุ้นส่วนร่วมกับ ว.20 เปอร์เซ็นต์ ของเงินทุนที่ ว. นำมาลง และเป็นทนายความประจำสำนักงานภาพยนตร์ของ ว. จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้สลักหลัง มอบให้ ว.โดยมีข้อตกลงว่าว. จะบังคับให้ใช้เงินตามเช็คได้ต่อเมื่อภาพยนตร์ที่ร่วมกันสร้างได้ฉาย ทาง โทรทัศน์ จนมีกำไร เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่ออกให้แก่ ว. ผู้ทรงคนก่อนเพื่อเป็นการประกันการปฏิบัติตามสัญญาหุ้นส่วน เมื่อ ว. ยังไม่ปฏิบัติตามสัญญาหุ้นส่วนโดยไม่จัดการชำระบัญชีกันให้ถูกต้อง แล้วกลับโอนเช็คให้โจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสอง โดยโจทก์รู้ถึงข้อตกลงในการเข้าหุ้นส่วนดังกล่าว เป็นการยืมมือโจทก์ฟ้องย่อมถือว่าโจทก์กับ ว. คบคิดกันฉ้อฉลจำเลยทั้งสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2190/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คคืนเงินค้างชำระหุ้นส่วน: การโอนเช็คด้วยเจตนาฉ้อฉลทำให้ผู้รับโอนไม่มีสิทธิเรียกร้อง
จำเลยที่ 1 มีอาชีพเป็นผู้กำกับการแสดงภาพยนตร์ จำเลยที่ 2ว.และส.เข้าหุ้นส่วนกันสร้างภาพยนตร์โทรทัศน์โดยว. ลงทุนด้วยเงินสดจำเลยที่ 2 และ ส. ลงทุนด้วยแรงงานโดยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้จากกิจการสร้างภาพยนตร์นั้น ส่วนโจทก์เป็นหุ้นส่วนร่วมกับ ว.20เปอร์เซ็นต์ของเงินทุนที่ว. นำมาลงและเป็นทนายความประจำสำนักงานภาพยนตร์ของ ว. จำเลยที่ 1เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้สลักหลัง มอบให้ว.โดยมีข้อตกลงว่าว. จะบังคับให้ใช้เงินตามเช็คได้ต่อเมื่อภาพยนตร์ที่ร่วมกันสร้างได้ฉายทาง โทรทัศน์ จนมีกำไร เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่ออกให้แก่ ว. ผู้ทรงคนก่อนเพื่อเป็นการประกันการปฏิบัติตามสัญญาหุ้นส่วน เมื่อ ว. ยังไม่ปฏิบัติตามสัญญาหุ้นส่วนโดยไม่จัดการชำระบัญชีกันให้ถูกต้อง แล้วกลับโอนเช็คให้โจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสอง โดยโจทก์รู้ถึงข้อตกลงในการเข้าหุ้นส่วนดังกล่าวเป็นการยืมมือโจทก์ฟ้อง ย่อมถือว่าโจทก์กับ ว. คบคิดกันฉ้อฉลจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วน/ทายาทในหนี้ภาษีของห้างหุ้นส่วน/คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล และการคำนวณเงินเพิ่มภาษีที่ถูกต้อง
ประมวลรัษฎากรมาตรา56วรรคสองบัญญัติไว้เพื่อให้มีผู้รับผิดชอบในการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลห้างหุ้นส่วนสามัญ จ. มีหุ้นส่วน2คนคือ ห. กับจำเลยที่1เมื่อ ห. ตายจึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่1ที่จะต้องยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของห้างหุ้นส่วนสำหรับปีภาษีนั้นเมื่อจำเลยที่1ไม่ยื่นรายการเพื่อเสียภาษีและเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไปยังจำเลยที่1แล้วแม้จะมิได้แจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อทายาทของห. ก็ไม่ทำให้การประเมินเสียไป ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคลเลิกกันโดยไม่มีการชำระบัญชีผู้เป็นหุ้นส่วนและบุคคลผู้มีอำนาจจัดการมีหน้าที่ร่วมกันยื่นแบบแสดงรายการการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา77และ84ฉวรรคสองเมื่อ ห.ผู้เป็นหุ้นส่วนตายเป็นเหตุให้ห้างหุ้นส่วนเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1055(5)และไม่มีการชำระบัญชีจำเลยที่1ซึ่งเป็นหุ้นส่วนที่เหลือต้องทำหน้าที่เป็นตัวแทนห้างหุ้นส่วนในการเสียภาษีการที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนต่อจำเลยที่1จึงชอบด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา88 ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญทุกคนต้องร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1025เมื่อ ห. ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งตายทายาทผู้รับมรดกของ ห. ต้องร่วมกับจำเลยที่1รับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าวด้วย การคำนวณเงินเพิ่มภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา89ทวิต้องเริ่มนับเมื่อพ้น15วันถัดจากเดือนภาษีทั้งเงินเพิ่มดังกล่าวจะต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับการที่ศาลพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินเพิ่มตามมาตรา89ทวิดังกล่าวเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
of 7