คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1055

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 68 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากร: ห้างหุ้นส่วนเลิกกิจการ ผู้เป็นหุ้นส่วนมีหน้าที่ร่วมกันรับผิดชอบภาษีค้างชำระ แม้ต่อมามีการโอนมรดก
ประมวลรัษฎากร มาตรา 56 วรรคสองบัญญัติไว้เพื่อให้มีผู้รับผิดชอบในการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลห้างหุ้นส่วนสามัญ จ. มีหุ้นส่วน 2 คน คือ ห. กับจำเลยที่ 1เมื่อ ห. ตาย จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของห้างหุ้นส่วนสำหรับปีภาษีนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ยื่นรายการเพื่อเสียภาษีและเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไปยังจำเลยที่ 1 แล้วแม้จะมิได้แจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อทายาทของห. ก็ไม่ทำให้การประเมินเสียไป ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วน หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคลเลิกกันโดยไม่มีการชำระบัญชี ผู้เป็นหุ้นส่วนและบุคคลผู้มีอำนาจจัดการ มีหน้าที่ร่วมกันยื่นแบบแสดงรายการการค้า ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 77 และ 84 ฉวรรคสองเมื่อห.ผู้เป็นหุ้นส่วนตายเป็นเหตุให้ห้างหุ้นส่วนเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1055(5) และไม่มีการชำระบัญชี จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนที่เหลือต้องทำหน้าที่เป็นตัวแทนห้างหุ้นส่วนในการเสียภาษี การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนต่อจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 88 ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญทุกคนต้องร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1025 เมื่อ ห. ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งตาย ทายาทผู้รับมรดกของ ห. ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1รับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าวด้วย การคำนวณเงินเพิ่มภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิต้องเริ่มนับเมื่อพ้น 15 วัน ถัดจากเดือนภาษี ทั้งเงินเพิ่มดังกล่าวจะต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับการที่ศาลพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิดังกล่าวเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด และการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์มรดก
ส.เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฮ.จึงต้องรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077 (2) เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดฮ.ผิดนัดชำระหนี้ภาษีอากรค้างแก่จำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิเรียกให้ ส.ชำระหนี้ดังกล่าวได้ตามมาตรา1070 ประกอบด้วยมาตรา 1080 แม้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฮ.ต้องเลิกกันโดยผลของกฎหมายเนื่องจาก ส.ตายแล้วก็ตาม ทรัพย์สินกองมรดกของ ส.ก็ต้องตกเป็นทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2371/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในหนี้ที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อกิจการของผู้อื่น และการแบ่งปันผลกำไรที่ตกลงกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เข้าหุ้นส่วนทำการค้าข้าวเปลือก ข้าวสารกับผู้ตายเพื่อแบ่งปันกำไรกัน ผู้ตายลงทุนด้วยโรงสี โจทก์ลงทุนด้วยเงินสด โดยโจทก์ได้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้แก่ธนาคารแล้ว ขอ กู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้จำนวนหนึ่ง เมื่อโจทก์ได้รับสมุดเช็คจากธนาคารแล้ว โจทก์ลงชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายในเช็คทั้งหมดมอบให้ผู้ตายไปกรอกจำนวนเงินและวันที่สั่งจ่ายเองเพื่อใช้ซื้อข้าวเปลือกมาสี เมื่อขายข้าวที่สีได้แล้วผู้ตายนำเงินฝากเข้าบัญชีของโจทก์ ต่อมาผู้ตายถึง แก่ความตายก่อนที่จะแบ่งปันผลกำไรกัน โจทก์เป็นหนี้ ธนาคารอยู่ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและโจทก์ถูกธนาคารฟ้องให้ชำระหนี้ดังกล่าว โจทก์จึงฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเป็นคดีนี้ ขอให้บังคับจำเลยแบ่งปันผลกำไรและใช้ทุนเท่าจำนวนที่โจทก์ถูกธนาคารฟ้องเรียกคืนให้แก่โจทก์ ทางพิจารณาฟังไม่ได้ว่าเป็นหุ้นส่วนทำการค้าข้าวเปลือกข้าวสารกับผู้ตายตามฟ้อง แต่ ฟังได้ว่าผู้ตายได้ขอให้โจทก์ช่วยหาเงินมาให้ผู้ตายเป็น เงินทุนหมุนเวียนในกิจการโรงสีของผู้ตายด้วยการ กู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร ผู้ตายใช้เช็คของโจทก์เพื่อประโยชน์ในกิจการโรงสีของผู้ตาย ทำให้โจทก์เป็นหนี้ธนาคารตามจำนวนในฟ้อง ซึ่งเข้าใจได้โดยปริยายว่าผู้ตายต้อง ชำระหนี้นั้นแก่ธนาคารแทนโจทก์ มิฉะนั้นโจทก์ก็ต้อง รับผิดชำระแก่ธนาคาร เมื่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาเป็นข้อที่โจทก์ได้บรรยายมาในคำฟ้องแล้ว ทั้งได้มีคำขอ ให้จำเลยชำระเงินเท่าจำนวนที่โจทก์ถูกธนาคารฟ้องด้วย ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2371/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดชอบหนี้จากการกู้เบิกเงินเกินบัญชีและการแบ่งปันผลกำไรจากกิจการโรงสี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เข้าหุ้นส่วนทำการค้าข้าวเปลือก ข้าวสารกับผู้ตายเพื่อแบ่งปันกำไรกัน ผู้ตายลงทุนด้วยโรงสี โจทก์ลงทุนด้วยเงินสด โดยโจทก์ได้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้แก่ธนาคารแล้วขอกู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้จำนวนหนึ่ง เมื่อโจทก์ได้รับสมุดเช็คจากธนาคารแล้ว โจทก์ลงชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายในเช็คทั้งหมดมอบให้ผู้ตายไปกรอกจำนวนเงินและวันที่สั่งจ่ายเอง เพื่อใช้ซื้อข้าวเปลือกมาสี เมื่อขายข้าวที่สีได้แล้วผู้ตายนำเงินฝากเข้าบัญชีของโจทก์ ต่อมาผู้ตายถึงแก่ความตายก่อนที่จะแบ่งปันผลกำไรกัน โจทก์เป็นหนี้ธนาคารอยู่ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและโจทก์ถูกธนาคารฟ้องให้ชำระหนี้ดังกล่าว โจทก์จึงฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเป็นคดีนี้ ขอให้บังคับจำเลยแบ่งปันผลกำไรและใช้ทุนเท่าจำนวนที่โจทก์ถูกธนาคารฟ้องเรียกคืนให้แก่โจทก์ ทางพิจารณาฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นหุ้นส่วนทำการค้าข้าวเปลือกข้าวสารกับผู้ตายตามฟ้อง แต่ฟังได้ว่าผู้ตายได้ขอให้โจทก์ช่วยหาเงินมาให้ผู้ตายเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการโรงสีของผู้ตายด้วยการกู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร ผู้ตายใช้เช็คของโจทก์เพื่อประโยชน์ในกิจการโรงสีของผู้ตาย ทำให้โจทก์เป็นหนี้ธนาคารตามจำนวนในฟ้อง ซึ่งเข้าใจได้โดยปริยายว่าผู้ตายต้องชำระหนี้นั้นแก่ธนาคารแทนโจทก์ มิฉะนั้นโจทก์ก็ต้องรับผิดชำระแก่ธนาคาร เมื่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาเป็นข้อที่โจทก์ได้บรรยายมาในคำฟ้องแล้ว ทั้งได้มีคำขอให้จำเลยชำระเงินเท่าจำนวนที่โจทก์ถูกธนาคารฟ้องด้วย ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3138/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกิจการหลังจัดสรรที่ดินขาย
ห้างหุ้นส่วนสามัญมีวัตถุประสงค์จัดสรรที่ดินขายอย่างเดียวเมื่อเสร็จการนั้นแล้ว ห้างเลิกกันและชำระบัญชี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1767/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดเมื่อหุ้นส่วนถึงแก่กรรม และอำนาจฟ้องของผู้ชำระบัญชีเกี่ยวกับหนี้ภาษีของห้าง
ช.เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด น. เมื่อ ช.ถึงแก่กรรม ห้างน.ย่อมเป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1055(5),1080 เว้นแต่จะมีผู้รับมรดกของ ช.เข้าสวมสิทธิในหุ้นส่วนนั้นดำเนินกิจการต่อไปตามเดิม (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 539/2518) และเมื่อห้าง น.เลิกกันก็ต้องตั้งผู้ชำระบัญชีสะสางการงานของห้าง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 351/2507) ในกรณีนี้ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจฟ้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับกิจการของห้างทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาตามมาตรา 1259(1)
เมื่อ ช.ถึงแก่กรรมและโจทก์ได้เป็นผู้จัดการมรดกของช.ตามคำสั่งของศาลแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้มีคำสั่งประเมินภาษีเงินได้ของห้างน.สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ช.ถึงแก่กรรม แล้วแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. และผู้ชำระบัญชีของห้าง น.ให้ชำระภาษีเงินได้ของห้างเพิ่มดังนี้ คำสั่งดังกล่าวเป็นการประเมินภาษีเงินได้ของห้าง น.ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจาก ช. จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. แต่เป็นการโต้แย้งสิทธิของห้าง น. โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช.ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4
ประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ซึ่งบัญญัติถึงกรณีผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายเสียก่อน ให้แจ้งจำนวนภาษีที่ประเมินไปยังผู้จัดการมรดกหรือทายาท ผู้หรือผู้ครอบครองมรดกนั้นจะนำมาใช้บังคับในกรณีตามวรรคก่อนไม่ได้ เพราะกรณีตามวรรคก่อนห้าง น.เป็นผู้ต้องเสียภาษีอากรหาใช่ ช.ไม่ และแม้จำเลยที่ 1 จะแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินของห้าง น.ไปยังโจทก์ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ยอมรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. อันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1767/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนจำกัดที่เลิกกิจการ ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจฟ้องแทน
ช.เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด น. เมื่อ ช. ถึงแก่กรรม ห้าง น. ย่อมเป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1054 (5), 1080 เว้นแต่จะมีผู้รับมรดกของ ช.เข้าสวมสิทธิในหุ้นส่วนนั้นดำเนินกิจการต่อไปตามเดิม (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 539/2518) และเมื่อห้าง น.เลิกกันก็ต้องตั้งผู้ชำระบัญชีสะสางการงานของห้าง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 351/2507) ในกรณีนี้ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจฟ้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับกิจการของห้างทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาตามมาตรา 1257 (1)
เมื่อ ช. ถึงแก่กรรมและโจทก์ได้รับเป็นผู้จัดการมรดกของ ช.ตามคำสั่งของศาลแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้มีคำสั่งประเมินภาษีเงินได้ของห้าง น. สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ช. ถึงแก่กรรม แล้วแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. และผู้ชำระบัญชีของห้าง น. ให้ชำระภาษีเงินได้ของห้างเพิ่ม ดังนี้ คำสั่งดังกล่าวเป็นการประเมินภาษีเงินได้ของห้าง น. ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจาก ช. จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. แต่เป็นการโต้แย้งสิทธิของห้าง น. โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4
ประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ซึ่งบัญญัติถึงกรณีผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายเสียก่อน ให้แจ้งจำนวนภาษีที่ประเมินไปยังผู้จัดการมรดกหรือทายาท ผู้หรือผู้ครอบครองมรดกนั้นจะนำมาใช้บังคับในกรณีตามวรรคก่อนไม่ได้ เพราะกรณีตามวรรคก่อนห้าง น. เป็นผู้ต้องเสียภาษีอากรหาใช่ ช. ไม่ และแม้จำเลยที่ 1 จะแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินของห้าง น. ไปยังโจทก์ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ยอมรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. อันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญเมื่อหุ้นส่วนสามัญถึงแก่กรรม
ผู้เป็นหุ้นส่วนสามัญคนหนึ่งตาย ห้างเลิกกันโดยผลของกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 444/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องเพิกถอน/เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดสงวนสำหรับหุ้นส่วนเท่านั้น
ผู้ที่มิได้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่มีสิทธิฟ้องให้เพิกถอนการจดทะเบียน หรือให้เลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506-507/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระบัญชีหุ้นส่วนหลังการตายของหุ้นส่วน และสิทธิในการรับส่วนแบ่งกำไร/เงินปันผล
โจทก์ฝ่ายหนึ่ง จำเลยที่ 1 กับ ส. อีกฝ่ายหนึ่งเข้าหุ้นกันลงทุนซื้อหุ้นบริษัท น. เพื่อแบ่งกำไรหรือเงินปันผลจากการถือหุ้น การที่จำเลยที่ 1 กับ ส. มีชื่อถือหุ้นนั้น ถือได้ว่าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำนวนหุ้นของบริษัท น. จึงเป็นทรัพย์สินของหุ้นส่วนที่จะต้องนำมาแบ่งตามสัญญาเมื่อเลิกกันไม่ใช่จะแบ่งเฉพาะเงินลงทุนค่าหุ้น ตราบใดที่ยังไม่มีการชำระบัญชี หรือตกลงแบ่งกันโดยวิธีอื่นโจทก์ในฐานะหุ้นส่วนย่อมมีสิทธิที่จะได้รับส่วนแบ่งเงินปันผลในปี 2510 และ ปี ต่อๆ ไป จนกว่าจะชำระบัญชีหรือตกลงแบ่งกันเสร็จ
โจทก์ฟ้องเรียกทุนของหุ้นส่วน ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน และขอแบ่งเงินปันผลในปี 2511 ซึ่งศาลล่างก็รับพิจารณาสืบพยานทั้งสองฝ่ายจนสิ้นกระแสความแล้วจึงไม่มีความจำเป็นที่จะรื้อฟื้นให้ชำระบัญชีในเรื่องดังกล่าวอีก ศาลย่อมวินิจฉัยถึงจำนวนทุนและพิพากษาให้แบ่งเงินปันผลในปี 2511 ไปทีเดียวได้และการบังคับให้แบ่งกำไรในปี 2511 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการและทายาทผู้รับมรดกของ ส. ต้องรับผิดร่วมกัน
จำเลยมิได้ฟ้องแย้งเรียกเงินภาษีที่อ้างว่าเสียเพิ่มเติมคืนจึงไม่เป็นประเด็นในคดี
เมื่อ พ. ผู้เป็นหุ้นส่วนตาย ห้างย่อมเลิกกันโดยศาลไม่ต้องสั่งอีก และกรณีนี้ศาลไม่ควรพิพากษาให้จำเลยแบ่งเงินปันผลและคืนเงินค่าหุ้นให้โจทก์โดยไม่ตั้งผู้ชำระบัญชี
of 7