คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1429

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 988/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน สิทธิในการอยู่อาศัยตามสัญญาสามารถโอนได้แม้หลังคู่สัญญาสิ้นชีวิต
เดิม จำเลยฟ้องขับไล่บิดาโจทก์ ให้รื้อถอนโรงเรือนในที่ดินจำเลย บิดาโจทก์กับจำเลยตกลง กันได้ โดย ทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้บิดาโจทก์และบุตรพร้อมด้วย บริวารของบิดาโจทก์และผู้เช่าโรงเรือนจากบิดาโจทก์อาศัยในที่ดินได้ 30 ปี และจำเลยได้ จดทะเบียนภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ว่า ที่ดินแปลงนี้อยู่บังคับภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ โดยบิดาโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์อาศัยปลูกโรงเรือนในที่ดินดังกล่าวมีกำหนด 30 ปี ดังนี้ ข้อตกลงตาม สัญญาประนีประนอมยอมความในศาลเป็นสัญญาอันหนึ่ง ซึ่ง มีเนื้อความชัดเจนว่า ให้บุตรจำเลยคือโจทก์ในคดีนี้อยู่ในที่พิพาทได้ เป็นเวลา 30 ปี ข้อตกลงเช่นนี้ ไม่ขัดต่อกฎหมายจึงใช้ บังคับได้ เมื่อโจทก์ได้ แสดงเจตนาถือ เอาประโยชน์แห่งสัญญาจำเลยก็ต้อง ปฏิบัติตาม สัญญานั้น การที่จำเลยไม่ ยินยอมให้โจทก์หรือบริวารโจทก์อยู่ในที่ดินโดย จำเลยได้ รื้อถอนโรงเรือนของโจทก์ออกไปเป็นการผิดสัญญา และละเมิดต่อ โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3647/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำกัดกรณีถนนพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์โดยปริยาย แม้โจทก์ซื้อที่ดินส่วนหนึ่ง
การบรรยายฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม เมื่อถนนพิพาทที่โจทก์ทั้งสองสร้างในที่ดินของผู้อื่นตกอยู่ในภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์โดยมีโจทก์ทั้งสองเป็นผู้รับประโยชน์เท่านั้นโจทก์ทั้งสองจึงไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์หรือเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในถนนดังกล่าวและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยมิให้ใช้ถนนพิพาทส่วนการที่โจทก์ที่2ได้ซื้อที่ดินที่สร้างถนนพิพาทส่วนที่ติดถนนใหญ่มาในภายหลังนั้นเมื่อปรากฏว่าถนนพิพาทดังกล่าวได้มีประชาชนใช้เดินผ่านสู่ถนนใหญ่ตั้งแต่เริ่มสร้างมาจนถึงเวลาที่ซื้อเกินกว่าสิบปีโดยเจ้าของที่ดินไม่หวงห้ามอันทำให้ฟังได้ว่าเจ้าของที่ดินได้อุทิศที่ดินส่วนที่เป็นถนนพิพาทดังกล่าวให้เป็นทางสาธารณะประโยชน์โดยปริยายแล้วโจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิจะยึดถือเอาถนนพิพาทเป็นของตนและไม่ใช่ผู้เสียหายที่มีอำนาจฟ้องจำเลยมิให้ใช้ถนนพิพาทดังกล่าวได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3647/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำกัดเฉพาะผู้มีสิทธิในทรัพย์สิน กรณีถนนพิพาทมีลักษณะเป็นทางสาธารณประโยชน์
การบรรยายฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม
เมื่อถนนพิพาทที่โจทก์ทั้งสองสร้างในที่ดินของผู้อื่นตกอยู่ในภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์โดยมีโจทก์ทั้งสองเป็นผู้รับประโยชน์เท่านั้น โจทก์ทั้งสองจึงไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์หรือเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในถนนดังกล่าว และไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยมิให้ใช้ถนนพิพาท ส่วนการที่โจทก์ที่ 2 ได้ซื้อที่ดินที่สร้างถนนพิพาทส่วนที่ติดถนนใหญ่มาในภายหลังนั้น เมื่อปรากฏว่าถนนพิพาทดังกล่าวได้มีประชาชนใช้เดินผ่านสู่ถนนใหญ่ตั้งแต่เริ่มสร้างมาจนถึงเวลาที่ซื้อเกินกว่าสิบปีโดยเจ้าของที่ดินไม่หวงห้าม อันทำให้ฟังได้ว่าเจ้าของที่ดินได้อุทิศที่ดินส่วนที่เป็นถนนพิพาทดังกล่าวให้เป็นทางสาธารณะประโยชน์โดยปริยายแล้วโจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิจะยึดถือเอาถนนพิพาทเป็นของตนและไม่ใช่ผู้เสียหายที่มีอำนาจฟ้องจำเลยมิให้ใช้ถนนพิพาทดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3647/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำกัดเฉพาะผู้มีสิทธิในทรัพย์สิน กรณีถนนส่วนบุคคลที่ถูกอุทิศให้เป็นสาธารณะประโยชน์
การบรรยายฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม
เมื่อถนนพิพาทที่โจทก์ทั้งสองสร้างในที่ดินของผู้อื่นตกอยู่ในภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์โดยมีโจทก์ทั้งสองเป็นผู้รับประโยชน์เท่านั้น โจทก์ทั้งสองจึงไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์หรือเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในถนนดังกล่าว และไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยมิให้ใช้ถนนพิพาท ส่วนการที่โจทก์ที่ 2 ได้ซื้อที่ดินที่สร้างถนนพิพาทส่วนที่ติดถนนใหญ่มาในภายหลังนั้น เมื่อปรากฏว่าถนนพิพาทดังกล่าวได้มีประชาชนใช้เดินผ่านสู่ถนนใหญ่ตั้งแต่เริ่มสร้างมาจนถึงเวลาที่ซื้อเกินกว่าสิบปีโดยเจ้าของที่ดินไม่หวงห้าม อันทำให้ฟังได้ว่าเจ้าของที่ดินได้อุทิศที่ดินส่วนที่เป็นถนนพิพาทดังกล่าวให้เป็นทางสาธารณะประโยชน์โดยปริยายแล้วโจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิจะยึดถือเอาถนนพิพาทเป็นของตนและไม่ใช่ผู้เสียหายที่มีอำนาจฟ้องจำเลยมิให้ใช้ถนนพิพาทดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 674/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธิอาศัย และขอบเขตการบังคับคดี การฟ้องร้องซ้ำซ้อน
เมื่อโจทก์จำเลยได้ประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอมไปแล้ว ถ้าจำเลยขัดขวางไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์ก็ชอบที่จะขอให้ศาลบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมในคดีเดิม จะนำคดีเรื่องเดียวกันที่ศาลชี้ขาดแล้วมาฟ้องขอให้ศาลบังคับเป็นอีกคดีหนึ่งโดยอ้างเหตุว่าจำเลยขัดขวางไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาในคดีเดิมซึ่งยังมีผลบังคับได้อยู่ ย่อมไม่เป็นการถูกต้อง ส่วนการที่โจทก์จำเลยได้ทำสัญญากันเองนอกเหนือจากสัญญาประนีประนอมยอมความอีกนั้น เมื่อโจทก์มาฟ้องเป็นคดีใหม่อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความและผิดข้อตกลงตามสัญญาที่ทำกันเอง เรื่องผิดสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่อย่างไร เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในคดีเดิม ศาลย่อมวินิจฉัยให้ในคดีหลังเฉพาะในข้อที่ว่าจำเลยผิดสัญญาที่ทำกันเองหรือไม่ และจะบังคับตามคำขอของโจทก์ได้หรือไม่เท่านั้น
โจทก์จดทะเบียนสิทธิอาศัยและภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จำเลยจึงเป็นผู้ทรงทรัพยสิทธิ์นั้นโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1406 ได้บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้อาศัยไว้ว่า ถ้าผู้ให้อาศัยมิได้ห้ามไว้โดยชัดแจ้ง ผู้อาศัยจะเก็บดอกผลธรรมดาหรือผลแห่งที่ดินมาใช้เพียงที่จำเป็นแก่ความต้องการของครัวเรือนก็ได้ และมาตรา 1429 บัญญัติว่าอสังหาริมทรัพย์อาจตกอยู่ในภาระติดพันอันเป็นเหตุให้ผู้รับประโยชน์มีสิทธิ ฯลฯ ได้ใช้และถือเอาซึ่งประโยชน์แห่งทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ ในเรื่องนี้โจทก์ได้จดทะเบียนภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ไว้ว่า โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยอาศัยและทำกินในที่ดินพิพาทได้ตลอดชีวิต เมื่อโจทก์มิได้ตั้งรูปคดีที่จะฟ้องขอเพิกถอนสิทธิอาศัยและสิทธิภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์หรือฟ้องโดยอาศัยบทบัญญัติต่างๆ ในมาตรา 1409 ศาลก็จะบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยส่งมอบอาคารในบริเวณที่ดินที่จำเลยอาศัยให้แก่โจทก์และห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องกับอาคารดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 674/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความและสิทธิอาศัย: ศาลไม่อาจบังคับสิทธิเกินขอบเขตที่ตกลงกันไว้
เมื่อโจทก์จำเลยได้ประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอมไปแล้ว ถ้าจำเลยขัดขวางไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ก็ชอบที่จะขอให้ศาลบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมในคดีเดิม จะนำคดีเรื่องเดียวกันที่ศาลชี้ขาดแล้วมาฟ้องขอให้ศาลบังคับเป็นอีกคดีหนึ่งโดยอ้างเหตุว่าจำเลยขัดขวาง ไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาในคดีเดิม ซึ่งยังมีผลบังคับได้อยู่ ย่อมไม่เป็นการถูกต้อง ส่วนการที่โจทก์จำเลยได้ทำสัญญากันเองนอกเหนือจากสัญญาประนีประนอมยอมความอีกนั้น เมื่อโจทก์มาฟ้องเป็นคดีใหม่ อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความและผิดข้อตกลงตามสัญญาที่ทำกันเอง เรื่องผิดสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่อย่างไร เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในคดีเดิม ศาลย่อมวินิจฉัยให้ในคดีหลังเฉพาะในข้อที่ว่าจำเลยผิดสัญญาที่ทำกันเองหรือไม่ และจะบังคับตามคำขอของโจทก์ได้หรือไม่เท่านั้น
โจทก์จดทะเบียนสิทธิอาศัยและภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จำเลยจึงเป็นผู้ทรงทรัพย์สิทธินั้นโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1406 ได้บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้อาศัยไว้ว่า ถ้าผู้ให้อาศัยมิได้ห้ามไว้โดยชัดแจ้ง ผู้อาศัยจะเก็บดอกผลธรรมดาหรือผลแห่งที่ดินมาใช้เพียงที่จำเป็นแก่ความต้องการของครัวเรือนก็ได้ และมาตรา 1429 บัญญัติว่าอสังหาริมทรัพย์อาจตกอยู่ในภาระติดพันอันเป็นเหตุให้ผู้รับประโยชน์มีสิทธิ ฯลฯ ได้ใช้และถือเอาซึ่งประโยชน์แห่งทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ ในเรื่องนี้โจทก์ได้จดทะเบียนภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ไว้ว่า โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยอาศัยและทำกินในที่ดินพิพาทได้ตลอดชีวิต เมื่อโจทก์มิได้ตั้งรูปคดีที่จะฟ้องขอเพิกถอนสิทธิอาศัยและสิทธิภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ หรือฟ้องโดยอาศัยบทบัญญัติต่าง ๆ ในมาตรา 1409 ศาลก็จะบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยส่งมอบอาคารในบริเวณที่ดินที่จำลยอาศัยให้แกโจทก์และห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องกับอาคารดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 972/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคืนการให้เนื่องจากภาระผูกพันและการประพฤติเนรคุณ จำเป็นต้องมีภาระเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ยกให้
ภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1429 ซึ่งผู้รับประโยชน์มีสิทธิได้รับชำระหนี้เป็นคราวๆ จากทรัพย์สิน หรือได้ใช้และถือเอาประโยชน์แห่งทรัพย์สินตามที่ระบุไว้นั้น เป็นภาระที่เกี่ยวกับตัวทรัพย์นั้นๆ และการให้สิ่งที่มีค่าภารติดพันตามมาตรา 535(2) ก็จะต้องเป็นกรณีที่มีภาระเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ยกให้เช่นกัน
อาโอนที่ดินยกให้หลานโดยเสน่หา โดยหลานสัญญาว่าจะอุปการะเลี้ยงดู ให้สิ่งจำเป็นเลี้ยงชีวิตตลอดชีวิตของอา และจะเป็นผู้ทำศพเมื่ออาวายชนม์นั้น กรณีเช่นนี้หามีภาระเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ยกให้ไม่ จึงไม่ใช่เป็นการให้สิ่งที่มีค่าภารติดพันตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 972/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้โดยเสน่หาและการเพิกถอนเนื่องจากเนรคุณ ภาระติดพันกับทรัพย์สิน
ภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1429 ซึ่งผู้รับประโยชน์มีสิทธิได้รับชำระหนี้เป็นคราว ๆ จากทรัพย์สิน หรือได้ใช้และถือเอาประโยชน์แห่งทรัพย์สินตามที่ระบุไว้นั้น เป็นภาระที่เกี่ยวกับตัวทรัพย์นั้น ๆ และการให้สิ่งที่มีค่าภารติดพันตามมาตรา 535(2) ก็จะต้องเป็นกรณีที่มีภาระเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ยกให้เช่นกัน
อาโอนที่ดินยกให้หลานโดยเสน่หา โดยหลายสัญญาว่าจะอุปการะเลี้ยงดู ให้สิ่งจำเป็นเลี้ยงชีวิตตลอดชีวิตของอา และจะเป็นผู้ทำศพเมื่ออาวายชนม์นั้น กรณีเช่นนี้หามีภาระเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ยกให้ไม่ จึบไม่ใช่เป็นการให้สิ่งที่มีค่าภารติดพันตามกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 967/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอาศัย vs. การดูแลรักษาเพื่อแบ่งผลประโยชน์: ผลต่อการฟ้องขับไล่
โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยอาศัย ขอให้ขับไล่ จำเลยต่อสู้ว่ามิใช่อาศัย แต่เป็นการเช่าช่วงจากโจทก์ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ตอนแรกจำเลยเข้ามาปลูกเรือนอยู่ในสวนพิพาทนั้น โดยเป็นการอาศัยโจทก์ แต่ต่อมาโจทก์ซื้อกิ่งส้มมาให้จำเลย ปลูกและดูแลรักษาเพื่อแบ่งผลกัน พฤติการณ์ตอนหลังนี้ ฟังได้ว่าจำเลยอยู่ในสวนพิพาทในฐานะผู้ดูแลรักษาต้น ส้มอันจำเลยมีผลประโยชน์ร่วมด้วย เมื่อทางพิจารณาไม่ได้ความชัดว่าการอยู่อาศัยกับการปลูกดูแลรักษาต้นส้มนั้น แยกขาดจากกัน ดังนี้ จะชี้ขาดว่า พฤติการณ์ตอนหลังนี้เป็นเรื่องอาศัยไม่ถนัด โจทก์ฟ้องว่าจำเลยอาศัย แต่ข้อเท็จ จริงในขณะฟ้องร้องกัน ฟังไม่ได้ดังฟ้องก็ต้องยกฟ้องโจทก์./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 967/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอาศัย vs. เช่าช่วง: การเปลี่ยนแปลงสถานะทางกฎหมายจากการดูแลต้นส้มและผลประโยชน์ร่วม
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยอาศัย ขอให้ขับไล่ จำเลยต่อสู้ว่ามิใช่อาศัย แต่เป็นการเช่าช่วงจากโจทก์ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าตอนแรกจำเลยเข้ามาปลูกเรือนอยู่ในสวนพิพาทนั้น โดยเป็นการอาศัยโจทก์ แต่ต่อมาโจทก์ซื้อกิ่งส้มมาให้จำเลยปลูกและดูแลรักษาเพื่อแบ่งผลกัน พฤติการณ์ตอนหลังนี้ ฟังได้ว่าจำเลยอยู่ในสวนพิพาทในฐานะผู้ดูแลรักษาต้นส้มอันจำเลยมีผลประโยชน์ร่วมด้วย เมื่อทางพิจารณาไม่ได้ความชัดว่าการอยู่อาศัยกับการปลูกดูแลรักษาต้นส้มนั้นแยกขาดจากกัน ดังนี้จะชี้ขาดว่า พฤติการณ์ตอนหลังนี้เป็นเรื่องอาศัยไม่ถนัด โจทก์ฟ้องว่าจำเลยอาศัย แต่ข้อเท็จจริงในขณะฟ้องร้องกัน ฟังไม่ได้ดังฟ้องก็ต้องยกฟ้องโจทก์
of 2