คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 224 วรรคแรก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5220/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยสัญญากู้: สิทธิปรับขึ้นตามข้อตกลง & ดอกเบี้ยค้างชำระ
โจทก์เป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยในสัญญากู้เงินฉบับพิพาท แม้ข้อตกลงดังกล่าวจะกำหนดให้โจทก์เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาได้ตามที่เห็นสมควร โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้จำเลยทราบล่วงหน้า แต่ก็มีข้อจำกัดไว้ว่า อัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้นดังกล่าวจะต้องไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อตกลงตามสัญญากู้เงินดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและใช้บังคับได้
การที่โจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองเป็นเพียงการทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้วเท่านั้น มิได้เป็นการบอกเลิกสัญญา และตามสัญญากู้เงินฉบับพิพาทโจทก์มีสิทธิเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าร้อยละ 17.5 ต่อปี ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาได้ตามที่เห็นสมควร และได้มีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้บริษัทเงินทุนเรียกดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมได้ไม่เกินอัตราที่บริษัทเงินทุนประกาศกำหนด ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2535 เป็นต้นไป ซึ่งโจทก์ได้ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยสำหรับเงินให้กู้ยืมสำหรับลูกค้าทั่วไปเป็นร้อยละ 19 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2535โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยตามสัญญากู้เงินดังกล่าวได้ในอัตราร้อยละ 19ต่อปี ตั้งแต่วันที่ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นต้นไป เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระตามสัญญากู้เงิน แล้วจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีต่อไปได้เพราะถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์จึงมีเหตุที่อ้างได้โดยชอบด้วยกฏหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5220/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยกู้ยืม: สิทธิปรับขึ้นตามสัญญา & ข้อจำกัดทางกฎหมาย
โจทก์เป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยในสัญญากู้เงินฉบับพิพาท แม้ข้อตกลงดังกล่าวจะกำหนดให้โจทก์เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาได้ตามที่เห็นสมควร โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้จำเลยทราบล่วงหน้า แต่ก็มี ข้อจำกัดไว้ว่า อัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้นดังกล่าวจะต้องไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อตกลงตามสัญญากู้เงินดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและใช้บังคับได้ การที่โจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองเป็นเพียงการทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้วเท่านั้นมิได้เป็นการบอกเลิกสัญญา และตามสัญญากู้เงินฉบับพิพาทโจทก์มีสิทธิเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าร้อยละ17.5 ต่อปี ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาได้ตามที่เห็นสมควร และได้มีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้บริษัทเงินทุนเรียกดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมได้ไม่เกิน อัตราที่บริษัทเงินทุนประกาศกำหนด ใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายน 2535 เป็นต้นไป ซึ่งโจทก์ได้ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยสำหรับเงินให้กู้ยืมสำหรับลูกค้า ทั่วไปเป็นร้อยละ 19 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2535โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยตามสัญญากู้เงินดังกล่าวได้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นต้นไป เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระตามสัญญากู้เงิน แล้วจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ต่อไปได้เพราะถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์จึงมีเหตุที่อ้างได้โดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7812/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อระงับ การคิดดอกเบี้ยผิดนัด และค่าขาดประโยชน์จากการไม่ส่งมอบรถ
เมื่อสัญญาเช่าซื้อระงับ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อ มีหน้าที่ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อไปคืนแก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 1 เพิกเฉย ไม่ส่งมอบรถคืน มีผลทำให้โจทก์ขาดประโยชน์ที่จะใช้รถนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
แม้สัญญาเช่าซื้อที่ทำขึ้นจะมีข้อความระบุทำนองว่า หากผู้เช่าซื้อไม่ชำระค่าเช่าซื้อและค่าเสียหายหรือเงินใด ๆ ตามสัญญา ผู้เช่าซื้อยินยอมเสียดอกเบี้ยในเงินต้นที่ผิดนัดให้แก่เจ้าของในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดไปจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่เมื่อสัญญาเช่าซื้อนั้นเลิกกันแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อย่อมไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากฝ่ายจำเลยในอัตราดังกล่าวตามสัญญา หากแต่คงมีสิทธิเรียกให้ฝ่ายจำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดเพียงในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7812/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อระงับ ค่าเสียหายจากการไม่คืนรถ และอัตราดอกเบี้ยที่ใช้บังคับหลังเลิกสัญญา
เมื่อสัญญาเช่าซื้อระงับ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อ มีหน้าที่ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อไปคืนแก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 1 เพิกเฉย ไม่ส่งมอบรถคืน มีผลทำให้โจทก์ขาดประโยชน์ที่จะใช้รถนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
แม้สัญญาเช่าซื้อที่ทำขึ้นจะมีข้อความระบุทำนองว่า หากผู้เช่าซื้อไม่ชำระค่าเช่าซื้อและค่าเสียหายหรือเงินใด ๆ ตามสัญญา ผู้เช่าซื้อยินยอมเสียดอกเบี้ยในเงินต้นที่ผิดนัดให้แก่เจ้าของในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดไปจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่เมื่อสัญญาเช่าซื้อนั้นเลิกกันแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อย่อมไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากฝ่ายจำเลยในอัตราดังกล่าวตามสัญญา หากแต่คงมีสิทธิเรียกให้ฝ่ายจำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดเพียงในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6692/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้น – สัญญาเพื่อบุคคลภายนอก – การโอนหุ้น – ความรับผิดของผู้ขายและผู้ซื้อ
การซื้อขายตราสารใบหุ้นซึ่งเจ้าของหุ้นได้ลงชื่อโอนหุ้นโดยมิได้ระบุชื่อผู้รับโอน แต่ส่งมอบใบหุ้นให้ไปซึ่งเรียกกันในวงการค้าหุ้นว่าเป็นการโอนหุ้นลอยนี้ คู่สัญญาทำการซื้อขายกันอย่างทรัพย์สินชนิดหนึ่ง มิได้ซื้อขายกันตามมูลค่าของหุ้นเพราะมูลค่าของหุ้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การซื้อขายตราสารใบหุ้นดังกล่าวกับการโอนหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 จึงเป็นนิติกรรมคนละอย่างกัน การซื้อขายใบหุ้นจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ว่าด้วยการซื้อขายทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ทั่วไป
การที่จำเลยที่ 4 ลงชื่อในใบโอนหุ้นลอยแล้วมอบให้ ธ. พร้อมใบหุ้นที่จำเลยร่วมที่ 4 ลงชื่อโอนลอยไว้นั้น เป็นการแสดงเจตนาโดยปริยายว่าจะโอนหุ้นตามใบโอนหุ้นลอยนั้นให้แก่บุคคลภายนอกผู้ที่ได้รับหรือซื้อใบหุ้นนั้นไปจาก ธ. โดยสุจริต ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขาย แลกเปลี่ยน หรือยกให้ก็ตาม ซึ่งข้อตกลงกันดังกล่าวกฎหมายไม่ได้บังคับต้องทำเป็นหนังสือ จึงบังคับกันได้ ดังนั้น ข้อตกลงจะโอนหุ้นตามใบโอนหุ้นลอยระหว่างจำเลยกับ ธ. จึงเป็นสัญญาเพื่อบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 374 ธ. ขายใบหุ้นพิพาทให้จำเลยร่วมที่ 2 โจทก์ซื้อจากจำเลยผู้เป็นตัวแทนของจำเลยร่วมที่ 2 และโจทก์ได้แสดงเจตนาจะถือประโยชน์ตามสัญญาเพื่อบุคคลภายนอกระหว่างจำเลยร่วมที่ 4 กับ ธ. แล้ว จำเลยร่วมที่ 4 จึงผูกพันตามสัญญาต้องโอนหุ้นพิพาทให้โจทก์
โจทก์ยังไม่ได้รับโอนหุ้นพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 ยังมิใช่เป็นผู้ถือหุ้นพิพาท จึงยังไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาผลประโยชน์ใด ๆจากหุ้นพิพาทนี้ได้ และตัวหุ้นนั้นมีมูลค่าอยู่ในตัวของมันเอง ทั้งเปลี่ยนแปลงอยู่เสมออาจจะสูงขึ้นหรือต่ำลงก็ได้ ไม่แน่นอน จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายในส่วนนี้
สำหรับเงินปันผลนั้นเมื่อโจทก์ยังไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นพิพาทตามกฎหมาย โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเงินปันผลอันเป็นดอกผลของหุ้นพิพาท
ส่วนดอกเบี้ยในต้นเงินที่โจทก์อ้างว่าได้กู้มาซื้อหุ้นพิพาทนั้น เมื่อไม่เกี่ยวกับหนี้ที่จำเลยร่วมที่ 4 จะต้องปฏิบัติการชำระให้โจทก์ กล่าวคือจำเลยร่วมที่ 4 จะต้องไปดำเนินการแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ในฐานะผู้ถือหุ้นพิพาทขอเปลี่ยนเป็นใบหุ้นใหม่แล้วโอนให้โจทก์ มิได้ชำระเป็นเงินจึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ย หากโจทก์จะได้ไปกู้เงินมาซื้อหุ้นพิพาทจริงก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องรับผิดชอบเอง หามีสิทธิมาเรียกเอาจากจำเลยร่วมที่ 4 ไม่ นอกจากจำเลยร่วมที่ 4 ไม่สามารถโอนหุ้นพิพาทให้โจทก์และต้องคืนเงินค่าหุ้นให้โจทก์เท่านั้น จำเลยที่ 4 จึงจะต้องรับผิดเสียดอกเบี้ย ส่วนอัตราดอกเบี้ยนั้นไม่มีข้อตกลงว่าจะต้องเสียให้กันในอัตราเท่าใด และโจทก์ก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์มีสิทธิคิดเอาเกินกว่าอัตราขั้นต่ำตามกฎหมายเพราะเหตุใด โจทก์จึงมีสิทธิคิดเอาได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6692/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้น - สัญญาเพื่อบุคคลภายนอก - การโอนหุ้น - ความรับผิดของผู้ขายและผู้ถือหุ้นเดิม
การซื้อขายตราสารใบหุ้นซึ่งเจ้าของหุ้นได้ลงชื่อโอนหุ้นโดยมิได้ระบุชื่อผู้รับโอน แต่ส่งมอบใบหุ้นให้ไปซึ่งเรียกกันในวงการค้าหุ้นว่าเป็นการโอนหุ้นลอยนี้ คู่สัญญาทำการซื้อขายกันอย่างทรัพย์สินชนิดหนึ่ง มิได้ซื้อขายกันตามมูลค่าของหุ้นเพราะมูลค่าของหุ้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การซื้อขายตราสารใบหุ้นดังกล่าวกับการโอนหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 จึงเป็นนิติกรรมคนละอย่างกัน การซื้อขายใบหุ้นจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ว่าด้วยการซื้อขายทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ทั่วไป
การที่จำเลยที่ 4 ลงชื่อในใบโอนหุ้นลอยแล้วมอบให้ ธ. พร้อมใบหุ้นที่จำเลยร่วมที่ 4 ลงชื่อโอนลอยไว้นั้น เป็นการแสดงเจตนาโดยปริยายว่าจะโอนหุ้นตามใบโอนหุ้นลอยนั้นให้แก่บุคคลภายนอกผู้ที่ได้รับหรือซื้อใบหุ้นนั้นไปจาก ธ. โดยสุจริต ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขาย แลกเปลี่ยน หรือยกให้ก็ตาม ซึ่งข้อตกลงกันดังกล่าวกฎหมายไม่ได้บังคับต้องทำเป็นหนังสือ จึงบังคับกันได้ ดังนั้น ข้อตกลงจะโอนหุ้นตามใบโอนหุ้นลอยระหว่างจำเลยกับ ธ. จึงเป็นสัญญาเพื่อบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 374 ธ. ขายใบหุ้นพิพาทให้จำเลยร่วมที่ 2 โจทก์ซื้อจากจำเลยผู้เป็นตัวแทนของจำเลยร่วมที่ 2 และโจทก์ได้แสดงเจตนาจะถือประโยชน์ตามสัญญาเพื่อบุคคลภายนอกระหว่างจำเลยร่วมที่ 4 กับ ธ. แล้ว จำเลยร่วมที่ 4 จึงผูกพันตามสัญญาต้องโอนหุ้นพิพาทให้โจทก์
โจทก์ยังไม่ได้รับโอนหุ้นพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 ยังมิใช่เป็นผู้ถือหุ้นพิพาท จึงยังไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาผลประโยชน์ใด ๆจากหุ้นพิพาทนี้ได้ และตัวหุ้นนั้นมีมูลค่าอยู่ในตัวของมันเอง ทั้งเปลี่ยนแปลงอยู่เสมออาจจะสูงขึ้นหรือต่ำลงก็ได้ ไม่แน่นอน จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายในส่วนนี้
สำหรับเงินปันผลนั้นเมื่อโจทก์ยังไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นพิพาทตามกฎหมาย โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเงินปันผลอันเป็นดอกผลของหุ้นพิพาท
ส่วนดอกเบี้ยในต้นเงินที่โจทก์อ้างว่าได้กู้มาซื้อหุ้นพิพาทนั้น เมื่อไม่เกี่ยวกับหนี้ที่จำเลยร่วมที่ 4 จะต้องปฏิบัติการชำระให้โจทก์ กล่าวคือจำเลยร่วมที่ 4 จะต้องไปดำเนินการแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ในฐานะผู้ถือหุ้นพิพาทขอเปลี่ยนเป็นใบหุ้นใหม่แล้วโอนให้โจทก์ มิได้ชำระเป็นเงินจึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ย หากโจทก์จะได้ไปกู้เงินมาซื้อหุ้นพิพาทจริงก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องรับผิดชอบเอง หามีสิทธิมาเรียกเอาจากจำเลยร่วมที่ 4 ไม่ นอกจากจำเลยร่วมที่ 4 ไม่สามารถโอนหุ้นพิพาทให้โจทก์และต้องคืนเงินค่าหุ้นให้โจทก์เท่านั้น จำเลยที่ 4 จึงจะต้องรับผิดเสียดอกเบี้ย ส่วนอัตราดอกเบี้ยนั้นไม่มีข้อตกลงว่าจะต้องเสียให้กันในอัตราเท่าใด และโจทก์ก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์มีสิทธิคิดเอาเกินกว่าอัตราขั้นต่ำตามกฎหมายเพราะเหตุใด โจทก์จึงมีสิทธิคิดเอาได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2964/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทภาษีมูลค่าเพิ่ม: สิทธิในการเรียกเก็บดอกเบี้ยและฐานภาษีที่ถูกต้อง
แม้ประมวลรัษฎากร มาตรา 82 จะบัญญัติให้ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มาตรา 82/4 วรรคหนึ่งก็บัญญัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต่อกรมสรรพากร โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลยผู้ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารได้ สำหรับกรณีของโจทก์ซึ่งยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีการค้าทั้งสองแบบ เมื่อโจทก์ปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมสรรพากร โดยแจ้งไปยังส่วนราชการคู่สัญญาคือจำเลยขอใช้สิทธิเรียกภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่เนื่องจากจำเลยผู้ว่าจ้างทำการหักภาษีการค้าไว้ต่อไป การที่โจทก์มายื่นรายการเพื่อเสียภาษีการค้าจึงอาจเป็นเพราะโจทก์เข้าใจผิดอีกทั้งโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นที่จำเลยได้หักจ่ายจากเงินค่าจ้างให้โจทก์และกรมสรรพากรได้คืนให้โจทก์แล้ว จึงไม่ถือว่าโจทก์ได้เลือกเสียภาษีการค้าและได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในใบเสนอราคาของโจทก์ระบุรวมค่าภาษีไว้ด้วย จึงน่าเชื่อว่าค่าจ้างจำนวน 87,200,000 บาท รวมภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นไว้ด้วยอันเป็นวันที่ภาษีมูลค่าเพิ่มมีผลใช้บังคับ จึงเป็นไปไม่ได้ที่ค่าจ้างดังกล่าวจะมีภาษีมูลค่าเพิ่มรวมอยู่ด้วย แม้ว่าค่าจ้างตามสัญญาจำนวน 82,200,000 บาท จะมีภาษีการค้าและภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 3.3 รวมอยู่ด้วยก็ตามแต่ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 79 วรรคหนึ่ง ฐานะภาษีสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รบหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ และคำว่า "มูลค่า" นั้น มาตรา 79 วรรคสอง ให้หมายความถึงเงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือประโยชน์ใด ๆ ซึ่งอาจคำนวณได้เป็นเงิน เมื่อปรากฎว่าโจทก์ได้รับภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นคืนจากกรมสรรพากรแล้ว เงินค่าภาษีดังกล่าวจึงเป็นมูลค่าที่โจทก์ได้รับอันเป็นฐานภาษีที่จะต้องนำมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉะนั้นจึงนำเงินค่าภาษีดังกล่าวหักออกจากยอดเงินค่าจ้างก่อนคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้จะต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 จากยอดฐานก่อนหักภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นได้ผลลัพธ์เท่าใด จึงนำภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นร้อยละ 3.3 มาหักออก ที่เหลือจึงเป็นยอดภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ฐานภาษีได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับ ฉะนั้นจึงไม่ต้องนำค่าปรับที่โจทก์ถูกปรับสำหรับการส่งมอบงานล่าช้าหักออกจากเงินค่าจ้างก่อนคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้กู้เงินธนาคารและเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี มาชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่โจทก์อุทธรณ์ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224วรรคแรก ประมวลรัษฎากร มาตรา 82/4 บัญญัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ชื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเกิดขึ้นเมื่อหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มถึงกำหนดชำระ แต่เมื่อจำเลยชำระค่าจ้างงานแต่ละงวดโจทก์เพียงแต่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น เมื่อโจทก์ยังมิได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้การที่จำเลยยังไม่ชำระหนี้จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด จำเลยจึงยังไม่ต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์แต่เมื่อต่อมาโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งการเลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มลงวันที่ 15 ตุลาคม 2535 จำเลยได้รับหนังสือในวันดังกล่าวแล้วไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยของภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างงวดที่ 1 ถึง 4นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2535 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2964/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ดอกเบี้ยจากผู้รับจ้าง และการคำนวณภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย
แม้ประมวลรัษฎากรมาตรา82จะบัญญัติให้ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่มาตรา82/4วรรคหนึ่งก็บัญญัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต่อกรมสรรพากร โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลยผู้ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารได้ สำหรับกรณีของโจทก์ซึ่งยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีการค้าทั้งสองแบบเมื่อโจทก์ปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมสรรพากร โดยแจ้งไปยังส่วนราชการคู่สัญญาคือจำเลยขอใช้สิทธิเรียกภาษีมูลค่าเพิ่มแต่เนื่องจากจำเลยผู้ว่าจ้างทำการหักภาษีการค้าไว้ต่อไปการที่โจทก์มายื่นรายการเพื่อเสียภาษีการค้าจึงอาจเป็นเพราะโจทก์เข้าใจผิดอีกทั้งโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นที่จำเลยได้หักจ่ายจากเงินค่าจ้างให้โจทก์และกรมสรรพากรได้คืนให้โจทก์แล้วจึงไม่ถือว่าโจทก์ได้เลือกเสียภาษีการค้าและได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในใบเสนอราคาของโจทก์ระบุรวมค่าภาษีไว้ด้วยจึงน่าเชื่อว่าค่าจ้างจำนวน87,200,000บาทรวมภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นไว้ด้วยอันเป็นวันที่ภาษีมูลค่าเพิ่มมีผลใช้บังคับจึงเป็นไปไม่ได้ที่ค่าจ้างดังกล่าวจะมีภาษีมูลค่าเพิ่มรวมอยู่ด้วย แม้ว่าค่าจ้างตามสัญญาจำนวน82,200,000บาทจะมีภาษีการค้าและภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ3.3รวมอยู่ด้วยก็ตามแต่ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 79วรรคหนึ่งฐานะภาษีสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รบหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการและคำว่า"มูลค่า"นั้นมาตรา79วรรคสองให้หมายความถึงเงินทรัพย์สินค่าตอบแทนค่าบริการหรือประโยชน์ใดๆซึ่งอาจคำนวณได้เป็นเงินเมื่อปรากฎว่าโจทก์ได้รับภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นคืนจากกรมสรรพากรแล้วเงินค่าภาษีดังกล่าวจึงเป็นมูลค่าที่โจทก์ได้รับอันเป็นฐานภาษีที่จะต้องนำมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มฉะนั้นจึงนำเงินค่าภาษีดังกล่าวหักออกจากยอดเงินค่าจ้างก่อนคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้จะต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ7จากยอดฐานก่อนหักภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นได้ผลลัพธ์เท่าใดจึงนำภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นร้อยละ3.3มาหักออกที่เหลือจึงเป็นยอดภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา79ฐานภาษีได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับฉะนั้นจึงไม่ต้องนำค่าปรับที่โจทก์ถูกปรับสำหรับการส่งมอบงานล่าช้าหักออกจากเงินค่าจ้างก่อนคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้กู้เงินธนาคารและเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ15ต่อปีมาชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่โจทก์อุทธรณ์โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคแรก ประมวลรัษฎากรมาตรา82/4บัญญัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ชื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเกิดขึ้นเมื่อหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มถึงกำหนดชำระแต่เมื่อจำเลยชำระค่าจ้างงานแต่ละงวดโจทก์เพียงแต่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้นเมื่อโจทก์ยังมิได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้การที่จำเลยยังไม่ชำระหนี้จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดจำเลยจึงยังไม่ต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์แต่เมื่อต่อมาโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งการเลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มลงวันที่15ตุลาคม2535จำเลยได้รับหนังสือในวันดังกล่าวแล้วไม่ชำระจำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคแรกโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยของภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างงวดที่1ถึง4นับแต่วันที่16ตุลาคม2535เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2964/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจากสัญญาจ้างก่อสร้าง และการคิดดอกเบี้ยจากหนี้ภาษีค้างชำระ
แม้ ป.รัษฎากร มาตรา 82 จะบัญญัติให้ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มาตรา 82/4 วรรคหนึ่ง ก็บัญญัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต่อกรมสรรพากร โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลยผู้ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารได้
สำหรับกรณีของโจทก์ซึ่งยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีการค้าทั้งสองแบบ เมื่อโจทก์ปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมสรรพากรโดยแจ้งไปยังส่วนราชการคู่สัญญาคือจำเลย ขอใช้สิทธิเรียกภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่เนื่องจากจำเลยผู้ว่าจ้างทำการหักภาษีการค้าไว้ต่อไป การที่โจทก์มายื่นรายการเพื่อเสียภาษีการค้าจึงอาจเป็นเพราะโจทก์เข้าใจผิด อีกทั้งโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นที่จำเลยได้หักจ่ายจากเงินค่าจ้างให้โจทก์และกรมสรรพากรได้คืนให้โจทก์แล้ว จึงไม่ถือว่าโจทก์ได้เลือกเสียภาษีการค้าและได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในใบเสนอราคาของโจทก์ระบุรวมค่าภาษีไว้ด้วย จึงน่าเชื่อว่าค่าจ้างจำนวน 87,200,000 บาท รวมภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นไว้ด้วยแต่สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาที่ทำขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535อันเป็นวันที่ภาษีมูลค่าเพิ่มมีผลใช้บังคับ จึงเป็นไปไม่ได้ที่ค่าจ้างดังกล่าวจะมีภาษีมูลค่าเพิ่มรวมอยู่ด้วย
แม้ว่าค่าจ้างตามสัญญาจำนวน 82,200,000 บาท จะมีภาษีการค้าและภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 3.3 รวมอยู่ด้วยก็ตาม แต่ตาม ป.รัษฎากรมาตรา79 วรรคหนึ่ง ฐานภาษีสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ และคำว่า"มูลค่า" นั้น มาตรา 79 วรรคสอง ให้หมายความถึงเงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทนค่าบริการ หรือประโยชน์ใด ๆ ซึ่งอาจคำนวณได้เป็นเงิน เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นคืนจากกรมสรรพากรแล้ว เงินค่าภาษีดังกล่าวจึงเป็นมูลค่าที่โจทก์ได้รับอันเป็นฐานภาษีที่จะต้องนำมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉะนั้นจึงนำเงินค่าภาษีดังกล่าวหักออกจากยอดเงินค่าจ้างก่อนคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้จะต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 จากยอดฐานก่อนหักภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นได้ผลลัพธ์เท่าใด จึงนำภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นร้อยละ 3.3มาหักออก ที่เหลือจึงเป็นยอดภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 79 ฐานภาษีได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับ ฉะนั้นจึงไม่ต้องนำค่าปรับที่โจทก์ถูกปรับสำหรับการส่งมอบงานล่าช้าหักออกจากเงินค่าจ้างก่อนคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
เมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้กู้เงินธนาคารและเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี มาชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่โจทก์อุทธรณ์ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 224วรรคแรก
ป.รัษฎากร มาตรา 82/4 บัญญัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเกิดขึ้นเมื่อหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มถึงกำหนดชำระ แต่เมื่อจำเลยชำระค่าจ้างงานแต่ละงวด โจทก์เพียงแต่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น เมื่อโจทก์ยังมิได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ การที่จำเลยยังไม่ชำระหนี้จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด จำเลยจึงยังไม่ต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ แต่เมื่อต่อมาโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งการเลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มลงวันที่ 15 ตุลาคม 2535 จำเลยได้รับหนังสือในวันดังกล่าวแล้วไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคแรก โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยของภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างงวดที่ 1 ถึง 4 นับแต่วันที่ 16 ตุลาคม2535 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2693/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจองซื้อขายที่ดิน: การผิดสัญญา, ค่าเสียหาย, และดอกเบี้ยผิดนัด
โจทก์ทำสัญญาจองซื้อที่ดินกับจำเลยโดยได้ระบุราคาที่จองซื้อที่ดินไว้ในราคาเดียวกับที่จำเลยกำหนดไว้ในประกาศ ทั้งยังได้วางเงินมัดจำกันไว้ตามจำนวนของเงื่อนไขในประกาศของจำเลย เช่นนี้ จึงต้องถือว่าในการทำสัญญาจองซื้อที่ดิน โจทก์และจำเลยตกลงกันให้การชำระราคาที่ดินเป็นไปตามประกาศดังกล่าว
ในสัญญาจองซื้อที่ดินข้อ 3 ระบุว่า โจทก์ผู้จองจะต้องมาทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับจำเลยภายใน 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้จองมาทำสัญญา ถ้าผู้จองมิได้มาทำสัญญาให้เป็นที่เรียบร้อยภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยจะถือว่าผู้จองผิดสัญญาและไม่มีความประสงค์จะซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวอีกต่อไป จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้และผู้จองยินยอมให้จำเลยริบเงินที่มอบไว้เป็นหลักประกันนั้น เป็นเพียงข้อตกลงเพิ่มเติมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่จะต้องมาทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันภายใน 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์มาทำสัญญา หาได้เป็นการตกลงเปลี่ยนแปลงกำหนดระยะเวลาชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือแต่อย่างใดไม่
ที่ดินพิพาทที่โจทก์ทำสัญญาจองซื้อกับจำเลยยังแบ่งแยกโฉนดไม่แล้วเสร็จ และโจทก์จะต้องชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือทั้งหมดภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบเป็นหนังสือว่าที่ดินแปลงที่จองไว้นั้นได้แบ่งแยกโฉนดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยมีหนังสือให้โจทก์มาทำสัญญาจะซื้อจะขายพร้อมชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือ ซึ่งมิได้เป็นไปตามที่ได้ตกลงกัน และเป็นการเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้ก่อนถึงเวลากำหนดเช่นนี้ แม้โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม ก็จะถือว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ แต่ต่อมาเมื่อมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินเสร็จแล้วโจทก์ได้เรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญาพร้อมกับชำระราคาที่ดินให้แก่จำเลยแล้ว แต่จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาจองซื้อที่ดินแก่โจทก์และริบเงินหลักประกันตามสัญญา เช่นนี้ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้
ค่าเสียหายที่โจทก์ผู้จะซื้อเรียกร้องในกรณีที่จำเลยผู้จะขายไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทขายให้แก่โจทก์ตามสัญญาได้ อันได้แก่เงินมัดจำที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยในการทำสัญญาจองซื้อที่ดินทั้งสองฉบับและผลต่างระหว่างราคาที่ดินพิพาทตามสัญญาจองซื้อที่ดินกับราคาที่ดินพิพาทในปัจจุบันที่มีราคาสูงขึ้นนั้นเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ ส่วนค่าเสียหายคือเงินค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ที่เรียกเก็บจากโจทก์ แม้จะเป็นเงินที่จำเลยเรียกเก็บไปเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ด้วยก็ตาม แต่เงินจำนวนดังกล่าวโจทก์ได้ชำระไปก็โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะได้มาซึ่งที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของตนและใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจการของโจทก์ตลอดไป เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามที่ตกลงกันแล้วเงินจำนวนดังกล่าวจะถือว่าเป็นประโยชน์แก่โจทก์ตามความประสงค์ของโจทก์หาได้ไม่ ดังนี้เงินค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกที่โจทก์ชำระให้จำเลยจึงถือว่าเป็นค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชดใช้คืนแก่โจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้
โจทก์มีหนังสือฉบับลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2534 ทวงถามให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจองซื้อที่ดินอันเป็นการเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้แต่มิได้กำหนดวันให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ไว้ และต่อมาจำเลยมีหนังสือฉบับลงวันที่ 28 สิงหาคม 2534 บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ จึงถือได้ว่าจำเลยผิดนัดในวันที่ 28 สิงหาคม 2534 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดนับแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2534 เป็นต้นไปในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคแรก
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัย ถือว่าเป็นข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ที่ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143 วรรคแรก
of 4