คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 224 วรรคแรก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีซื้อขาย, ดอกเบี้ยผิดนัดชำระ, หนังสือมอบอำนาจและผลผูกพันสัญญา
โจทก์เป็นองค์การของรัฐบาลจัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรพ.ศ.2517มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรตามมาตรา6(1)ถึง(8)ตามสัญญาซื้อปุ๋ยจำเลยที่1ต้องชำระเงินค่าปุ๋ยให้โจทก์ในวันทำสัญญาไม่น้อยกว่าร้อยละ5ส่วนที่เหลือชำระภายใน12เดือนโดยโจทก์คิดราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ0.65ต่อเดือนของราคาปุ๋ยที่ค้างชำระเท่านั้นซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำโจทก์จึงไม่ใช่พ่อค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(1)เดิมซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะฟ้องเพราะไม่ได้ซื้อสินค้ามาแล้วขายไปเป็นปกติธุระเพื่อหากำไรจึงนำอายุความ2ปีตามบทกฎหมายดังกล่าวมาบังคับใช้แก่โจทก์ไม่ได้ต้องใช้อายุความ10ปีตามมาตรา164เดิม ที่จำเลยที่7ที่8 ที่9ที่10และที่17ฎีกาว่าหนังสือมอบอำนาจไม่ได้ปิดอากรแสตมป์จึงไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าจำเลยที่1ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่2ทำการซื้อปุ๋ยแทนหนังสือสัญญาซื้อปุ๋ยจึงไม่ผูกพันจำเลยที่1จำเลยที่7ที่8ที่9ที่10และที่17ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่1ต่อโจทก์นั้นจำเลยที่7ที่8ที่9ที่10และที่17มิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การว่าหนังสือสัญญาซื้อปุ๋ยไม่ผูกพันจำเลยที่1จำเลยที่7ที่8ที่9ที่10และที่17ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ฎีกาข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ จำเลยที่1ซื้อปุ๋ยจากโจทก์เป็นเงิน920,260บาทชำระค่าปุ๋ยในวันทำสัญญาแล้ว46,020บาทคงค้างชำระ874,240บาทโจทก์ได้คิดราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ0.65ต่อเดือนของราคาปุ๋ยที่ค้างชำระนับแต่เดือนกันยายน2523ถึงเดือนกันยายน2524เป็นเงิน73,873.28บาทรวมเป็นราคาปุ๋ยค้างชำระณเดือนกันยายน2524เป็นเงิน948,113.28บาทในเดือนกันยายน2524จำเลยที่1ได้ผ่อนชำระค่าปุ๋ยอีก5,000บาทจึงคงเหลือค่าปุ๋ยค้างชำระ943,113.28แม้ยอดค้างชำระดังกล่าวจะมีราคาปุ๋ยที่เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ0.65ต่อเดือนรวมอยู่ด้วยก็มิใช่ดอกเบี้ยฉะนั้นโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากยอดเงินค่าปุ๋ยค้าชำระ943,113.28บาทกรณีมิใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย ดอกเบี้ยเนื่องจากการผิดนัดในกรณีนี้มิใช่ดอกเบี้ยค้างส่งซึ่งมีอายุความ5ปีตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา166เดิมแต่เป็นดอกเบี้ยที่กำหนดแทนค่าเสียหายตามมาตรา224วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีซื้อขายปุ๋ย, ลักษณะการเป็นพ่อค้า, และดอกเบี้ยจากการผิดนัดชำระหนี้
โจทก์เป็นองค์การของรัฐบาล จัดตั้งขึ้นโดย พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร พ.ศ. 2517 มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรตามมาตรา 6 (1) ถึง (8) ตามสัญญาซื้อปุ๋ย จำเลยที่ 1 ต้องชำระเงินค่าปุ๋ยให้โจทก์ในวันทำสัญญาไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ส่วนที่เหลือชำระภายใน 12 เดือนโดยโจทก์คิดราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.65 ต่อเดือนของราคาปุ๋ยที่ค้างชำระเท่านั้นซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำ โจทก์จึงไม่ใช่พ่อค้าตาม ป.พ.พ.มาตรา165 (1) เดิม ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะฟ้อง เพราะไม่ได้ซื้อสินค้ามาแล้วขายไปเป็นปกติธุระเพื่อหากำไร จึงนำอายุความ 2 ปี ตามบทกฎหมายดังกล่าวมาบังคับใช้แก่โจทก์ไม่ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม
ที่จำเลยที่ 7 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 และที่ 17 ฎีกาว่า หนังสือมอบอำนาจไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ จึงไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าจำเลยที่ 1ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ทำการซื้อปุ๋ยแทน หนังสือสัญญาซื้อปุ๋ยจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 7 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 และที่ 17 ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น จำเลยที่ 7 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10และที่ 17 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การว่าหนังสือสัญญาซื้อปุ๋ยไม่ผูกพันจำเลยที่ 1จำเลยที่ 7 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 และที่ 17 ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ฎีกาข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยที่ 1 ซื้อปุ๋ยจากโจทก์เป็นเงิน 920,260 บาท ชำระค่าปุ๋ยในวันทำสัญญาแล้ว 46,020 บาท คงค้างชำระ 874,240 บาท โจทก์ได้คิดราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.65 ต่อเดือน ของราคาปุ๋ยที่ค้างชำระนับแต่เดือนกันยายน2523 ถึงเดือนกันยายน 2524 เป็นเงิน 73,873.28 บาท รวมเป็นราคาปุ๋ยค้างชำระ ณ เดือนกันยายน 2524 เป็นเงิน 948,113.28 บาท ในเดือนกันยายน 2524 จำเลยที่ 1 ได้ผ่อนชำระค่าปุ๋ยอีก 5,000 บาท จึงคงเหลือค่าปุ๋ยค้างชำระ 943,113.28 บาท แม้ยอดค้างชำระดังกล่าวจะมีราคาปุ๋ยที่เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.65 ต่อเดือน รวมอยู่ด้วย ก็มิใช่ดอกเบี้ย ฉะนั้นโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากยอดเงินค่าปุ๋ยค้างชำระ 943,113.28 บาทกรณีมิใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย
ดอกเบี้ยเนื่องจากการผิดนัดในกรณีนี้มิใช่ดอกเบี้ยค้างส่งซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตามความใน ป.พ.พ.มาตรา 166 เดิม แต่เป็นดอกเบี้ยที่กำหนดแทนค่าเสียหายตามมาตรา 224 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคืนเงินอากร, ภาษี, ค่าธรรมเนียมพิเศษ และดอกเบี้ยผิดนัดชำระ
สิทธิในการเรียกร้องหรือในการฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียนั้นจะต้องฟ้องภายใน 2 ปี นับแต่วันนำของเข้าตามมาตรา10 วรรคห้า แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 แม้โจทก์จะได้ยื่นคำขอคืนเงินอากรที่ได้เสียไว้เกินต่ออธิบดีกรมศุลกากรภายใน 2 ปี แต่นำคดีมาฟ้องเกินกว่า 2 ปี นับแต่วันนำสินค้าพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักร สิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงเป็นอันสิ้นไปหรือขาดอายุความ ส่วนภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล และค่าธรรมเนียมพิเศษนั้น เมื่อจำเลยให้การต่อสู้และศาลวินิจฉัยว่าสิทธิเรียกร้องคืนอากรขาเข้าขาดอายุความเพียงอย่างเดียว จำเลยจึงต้องคืนภาษีการค้าภาษีบำรุงเทศบาลและค่าธรรมเนียมพิเศษให้แก่โจทก์ สำหรับค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี พอถือได้ว่าโจทก์ขอเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในส่วนของภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเป็นการเรียกดอกเบี้ยเพราะเหตุผิดนัดชำระหนี้เงินคืน โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคแรก ส่วนค่าธรรมเนียมพิเศษเป็นการเรียกดอกเบี้ยตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคสี่ ซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลม ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดระเบียบการเรียกเก็บและวิธีการชำระค่าธรรมเนียมพิเศษในการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรลงวันที่ 7 มิถุนายน 2533 โดยจำเลยต้องคืนค่าธรรมเนียมพิเศษพร้อมดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.625 ต่อเดือนนับแต่วันที่ได้ชำระค่าธรรมเนียมพิเศษจนถึงวันที่มีการอนุมัติให้จ่ายคืน คดีนี้จำเลยไม่ได้ยกอายุความเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องขอคืนเงินภาษีการค้าภาษีบำรุงเทศบาลและค่าธรรมเนียมพิเศษขึ้นเป็นข้อต่อสู้การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่วินิจฉัยประเด็นว่าจำเลยต้องคืนเงินภาษีการค้าภาษีบำรุงเทศบาลและค่าธรรมเนียมพิเศษพร้อมค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามฟ้องอีกหรือไม่เพียงใดจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528มาตรา17ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 529/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค้างชำระหนี้ซื้อขาย: การคำนวณดอกเบี้ยและอายุความ
จำเลยเป็นหนี้เงินโจทก์ค่าซื้อปุ๋ยตามฟ้องแต่เมื่อไม่ปรากฎตามสัญญาและหนังสือขอซื้อปุ๋ยเชื่อว่าในกรณีที่จำเลยค้างชำระหนี้ค่าปุ๋ยส่วนใดส่วนหนึ่งโจทก์ผู้ขายมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ค้างชำระแล้วดอกเบี้ยซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกจากจำเลยเพราะเหตุที่จำเลยค้างชำระหนี้ค่าปุ๋ยจำนวน11,900บาทนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคแรกจึงไม่ใช่ดอกเบี้ยค้างส่งตามมาตรา166(เดิม)หากเป็นดอกเบี้ยที่กำหนดทดแทนค่าเสียหายภายหลังเมื่อศาลพิพากษาคดีอันไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายเช่นนี้ไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164(เดิม)ซึ่งมีกำหนด10ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 529/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยจากหนี้ค่าปุ๋ย: อายุความและประเภทดอกเบี้ย
จำเลยเป็นหนี้เงินโจทก์ค่าซื้อปุ๋ยตามฟ้อง แต่เมื่อไม่ปรากฎตามสัญญา และหนังสือขอซื้อปุ๋ยเชื่อว่า ในกรณีที่จำเลยค้างชำระหนี้ค่าปุ๋ยส่วนใดส่วนหนึ่ง โจทก์ผู้ขายมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ค้างชำระแล้ว ดอกเบี้ยซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกจากจำเลย เพราะเหตุที่จำเลยค้างชำระหนึ้ค่าปุ๋ยจำนวน11,900 บาท นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา224 วรรคแรก จึงไม่ใช่ดอกเบี้ยค้างส่งตาม มาตรา 166 (เดิม) หากเป็นดอกเบี้ยที่กำหนดทดแทนค่าเสียหายภายหลังเมื่อศาลพิพากษาคดีอันไม่มีกฎหมาย-บัญญัติอายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายเช่นนี้ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 (เดิม) ซึ่งมีกำหนด 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 529/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค้างชำระหนี้ซื้อขาย: อายุความ 10 ปี มิใช่ 5 ปี หากเป็นดอกเบี้ยทดแทนค่าเสียหาย
เงินที่จำเลยที่1เป็นหนี้โจทก์ค่าซื้อปุ๋ยตามฟ้องเมื่อไม่ปรากฏตามสัญญาและหนังสือขอซื้อปุ๋ยเชื่อว่าในกรณีที่จำเลยที่1ค้างชำระหนี้ค่าปุ๋ยส่วนใดส่วนหนึ่งโจทก์ในฐานะผู้ขายมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ค้างชำระดังนั้นดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิเรียกจากจำเลยที่1เพราะเหตุที่จำเลยที่1ค้างชำระหนี้ค่าปุ๋ยนับแต่วันที่จำเลยที่1ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224จึงไม่ใช่ดอกเบี้ยค้างส่งตามมาตรา166(เดิม)หากแต่เป็นดอกเบี้ยที่กำหนดทดแทนค่าเสียหายภายหลังเมื่อศาลพิพากษาคดีอันไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปซึ่งมีกำหนด10ปีตามมาตรา164เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 190/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าฉาง + ฝากทรัพย์: อายุความ 10 ปี ดอกเบี้ยเป็นค่าเสียหาย
โจทก์ทำสัญญาเช่าฉางกับจำเลยเพื่อใช้เป็นสถานที่เก็บข้าวเปลือกของโจทก์และมีข้อสัญญาว่าจำเลยจะเก็บรักษาข้าวเปลือกไว้มิให้สูญหายหากสูญหายจำเลยจะรับผิดชอบชดใช้ราคาข้าวเปลือกให้มีลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์รวมอยู่ในตัวด้วยเมื่อทรัพย์ที่รับฝากสูญหายไปจำเลยต้องใช้ราคาแทนการฟ้องเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์กรณีนี้ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา671และไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ10ปีตามมาตรา164เดิมหนี้เงินนี้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในระหว่างเวลาที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระได้ตามมาตรา224วรรคแรกไม่ใช่ดอกเบี้ยค้างส่งตามมาตรา166เดิมแต่เป็นดอกเบี้ยที่กำหนดแทนค่าเสียหายและไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ10ปีตามมาตรา164เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากเงินโดยตัวแทนของบริษัทเงินทุน และความรับผิดในสัญญาฝากทรัพย์
ประเด็นที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม เพราะโจทก์มิได้บรรยายยืนยันข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาให้แน่นอนว่า โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามตั๋วเงินหรือตามสัญญาฝากทรัพย์นั้นจำเลยที่ 1 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การและศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับฝากเงินและลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้คืนเงินฝากแก่โจทก์ได้กระทำในฐานะตัวแทนผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ตัวการ ฟ้องโจทก์จึงแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้วส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนโดยแต่งตั้งหรือเชิดจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทน เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำเข้าสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566 แม้บิดาโจทก์ยังมีชีวิตอยู่ก็หาเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อยู่ใต้อำนาจปกครองของมารดาไม่ เมื่อมารดายังเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์จึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ตาม มาตรา 1569 มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด การกู้ยืมเงินหรือรับเงินออมจากประชาชนได้จะต้องปฏิบัติอยู่ในกำหนดกฎเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติ การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 4,27 และตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชน และการกำหนดอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่บริษัทเงินทุนอาจจ่ายหรืออาจเรียกได้ ลงวันที่14 กรกฎาคม 2524 ข้อ 2(2), ข้อ 3(1) การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 รับเงินจากโจทก์แล้วไม่ออกเอกสารการกู้ยืมหรือตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์และไม่ใช่เพื่อการพัฒนาหรือการเคหะ แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์ แต่ก็ไม่มีตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ประทับไว้จึงมิได้เป็นการสั่งจ่ายเช็คในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 แต่ตามพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการรับฝากเงินจากโจทก์และจากบุคคลอื่นโดยทั่วไป การชำระดอกเบี้ยรายเดือนเป็นผลประโยชน์ตอบแทนทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตหลงเข้าใจได้ว่า การรับเงินฝากเงินเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 ที่ทำได้ตามกฎหมายและอยู่ภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อรับฝากเงินเองโดยเชิดจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทน จำเลยที่ 1 ต้องผูกพันรับเอาผลการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยรับผิดคืนเงินที่รับฝากพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821ประกอบมาตรา 224 วรรคแรก ฎีกาของโจทก์ที่ว่าจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 14.5 ต่อปีนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2489/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขและผลของการผิดนัดชำระหนี้: สิทธิของผู้ขายในการขายทอดตลาดและเรียกเงินขาด
สัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาทมีเงื่อนไขระบุว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทยังไม่โอนเป็นของผู้ซื้อ จนกว่าจะชำระราคาครบถ้วนตามงวดที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายย่อมใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 และในสัญญาซื้อขายระบุว่าหากผู้ซื้อผิดนัดไม่ชำระราคาตามงวด ผู้ขายมีสิทธิเข้าครอบครองรถยนต์พิพาทและย่อมมีสิทธิขายทอดตลาดได้ด้วยและเมื่อขายแล้วได้เงินไม่พอ ผู้ซื้อยอมชดใช้เงินจำนวนที่ขาดอยู่ เมื่อผู้ซื้อผิดนัดไม่ชำระราคาและผู้ขายดำเนินการเอารถยนต์พิพาทออกขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 470 และ 471แล้ว ยังขาดเงินอีก 55,260 บาท ผู้ซื้อและผู้ค้ำประกันต้องรับผิด เพราะถือว่าเป็นเงินราคารถยนต์พิพาทที่ขาดอยู่ และเงินจำนวนดังกล่าวนี้ไม่มีข้อใดในสัญญากำหนดให้ถือเป็นค่าเสียหายจึงมิใช่เบี้ยปรับ สัญญาซื้อขายข้อ 6 วรรคสองระบุว่าในกรณีที่ผู้ซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินงวดต่าง ๆ ตามกำหนดที่ระบุไว้ในสัญญา หรือผิดนัดไม่ชำระหนี้ใด ๆ ในสัญญานี้ ผู้ซื้อยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ขายอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เงินจำนวน 55,260 บาท ซึ่งเป็นเงินราคารถยนต์พิพาทที่ขาดอยู่ก็คือเงินงวดต่าง ๆ ที่เกิดจากการที่ผู้ซื้อผิดนัดไม่ชำระให้โจทก์ตามงวดที่กำหนดไว้ในสัญญาผู้ขายจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จากผู้ซื้อได้ตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่าตอบแทนจากสัมปทานปิโตรเลียม: ต่างตอบแทน vs. จ่ายเป็นระยะเวลา
สัมปทานปิโตรเลียมที่โจทก์ออกให้แก่จำเลยเป็นการอนุญาตให้จำเลยมีสิทธิที่จะทำได้แต่ผู้เดียวในกิจการสำรวจการปิโตรเลียมภายในขอบเขตที่กำหนดซึ่งจำเลยจะต้องจ่ายค่าทดแทนให้แก่โจทก์แต่การจ่ายเงินผลประโยชน์มีจำนวนมากหลายรายการเพื่อผ่อนผันแบ่งเบาภาระให้แก่จำเลย จึงได้แบ่งชำระเป็นงวด เงื่อนไขดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่โจทก์พึงได้รับประโยชน์จากการที่ยอมให้สัมปทานแก่จำเลย แม้เงินผลประโยชน์พิเศษงวดที่ 3 ใช้คำว่า"กับทุกปีหลังจากนั้นเป็นเวลาต่อเนื่องกันอีกสองปี" ก็ตาม ก็มิใช่เป็นเงินอื่น ๆ ที่มีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา จึงไม่เป็นสิทธิเรียกร้องที่มีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 166 เดิม สิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปกำหนด10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินผลประโยชน์พิเศษให้แก่โจทก์แล้ว จำเลยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัดเพราะโจทก์เตือนแล้วโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก นับตั้งแต่วันผิดนัด แต่จำเลยไม่ชำระดอกเบี้ย ดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นดอกเบี้ยค้างส่งที่มีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 166 เดิม ดอกเบี้ยที่ค้างส่งเกินกว่า 5 ปี จึงขาดอายุความ
of 4