พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,606 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2522/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการนัดหยุดงานของลูกจ้าง: การใช้สิทธิหลายครั้งเป็นธรรมได้ ไม่จำกัดเพียงครั้งเดียว
ฟ้องโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 นัดหยุดงานโดยไม่มีข้อเรียกร้องไม่มีข้อพิพาทแรงงาน เป็นการนัดหยุดงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มิได้ตั้งข้อหาและมิได้อาศัยข้ออ้างที่เป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 99 แต่ประการใดซึ่งมาตรานี้เป็นบทยกเว้นความรับผิดมิใช่บทบังคับการกระทำ จึงไม่ใช่หน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องบรรยายฟ้องกล่าวแก้จำเลยเป็นการล่วงหน้าไว้ก่อน หากแต่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะยกบทมาตราดังกล่าวขึ้นต่อสู้ว่าตนไม่ต้องรับผิดเพราะต้องด้วยข้อยกเว้นข้อใดข้อหนึ่งในสี่ประการนั้นจำเลยจะยกมาตรา 99 ขึ้นปรับคดีว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ได้ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อโจทก์รวม 10 ข้อ ตกลงกันได้ 3 ข้อ คงเหลือข้อเรียกร้องที่ตกลงกันไม่ได้อีก 7 ข้อ ต้องถือว่าข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังมีอยู่ ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 22 วรรคสาม การที่จำเลยที่ 1 ใช้สิทธินัดหยุดงานในวันที่ 8 แล้วกลับเข้าทำงานในวันที่ 9 เดือนเดียวกัน โดยลำพังตนมิได้ขอกลับเข้าทำงานต่อฝ่ายบริหารของโจทก์ ไม่ถือว่าเป็นการสละข้อเรียกร้อง และจะถือว่าข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้เป็นอันระงับหรือสิ้นสุดลงด้วยการนัดหยุดงานและกลับเข้าทำงานใหม่ไม่ได้ เพราะไม่มีบทมาตราใดในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์บัญญัติไว้เช่นนั้น สิทธินัดหยุดงานของจำเลยที่1 จึงไม่สิ้นไป
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 หามีบทมาตราใดบังคับว่าเมื่อข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้เกิดขึ้นแล้ว ลูกจ้างพึงใช้สิทธินัดหยุดงานได้แต่เพียงครั้งเดียวไม่ การแปลกฎหมายว่าลูกจ้างมีสิทธินัดหยุดงานได้ครั้งเดียวทั้งที่ไม่มีบทมาตราใดบัญญัติห้ามไว้โดยชัดแจ้ง เป็นการแปลที่จำกัดสิทธิโดยชอบธรรมของลูกจ้างการนัดหยุดงานเป็นมาตรการขั้นสุดท้ายของลูกจ้างที่จะให้ได้มาซึ่งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามข้อเรียกร้องของตน มิใช่ฝ่ายนายจ้างเท่านั้นที่ได้รับความเสียหายที่กิจการต้องหยุดชะงักงัน ฝ่ายลูกจ้างเองก็ต้องได้รับความเสียหายดุจกันที่ไม่ได้รับค่าจ้าง ดังนั้น ถ้าลูกจ้างสามารถใช้สิทธินัดหยุดงานครั้งเดียวเป็นเวลายาวนานทำให้ทั้งสองฝ่ายได้รับความเดือดร้อนเป็นอันมากได้โดยชอบ การนัดหยุดงานเป็นช่วง ๆ เป็นระยะเวลาสั้น ๆ เป็นการกระตุ้นเตือนให้นายจ้างรู้สำนึกถึงความเดือดร้อนทีละน้อยแล้วจะทวีความรุนแรงขึ้นโดยลำดับ เพื่อให้มีการหันหน้าเข้าเจรจาให้ได้มาซึ่งข้อตกลงร่วมกันจึงกระทำได้ การใช้สิทธินัดหยุดงานครั้งหลัง ๆ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยชอบไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์.
จำเลยที่ 1 ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อโจทก์รวม 10 ข้อ ตกลงกันได้ 3 ข้อ คงเหลือข้อเรียกร้องที่ตกลงกันไม่ได้อีก 7 ข้อ ต้องถือว่าข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังมีอยู่ ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 22 วรรคสาม การที่จำเลยที่ 1 ใช้สิทธินัดหยุดงานในวันที่ 8 แล้วกลับเข้าทำงานในวันที่ 9 เดือนเดียวกัน โดยลำพังตนมิได้ขอกลับเข้าทำงานต่อฝ่ายบริหารของโจทก์ ไม่ถือว่าเป็นการสละข้อเรียกร้อง และจะถือว่าข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้เป็นอันระงับหรือสิ้นสุดลงด้วยการนัดหยุดงานและกลับเข้าทำงานใหม่ไม่ได้ เพราะไม่มีบทมาตราใดในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์บัญญัติไว้เช่นนั้น สิทธินัดหยุดงานของจำเลยที่1 จึงไม่สิ้นไป
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 หามีบทมาตราใดบังคับว่าเมื่อข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้เกิดขึ้นแล้ว ลูกจ้างพึงใช้สิทธินัดหยุดงานได้แต่เพียงครั้งเดียวไม่ การแปลกฎหมายว่าลูกจ้างมีสิทธินัดหยุดงานได้ครั้งเดียวทั้งที่ไม่มีบทมาตราใดบัญญัติห้ามไว้โดยชัดแจ้ง เป็นการแปลที่จำกัดสิทธิโดยชอบธรรมของลูกจ้างการนัดหยุดงานเป็นมาตรการขั้นสุดท้ายของลูกจ้างที่จะให้ได้มาซึ่งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามข้อเรียกร้องของตน มิใช่ฝ่ายนายจ้างเท่านั้นที่ได้รับความเสียหายที่กิจการต้องหยุดชะงักงัน ฝ่ายลูกจ้างเองก็ต้องได้รับความเสียหายดุจกันที่ไม่ได้รับค่าจ้าง ดังนั้น ถ้าลูกจ้างสามารถใช้สิทธินัดหยุดงานครั้งเดียวเป็นเวลายาวนานทำให้ทั้งสองฝ่ายได้รับความเดือดร้อนเป็นอันมากได้โดยชอบ การนัดหยุดงานเป็นช่วง ๆ เป็นระยะเวลาสั้น ๆ เป็นการกระตุ้นเตือนให้นายจ้างรู้สำนึกถึงความเดือดร้อนทีละน้อยแล้วจะทวีความรุนแรงขึ้นโดยลำดับ เพื่อให้มีการหันหน้าเข้าเจรจาให้ได้มาซึ่งข้อตกลงร่วมกันจึงกระทำได้ การใช้สิทธินัดหยุดงานครั้งหลัง ๆ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยชอบไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและสิทธิการได้รับค่าชดเชย รวมถึงดอกเบี้ยตามคำขอ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 47 ใช้บังคับสำหรับกรณีที่มีการเลิกจ้างกันแล้วนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ ส่วนนายจ้างจะมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างได้หรือไม่ ย่อมต้องพิจารณาตามข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
การกระทำของลูกจ้างแม้มีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างได้ตามข้อบังคับหรือระเบียบวินัยเกี่ยวกับการทำงาน แต่ถ้าไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามที่กำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 483 นายจ้างจะต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในค่าชดเชยตั้งแต่วันฟ้องการที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับเงินต้นค่าชดเชยตั้งแต่วันเลิกจ้างโดยที่ไม่ปรากฏเหตุใด ๆ เพื่อความเป็นธรรม จึงเป็นการเกินคำขอ
การกระทำของลูกจ้างแม้มีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างได้ตามข้อบังคับหรือระเบียบวินัยเกี่ยวกับการทำงาน แต่ถ้าไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามที่กำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 483 นายจ้างจะต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในค่าชดเชยตั้งแต่วันฟ้องการที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับเงินต้นค่าชดเชยตั้งแต่วันเลิกจ้างโดยที่ไม่ปรากฏเหตุใด ๆ เพื่อความเป็นธรรม จึงเป็นการเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 811-818/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่สมควร นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงานเดิม
โจทก์กับพวกทำงานกับจำเลยมานานในหน้าที่ฝ่ายช่างและฝ่ายผลิตบางคนก็ได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นหัวหน้างานมีเงินเพิ่มประจำตำแหน่งการที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ทุกคนไปทำงานแผนกทำความสะอาดถือว่าเป็นการประพฤติผิดสภาพการจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 731/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สภาพการจ้างพนักงานฝ่ายจัดการ, การลาออกโดยสมัครใจ, และการสละสิทธิเรียกร้องผลประโยชน์จากนายจ้าง
กฎและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่ให้จำเลยจ่ายบำเหน็จและเป็นผู้ออกภาษีเงินได้ส่วนบุคคลให้นั้นระบุไว้ชัดเจนว่าสำหรับพนักงานประจำที่มิใช่ฝ่ายจัดการโจทก์เป็นพนักงานฝ่ายจัดการจะนำข้อบังคับนี้มาใช้ไม่ได้จึงไม่อาจอ้างสิทธิว่าจำเลยจะต้องออกภาษีเงินได้ให้จากข้อบังคับนี้ เงินสมทบกองทุนเงินสะสมเป็นข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างกฎหมายแรงงานมิได้บังคับให้ปฏิบัติโจทก์จำเลยมีสิทธิตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้หาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่เมื่อโจทก์ทำบันทึกขณะลาออกจากงานว่านอกจากเงินตอบแทนที่จำเลยให้โจทก์แล้วโจทก์จะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเงินหรือผลประโยชน์อื่นใดจากจำเลยอีกโจทก์จึงต้องผูกพันตามเอกสารนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 731/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของพนักงานฝ่ายจัดการที่ไม่ได้รับการคุ้มครองตามข้อบังคับสำหรับพนักงานทั่วไป และการสละสิทธิเรียกร้องเงินสมทบกองทุน
กฎและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่ให้จำเลยจ่ายบำเหน็จและเป็นผู้ออกภาษีเงินได้ส่วนบุคคลให้นั้นระบุไว้ชัดเจนว่าสำหรับพนักงานประจำที่มิใช่ฝ่ายจัดการ โจทก์เป็นพนักงานฝ่ายจัดการจะนำข้อบังคับนี้มาใช้ไม่ได้จึงไม่อาจอ้างสิทธิว่าจำเลยจะต้องออกภาษีเงินได้ให้จากข้อบังคับนี้
เงินสมทบกองทุนเงินสะสมเป็นข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง กฎหมายแรงงานมิได้บังคับให้ปฏิบัติ โจทก์จำเลยมีสิทธิตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้ หาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่ เมื่อโจทก์ทำบันทึกขณะลาออกจากงานว่านอกจากเงินตอบแทนที่จำเลยให้โจทก์แล้วโจทก์จะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเงินหรือผลประโยชน์อื่นใดจากจำเลยอีก โจทก์จึงต้องผูกพันตามเอกสารนั้น
เงินสมทบกองทุนเงินสะสมเป็นข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง กฎหมายแรงงานมิได้บังคับให้ปฏิบัติ โจทก์จำเลยมีสิทธิตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้ หาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่ เมื่อโจทก์ทำบันทึกขณะลาออกจากงานว่านอกจากเงินตอบแทนที่จำเลยให้โจทก์แล้วโจทก์จะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเงินหรือผลประโยชน์อื่นใดจากจำเลยอีก โจทก์จึงต้องผูกพันตามเอกสารนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3389/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงานกำหนดระยะเวลาได้ นายจ้างมิอาจอ้างหลีกเลี่ยงค่าชดเชยโดยง่าย
สัญญาจ้างแรงงานซึ่งจะถือว่าเป็นการขัดต่อระเบียบข้อบังคับ ของนายจ้างหรือขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันจะทำให้สัญญาจ้างไม่มีผลใช้บังคับ ได้แก่การทำสัญญาจ้างซึ่งมีข้อตกลงหรือเงื่อนไขผิดไปจากระเบียบข้อบังคับของนายจ้างหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งกำหนดไว้เพื่อประโยชน์ของลูกจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ไม่มีข้อใดกำหนดหรือระบุเป็นข้อห้ามว่ามิให้โจทก์ทำสัญญาจ้างลูกจ้างโดยกำหนดระยะเวลาจ้างไว้ การที่โจทก์จะจ้างพนักงานซึ่งผ่านพ้นการทดลองปฏิบัติงานมาแล้วเป็นพนักงานทั่วไปหรือไม่ เป็นเรื่องที่ตกลงว่าจ้างกันอีกชั้นหนึ่ง โจทก์ย่อมมีอำนาจทำสัญญาจ้างลูกจ้างโดยตกลงกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนได้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3389/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงานมีกำหนดระยะเวลาหลังผ่านทดลองงาน ไม่ขัดต่อกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ และการเลิกจ้างไม่ถือเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรม
สัญญาจ้างแรงงานซึ่งจะถือว่าเป็นการขัดต่อระเบียบข้อบังคับ ของนายจ้างหรือขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันจะทำให้ สัญญาจ้างไม่มีผลใช้บังคับ ได้แก่การทำสัญญาจ้าง ซึ่งมีข้อตกลง หรือเงื่อนไขผิดไปจากระเบียบข้อบังคับของ นายจ้างหรือข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งกำหนดไว้เพื่อ ประโยชน์ของลูกจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ไม่มีข้อใดกำหนดหรือระบุเป็น ข้อห้ามว่ามิให้โจทก์ทำสัญญาจ้างลูกจ้างโดยกำหนดระยะเวลาจ้างไว้ การที่โจทก์จะจ้างพนักงานซึ่งผ่านพ้นการทดลองปฏิบัติงานมาแล้วเป็นพนักงานทั่วไปหรือไม่ เป็นเรื่องที่ตกลงว่าจ้างกันอีกชั้นหนึ่ง โจทก์ย่อมมีอำนาจทำสัญญาจ้างลูกจ้างโดยตกลงกำหนดระยะเวลาการจ้าง ไว้แน่นอนได้ไม่เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การปฏิบัติตามข้อตกลงสภาพการจ้างในการสอบสวนข้อกล่าวหา
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดว่า หากมีผู้ร้องเรียน เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของพนักงานจำเลย ให้จำเลยสืบสวน เบื้องต้นว่ากรณีมีมูลความจริงหรือไม่ถ้ามีมูลให้ตั้ง คณะกรรมการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหา และถ้าผู้ถูกกล่าวหาปฏิเสธก็ ต้องติดต่อให้ผู้กล่าวหามาให้การสอบสวนเพิ่มเติม หากมิได้ ดำเนินการดั่งกล่าวให้ยกประโยชน์ให้ผู้ถูกกล่าวหา โจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำการทุจริตในการจำหน่ายตั๋วโดยสาร จำเลยจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนโจทก์คณะกรรมการได้ปฏิบัติตามข้อตกลงโดยติดต่อผู้กล่าวหาแล้ว โจทก์ ผู้ถูกกล่าวหาจะได้รับประโยชน์จากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการค้าดังกล่าวต้องเป็นกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนมิได้ดำเนินการให้ผู้กล่าวหามาให้การเลยส่วนการที่ผู้กล่าวหาไม่ยินยอมมาให้การนั้น คณะกรรมการก็ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐาน อื่นเท่าที่ปรากฏอยู่ต่อไปว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหานั้นหรือไม่ โจทก์จึงไม่ได้รับประโยชน์ตาม ข้อตกลงดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้างและการสอบสวนทุจริต: การติดต่อผู้กล่าวหาเป็นเงื่อนไขสำคัญในการคุ้มครองสิทธิลูกจ้าง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดว่า หากมีผู้ร้องเรียน เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของพนักงานจำเลย ให้จำเลยสืบสวน เบื้องต้นว่ากรณีมีมูลความจริงหรือไม่ถ้ามีมูลให้ตั้ง คณะกรรมการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหา และถ้าผู้ถูกกล่าวหาปฏิเสธก็ ต้องติดต่อให้ผู้กล่าวหามาให้การสอบสวนเพิ่มเติมหากมิได้ ดำเนินการดั่งกล่าวให้ยกประโยชน์ให้ผู้ถูกกล่าวหา โจทก์ถูก กล่าวหาว่ากระทำการทุจริตในการจำหน่ายตั๋วโดยสาร จำเลยจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนโจทก์คณะกรรมการได้ปฏิบัติตามข้อตกลงโดยติดต่อผู้กล่าวหาแล้ว โจทก์ ผู้ถูกกล่าวหาจะได้รับประโยชน์จากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการค้าดังกล่าวต้องเป็นกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนมิได้ดำเนินการให้ผู้กล่าวหามาให้การเลยส่วนการที่ผู้กล่าวหาไม่ยินยอมมา ให้การนั้น คณะกรรมการก็ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐาน อื่นเท่าที่ปรากฏอยู่ต่อไปว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหานั้นหรือไม่ โจทก์จึงไม่ได้รับประโยชน์ตาม ข้อตกลงดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากข้อบังคับทำงานที่ไม่ชัดเจนและการไม่ลงชื่อรับทราบผลงาน
ข้อบังคับของบริษัทจำเลยกำหนดว่า ลูกจ้างไม่พึงทำงานต่ำกว่า เกณฑ์ทำงานขั้นต่ำแต่ละวัน หากลูกจ้างคนใดทำงานต่ำกว่าเกณฑ์จำเลยมีสิทธิตักเตือนให้ปรับปรุงการทำงานให้บรรลุเป้าหมายและมีสิทธิให้ลูกจ้างลงชื่อรับทราบผลงานและรับทราบการตักเตือนซึ่งอาจเป็นการตักเตือนให้ปรับปรุงการทำงาน หรือตักเตือนเพื่อเป็นการลงโทษแล้วแต่กรณีเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดดังกล่าวอยู่ในวิสัยของลูกจ้างทั่วไปกระทำได้เพราะไม่ปรากฏว่ามีลูกจ้างอื่นทำไม่ได้ นอกจากโจทก์ทั้งสิบเอ็ดเป้าหมายของเกณฑ์ขั้นต่ำหรือวัตถุประสงค์ของจำเลยที่จะให้ลูกจ้างทำงานไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้จึงไม่เป็นการพ้นวิสัยไม่เป็นการขัดขวางต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานทั้งการว่ากล่าวตักเตือนลูกจ้างการให้ลงชื่อรับทราบผลงานเป็นสิทธิทั่วไปที่นายจ้างพึงกระทำต่อลูกจ้างได้ไม่ขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้การที่ โจทก์ทั้งสิบเอ็ด ลูกจ้างไม่ยอมลงชื่อรับทราบสรุปผลงานตามข้อบังคับ ของจำเลยเมื่อ ปรากฏว่าตามข้อบังคับดังกล่าวกำหนดไว้ว่า 'นายจ้าง ต้องเรียกลูกจ้างมาเพื่อทำการตักเตือนการทำงานพร้อมกับให้เซ็นชื่อ รับทราบผลงานของตนไว้ด้วย'นั้น เป็นข้อบังคับที่กล่าวถึงด้านนายจ้าง แต่ฝ่ายเดียวไม่ได้กล่าวถึงด้านลูกจ้างด้วยไม่อาจแปลได้ว่าเป็นการบังคับ ลูกจ้างจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสิบเอ็ดฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แม้จำเลยจะตักเตือนโจทก์ทั้งสิบเอ็ดแล้วก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสิบเอ็ด ขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย