คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 5

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,606 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากข้อบังคับทำงานที่ไม่ชัดเจนและการไม่ลงชื่อรับทราบผลงาน
ข้อบังคับของบริษัทจำเลยกำหนดว่า ลูกจ้างไม่พึงทำงานต่ำกว่า เกณฑ์ทำงานขั้นต่ำแต่ละวัน หากลูกจ้างคนใดทำงานต่ำกว่าเกณฑ์จำเลยมีสิทธิตักเตือนให้ปรับปรุงการทำงานให้บรรลุเป้าหมายและมีสิทธิให้ลูกจ้างลงชื่อรับทราบผลงานและรับทราบการตักเตือนซึ่งอาจเป็นการตักเตือนให้ปรับปรุงการทำงาน หรือตักเตือนเพื่อเป็นการลงโทษแล้วแต่กรณีเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดดังกล่าวอยู่ในวิสัยของลูกจ้างทั่วไปกระทำได้เพราะไม่ปรากฏว่ามีลูกจ้างอื่นทำไม่ได้ นอกจากโจทก์ทั้งสิบเอ็ดเป้าหมายของเกณฑ์ขั้นต่ำหรือวัตถุประสงค์ของจำเลยที่จะให้ลูกจ้างทำงานไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้จึงไม่เป็นการพ้นวิสัยไม่เป็นการขัดขวางต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานทั้งการว่ากล่าวตักเตือนลูกจ้างการให้ลงชื่อรับทราบผลงานเป็นสิทธิทั่วไปที่นายจ้างพึงกระทำต่อลูกจ้างได้ไม่ขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้การที่ โจทก์ทั้งสิบเอ็ด ลูกจ้างไม่ยอมลงชื่อรับทราบสรุปผลงานตามข้อบังคับ ของจำเลยเมื่อ ปรากฏว่าตามข้อบังคับดังกล่าวกำหนดไว้ว่า 'นายจ้าง ต้องเรียกลูกจ้างมาเพื่อทำการตักเตือนการทำงานพร้อมกับให้เซ็นชื่อ รับทราบผลงานของตนไว้ด้วย'นั้น เป็นข้อบังคับที่กล่าวถึงด้านนายจ้าง แต่ฝ่ายเดียวไม่ได้กล่าวถึงด้านลูกจ้างด้วยไม่อาจแปลได้ว่าเป็นการบังคับ ลูกจ้างจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสิบเอ็ดฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แม้จำเลยจะตักเตือนโจทก์ทั้งสิบเอ็ดแล้วก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสิบเอ็ด ขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิปิดงาน-นัดหยุดงาน: ข้อพิพาทแรงงานตกลงกันไม่ได้ นายจ้าง/ลูกจ้างมีสิทธิเท่าเทียมกัน
เมื่อมีข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ไม่ว่าข้อขัดแย้งนั้นจะเกิดจากฝ่ายใดเป็นฝ่ายแจ้งหรือข้อเรียกร้อง ถ้าได้ดำเนินการเจรจาตามขั้นตอนของกฎหมายแล้วแต่มิอาจตกลงกันได้ ซึ่งถือเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้นั้น นายจ้างหรือลูกจ้างย่อมมีสิทธิปิดงานหรือนัดหยุดงานได้แล้วแต่กรณี ไม่ใช่จะมีสิทธิเฉพาะฝ่ายที่แจ้งข้อเรียกร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3031/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินสมทบของพนักงาน: สิทธิในเงินสมทบและดอกเบี้ยยังเป็นของจำเลย แม้มีการตกลงนำฝากเข้าบัญชี
เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระบุชัดว่าให้จำเลยนำเงินสมทบเข้าฝากธนาคารในบัญชีเงินฝากสะสมของพนักงาน ซึ่งจำเลยได้ฝากเงินสะสมไว้ที่ธนาคาร ช. ในบัญชีเงินสำรองเลี้ยงชีพจำเลยก็ต้องฝากเงินสมทบเข้าบัญชีดังกล่าวที่ธนาคาร ช. จะฝากในนามจำเลยหรือฝากที่ธนาคารอื่นหาได้ไม่ และเมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเพียงแต่ให้จำเลยนำเงินสมทบเข้าฝากธนาคารเท่านั้น ข้อกำหนดอื่นจึงคงเป็นไปตามระเบียบเดิมที่กำหนดให้จำเลยจ่ายเงินสมทบแก่พนักงานเมื่อลาออกหรือเกษียณอายุ พนักงานที่ถูกลงโทษปลดออกไม่มีสิทธิได้รับเงินนี้ดังนั้น เงินสมทบจะตกเป็นของพนักงานเมื่อออกจากงานแล้วสิทธิในเงินสมทบยังเป็นของจำเลย ดอกเบี้ยของเงินดังกล่าวจึงเป็นของจำเลย หาใช่เป็นของพนักงานไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3031/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินสมทบของลูกจ้าง: สิทธิในเงินสมทบและดอกเบี้ยยังเป็นของจำเลย แม้มีการนำฝากธนาคาร
เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระบุชัดว่าให้จำเลยนำเงินสมทบเข้าฝากธนาคารในบัญชีเงินฝากสะสมของพนักงาน ซึ่งจำเลยได้ฝากเงินสะสมไว้ที่ธนาคาร ช. ในบัญชีเงินสำรองเลี้ยงชีพ จำเลยก็ต้องฝากเงินสมทบเข้าบัญชีดังกล่าวที่ธนาคาร ช. จะฝากในนามจำเลยหรือฝากที่ธนาคารอื่นหาได้ไม่
และเมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเพียงแต่ให้จำเลยนำเงินสมทบเข้าฝากธนาคารเท่านั้น ข้อกำหนดอื่นจึงคงเป็นไปตามระเบียบเดิมที่กำหนดให้จำเลยจ่ายเงินสมทบแก่พนักงานเมื่อลาออกหรือเกษียณอายุ พนักงานที่ถูกลงโทษปลดออกไม่มีสิทธิได้รับเงินนี้ดังนั้น เงินสมทบจะตกเป็นของพนักงานเมื่อออกจากงานแล้ว สิทธิในเงินสมทบยังเป็นของจำเลย ดอกเบี้ยของเงินดังกล่าวจึงเป็นของจำเลย หาใช่เป็นของพนักงานไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2956/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษทางวินัยต้องมีเหตุผลอันสมควร การย้ายงานที่ไม่เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง และสิทธิในการรับโบนัส/ขึ้นเงินเดือน
ผู้บังคับบัญชาถามโจทก์ว่า วันเสาร์นี้ว่างหรือไม่ จะให้พาชาวต่างประเทศไปชมโรงงาน โจทก์ซึ่งปกติเป็นคนพูดเสียงดังได้ตอบทันทีด้วยเสียงอันดังและต่อหน้าพนักงานอื่นว่าว่าง แต่ไม่ไป เพราะไม่ได้โอ.ที. อยู่บ้านทำบัญชีดีกว่า เพียงเท่านั้นยังถือไม่ได้ว่า กิริยาวาจาของโจทก์เป็นการไม่สุภาพเรียบร้อย
โจทก์ไม่ได้รับการพิจารณาจ่ายโบนัสและขึ้นเงินเดือนเพราะกระทำผิดวินัยฐานมีกิริยาวาจาไม่สุภาพเรียบร้อยเพียงประการเดียว เมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์กระทำผิดวินัย และมีหลักเกณฑ์การพิจารณาจ่ายโบนัสและขึ้นเงินเดือนข้ออื่น ๆ อีกหลายข้อที่จำเลยยังไม่ได้พิจารณา ศาลจึงชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยพิจารณาจ่ายเงินโบนัสและการขึ้นเงินเดือนตามหลักเกณฑ์ของการพิจารณาในเรื่องทั้งสองนั้นใหม่
ตามคำสั่งจ้างโจทก์ หนังสือสัญญาจ้าง และข้อบังคับของจำเลย จำเลยมีอำนาจที่จะพิจารณาบรรจุและแต่งตั้งโจทก์ให้ไปดำรงตำแหน่งในส่วนงานต่าง ๆ ได้ตามความเหมาะสม หาได้จ้างโจทก์ในตำแหน่งหนึ่งตำแหน่งใดโดยเฉพาะไม่ เมื่อได้ความว่าตำแหน่งใหม่เท่ากับตำแหน่งเดิม ค่าจ้างเท่าเดิม การย้ายโจทก์จึงมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง จำเลยมีสิทธิและอำนาจที่จะย้ายโจทก์ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2956/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษทางวินัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการพิจารณาโบนัส/ขึ้นเงินเดือนใหม่
ผู้บังคับบัญชาถามโจทก์ว่า วันเสาร์นี้ว่างหรือไม่ จะให้พาชาวต่างประเทศไปชมโรงงาน โจทก์ซึ่งปกติเป็นคนพูดเสียงดังได้ตอบทันทีด้วยเสียงอันดังและต่อหน้าพนักงานอื่นว่าว่าง แต่ไม่ไป เพราะไม่ได้ โอ.ที. อยู่บ้านทำบัญชีดีกว่า เพียงเท่านั้นยังถือไม่ได้ว่า กิริยาวาจาของโจทก์เป็นการไม่สุภาพเรียบร้อย
โจทก์ไม่ได้รับการพิจารณาจ่ายโบนัสและขึ้นเงินเดือนเพราะกระทำผิดวินัยฐานมีกิริยาวาจาไม่สุภาพเรียบร้อยเพียงประการเดียว เมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์กระทำผิดวินัย และมีหลักเกณฑ์การพิจารณาจ่ายโบนัสและขึ้นเงินเดือนข้ออื่นๆ อีกหลายข้อที่จำเลยยังไม่ได้พิจารณา ศาลจึงชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยพิจารณาจ่ายเงินโบนัสและการขึ้นเงินเดือนตามหลักเกณฑ์ของการพิจารณาในเรื่องทั้งสองนั้นใหม่
ตามคำสั่งจ้างโจทก์ หนังสือสัญญาจ้าง และข้อบังคับของจำเลยจำเลยมีอำนาจที่จะพิจารณาบรรจุและแต่งตั้งโจทก์ให้ไปดำรงตำแหน่งในส่วนงานต่างๆ ได้ตามความเหมาะสม หาได้จ้างโจทก์ในตำแหน่งหนึ่งตำแหน่งใดโดยเฉพาะไม่ เมื่อได้ความว่าตำแหน่งใหม่เท่ากับตำแหน่งเดิม ค่าจ้างเท่าเดิม การย้ายโจทก์จึงมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง จำเลยมีสิทธิและอำนาจที่จะย้ายโจทก์ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2837/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาดข้อพิพาทค่าครองชีพและสวัสดิการ, การประชุมใหญ่วิสามัญสหภาพแรงงาน
การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีคำสั่งให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดำเนินการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามมาตรา34 (4) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ นั้น คณะกรรมการฯ มีอำนาจดำเนินการชี้ขาดกำหนดอัตราค่าครองชีพหรือกำหนดเงินช่วยเหลือครอบครัวกรณีที่พนักงานเสียชีวิต อันเป็นข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้างได้
เมื่อข้อบังคับสหภาพแรงงานกำหนดว่า การประชุมใหญ่วิสามัญหมายถึงการประชุมที่สมาชิกไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมด หรือไม่น้อยกว่า 50 คน ลงลายมือชื่อทำหนังสือร้องขอให้คณะกรรมการเรียกประชุมใหญ่ ดังนี้ แม้จะปรากฏว่ามีการปลอมลายมือชื่อของสมาชิกบางคนในหนังสือเรียกร้องให้สหภาพแรงงานเปิดการประชุมใหญ่วิสามัญ แต่จำนวนสมาชิกที่ลงชื่อในหนังสือดังกล่าวที่เหลือนอกจากนั้นก็มีจำนวนเกิน 50 คน และไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสมาชิกทั้งหมด สหภาพแรงงานจึงชอบที่จะเปิดประชุมใหญ่วิสามัญได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2837/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาดข้อพิพาทค่าครองชีพและเงินช่วยเหลือครอบครัว รวมถึงการประชุมใหญ่วิสามัญที่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีคำสั่งให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดำเนินการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามมาตรา34(4) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯนั้น คณะกรรมการฯ มีอำนาจดำเนินการชี้ขาดกำหนดอัตราค่าครองชีพหรือกำหนดเงินช่วยเหลือครอบครัวกรณีที่พนักงานเสียชีวิต อันเป็นข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้างได้
เมื่อข้อบังคับสหภาพแรงงานกำหนดว่า การประชุมใหญ่วิสามัญหมายถึงการประชุมที่สมาชิกไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมด หรือไม่น้อยกว่า 50 คน ลงลายมือชื่อทำหนังสือร้องขอให้คณะกรรมการเรียกประชุมใหญ่ ดังนี้ แม้จะปรากฏว่ามีการปลอมลายมือชื่อของสมาชิกบางคนในหนังสือเรียกร้องให้สหภาพแรงงานเปิดการประชุมใหญ่วิสามัญ แต่จำนวนสมาชิกที่ลงชื่อในหนังสือดังกล่าวที่เหลือนอกจากนั้นก็มีจำนวนเกิน 50 คน และไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสมาชิกทั้งหมด สหภาพแรงงานจึงชอบที่จะเปิดประชุมใหญ่วิสามัญได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับรองการฝึกอบรมและเบี้ยปรับ เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงสภาพการจ้าง ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณา
ธนาคารโจทก์มีระเบียบว่าผู้สอบคัดเลือกได้จะต้องเข้ารับการฝึกอบรมก่อนบรรจุแต่งตั้ง จำเลยสอบคัดเลือกได้ โจทก์จึงรับจำเลยเข้าทำการฝึกอบรมและให้จำเลยทำหนังสือรับรองว่า ในกรณีที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งแล้วถ้าจำเลยลาออกจากงานภายใน 18 เดือน นับแต่วันเริ่มเข้ารับการฝึกอบรมยอมชำระเบี้ยปรับแก่ โจทก์ ดังนี้ การที่โจทก์ให้จำเลยทำหนังสือรับรองดังกล่าวแสดงว่า เป็นความประสงค์ของโจทก์ที่จะให้มีข้อตกลงอันเกี่ยวกับเงื่อนไขการจ้างหรือการทำงาน หรือประโยชน์ของโจทก์เกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงานด้วยหาใช่เป็นการแสดงเจตนาของจำเลยฝ่ายเดียวไม่ หนังสือรับรองดังกล่าวจึงเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามหนังสือรับรอง จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ศาลแรงงานกลางมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับรองการฝึกอบรมและเบี้ยปรับ: เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงสภาพการจ้าง และอยู่ในอำนาจศาลแรงงาน
ธนาคารโจทก์มีระเบียบว่าผู้สอบคัดเลือกได้จะต้องเข้ารับการฝึกอบรมก่อนบรรจุแต่งตั้ง จำเลยสอบคัดเลือกได้ โจทก์จึงรับจำเลยเข้าทำการฝึกอบรมและให้จำเลยทำหนังสือรับรองว่า ในกรณีที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งแล้วถ้าจำเลยลาออกจากงานภายใน 18 เดือน นับแต่วันเริ่มเข้ารับการฝึกอบรมยอมชำระเบี้ยปรับแก่ โจทก์ ดังนี้การที่โจทก์ให้จำเลยทำหนังสือรับรองดังกล่าวแสดงว่า เป็นความประสงค์ของโจทก์ที่จะให้มีข้อตกลงอันเกี่ยวกับเงื่อนไขการจ้างหรือการทำงาน หรือประโยชน์ของโจทก์เกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงานด้วยหาใช่เป็นการแสดงเจตนาของจำเลยฝ่ายเดียวไม่ หนังสือรับรองดังกล่าวจึงเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามหนังสือรับรอง จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ศาลแรงงานกลางมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้
of 161