พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,606 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173-228/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของกรรมการบริษัทในฐานะนายจ้าง: หลักตัวแทนและการผูกพันของตัวการ
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 5 ได้ให้คำนิยามคำว่า นายจ้างในทำนองเดียวกันกับ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 ว่า นายจ้าง หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลให้หมายความรวมถึงผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล และผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลให้ทำการแทนด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ย่อมมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างโดยตรงของโจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1167 ซึ่งความเกี่ยวพันกันในระหว่างกรรมการและบริษัท และบุคคลภายนอกนั้น ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยตัวแทน และบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน มาตรา 820 มีความหมายว่ากิจการใดอันตัวแทนได้กระทำไปในขอบอำนาจของตัวแทนนั้นเป็นการกระทำของตัวการจำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวการจึงต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกในการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ได้กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ไม่ผูกพันรับผิดเป็นส่วนตัวต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9395-9492/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทค่าจ้างหลังปรับโครงสร้างเงินเดือน: ศาลฎีกาให้ฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาข้อตกลงโดยปริยาย
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับสหภาพแรงงานองค์การค้าของคุรุสภาว่า การพิจารณาความดีความชอบในขณะใดๆ ให้องค์การค้าคุรุสภาพิจารณาโดยถือหลักเกณฑ์การพิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรีหรือระเบียบของทางราชการที่กำหนดสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจในขณะนั้นๆ ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ปรับอัตราค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ จำเลยที่ 2 ได้พิจารณาความดีความชอบของโจทก์ในรอบปีบัญชี 2546 ถึงปี 2547 แล้วยังไม่ได้ปรับอัตราค่าจ้างขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว โจทก์จึงยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานขอให้บังคับจำเลยที่ 2 จ่ายค่าจ้างส่วนที่ยังไม่ได้ปรับขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีคำสั่งว่าเป็นกรณีที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มิใช่การค้างจ่ายค่าจ้าง โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้าง ดังนี้ เมื่อฝ่ายโจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกลาว จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 ไปฏิบัติตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 12 และเมื่อจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้ปรับอัตราค่าจ้างขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีฯ จึงยังไม่มีค่าจ้างที่ค้างจ่ายจากการปรับอัตราค่าจ้างขึ้นแก่ฝ่ายโจทก์ ตาม พ.รงบ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 70 คำสั่งของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9488/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยไม่ได้รับความยินยอม และการจ่ายเงินรางวัลพนักงานดีเด่นเป็นสภาพการจ้าง
การที่จำเลยจ่ายเงินรางวัลพนักงานดีเด่นและหัวหน้าดีเด่นประจำเดือนแก่ลูกจ้างเป็นประจำตลอดมาทุกเดือน นับแต่ปี 2541 จนถึงวันที่ 16 สิงหาคม 2545 เงินรางวัลพนักงานดีเด่นและหัวหน้างานดีเด่น ประจำเดือนจึงเป็นประโยชน์อื่นของลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้างงานหรือการทำงานและเป็นสภาพการจ้าง ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 5 แม้ว่าเรื่องของการจ่ายเงินรางวัลพนักงานดีเด่นและหัวหน้าดีเด่นประจำเดือน เป็นสภาพการจ้างอื่นใดที่ไม่อยู่ในข้อเรียกร้องตามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง แต่ก็เป็นสภาพการจ้างที่ปฏิบัติสืบกันมาจึงเป็นสภาพการจ้างที่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวระบุให้ต้องคงไว้เช่นเดิม และยังเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยปริยาย การยกเลิกรางวัลพนักงานดีเด่นและหัวหน้างานดีเด่นประจำเดือนเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างและเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1350-1351/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับลูกจ้างรายวันเป็นรายเดือน มิใช่การปรับขึ้นค่าจ้าง หากค่าจ้างรายเดือนไม่น้อยกว่าเดิม
ข้อตกลงระหว่างสหภาพแรงงานผลิตเครื่องมือประมงฯกับจำเลย เอกสารหมาย จ.8 หรือ ล.9 ได้ระบุแยกกรณีการขึ้นค่าจ้างกับกรณีการปรับคนงานรายวันเป็นรายเดือนโดยมีเงื่อนไขกำหนดไว้ชัดเจน ซึ่งการปรับลูกจ้างรายวันเป็นรายเดือนมีผลเพียงทำให้ลูกจ้างนั้นมีสิทธิต่าง ๆ เพิ่มขึ้นตามที่ลูกจ้างรายเดือนมีสิทธิได้รับ ไม่มีข้อความที่ทำให้เข้าใจได้ว่าสหภาพแรงงานผลิตเครื่องมือประมงฯ หรือจำเลยประสงค์ให้เป็นการปรับขึ้นค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ไปด้วย แม้หากนำเงินเดือนหารด้วย 30 เป็นค่าจ้างต่อวัน อัตราค่าจ้างต่อวันที่โจทก์ทั้งสามได้รับน้อยลงกว่าเดิม แต่เมื่อโจทก์ทั้งสามไม่ใช่ลูกจ้างรายวันแล้วและค่าจ้างรายเดือนที่โจทก์ทั้งสามมีสิทธิได้รับไม่น้อยไปกว่าค่าจ้างรายวันที่โจทก์ทั้งสามเคยมีสิทธิได้รับรวมทั้งเดือน ย่อมไม่ใช่เรื่องที่จำเลยไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อตกลงดังกล่าว ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ได้ปรับขึ้นค่าจ้างให้แก่โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีค่าจ้างและค่าชดเชยที่จำเลยค้างจ่ายดังที่โจทก์ทั้งสามอ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9395-9492/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทค่าจ้าง กรณีการปรับโครงสร้างเงินเดือนตามมติ ครม. และข้อตกลงสภาพการจ้าง
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ จำเลยที่ 2 ได้พิจารณาความดีความชอบของโจทก์ในรอบปีบัญชี 2546 ถึงปี 2547 แล้ว แต่ยังไม่ได้ปรับอัตราค่าจ้างขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว โจทก์จึงยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานขอให้บังคับจำเลยที่ 2 จ่ายค่าจ้างส่วนที่ยังไม่ได้ปรับขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีคำสั่งว่าเป็นกรณีที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มิใช่การค้างจ่ายค่าจ้างโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้าง ดังนี้ เมื่อฝ่ายโจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 ไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 12 และเมื่อจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้ปรับอัตราค่าจ้างขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี ฯ จึงยังไม่มีค่าจ้างที่ค้างจ่ายจากการปรับอัตราค่าจ้างขึ้นแก่ฝ่ายโจทก์ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 70 คำสั่งของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6942/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง: การควบคุมดูแลการทำงานและระเบียบปฏิบัติบ่งชี้ถึงความเป็นลูกจ้าง
โจทก์ฟ้องต่อศาลแรงงานกลางขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ที่ 3/2545 ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2545 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่ 11/2545 เรื่อง บริษัท บ. อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2545 โดยอ้างเหตุว่า นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับผู้รับจ้างขนส่งเป็นสัญญาจ้างทำของมิใช่สัญญาจ้างแรงงาน คำวินิจฉัยดังกล่าวไม่ถูกต้องตามกฎหมายเนื่องจากไม่อยู่ในขอบอำนาจของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีฐานะเป็นนายจ้างของผู้รับจ้างขนส่ง โดยผู้รับจ้างขนส่งจะต้องปฏิบัติงานภายใต้ระเบียบกฎเกณฑ์ที่โจทก์กำหนดไว้ และยังต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติการใช้บริการศูนย์จ่ายน้ำมันและการจัดส่งน้ำมัน ในระหว่างการขนส่งน้ำมันไปยังลูกค้า ณ สถานที่ของลูกค้า การลงน้ำมันทั่วไปแล้ว ยังต้องห้ามความประพฤติและการกระทำบางอย่าง เช่น ห้ามแสดงกริยามารยาทหรือวาจาไม่สุภาพ ห้ามเล่นการพนันภายในพื้นที่ และห้ามก่อการทะเลาะวิวาททำร้าย หรือ พยายามทำร้ายผู้อื่น ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดสัญญาจ้างผู้รับเหมาซึ่งมีบทลงโทษไว้ ตั้งแต่การแจ้งตัวแทนผู้รับเหมาเพื่องดให้งาน 3 วัน ไปจนถึงส่งตัวบุคคลนั้นคืนบริษัทต้นสังกัด จนถึงเลิกสัญญาจ้าง การลาหยุดงานต้องระบุเหตุผลอันสมควร ในส่วนของค่าจ้าง ขึ้นอยู่กับการทำงานแต่ละครั้งเป็นลักษณะของค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วยงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 60 ดังนั้นการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างขนส่งจึงมิได้เป็นเพียงผู้รับจ้างโดยอิสระ แต่ต้องปฏิบัติภายใต้ระเบียบปฏิบัติของโจทก์ที่กำหนดขึ้นในลักษณะเดียวกับการทำงานของลูกจ้างทั่วไป การวินิจฉัยตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ที่ 3/2545 ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2545 และการวินิจฉัยอุทธรณ์ตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่ 11/2545 เรื่อง บริษัท บ. อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2545 จึงชอบด้วยอำนาจและหน้าที่ตามที่ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 41 (1) และมาตรา 23 แล้ว ไม่มีเหตุให้เพิกถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4516/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานะนายจ้างที่ซ้อนทับ: การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างขัดเจตนารมณ์กฎหมายแรงงานสัมพันธ์
โจทก์เป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคลของจำเลย มีหน้าที่สอบสวนลงโทษลูกจ้างมีอำนาจออกหนังสือเตือนลูกจ้างที่กระทำความผิด อันเป็นอำนาจหน้าที่ในการลงโทษลูกจ้างของจำเลย อีกทั้งตามสัญญาจ้างแรงงานโจทก์ลงนามแทนจำเลย โจทก์เป็นผู้รับมอบอำนาจให้ทำสัญญาจ้างลูกจ้างเข้าทำงานกับจำเลยแทนจำเลย อันเป็นอำนาจหน้าที่ในการจ้างลูกจ้างของจำเลย โจทก์จึงเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำการแทนจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับการลงโทษ และจ้างลูกจ้างของจำเลยแทนจำเลย โจทก์จึงมีฐานะเป็นนายจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 5 แม้ว่าโจทก์จะเป็นลูกจ้างของจำเลย แต่ฐานะนายจ้างและลูกจ้างนั้นมีผลประโยชน์บางส่วนที่ขัดกัน การที่สหภาพแรงงาน อ. แต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างจึงขัดต่อเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ของการประชุมระหว่างนายจ้างกับคณะกรรมการลูกจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 50 ที่บัญญัติให้นายจ้างต้องจัดให้มีการประชุมหารือกับคณะกรรมการลูกจ้างเพื่อจัดสวัสดิการแก่ลูกจ้าง กำหนดข้อบังคับในการทำงาน พิจารณาคำร้องทุกข์ของลูกจ้าง หาทางปรองดองและระงับข้อขัดแย้งในสถานประกอบกิจการ ร้องขอให้ศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยในกรณีที่เห็นว่าการกระทำของนายจ้างจะทำให้ลูกจ้างไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือได้รับความเดือดร้อนเกินสมควร การแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีฐานะเป็นกรรมการลูกจ้างและไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 52 จำเลยไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานในการเลิกจ้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4516/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานะนายจ้าง-ลูกจ้างซ้อน: การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างขัดเจตนารมณ์กฎหมายแรงงานสัมพันธ์
โจทก์เป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคลของจำเลยมีหน้าที่สอบสวนลงโทษลูกจ้าง มีอำนาจออกหนังสือเตือนลูกจ้างที่กระทำความผิด จึงเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำการแทนจำเลยเกี่ยวกับการลงโทษและจ้างลูกจ้างของจำเลยแทนจำเลย โจทก์จึงมีฐานะเป็นนายจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 5 แม้ว่าโจทก์จะเป็นลูกจ้างของจำเลย แต่ฐานะนายจ้างและลูกจ้างนั้นมีผลประโยชน์บางส่วนที่ขัดกัน การที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างจึงขัดต่อเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ของการประชุมระหว่างนายจ้างกับคณะกรรมการลูกจ้างตามมาตรา 50 จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีฐานะเป็นกรรมการลูกจ้างและไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 52 จำเลยไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานในการเลิกจ้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3066-3189/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง: การลดชั่วโมงทำงาน และการรับฟังพยานหลักฐานเพิ่มเติมในคดีแรงงาน
ระเบียบว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของจำเลยฉบับที่ถูกยกเลิกและฉบับใหม่ต่างก็กำหนดให้พนักงานอื่นนอกจากที่ได้ระบุไว้อันหมายถึงพนักงานฝ่ายบริการภาคพื้นซึ่งรวมโจทก์กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 ทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง ตลอดมาตั้งแต่ปี 2521 ไม่มีการเปลี่ยนแปลง แม้จำเลยจะให้โจทก์กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 ทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง แต่จำเลยก็ไม่ได้ประกาศหรือออกระเบียบใหม่ให้ทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง นับเป็นเรื่องที่จำเลยให้ประโยชน์แก่โจทก์กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 โดยให้ทำงานต่ำกว่าชั่วโมงทำงานที่กำหนดไว้ในสภาพการจ้าง จำเลยย่อมมีสิทธิไม่ให้ประโยชน์นั้นต่อไปโดยให้โจทก์กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 ทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง เต็มตามสภาพการจ้างที่ได้กำหนดไว้ได้ ไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง
แม้จำเลยอ้างส่งเอกสารหมาย ล. 10 โดยไม่ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน แต่การที่ศาลแรงงานกลางรับเอกสารหมาย ล. 10 ไว้และได้วินิจฉัยถึงเอกสารดังกล่าวในคำพิพากษาแสดงว่าศาลแรงงานกลางเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดีจึงรับฟังเอกสารหมาย ล. 10 โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ใช้ในการพิจารณาคดีแรงงานโดยเฉพาะจึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 90 วรรคหนึ่ง
แม้จำเลยอ้างส่งเอกสารหมาย ล. 10 โดยไม่ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน แต่การที่ศาลแรงงานกลางรับเอกสารหมาย ล. 10 ไว้และได้วินิจฉัยถึงเอกสารดังกล่าวในคำพิพากษาแสดงว่าศาลแรงงานกลางเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดีจึงรับฟังเอกสารหมาย ล. 10 โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ใช้ในการพิจารณาคดีแรงงานโดยเฉพาะจึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 90 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10293/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้างผู้บริหาร: สิทธิยื่นข้อเรียกร้องและคุ้มครองตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ และอำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
จำเลยร่วมเป็นพนักงานของโจทก์ระดับผู้บริหารและได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่แทนโจทก์ ถือว่าจำเลยร่วมเป็นนายจ้างตามความหมายของคำว่า นายจ้าง ใน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 5 แต่สถานะความเป็นนายจ้างของจำเลยร่วมตามความในมาตราดังกล่าวใช้เฉพาะแก่บุคคลอื่น ซึ่งไม่ใช่โจทก์ผู้เป็นนายจ้างที่แท้จริง ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมยังต้องถือว่าโจทก์เป็นนายจ้างและจำเลยร่วมเป็นลูกจ้างเช่นเดิม จำเลยร่วมจึงมีสิทธิร่วมลงลายมือชื่อยื่นข้อเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างต่อโจทก์ได้ การลงลายมือชื่อยื่นข้อเรียกร้องของจำเลยร่วมมีผลตามกฎหมาย จำเลยร่วมจึงได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518
บทบัญญัติตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ไม่ลบล้างหรือทำให้บทบัญญัติตามมาตรา 121 ไม่มีผลใช้บังคับแก่กรณีที่ต้องด้วยทั้งมาตรา 31 และมาตรา 121 กล่าวคือ ลูกจ้างมีสิทธินำคดีขึ้นสู่ศาลแรงงานได้โดยตรงกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนมาตรา 31 หรือลูกจ้างมีสิทธิไปยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์กรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนมาตรา 121 โดยลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิดังกล่าวในทางใดทางหนึ่ง เมื่อเลือกใช้สิทธิในทางใดแล้ว ต้องถือว่าสละสิทธิทางอื่นอยู่ในตัว
บทบัญญัติตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ไม่ลบล้างหรือทำให้บทบัญญัติตามมาตรา 121 ไม่มีผลใช้บังคับแก่กรณีที่ต้องด้วยทั้งมาตรา 31 และมาตรา 121 กล่าวคือ ลูกจ้างมีสิทธินำคดีขึ้นสู่ศาลแรงงานได้โดยตรงกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนมาตรา 31 หรือลูกจ้างมีสิทธิไปยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์กรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนมาตรา 121 โดยลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิดังกล่าวในทางใดทางหนึ่ง เมื่อเลือกใช้สิทธิในทางใดแล้ว ต้องถือว่าสละสิทธิทางอื่นอยู่ในตัว