พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,606 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4573-5228/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โบนัสไม่ใช่ค่าจ้าง เงินเพิ่มร้อยละ 15 ไม่บังคับใช้ แม้ไม่จ่ายตามกำหนด
เงินโบนัสที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นรางวัลในการปฏิบัติงานมิใช่เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเป็นการตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้าง จึงมิใช่ค่าจ้างตามความหมายในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ในคำนิยามของคำว่าสภาพการจ้าง การที่นายจ้างไม่จ่ายเงินโบนัสแก่ลูกจ้างจึงมิใช่กรณีที่นายจ้างจงใจไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างที่ต้องเสียเงินเพิ่มให้แก่ลูกจ้างร้อยละสิบห้าของเงินค่าจ้างค้างจ่ายทุกระยะเวลาเจ็ดวันตามมาตรา 9 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
คู่มือการบริหารงานบุคคลระบุว่า ธนาคารนายจ้างจะจ่ายเงินโบนัสให้พนักงานปีละ 2 ครั้ง พนักงานที่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสจะต้องปฏิบัติงานในงวดนั้นไม่ต่ำกว่า 1 เดือน และต้องอยู่ปฏิบัติงานจนถึงวันสิ้นงวดบัญชีงวดแรกคือวันที่ 30 มิถุนายน 2541 โจทก์เป็นพนักงานของจำเลย ทำงานกับจำเลยมาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2541 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2541 จึงมีสิทธิได้รับเงินโบนัสในงวดบัญชีแรกของจำเลยตามข้อบังคับของจำเลยและข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เมื่อจำเลยไม่จ่ายให้ครบถ้วนจึงตกเป็นผู้ผิดนัด การที่จำเลยยื่นข้อเรียกร้องต่อสหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2541 แต่มีการจัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขึ้นภายหลังโจทก์พ้นสภาพการเป็นพนักงานของจำเลยแล้ว ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่จัดทำขึ้นดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์
คู่มือการบริหารงานบุคคลระบุว่า ธนาคารนายจ้างจะจ่ายเงินโบนัสให้พนักงานปีละ 2 ครั้ง พนักงานที่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสจะต้องปฏิบัติงานในงวดนั้นไม่ต่ำกว่า 1 เดือน และต้องอยู่ปฏิบัติงานจนถึงวันสิ้นงวดบัญชีงวดแรกคือวันที่ 30 มิถุนายน 2541 โจทก์เป็นพนักงานของจำเลย ทำงานกับจำเลยมาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2541 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2541 จึงมีสิทธิได้รับเงินโบนัสในงวดบัญชีแรกของจำเลยตามข้อบังคับของจำเลยและข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เมื่อจำเลยไม่จ่ายให้ครบถ้วนจึงตกเป็นผู้ผิดนัด การที่จำเลยยื่นข้อเรียกร้องต่อสหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2541 แต่มีการจัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขึ้นภายหลังโจทก์พ้นสภาพการเป็นพนักงานของจำเลยแล้ว ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่จัดทำขึ้นดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1128/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขข้อตกลงสภาพการจ้างต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง การเปลี่ยนแปลงโทษทางวินัยที่หนักขึ้นทำไม่ได้หากไม่ได้รับความยินยอม
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย มีสภาพเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เมื่อบริษัทจำเลยได้มีประกาศแก้ไขเปลี่ยนแปลงการลงโทษทางวินัยลูกจ้างที่ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหนักขึ้นกว่าที่กำหนดไว้ ซึ่งไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 13 กำหนดไว้ เมื่อไม่ปรากฏว่าบริษัทจำเลยได้แจ้งข้อเรียกร้องให้มีการแก้ไขข้อตกลง หรือฝ่ายลูกจ้างได้ให้ความยินยอมแต่อย่างใด เพียงแต่บริษัทจำเลยได้ปิดประกาศให้ลูกจ้างทราบ แม้จะไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านก็ตาม ก็ยังไม่อาจถือว่าลูกจ้างให้ความยินยอมที่บริษัทจำเลยเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว ดังนั้น ประกาศของจำเลย จึงไม่มีผลใช้บังคับกับบรรดาลูกจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7920/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต้องไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่า และต้องเป็นไปตามข้อตกลงสภาพการจ้างตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย แม้ไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือก็ตาม แต่ข้อตกลงการจ้างก็มีลักษณะเป็นสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 5 แล้ว นอกจากนี้ยังมีบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยกับผู้แทนสหภาพแรงงานระบุว่าสภาพการจ้างอื่นที่ไม่ใช่เรื่องผลต่างค่าจ้างขั้นต่ำกับเรื่องการปรับค่าจ้างประจำปีและโบนัสทั้งสองฝ่ายตกลงให้คงเดิมด้วย ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวมีผลผูกพันโจทก์และจำเลย ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 19 วรรคสอง
แม้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจะมีอำนาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างไปทำงานในตำแหน่งใดได้ก็ตาม แต่การสั่งดังกล่าวก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 20 การที่จำเลยย้ายโจทก์จากตำแหน่งหัวหน้าห้องเครื่องไปเป็นพนักงานธรรมดาในแผนกตัดเม็ดกระสวยซึ่งเป็นการย้ายโจทก์ไปทำงานในตำแหน่งต่ำกว่าเดิม ทั้งต้องทำงานเป็นกะหมุนเวียนสับเปลี่ยนเวลาเข้าทำงานและออกจากงานตลอดเวลา ไม่มีเวลาทำงานที่แน่นอนเช่นเดิม จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ยิ่งกว่า คำสั่งของจำเลยที่ให้ย้ายโจทก์ไปทำงานที่แผนกตัดเม็ดกระสวยจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ
แม้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจะมีอำนาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างไปทำงานในตำแหน่งใดได้ก็ตาม แต่การสั่งดังกล่าวก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 20 การที่จำเลยย้ายโจทก์จากตำแหน่งหัวหน้าห้องเครื่องไปเป็นพนักงานธรรมดาในแผนกตัดเม็ดกระสวยซึ่งเป็นการย้ายโจทก์ไปทำงานในตำแหน่งต่ำกว่าเดิม ทั้งต้องทำงานเป็นกะหมุนเวียนสับเปลี่ยนเวลาเข้าทำงานและออกจากงานตลอดเวลา ไม่มีเวลาทำงานที่แน่นอนเช่นเดิม จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ยิ่งกว่า คำสั่งของจำเลยที่ให้ย้ายโจทก์ไปทำงานที่แผนกตัดเม็ดกระสวยจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6515/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสวัสดิการรักษาพยาบาลของนายจ้างที่ไม่เป็นคุณต่อลูกจ้าง และขอบเขตอำนาจการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง
การที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจัดให้มีพยาบาลประจำเรืออันเป็นการกำหนดขึ้นเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานก็เป็นการจัดสวัสดิการซึ่งเป็นสภาพการจ้างตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ก็ไม่ได้บังคับให้ต้องทำข้อตกลงเป็นหนังสือ แม้จำเลยกระทำแต่เพียงฝ่ายเดียวและไม่ได้ทำเป็นหนังสือก็ถือได้ว่าเป็นสภาพการจ้างโดยปริยายแล้ว จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามแต่การจัดพยาบาลประจำเรือดังกล่าวเป็นสวัสดิการที่จำเลยจัดให้แก่พนักงานนอกเหนือที่กฎหมายกำหนดไว้ เมื่อจำเลยมีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ในการบริหารกิจการของจำเลยและเกี่ยวกับสวัสดิการและผลประโยชน์อื่น จำเลยย่อมอาศัยระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวเปลี่ยนแปลงปรับปรุงสวัสดิการที่ได้ให้แก่พนักงานนั้นได้ เมื่อการเปลี่ยนแปลงสวัสดิการในการรักษาพยาบาลที่จำเลยจัดให้ใหม่นี้มิได้ทำให้พนักงานของจำเลยได้รับสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลน้อยลงกว่าเดิม จำเลยจึงมีอำนาจกระทำได้ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6515/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สภาพการจ้าง สวัสดิการรักษาพยาบาล การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง และอำนาจบริหารกิจการของนายจ้าง
การที่จำเลยจัดให้มีสวัสดิการพยาบาลประจำเรือกักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวขึ้นเพื่อความปลอดภัยในการทำงานถือได้ว่าเป็นสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 5 แม้จำเลยกระทำแต่เพียงฝ่ายเดียวและไม่ได้ทำเป็นหนังสือก็มีผลใช้บังคับ เพราะกรณีดังกล่าว พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มิได้บังคับให้ต้องทำข้อตกลงเป็นหนังสือ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสภาพการจ้างนี้
จำเลยย้ายพยาบาลประจำเรือกักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวไปประจำแท่นผลิตแล้วจัดเจ้าหน้าที่ระดับผู้บังคับบัญชา 7 คน ที่ได้รับการฝึกอบรมด้านการพยาบาลเบื้องต้นมาทำหน้าที่แทน และจัดให้มีเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ เพื่อติดต่อด้านการรักษากับแพทย์และพยาบาลตลอดเวลา ซึ่งแพทย์และพยาบาลสามารถเดินทางมาถึงเรือในกรณีฉุกเฉินได้ภายใน 15 ถึง 20 นาที ดังนี้แม้จะไม่มีพยาบาลอยู่ประจำบนเรือเช่นเดิม แต่ก็มิได้ทำให้ลูกจ้างได้รับสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลน้อยลงกว่าเดิม จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่จำเลยมีอำนาจกระทำได้ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
จำเลยย้ายพยาบาลประจำเรือกักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวไปประจำแท่นผลิตแล้วจัดเจ้าหน้าที่ระดับผู้บังคับบัญชา 7 คน ที่ได้รับการฝึกอบรมด้านการพยาบาลเบื้องต้นมาทำหน้าที่แทน และจัดให้มีเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ เพื่อติดต่อด้านการรักษากับแพทย์และพยาบาลตลอดเวลา ซึ่งแพทย์และพยาบาลสามารถเดินทางมาถึงเรือในกรณีฉุกเฉินได้ภายใน 15 ถึง 20 นาที ดังนี้แม้จะไม่มีพยาบาลอยู่ประจำบนเรือเช่นเดิม แต่ก็มิได้ทำให้ลูกจ้างได้รับสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลน้อยลงกว่าเดิม จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่จำเลยมีอำนาจกระทำได้ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5790-5822/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกำหนดจ่ายค่าจ้างโดยปริยายและการบอกกล่าวเลิกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยจะกำหนดจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันสิ้นเดือนของทุกเดือนก็ตาม แต่การที่จำเลยจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างก่อนวันสิ้นเดือน 1 วัน เป็นประจำตลอดมาย่อมถือได้ว่าจำเลยตกลงกับลูกจ้างให้มีการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในเรื่องกำหนดการจ่ายค่าจ้างโดยปริยาย การที่โจทก์ทั้งสามสิบสามได้รับการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า ณ วันสิ้นเดือนจึงมิใช่เป็นการบอกกล่าวเมื่อถึงหรือก่อนจะกำหนดจ่ายสินจ้าง อันจะมีผลเป็นการเลิกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างในคราวถัดไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5200/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้างเดิมมีผลเหนือข้อบังคับใหม่ หากลูกจ้างไม่ยินยอมแก้ไข และเงินบำเหน็จเป็นสวัสดิการพิเศษที่ต่างจากค่าชดเชย
ประกาศว่าด้วยการให้เงินบำเหน็จแก่เจ้าหน้าที่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งมีผลผูกพันให้จำเลยต้องปฏิบัติตามนับแต่วันที่จำเลยประกาศใช้เป็นต้นไป แม้ต่อมาในปี 2540 จำเลยจะประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน โดยมีบทเฉพาะกาลว่าพนักงานที่ครบเกษียณอายุแล้วจะได้รับเงินที่จำเลยจ่ายสมทบให้พร้อมผลประโยชน์จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งหากคำนวณแล้วยอดเงินที่จะได้รับเมื่อรวมกับค่าชดเชยแล้วได้น้อยกว่าเงินบำเหน็จที่ได้กำหนดไว้ในประกาศเดิม จำเลยจะจ่ายเพิ่มให้ในส่วนที่ขาดอยู่เพื่อให้ได้รับเท่ากับอัตราที่กำหนดไว้ในประกาศฉบับเดิมข้อบังคับดังกล่าวจึงขัดแย้งกับประกาศฉบับเดิม และมิใช่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เป็นคุณยิ่งกว่า เมื่อโจทก์ไม่ได้ตกลงยินยอมให้จำเลยแก้ไขเปลี่ยนแปลงในเรื่องการให้เงินบำเหน็จ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์
ค่าชดเชยเป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างซึ่งถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำผิด ส่วนเงินบำเหน็จตามประกาศมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้เป็นกำลังใจในการปฏิบัติงานหรือเป็นสวัสดิการพิเศษ อันมีลักษณะเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนคุณงามความดีของลูกจ้าง จึงมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เมื่อประกาศมิได้กำหนดไว้อย่างชัดแจ้งว่าเงินบำเหน็จที่โจทก์พึงจะได้รับนั้นให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าชดเชย จึงไม่อาจถือเอาได้ว่าเงินค่าชดเชยที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์แล้วนั้นได้รวมเอาเงินบำเหน็จไว้ด้วย
ค่าชดเชยเป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างซึ่งถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำผิด ส่วนเงินบำเหน็จตามประกาศมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้เป็นกำลังใจในการปฏิบัติงานหรือเป็นสวัสดิการพิเศษ อันมีลักษณะเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนคุณงามความดีของลูกจ้าง จึงมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เมื่อประกาศมิได้กำหนดไว้อย่างชัดแจ้งว่าเงินบำเหน็จที่โจทก์พึงจะได้รับนั้นให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าชดเชย จึงไม่อาจถือเอาได้ว่าเงินค่าชดเชยที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์แล้วนั้นได้รวมเอาเงินบำเหน็จไว้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 55/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนค่าจ้างเป็นผลให้สภาพการจ้างเปลี่ยนแปลง จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
สัญญาจ้างกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐโดยไม่มีข้อตกลงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน ฉะนั้น อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทย จึงต้องคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนของทางราชการในวันที่ถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 27 วรรคสอง เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ 24 ตุลาคม 2540 ซึ่งเป็นวันจ่ายค่าจ้างกำหนดให้ 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ38.40 บาท จำเลยจะประกาศกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นใหม่โดยกำหนดให้1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 26 บาท ไม่ได้ เพราะสัญญาจ้างในส่วนที่เกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างเป็นสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 5 การที่จำเลยประกาศกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นใหม่นี้ จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ เมื่อโจทก์มิได้ให้ความยินยอมประกาศของจำเลยที่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินขึ้นใหม่ จึงไม่มีผลใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3395/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยจากการเลิกจ้าง: ข้อตกลงสภาพการจ้างเดิมยังใช้ได้ แม้มีการเปลี่ยนแปลงนายจ้าง และการยอมรับเงื่อนไข
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและสภาพการจ้างที่โจทก์ทำกับบริษัทน.ผู้เป็นนายจ้างเดิมของโจทก์ โจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยสูงสุดของค่าจ้างอัตราสุดท้ายถึง 18 เดือน เมื่อจำเลยซื้อกิจการจากบริษัทน. จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์เข้าทำงานกับจำเลยต่อแสดงว่าจำเลยยอมรับตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์กับบริษัทเดิมในเรื่อง ค่าชดเชยด้วย ทั้งตามสัญญาจ้างมิได้ระบุยกเว้นห้ามโจทก์ มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์กับบริษัทเดิมไว้ กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยยอมรับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่โจทก์ทำไว้กับบริษัทเดิมในเรื่องการจ่ายค่าชดเชยกรณีมีการเลิกจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยสูงสุด 18 เดือนของค่าจ้างอัตราสุดท้าย พยานเอกสารหมาย จ.1 เป็นสำเนาเอกสารมีการส่งข้อความ ทางโทรสารมาจากบริษัทน.จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งต้นฉบับเอกสารย่อมอยู่ที่บริษัทดังกล่าวในต่างประเทศ ถือได้ว่าเป็นกรณีที่ไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารหมาย จ.1 มาได้โดยประการอื่น ศาลแรงงานกลางย่อมอนุญาตให้โจทก์ นำสำเนาเอกสารหมาย จ.1 มานำสืบและฟังเป็นพยานหลักฐาน ของโจทก์ได้ ไม่ขัดกับบทบัญญัติของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) การที่ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและสภาพการจ้าง ของบริษัทจำเลยข้อ 4.1 ระบุว่า "แม้ว่าจะมีอะไรในนโยบายนี้ บริษัทมีสิทธิจะเลิกจ้างพนักงานเนื่องจากสาเหตุอันสมควรนี้ เมื่อใดก็ได้ ในกรณีที่มีการเลิกจ้างเนื่องจากสาเหตุอันควรนี้ พนักงานจะไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเมื่อถูกเลิกจ้าง และไม่มีสิทธิ ได้รับผลประโยชน์ต่าง ๆ" นั้นเป็นการระบุกว้าง ๆ ไว้ โดยไม่ได้ระบุว่ามีสาเหตุอันสมควรประการใดบ้างที่นายจ้าง จะเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย กรณียังไม่ถือว่า ขัดกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ในเรื่องค่าชดเชยแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2658/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพจ้าง: เงินช่วยเหลือพิเศษจ่ายเฉพาะลูกจ้างรายวันเกษียณอายุหรือถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด การใช้คำว่า 'และ' ทำให้สิทธิลูกจ้างรายวันถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดไม่ครอบคลุม
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ข้อเรียกร้องที่ 9ระบุว่า "บริษัทฯ ตกลงจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายและเงินช่วยเหลือพิเศษในกรณีที่ลูกจ้างเกษียณอายุและถูกเลิกจ้าง โดยไม่มีความผิดสำหรับลูกจ้างรายวันตามอายุงาน" เห็นได้ว่าตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว จำเลยตกลงจ่ายเงินทั้งสองประเภทคือค่าชดเชยและ เงินช่วยเหลือพิเศษให้แก่กลุ่มลูกจ้าง เฉพาะค่าชดเชย เป็นการจ่ายให้แก่ลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับตามกฎหมายส่วนเงินช่วยเหลือพิเศษเป็นการจ่ายเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากค่าชดเชย แต่จำเลยตกลงจ่ายเพิ่มให้เฉพาะลูกจ้างรายวันซึ่งมีอายุงานครบ 15 ปีขึ้นไปที่เกษียณอายุและถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดเท่านั้น เมื่อจำเลยกำหนดให้ลูกจ้างที่มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์เกษียณอายุ แม้โจทก์ทั้งห้าร้อยหกสิบสองเป็นลูกจ้างรายวันซึ่งมีอายุงานครบ15 ปีขึ้นไปและถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดแต่เมื่อโจทก์ทั้งห้าร้อยหกสิบสองมิใช่ลูกจ้างที่เกษียณอายุจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว หากสหภาพแรงงาน ท. กับจำเลยมีเจตนาจะให้จำเลยจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษแก่ลูกจ้างรายวันซึ่งทำงานครบ15 ปีขึ้นไปในกรณีที่ลูกจ้างดังกล่าวเกษียณอายุประเภทหนึ่งและในกรณีที่ลูกจ้างดังกล่าวถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดอีกประเภทหนึ่ง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ข้อเรียกร้องที่ 9 ควรใช้คำว่า "หรือ" แทนที่จะใช้คำว่า "และ"ตามที่ระบุไว้