พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,606 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: พิจารณาเหตุผลทางธุรกิจและความจำเป็นในการลดกำลังคน
หลักเกณฑ์การพิจารณาเรื่องการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 ศาลต้องพิจารณาว่ามีสาเหตุแห่ง การเลิกจ้างหรือไม่ และมีเหตุเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่ เป็นสำคัญ แม้การเลิกจ้างนั้นจะเป็นเหตุให้ลูกจ้างเดือดร้อน หากเป็นความจำเป็นทางด้านนายจ้างที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง ได้เพื่อให้กิจการของนายจ้างยังคงดำรงอยู่ต่อไป โดยหวังว่า กิจการของนายจ้างจะมีโอกาสกลับฟื้นคืนตัวได้ใหม่ย่อม เป็นสาเหตุที่จำเป็นและเพียงพอแก่การเลิกจ้างแล้วกรณีไม่อาจถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ระเบียบข้อบังคับกำหนดว่า จำเลยจะจ่ายโบนัสแก่พนักงานในวันที่ 15 กรกฎาคม และวันที่ 15 มกราคม ของปีถัดไปโดยไม่มีข้อความว่าจะจ่ายให้แก่พนักงานที่พ้นสภาพการเป็นพนักงานก่อนวันดังกล่าว ซึ่งหมายความว่า พนักงานที่มีสิทธิได้รับโบนัสจะต้องมีตัวอยู่ในวันครบกำหนดจ่ายโบนัสด้วย วันที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คเงินเดือนรวมกับเงินอื่นพร้อมที่จะจ่ายให้แก่โจทก์ แต่โจทก์ไม่ยอมลงลายมือชื่อรับเงินเพราะเกรงจะเป็นการสมัครใจลาออกจากงานนั้น เป็นกรณีที่จำเลยขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้วแต่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควรแม้จำเลยจะไม่นำเงินดังกล่าวไปมอบไว้แก่อธิบดีหรือผู้ซึ่ง อธิบดีมอบหมายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคสาม ก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีสิทธิ คิดเงินเพิ่มตามข้อ 31 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1448/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้างและผลของการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ: การคำนวณเงินโบนัส
เดิมจำเลยกับลูกจ้างมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างใช้บังคับกำหนดให้จำเลยจ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้างเป็นจำนวน 100 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ในหนึ่งเดือน ไม่รวมเงินเปอร์เซ็นต์ ซึ่งเงินโบนัสตามข้อตกลงดังกล่าวจำเลยต้องคำนวณจากรายได้ของลูกจ้าง ยกเว้นเฉพาะเงินเปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่จำเลยมิได้คำนวณเงินโบนัสจากเงินเดือนเพียงอย่างเดียว การที่ต่อมาจำเลยได้นำกฎระเบียบข้อบังคับการทำงาน มาใช้บังคับแทนข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีอยู่เดิมแม้ตามกฎระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยฉบับนี้ ในเรื่องสวัสดิการพนักงานว่าด้วยเงินโบนัสประจำปีจะระบุไว้ว่า จำนวนเงินโบนัสที่จำเลยจ่ายให้แก่ลูกจ้างอย่างน้อยเท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์ของอัตราเงินเดือน โดยไม่รวมเงินเปอร์เซ็นต์แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยจ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้างโดยนำค่าครองชีพมารวมกับเงินเดือนเป็นฐานการคำนวณ และหลังจากจำเลยนำกฎระเบียบข้อบังคับการทำงานมาใช้แล้วจำเลยก็ยังคงจ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้างโดยนำค่าครองชีพมารวมกับเงินเดือนเป็นฐานคำนวณตลอดมา เช่นนี้ ซึ่งแสดงว่าการคำนวณเงินโบนัสที่จำเลยจ่ายให้ลูกจ้างนั้นจำเลยมิได้ยึดถือว่าต้องนำเฉพาะเงินเดือนตามกฎระเบียบข้อบังคับการทำงานดังกล่าวมาใช้บังคับ การที่จำเลยจ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้างโดยนำค่าครองชีพมารวมคำนวณด้วยตลอดมาจึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง การที่จำเลยจ่ายเงินโบนัสโดยมิได้นำค่าครองชีพมารวมคำนวณ จึงฝ่าฝืนต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6191/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางวินัยของลูกจ้าง: การโต้เถียงกับผู้บังคับบัญชาและความเหมาะสมของบทลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งว่า โจทก์ไม่เคยกระทำผิดที่ไหน เมื่อใด และไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้กล่าวหาทั้งไม่เคยมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดของโจทก์เมื่อคำให้การจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับคำสั่งดังกล่าวจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธจึงต้องถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงในส่วนนี้แล้ว ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบเข้ามาเอง แม้ศาลแรงงานมิได้นำมาประกอบการวินิจฉัยคดีก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าเป็นที่ยุติแล้ว ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงนี้ได้ไม่เป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 56 ขณะที่ อ.ผู้บังคับบัญชาของโจทก์กำลังสอนนักศึกษาหลักสูตรวิชาบำรุงรักษาเครื่องสื่อสารอยู่ โจทก์ได้เข้ามาซ่อมเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับการเรียนการสอนอยู่ในห้องเดียวกัน ขณะที่ทำการซ่อมนั้นเกิดเสียงดัง อ. บอกให้โจทก์หยุดซ่อม เพราะรบกวนการเรียนการสอน แต่โจทก์ไม่หยุดและเกิดการโต้เถียงกัน เมื่อโจทก์ซ่อมงานเสร็จแล้ว ขณะที่โจทก์กำลังจะออกไปนอกห้องโจทก์ได้พูดกับ อ.อีกว่า ถ้ามีปัญหาอะไรให้ออกไปคุยกันข้างนอก แล้วโจทก์ก็ออกไปพร้อมกับปิดประตูด้วยเสียงดังนั้น เห็นได้ว่าถ้อยคำที่โจทก์กล่าวโต้ตอบ อ.เป็นการแสดงถึงความไม่เคารพหรือยำเกรง ทั้งเป็นการท้าทายผู้บังคับบัญชี เป็นการแสดงถึงความกระด้างกระเดื่องและใช้กิริยาที่ไม่เหมาะสมต่อผู้บังคับบัญชาต้องด้วยข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ด้วยแล้ว และขณะเกิดเหตุ อ.กำลังปฏิบัติหน้าที่มีนักศึกษาจำนวนหลายคนฟังการบรรยายของ อ.อยู่ความเสียหายที่เกิดขึ้นย่อมมีมาก ที่จำเลยมีคำสั่งลงโทษตัดเงินเดือนโจทก์ตามฟ้อง ซึ่งนับว่าเป็นผลดีแก่โจทก์อยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลแรงงานจะพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6191/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางวินัยข้าราชการ/ลูกจ้าง: การแสดงกิริยาไม่เคารพผู้บังคับบัญชาเป็นเหตุวินัย
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งว่า โจทก์ไม่เคยกระทำผิดที่ไหนเมื่อใด และไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้กล่าวหา ทั้งไม่เคยมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดของโจทก์ เมื่อคำให้การจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับคำสั่งดังกล่าวจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธจึงต้องถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงในส่วนนี้แล้ว
ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบเข้ามาเอง แม้ศาลแรงงานมิได้นำมาประกอบการวินิจฉัยคดีก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าเป็นที่ยุติแล้ว ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงนี้ได้ ไม่เป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 56
ขณะที่ อ.ผู้บังคับบัญชาของโจทก์กำลังสอนนักศึกษาหลักสูตรวิชาบำรุงรักษาเครื่องสื่อสารอยู่ โจทก์ได้เข้ามาซ่อมเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับการเรียนการสอนอยู่ในห้องเดียวกัน ขณะที่ทำการซ่อมนั้นเกิดเสียงดัง อ.บอกให้โจทก์หยุดซ่อม เพราะรบกวนการเรียนการสอน แต่โจทก์ไม่หยุด และเกิดการโต้เถียงกัน เมื่อโจทก์ซ่อมงานเสร็จแล้ว ขณะที่โจทก์กำลังจะออกไปนอกห้องโจทก์ได้พูดกับ อ.อีกว่า ถ้ามีปัญหาอะไรให้ออกไปคุยกันข้างนอก แล้วโจทก์ก็ออกไปพร้อมกับปิดประตูด้วยเสียงดังนั้น เห็นได้ว่าถ้อยคำที่โจทก์กล่าวโต้ตอบ อ.เป็นการแสดงถึงความไม่เคารพหรือยำเกรง ทั้งเป็นการท้าทายผู้บังคับบัญชา เป็นการแสดงถึงความกระด้างกระเดื่องและใช้กิริยาที่ไม่เหมาะสมต่อผู้บังคับบัญชาต้องด้วยข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ด้วยแล้ว และขณะเกิดเหตุ อ.กำลังปฏิบัติหน้าที่ มีนักศึกษาจำนวนหลายคนฟังการบรรยายของ อ.อยู่ ความเสียหายที่เกิดขึ้นย่อมมีมาก ที่จำเลยมีคำสั่งลงโทษตัดเงินเดือนโจทก์ตามฟ้อง ซึ่งนับว่าเป็นผลดีแก่โจทก์อยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลแรงงานจะพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของจำเลย
ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบเข้ามาเอง แม้ศาลแรงงานมิได้นำมาประกอบการวินิจฉัยคดีก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าเป็นที่ยุติแล้ว ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงนี้ได้ ไม่เป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 56
ขณะที่ อ.ผู้บังคับบัญชาของโจทก์กำลังสอนนักศึกษาหลักสูตรวิชาบำรุงรักษาเครื่องสื่อสารอยู่ โจทก์ได้เข้ามาซ่อมเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับการเรียนการสอนอยู่ในห้องเดียวกัน ขณะที่ทำการซ่อมนั้นเกิดเสียงดัง อ.บอกให้โจทก์หยุดซ่อม เพราะรบกวนการเรียนการสอน แต่โจทก์ไม่หยุด และเกิดการโต้เถียงกัน เมื่อโจทก์ซ่อมงานเสร็จแล้ว ขณะที่โจทก์กำลังจะออกไปนอกห้องโจทก์ได้พูดกับ อ.อีกว่า ถ้ามีปัญหาอะไรให้ออกไปคุยกันข้างนอก แล้วโจทก์ก็ออกไปพร้อมกับปิดประตูด้วยเสียงดังนั้น เห็นได้ว่าถ้อยคำที่โจทก์กล่าวโต้ตอบ อ.เป็นการแสดงถึงความไม่เคารพหรือยำเกรง ทั้งเป็นการท้าทายผู้บังคับบัญชา เป็นการแสดงถึงความกระด้างกระเดื่องและใช้กิริยาที่ไม่เหมาะสมต่อผู้บังคับบัญชาต้องด้วยข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ด้วยแล้ว และขณะเกิดเหตุ อ.กำลังปฏิบัติหน้าที่ มีนักศึกษาจำนวนหลายคนฟังการบรรยายของ อ.อยู่ ความเสียหายที่เกิดขึ้นย่อมมีมาก ที่จำเลยมีคำสั่งลงโทษตัดเงินเดือนโจทก์ตามฟ้อง ซึ่งนับว่าเป็นผลดีแก่โจทก์อยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลแรงงานจะพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5759/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในสัญญาจ้างต่อเนื่อง: ตั๋วเครื่องบินและค่าขนย้ายสัมภาระยังคงมีผลผูกพัน แม้สัญญาจ้างแรกสิ้นสุด
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยฉบับแรกในส่วนที่เกี่ยวกับตั๋วเครื่องบินมีข้อความว่า "เริ่มต้นของสัญญานี้ ท่านไม่มีสิทธิได้รับตั๋วเครื่องบินไปกลับและจากบ้าน อย่างไรก็ดีเมื่อสัญญาฉบับ 1 ปีเต็ม ได้ตกลงกัน ปี 2539ท่านมีสิทธิได้รับตั๋วเครื่องบินชั้นประหยัดในการเดินทางแบบเที่ยวเดียว จำนวน4 ใบ จากภูเก็ตไปที่ใด ๆ สำหรับท่านและครอบครัวของท่านทันที นอกจากนั้นค่าธรรมเนียมในการขนย้ายทรัพย์สินของท่านไปภูเก็ต และจากภูเก็ตไปที่อื่นจะได้รับการชดใช้โดยรีสอร์ทในวงเงินสูงสุดเท่ากับเงินเดือนที่ท่านได้รับ 1 เดือน"โดยสัญญาจ้างฉบับแรกนี้ทำขึ้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2538 มีระยะเวลาการจ้างตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2538 ต่อมาจึงมีการทำสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.2 ขึ้นก่อนสัญญาจ้างฉบับแรกครบกำหนด โดยมีกำหนดระยะเวลาการจ้าง 1 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2538 ถึงวันที่30 พฤศจิกายน 2539 มีข้อความในตอนแรกว่า "ตามสัญญาจ้างของเรากับท่านฉบับลงวันที่ 26 ตุลาคม 2538 และอาศัยการตกลงด้วยวาจาโดยการอนุมัติของไคจ์แอนดรีเซ่น เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2538 ข้าพเจ้ามีความยินดีต่อสัญญาจ้างให้ท่านใหม่อีก 1 ปี..." ข้อความในสัญญาจ้างฉบับหลังดังกล่าวย่อมแสดงโดยชัดแจ้งว่าการทำสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 เป็นผลสืบเนื่องมาจากสัญญาจ้างฉบับแรกเมื่อสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างโจทก์ต่อมีกำหนด1 ปี ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขในสัญญาจ้างฉบับแรก ดังนี้ สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับค่าตั๋วเครื่องบินและค่าขนย้ายสัมภาระก็ย่อมเกิดขึ้นทันทีเมื่อมีการทำสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 ตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างฉบับแรก โดยไม่จำต้องระบุสิทธิของโจทก์ในเรื่องนี้ไว้ในสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 อีก และสิทธิของโจทก์ดังกล่าวจะลบล้างได้ก็โดยคู่กรณีตกลงกันยกเลิกเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 มีการยกเลิกสิทธิเกี่ยวกับค่าตั๋วเครื่องบินและค่าขนย้ายสัมภาระของโจทก์แต่อย่างใด จึงต้องถือว่าข้อตกลงในเรื่องดังกล่าวตามสัญญาจ้างฉบับแรก ยังคงมีผลผูกพันจำเลยทั้งสองให้ต้องปฏิบัติตามสัญญานั้นต่อไป แม้ว่าสัญญาจ้างฉบับแรกจะสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 5 ให้คำนิยามคำว่า นายจ้างในทำนองเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการทั่วไปและมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ย่อมมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ด้วยตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้ แต่กิจการใดอันตัวแทนได้กระทำไปในขอบอำนาจของตัวแทนนั้นเป็นการกระทำของตัวการ จำเลยที่ 1ผู้เป็นตัวการจึงต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกในการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ได้กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ไม่ต้องผูกพันรับผิดเป็นส่วนตัวต่อโจทก์ด้วย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 5 ให้คำนิยามคำว่า นายจ้างในทำนองเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการทั่วไปและมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ย่อมมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ด้วยตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้ แต่กิจการใดอันตัวแทนได้กระทำไปในขอบอำนาจของตัวแทนนั้นเป็นการกระทำของตัวการ จำเลยที่ 1ผู้เป็นตัวการจึงต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกในการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ได้กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ไม่ต้องผูกพันรับผิดเป็นส่วนตัวต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5759/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลูกจ้างในการได้รับค่าตั๋วเครื่องบินและค่าขนย้ายสัมภาระตามสัญญาจ้างต่อเนื่อง แม้สัญญาฉบับแรกสิ้นสุด
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยฉบับแรกในส่วนที่เกี่ยวกับตั๋วเครื่องบินมีข้อความว่า "เริ่มต้นของสัญญานี้ ท่านไม่มีสิทธิได้รับตั๋วเครื่องบินไปกลับและจากบ้าน อย่างไรก็ดีเมื่อสัญญาฉบับ1 ปีเต็ม ได้ตกลงกัน ปี 2539 ท่านมีสิทธิได้รับตั๋วเครื่องบินชั้นประหยัดในการเดินทางแบบเที่ยวเดียว จำนวน 4 ใบ จากภูเก็ตไปที่ใด ๆ สำหรับท่านและครอบครัวของท่านทันที นอกจากนั้นค่าธรรมเนียมในการขนย้ายทรัพย์สินของท่านไปภูเก็ต และจากภูเก็ตไปที่อื่นจะได้รับการชดใช้โดยรีสอร์ทในวงเงินสูงสุดเท่ากับเงินเดือนที่ท่านได้รับ 1 เดือน" โดยสัญญาจ้างฉบับแรกนี้ทำขึ้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2538 มีระยะเวลาการจ้างตั้งแต่วันที่8 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2538 ต่อมาจึงมีการทำสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.2 ขึ้นก่อนสัญญาจ้างฉบับแรกครบกำหนด โดยมีกำหนดระยะเวลาการจ้าง 1 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่1 ธันวาคม 2538 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2539 มีข้อความในตอนแรกว่า "ตามสัญญาจ้างของเรากับท่านฉบับลงวันที่ 26 ตุลาคม 2538และอาศัยการตกลงด้วยวาจาโดยการอนุมัติของไคจ์แอนดรีเช่นเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2538 ข้าพเจ้ามีความยินดีต่อสัญญาจ้างให้ท่านใหม่อีก 1 ปี" ข้อความในสัญญาจ้างฉบับหลังดังกล่าวย่อมแสดงโดยชัดแจ้งว่าการทำสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 เป็นผลสืบเนื่องมาจากสัญญาจ้างฉบับแรกเมื่อสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างโจทก์ต่อมีกำหนด 1 ปี ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขในสัญญาจ้างฉบับแรก ดังนี้ สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับค่าตั๋วเครื่องบินและค่าขนย้ายสัมภาระก็ย่อมเกิดขึ้นทันทีเมื่อมีการทำสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 ตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างฉบับแรก โดยไม่จำต้องระบุสิทธิของโจทก์ในเรื่องนี้ไว้ในสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 อีก และสิทธิของโจทก์ดังกล่าวจะลบล้างได้ก็โดยคู่กรณีตกลงกันยกเลิกเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 มีการยกเลิกสิทธิเกี่ยวกับค่าตั๋วเครื่องบินและค่าขนย้ายสัมภาระของโจทก์แต่อย่างใด จึงต้องถือว่าข้อตกลงในเรื่องดังกล่าวตามสัญญาจ้างฉบับแรก ยังคงมีผลผูกพันจำเลยทั้งสองให้ต้องปฏิบัติตามสัญญานั้นต่อไป แม้ว่าสัญญาจ้างฉบับแรกจะสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 5 ให้ คำนิยามคำว่า นายจ้างในทำนองเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 เมื่อ จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการทั่วไปและมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ย่อมมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ด้วยตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์ จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้ แต่กิจการใดอันตัวแทนได้กระทำ ไปในขอบอำนาจของตัวแทนนั้นเป็นการกระทำของตัวการ จำเลยที่ 1ผู้เป็นตัวการจึงต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกในการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ได้กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 2 ไม่ต้องผูกพันรับผิดเป็นส่วนตัวต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 841/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการพักงาน: ศาลพิพากษาเกินคำขอในส่วนค่ารักษาพยาบาล
ระเบียบจำเลยว่าด้วยการบริหารงานบุคคลพ.ศ.2521ตอนที่2ข้อ16มีว่าให้งดจ่ายเงินเดือนพนักงานระหว่างที่ถูกสอบสวนและข้อ16.3มีว่าถ้าได้ความเป็นสัตย์จริงและพนักงานถูกลงโทษถึงเลิกจ้างมิให้จ่ายเงินเดือนตลอดเวลาที่ถูกสั่งพักงานข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนและจำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์ตั้งแต่วันที่12เมษายน2536และเมื่อวันที่19พฤศจิกายน2536ผลการสอบสวนปรากฎว่าโจทก์กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่12เมษายน2536อันเป็นวันแรกที่พักงานได้โดยไม่จำต้องเลิกจ้างล่วงหน้าหรือบอกกล่าวล่วงหน้าแต่อย่างใดระเบียบจำเลยดังกล่าวข้อ16และข้อ16.3ใช้บังคับได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างถูกสั่งพักงานดังกล่าว ตามฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในค้าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างระหว่างถูกพักงานกับค่าทนายความที่จำเลยอ้างว่าออกให้โจทก์ซึ่งไม่เป็นความจริงและมีคำขอให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าว5รายการให้แก่โจทก์ไม่ปรากฎว่าโจทก์ได้กล่าวอ้างและมีคำขอเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลรวมอยู่ด้วยเพิ่งจะกล่าวถึงค่ารักษาพยาบาลก็ต่อเมื่อศาลแรงงานนัดสอบข้อเท็จจริงโจทก์โดยในวันเวลาดังกล่าวโจทก์จำเลยได้แถลงสละข้ออ้างและข้อต่อสู้สำหรับประเด็นอื่นทั้งหมดคงติดใจเฉพาะที่โจทก์เรียกร้องเกี่ยวกับเงินค่าทนายความค่าเครื่องแต่งกายค่าเบี้ยเลี้ยงประจำวันค่ารักษาพยาบาลและค่าจ้างระหว่างถูกพักงานดังนั้นค่ารักษาพยาบาลจึงเป็นเรื่องที่โจทก์มาแถลงเพิ่มเติมในภายหลังโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างมาในคำฟ้องหรือมีคำขอให้จำเลยคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์การที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยคืนค่ารักษาพยาบาลให้แก่โจทก์จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่ขอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา52
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากทำร้ายร่างกายหัวหน้างาน โดยมีประกาศบริษัทกำหนดเกณฑ์การเลิกจ้าง
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและประกาศข้อปฏิบัติของคนงานของบริษัทส. ซึ่งผู้ร้องรับโอนกิจการมานั้นกำหนดห้ามลูกจ้างโดยเพียงแต่ลูกจ้างทะเลาะวิวาทกันในบริเวณโรงงานหรือบริเวณที่ทำงานนายจ้างก็เลิกจ้างได้แล้วแต่ตามประกาศใหม่ของผู้ร้องฉบับลงวันที่7กุมภาพันธ์พ.ศ.2538กำหนดห้ามลูกจ้างโดยการทะเลาะวิวาทกันนั้นต้องถึงขั้นชกต่อยตบตีทำร้ายร่างกันกันนายจ้างจึงจะเลิกจ้างได้ประกาศใหม่ของผู้ร้องจึงหาได้เป็นโทษต่อลูกจ้างตามอุทธรณ์ของผู้คัดค้านไม่เมื่อเป็นดังนี้ประกาศใหม่ของผู้ร้องฉบับลงวันที่7กุมภาพันธ์พ.ศ.2538ดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้แม้จะไม่ได้ปรึกษาหารือกับตัวแทนฝ่ายลูกจ้างก็ตามเพราะตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่กำหนดว่า"ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานนี้อาจมีการแก้ไขเพื่อความเหมาะสมกับเหตุการณ์และการทำงานของบริษัทซึ่งบริษัทจะเจรจาและปรึกษาหารือกับตัวแทนฝ่ายลูกจ้างก่อนเสมอเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างบริษัทกับลูกจ้างทุกคน"นั้นหมายถึงกรณีที่จะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปในทางเป็นโทษแก่ลูกจ้างและเมื่อศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าผู้คัดค้านได้ใช้ไม้กวาดตีทำร้ายร. ซึ่งเป็นหัวหน้างานเพราะไม่พอใจการสั่งงานซึ่งศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงดังกล่าวตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา56วรรคสองการกระทำของผู้คัดค้านจึงเป็นการฝ่าฝืนประกาศของผู้ร้องฉบับลงวันที่7กุมภาพันธ์พ.ศ.2538กรณีมีเหตุสมควรที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขข้อบังคับบริษัทและการเลิกจ้างลูกจ้างที่กระทำผิด ประกาศใหม่มีผลบังคับใช้ได้แม้ไม่ได้ปรึกษาหารือ
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและประกาศข้อปฏิบัติของคนงานของบริษัท ส.ซึ่งผู้ร้องรับโอนกิจการมานั้น กำหนดห้ามลูกจ้าง โดยเพียงแต่ลูกจ้างทะเลาะวิวาทกันในบริเวณโรงงานหรือบริเวณที่ทำงาน นายจ้างก็เลิกจ้างได้แล้ว แต่ตามประกาศใหม่ของผู้ร้องฉบับลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2538 กำหนดห้ามลูกจ้างโดยการทะเลาะวิวาทกันนั้นต้องถึงขั้นชกต่อย ตบตี ทำร้ายร่างกายกันนายจ้างจึงจะเลิกจ้างได้ ประกาศใหม่ของผู้ร้องจึงหาได้เป็นโทษต่อลูกจ้างตามอุทธรณ์ของผู้คัดค้านไม่ เมื่อเป็นดังนี้ ประกาศใหม่ของผู้ร้องฉบับลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์พ.ศ.2538 ดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้แม้จะไม่ได้ปรึกษาหารือกับตัวแทนฝ่ายลูกจ้างก็ตาม เพราะตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่กำหนดว่า "ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานนี้ อาจมีการแก้ไขเพื่อความเหมาะสมกับเหตุการณ์และการทำงานของบริษัทซึ่งบริษัทจะเจรจาและปรึกษาหารือกับตัวแทนฝ่ายลูกจ้างก่อนเสมอ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างบริษัทกับลูกจ้างทุกคน" นั้น หมายถึงกรณีที่จะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปในทางเป็นโทษแก่ลูกจ้าง และเมื่อศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าผู้คัดค้านได้ใช้ไม้กวาดตีทำร้าย ร.ซึ่งเป็นหัวหน้างานเพราะไม่พอใจการสั่งงานซึ่งศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงดังกล่าวตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 56 วรรคสอง การกระทำของผู้คัดค้านจึงเป็นการฝ่าฝืนประกาศของผู้ร้องฉบับลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2538 กรณีมีเหตุสมควรที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5586/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างทดลองงานได้รับการคุ้มครองตามพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ สิทธิในการยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
แม้จำเลยที่1และที่2เป็นลูกจ้างทดลองงานก็มีฐานะเป็นลูกจ้างที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518จำเลยที่1และที่2จึงมีสิทธิยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์กล่าวหาว่านายจ้างกระทำการอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา123และจำเลยที่3ถึงที่14ในฐานะคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจวินิจฉัยคำร้องดังกล่าวของจำเลยที่1และที่2ได้