พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,606 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3067/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยมิชอบ และการจ่ายค่าชดเชยที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยว่า จำเลยออกคำสั่งที่ 6/2525ยกเลิกคำสั่งที่ 63/2517 โดยโจทก์มิได้ตกลงยินยอมด้วย จำเลยอุทธรณ์ว่า ตามพฤติกรรมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้ความยินยอมด้วยในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างดังกล่าวแล้ว เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานของศาลแรงงานกลางเป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 จำเลยออกคำสั่งที่ 6/2525 ยกเลิกคำสั่งที่ 63/2517 โดยมิได้ยื่นข้อเรียกร้องและไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ และข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่แก้ไขใหม่ ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ จึงเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20คำสั่งที่ 6/2525 ไม่มีผลบังคับแก่โจทก์ ต้องบังคับตามคำสั่งที่ 63/2517.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยและเงินบำเหน็จกรณีเกษียณอายุ: การตีความระเบียบและข้อบังคับของรัฐวิสาหกิจ
จำเลยมีคำสั่งที่ 240/2528 เรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณค่าชดเชยการอนุมัติและการจ่ายค่าชดเชย ซึ่งในคำสั่งดังกล่าวได้กำหนดไว้ในข้อ 1.3 ว่า พนักงานประจำซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีขึ้นไป ให้ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันนอกจากนี้จำเลยยังได้มีข้อบังคับฉบับที่ 47 ว่าด้วยเงินบำเหน็จพ.ศ. 2524 ซึ่งกำหนดไว้ในข้อ 6(1) ว่าพนักงานที่ออกจากงานในวันสิ้นปีงบประมาณที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ จะได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้ และกำหนดไว้ในข้อ 8 ว่าพนักงานที่ออกจากงานโดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานแล้วไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้ แต่ถ้าค่าชดเชยที่มีสิทธิได้รับนั้นต่ำกว่าเงินบำเหน็จที่จะได้รับตามข้อบังคับนี้ก็ให้จ่ายเพิ่มให้เท่าจำนวนที่ต่ำกว่านั้น จากคำสั่งที่ 240/2528ประกอบกับข้อบังคับฉบับที่ 47 เห็นได้ว่าจำนวนเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งสี่สิบหกมีเงินค่าชดเชยรวมอยู่ด้วยแล้ว ข้อบังคับฉบับที่ 47 ข้อ 8 เป็นข้อยกเว้นของข้อ 6 เมื่อเข้าตามเงื่อนไขในข้อ 8 แล้วก็จะไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตาม ข้อ 6 อีก ดังนั้น จึงหาได้หมายความว่าถ้ามีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อ 6 แล้วจะนำข้อ 8 มาใช้บังคับอีกไม่ได้ คำสั่งของจำเลยที่ 240/2528 เป็นระเบียบที่ใช้รวมถึงการจ่ายค่าชดเชย กรณีพนักงานพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุด้วย ค่าชดเชยที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งสี่สิบหกตามคำสั่งดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นเงินทั้งหมดที่จ่ายให้เพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534ข้อ 47 วรรคสองแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานตามข้อ 47 วรรคหนึ่งอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการนัดหยุดงานของสมาชิกสหภาพแรงงาน แม้จะแจ้งความประสงค์จะทำงานต่อ นายจ้างเลิกจ้างไม่ได้
การนัดหยุดงานที่กระทำโดยสหภาพแรงงานซึ่งแจ้งข้อเรียกร้องต่อนายจ้าง ถือว่าเป็นการกระทำแทนลูกจ้างทุกคนที่เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานดังกล่าว และเมื่อได้มีการแจ้งนัดหยุดงานโดยชอบแล้วสมาชิกของสหภาพแรงงานนั้นทุกคนก็มีสิทธิที่จะนัดหยุดงานได้ ซึ่งสิทธิดังกล่าวเกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518อันเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ลูกจ้างบางคนจะได้ทำหนังสือว่ามีความประสงค์จะเข้าทำงานตามปกติก็หาทำให้สิทธิที่จะหยุดงานที่มีอยู่ตามกฎหมายระงับไปไม่ การที่ลูกจ้างดังกล่าวไม่มาทำงานในระหว่างที่ยังอยู่ในช่วงระยะเวลานัดหยุดงานโดยชอบจะถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 106/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสภาพการจ้างและสิทธิเรียกร้องของผู้ถูกจ้าง กรณีไม่ยอมลงนามในสัญญาจ้างใหม่
ตาม พ.ร.บ. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2522 กำหนดให้ผู้ว่าการเพียงผู้เดียวมีอำนาจในการบริหารกิจการและบังคับบัญชาพนักงานลูกจ้างทุกตำแหน่ง รวมตลอดถึงมีอำนาจในการบรรจุแต่งตั้ง ถอดถอน ลงโทษพนักงานและลูกจ้างทุกคน จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าการจึงมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 12 เป็นกรรมการมีอำนาจให้ความเห็นชอบวางนโยบายบริหารงานและควบคุมดูแล โดยทั่วไป และออกข้อบังคับต่าง ๆ เท่านั้นมิได้มีอำนาจตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้และไม่ใช่ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนจำเลยที่ 1 หรือที่ 2 แต่อย่างใดจำเลยที่ 3 ถึงที่ 12 จึงมิใช่นายจ้างของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 กับที่ 12 ให้ร่วมรับผิดในข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5892/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จไม่ใช่สิทธิทางกฎหมาย แต่เป็นข้อตกลงสภาพการจ้าง การจ่ายเงินบำเหน็จหรือไม่อย่างไรเป็นสิทธิของนายจ้าง
เงินบำเหน็จมิใช่เงินที่นายจ้างมีหน้าที่จะต้องจ่ายตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน การจะจ่ายเงินบำเหน็จหรือไม่อย่างไรเป็นไปตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่จะตกลงกันไว้อย่างไรก็ได้ ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จกำหนดว่า ในกรณีที่พนักงานประจำมีสิทธิได้รับทั้งเงินชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานและเงินบำเหน็จ ถ้าเงินบำเหน็จมากกว่าเงินชดเชยให้ตัดเงินบำเหน็จออกเท่ากับเงินชดเชย ถ้าเงินบำเหน็จน้อยกว่าเงินชดเชยก็ให้ได้รับเงินชดเชยอย่างเดียว ดังนี้เป็นการกำหนดเงื่อนไขในการจ่ายเงินบำเหน็จ มิใช่เป็นการกำหนดเกี่ยวกับสิทธิที่จะได้รับเงินชดเชย สิทธิที่จะได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานมีอยู่อย่างไรก็เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบดังกล่าวจึงไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ข้อกำหนดวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จ ไม่กระทบกระเทือนถึงคนอื่นที่มิได้ตกลงด้วย จึงมิใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5290-5293/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับอายุงานลูกจ้างเก่าเมื่อโอนมาทำงานการไฟฟ้านครหลวงตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 มาตรา 53 ที่บัญญัติว่า"นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นต้นไป ให้ข้าราชการและลูกจ้างของกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาล ซึ่งต้องออกจากราชการเพราะการยุบเลิกกองไฟฟ้าหลวง กรมโยธาเทศบาลและลูกจ้างของการไฟฟ้ากรุงเทพ กระทรวงมหาดไทย มีฐานะเป็นพนักงาน โดยได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งเงินเพิ่มเท่าที่ได้รับอยู่เดิมไปพลางก่อน และให้คณะกรรมการกำหนดอัตราเงินเดือนพนักงานดังกล่าว ซึ่งจำเป็นจะต้องบรรจุโดยให้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่น้อยกว่าที่รับอยู่เดิม ทั้งนี้ให้เสร็จภายในหกสิบวัน"นั้น เป็นการกำหนดให้ลูกจ้างของกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาล โอนมาเป็นพนักงานของการไฟฟ้านครหลวงตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้และมิได้ระบุถึงลูกจ้างประเภทใด จึงต้องหมายถึงลูกจ้างของกองไฟฟ้าหลวงทุกประเภทแม้โจทก์จะเป็นลูกจ้างชั่วคราวรายชั่วโมงของกองไฟฟ้าหลวง ก็มีฐานะเป็นลูกจ้างตามความหมายของบทกฎหมายดังกล่าว เมื่อพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2501 โจทก์จึงมีฐานะเป็นพนักงานของจำเลยตั้งแต่วันดังกล่าวโดยผลของกฎหมาย ส่วนการที่จำเลยจะดำเนินการเกี่ยวกับวิธีบรรจุโจทก์อย่างไรและเมื่อใดนั้น เป็นการกระทำเพื่อให้ถูกต้องตามวิธีการของจำเลยเท่านั้น ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามบทกฎหมายดังกล่าวเสียไป
ข้อบังคับการไฟฟ้านครหลวงว่าด้วยกองทุนเงินบำเหน็จพนักงานอันเป็นข้อบังคับที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จ กำหนดว่า "การนับอายุงานของพนักงานเพื่อคำนวณเงินบำเหน็จสำหรับพนักงานซึ่งเดิมเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาล และได้รับบรรจุให้ปฏิบัติงานในการไฟฟ้านครหลวงตามความในมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 ติดต่อกันมาจนถึงวันที่พ้นจากตำแหน่งหน้าที่และได้รับบำเหน็จ บำนาญ หรือเงินทดแทนกรณีที่ต้องออกจากราชการเพราะยุบเลิกกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาลแล้ว ให้นับอายุงานตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2501... โจทก์เป็นลูกจ้างของกองไฟฟ้าหลวงและได้รับบรรจุให้ปฏิบัติงานในการไฟฟ้านครหลวงโดยได้ทำงานติดต่อกันมาจนถึงวันที่พ้นหน้าที่เพราะเกษียณอายุ การนับอายุงานของโจทก์จึงต้องนับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2501 ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของจำเลย
ข้อบังคับการไฟฟ้านครหลวงว่าด้วยกองทุนเงินบำเหน็จพนักงานอันเป็นข้อบังคับที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จ กำหนดว่า "การนับอายุงานของพนักงานเพื่อคำนวณเงินบำเหน็จสำหรับพนักงานซึ่งเดิมเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาล และได้รับบรรจุให้ปฏิบัติงานในการไฟฟ้านครหลวงตามความในมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 ติดต่อกันมาจนถึงวันที่พ้นจากตำแหน่งหน้าที่และได้รับบำเหน็จ บำนาญ หรือเงินทดแทนกรณีที่ต้องออกจากราชการเพราะยุบเลิกกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาลแล้ว ให้นับอายุงานตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2501... โจทก์เป็นลูกจ้างของกองไฟฟ้าหลวงและได้รับบรรจุให้ปฏิบัติงานในการไฟฟ้านครหลวงโดยได้ทำงานติดต่อกันมาจนถึงวันที่พ้นหน้าที่เพราะเกษียณอายุ การนับอายุงานของโจทก์จึงต้องนับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2501 ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1932/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ชอบธรรมเนื่องจากยุบหน่วยงานเพื่อปรับปรุงการผลิต ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดถึงการพ้นสภาพของพนักงานว่าเนื่องจากเหตุผลของบริษัทหรือเหตุผลอื่นดังต่อไปนี้ ปิดหรือยุบหน่วยงานในกรณีที่บริษัทมีความจำเป็นที่จะต้องปิดหรือยุบหน่วยงานหรือบางส่วนของหน่วยงาน ระเบียบข้อบังคับดังกล่าวไม่ได้ระบุว่าจะต้องเป็นกรณีที่ปิดหรือยุบหน่วยงานเพราะจำเลยประกอบกิจการค้าขาดทุนเท่านั้น หากจำเลยมีความจำเป็นจะต้องปิดหรือยุบหน่วยงานด้วยเหตุผลอื่นที่สมควรก็ย่อมทำได้ การที่จำเลยมีความจำเป็นต้องยุบหน่วยงานกองโรงพิมพ์ที่โจทก์ทำงานอยู่เนื่องจากจำเลยได้ขยายการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้นทุกปี เป็นเหตุให้กองโรงพิมพ์ไม่สามารถผลิตของบรรจุสินค้าได้ทันความต้องการ จำต้องแก้ปัญหาด้วยการเพิ่มเครื่องจักรและหาเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการผลิตของโดยชักชวนบริษัทจากประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีความชำนาญงานด้านนี้มาร่วมก่อตั้งบริษัทใหม่ขึ้น ย่อมเป็นผลให้ลูกจ้างรวมทั้งโจทก์ต้องพ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ไม่ยอมโอนไปเป็นลูกจ้างในบริษัทใหม่จึงมีเหตุอันสมควรและชอบด้วยระเบียบข้อบังคับดังกล่าว ไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1792/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับโบนัสของพนักงานที่ลาไปอบรม/สัมมนาที่ไม่เกี่ยวกับกิจการของบริษัท
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่าจำเลยไม่มีสิทธิหักเงินโบนัส จำเลยให้การว่าจำเลยมีสิทธิหักเงินโบนัสของโจทก์ทั้งสองตามมติคณะรัฐมนตรีประเด็นข้อพิพาทมีว่าจำเลยมีสิทธิหักเงินโบนัสของโจทก์ทั้งสองหรือไม่ ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยมีสิทธิหักเงินโบนัสของโจทก์ทั้งสองตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยข้อ 4.1.1 หาเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ ตลอดระยะเวลาที่จำเลยอนุมัติให้โจทก์ทั้งสองลาไปประชุมสัมมนาฝึกอบรม ซึ่งไม่เกี่ยวกับกิจการของจำเลย ณ ต่างประเทศโดยไม่ถือเป็นวันลานั้น โจทก์ทั้งสองหาได้อยู่ปฏิบัติงานจริง ๆไม่ โจทก์ทั้งสองจึงเป็นพนักงานที่ปฏิบัติไม่เต็มงวดการปิดบัญชีของธนาคารที่มีการจ่ายเงินโบนัส ชอบที่จะได้รับเงินโบนัสตามส่วนแห่งระยะเวลาที่ได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1135/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรักษาพยาบาลกรณีฉุกเฉิน: การรักษาในโรงพยาบาลเอกชนภายใต้ข้อบังคับองค์การเหมืองแร่
ข้อบังคับองค์การเหมืองแร่ในทะเลจำเลยว่าด้วยเงิน ช่วยเหลือในการรักษาพยาบาลและเงินช่วยเหลือในการคลอดบุตรระบุว่า ในกรณีฉุกเฉินที่ผู้ป่วยไม่สามารถไปสถานพยาบาลขององค์การเหมืองแร่ในทะเลหรือสถานพยาบาลของส่วนราชการได้ทันท่วงที ผู้ป่วยจะเข้ารับการรักษาตัวในสถานพยาบาลของเอกชนก็ได้ ได้ความว่า บ. มารดาโจทก์มีอายุ 83 ปีแล้วมีโรคประจำตัวคือเบาหวานและความดันโลหิตสูง เกิดมีอาการไข้ไม่ค่อยจะรู้สึกตัวและอาเจียนติดต่อกัน 4 ครั้งโดยเฉียบพลันในเวลาดึก ถ้าปล่อยให้มีอาการไข้สูงและอาเจียนมากกว่านี้โดยไม่ได้รับการรักษาโดยทันที อาจเกิดอันตรายถึงชีวิต เช่นนี้อาการเจ็บป่วยของ บ. เป็นกรณีฉุกเฉินที่ผู้ป่วยไม่สามารถไปสถานพยาบาลขององค์การเหมืองแร่ในทะเลหรือสถานพยาบาลส่วนราชการได้ทันท่วงที จึงเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลเอกชนตามข้อบังคับดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 347/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าช่วยเหลือค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง ไม่ถือเป็นค่าจ้างต่ำกว่าขั้นต่ำ
โจทก์และลูกจ้างอื่นแจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลย มีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างว่า จำเลยตกลงจ่ายเงินช่วยเหลือค่าครองชีพให้แก่พนักงานทุกคนคนละ 330 บาทต่อเดือน โดยให้ถือว่าเงินจำนวนนี้เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างหรือเงินเดือนปกติ และให้รวมเข้ากับค่าจ้างหรือเงินเดือนที่จะได้รับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2533เป็นต้นไป ค่าครองชีพจึงไม่ได้แยกต่างหากจากค่าจ้าง เมื่อค่าครองชีพที่จำเลยจ่ายเดือนละ 330 บาท เท่ากับวันละ 13.75 บาทนำมารวมกับค่าจ้างปกติที่จำเลยจ่ายให้โจทก์วันละ 70 บาทแล้วจะเป็นค่าจ้างวันละ 83.75 บาท ในขณะที่อัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายในวันดังกล่าววันละ 74 บาท จำเลยจึงไม่ได้จ่ายค่าจ้างต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ หรือต่ำกว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง.