คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 5

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,606 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4866/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไล่ออกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจากการกลั่นแกล้งนายจ้าง ศาลเพิกถอนคำสั่งและให้จ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ลาออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยแล้วมีสิทธิได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การที่จำเลยกลับมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงานเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะจำเลยมีเจตนากลั่นแกล้งที่จะไม่จ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แก่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและเพิกถอนคำสั่งเรื่องไล่ออกจากงานของจำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่ามีเหตุจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลยเรื่องไล่ออกจากงานหรือไม่ และจำเลยต้องจ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแก่โจทก์หรือไม่ เช่นนี้ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยพยานหลักฐานและพฤติการณ์ต่าง ๆ ของจำเลยที่กระทำต่อโจทก์ว่า ก่อนที่โจทก์จะยื่นใบลาออก จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ ถือว่าเป็นการลดตำแหน่งและจำเลยไม่พิจารณาขึ้นเงินเดือนกับจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์โดยไม่เคยกล่าวหาว่าโจทก์กระทำผิดหรือตั้งกรรมการสอบสวนความผิดเมื่อถึงกำหนดใบลาออก โจทก์มิได้ไปทำงานจำเลยมิได้ไล่โจทก์ออกจากงานในเวลาที่สมควรนั้น เพื่อให้เห็นว่าจำเลยกลั่นแกล้งโจทก์ เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต อันจะเชื่อมโยงให้เห็นว่าคำสั่งของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นเหตุให้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนคำสั่งของจำเลยได้ จึงเป็นการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทโดยตรง มิใช่นอกฟ้องนอกประเด็น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3755/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทแรงงาน: การจ่ายค่าจ้าง, โบนัส, และดอกเบี้ยกรณีผิดนัด จ่ายค่าจ้างต่ำกว่าขั้นต่ำ
โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยหลีกเลี่ยงให้โจทก์เป็นลูกจ้างรายวันและหาทางบ่ายเบี่ยงไม่ให้ค่าจ้างโจทก์ในวันที่โจทก์มาลงชื่อเพื่อปฏิบัติงานในวันต่อไป เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการอุทธรณ์นอกเหนือไปจากที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคแรก ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์และจำเลยทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างว่าจำเลยจะจ่ายเงินโบนัสให้แก่พนักงานของจำเลยทุกคนในวันที่ 28 สิงหาคม 2533โดยไม่มีข้อความว่าจะจ่ายให้แก่พนักงานที่พ้นสภาพการเป็นพนักงานก่อนวันดังกล่าว ย่อมมีความหมายว่าการจ่ายเงินโบนัสของจำเลยในวันดังกล่าวนอกจากพนักงานผู้มีสิทธิได้รับเงินโบนัสต้องมีอายุการทำงานครบ 1 ปี นับแต่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้วยังต้องมีตัวอยู่ในวันที่มีการจ่ายเงินโบนัสด้วย เมื่อโจทก์ถูกเลิกจ้างก่อนวันที่จำเลยจะจ่ายเงินโบนัส โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัส จำเลยจ่ายค่าจ้างต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายเป็นการผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างส่วนที่ยังจ่ายให้ไม่ครบตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ จำเลยต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่โจทก์ระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 31 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3755/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับค่าจ้างและโบนัสของลูกจ้าง, การผิดนัดชำระค่าจ้าง, และขอบเขตการอุทธรณ์ในคดีแรงงาน
โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยหลีกเลี่ยงให้โจทก์เป็นลูกจ้างรายวันและหาทางบ่ายเบี่ยงไม่ให้ค่าจ้างโจทก์ในวันที่โจทก์มาลงชื่อเพื่อปฏิบัติงานในวันต่อไป เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการอุทธรณ์นอกเหนือไปจากที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 235 วรรคแรก ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์และจำเลยทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างว่าจำเลยจะจ่ายเงินโบนัสให้แก่พนักงานของจำเลยทุกคนในวันที่ 28 สิงหาคม 2533 โดยไม่มีข้อความว่าจะจ่ายให้แก่พนักงานที่พ้นสภาพการเป็นพนักงานก่อนวันดังกล่าว ย่อมมีความหมายว่าการจ่ายเงินโบนัสของจำเลยในวันดังกล่าว นอกจากพนักงานผู้มีสิทธิได้รับเงินโบนัสต้องมีอายุการทำงานครบ 1 ปี นับแต่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้ว ยังต้องมีตัวอยู่ในวันที่มีการจ่ายเงินโบนัสด้วย เมื่อโจทก์ถูกเลิกจ้างก่อนวันที่จำเลยจะจ่ายเงินโบนัส โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัส
จำเลยจ่ายค่าจ้างต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายเป็นการผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างส่วนที่ยังจ่ายให้ไม่ครบตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ จำเลยต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่โจทก์ระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3201-3205/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องได้รับอนุญาตจากศาล และมีผลเมื่อศาลมีคำพิพากษา การคำนวณค่าชดเชยต้องรวมค่าครองชีพ
นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานก่อน และเมื่อได้รับอนุญาตแล้วนายจ้างจะต้องมีคำสั่งเลิกจ้างอีกครั้งหนึ่ง คดีนี้หลังจากศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยไม่ได้มีคำสั่งเลิกจ้างแต่ โจทก์ได้กล่าวมาในฟ้องว่าเมื่อศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำสั่งศาลแรงงานกลางที่อนุญาตให้เลิกจ้างโจทก์แล้ว โจทก์ยังคงมีนิติสัมพันธ์อยู่กับจำเลยอย่างเดิมจนถึงวันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษา เท่ากับโจทก์ยอมรับว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ในวันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษา ต้องถือว่าการเลิกจ้างมีผลนับแต่วันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามคำสั่งศาลแรงงานกลาง โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำรายเดือนจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างในอัตราเดิมนับแต่วันที่จำเลยหยุดดำเนินกิจการตามมติคณะรัฐมนตรีที่ให้แปรรูปองค์การจำเลยจนถึงวันที่มีคำพิพากษาศาลฎีกา อันเป็นช่ วงเวลาที่โจทก์ไม่ได้ทำงานโดยไม่ใช่ความผิดของโจทก์และจำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยกับเงินบำเหน็จโดยจะต้องนำค่าครองชีพซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างมารวมเป็นฐานคำนวณให้แก่โจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2969/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสวัสดิการบุตรไม่ถือเป็นค่าจ้าง: ศาลยืนตามเดิม ค่าจ้างต้องเป็นการตอบแทนการทำงานปกติ
การที่จำเลยซึ่ง เป็นนายจ้างให้โจทก์ซึ่ง เป็นลูกจ้างนำบุตรเข้ามาเรียนในโรงเรียนของจำเลยโดย ไม่เก็บค่าเล่าเรียน เป็นเพียงการให้สวัสดิการแก่โจทก์ ไม่ใช่เป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เป็นประจำทุกเดือนเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานเช่นเดียว กับค่าจ้าง จึงไม่เป็นค่าจ้างที่จำเลยจะนำมารวมคำนวณเป็นค่าจ้างจ่ายให้แก่โจทก์ตาม กฎหมายว่าด้วยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2969/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสวัสดิการบุตรไม่ถือเป็นค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน แม้จะช่วยคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำไม่ได้
การที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างนำบุตรเข้ามาเรียนในโรงเรียนของจำเลยโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน เป็นเพียงการให้สวัสดิการแก่โจทก์ ไม่ใช่เป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เป็นประจำทุกเดือนเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานเช่นเดียวกับค่าจ้าง จึงไม่เป็นค่าจ้างที่จำเลยจะนำมารวมคำนวณเป็นค่าจ้างจ่ายให้แก่โจทก์ตามกฎหมายว่าด้วยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2548-2549/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาห้ามแข่งขันหลังพ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง: ข้อจำกัดต้องสมเหตุสมผล ไม่ตัดสิทธิประกอบอาชีพโดยสิ้นเชิง
สัญญาที่บริษัทโจทก์ทำกับจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างว่าภายในกำหนดเวลา 24 เดือน นับแต่สัญญาจ้างสิ้นสุดลง ลูกจ้างจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องหรือดำเนินการไม่ว่าจะเป็นโดยตรงหรือโดยอ้อมกับการพัฒนา ทำ ผลิต หรือจำหน่าย (สุดแต่ จะพึงปรับได้ กับกรณีของลูกจ้าง) ซึ่งผลิตภัณฑ์อันเป็นการแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ของบริษัทโจทก์ที่ตนได้เคยมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วยในระหว่างที่ทำงานกับบริษัทโจทก์ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัทโจทก์ สัญญาดังกล่าวไม่ได้ห้ามจำเลยทั้งสองไม่ให้กระทำโดยเด็ดขาด คงห้ามจำเลยเฉพาะสิ่งที่เป็นการแข่งขันกับงานของบริษัทโจทก์ และในส่วนของงานที่จำเลยเคยทำกับบริษัทโจทก์ ทั้งเป็นการห้ามเพียงตามกำหนดระยะเวลาดังกล่าวข้างต้นเท่านั้น ไม่เป็นการตัดการประกอบอาชีพของจำเลยทั้งหมดเสียทีเดียว จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่รักษาสิทธิและประโยชน์ของคู่กรณีในเชิงการประกอบธุรกิจโดยชอบไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2548-2549/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาห้ามแข่งขันหลังพ้นสภาพงาน: ข้อจำกัดที่ชอบธรรมและการรักษาสิทธิทางธุรกิจ
สัญญาที่บริษัทโจทก์ทำกับจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างว่าภายในกำหนดเวลา 24 เดือน นับแต่สัญญาจ้างสิ้นสุดลง ลูกจ้างจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องหรือดำเนินการไม่ว่าจะเป็นโดยตรงหรือโดยอ้อมกับการพัฒนาทำ ผลิต หรือจำหน่าย (สุดแต่จะพึงปรับได้กับกรณีของลูกจ้าง) ซึ่งผลิตภัณฑ์อันเป็นการแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่ตนเคยมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วยในระหว่างที่ทำงานกับบริษัท โดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัท สัญญาดังกล่าวไม่ได้ห้ามจำเลยทั้งสองไม่ให้กระทำโดยเด็ดขาด คงห้ามเฉพาะสิ่งที่เป็นการแข่งขันกับงานของโจทก์ และในส่วนของงานที่จำเลยเคยทำกับโจทก์ทั้งเป็นการห้ามเพียงตามกำหนดระยะเวลาดังกล่าวข้างต้นเท่านั้นไม่เป็นการตัดการประกอบอาชีพของจำเลยทั้งหมดเสียทีเดียวจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่รักษาสิทธิและประโยชน์ของคู่กรณีในเชิงการประกอบธุรกิจโดยชอบ ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างในเงินกองทุนสงเคราะห์ – การแก้ไขข้อบังคับกระทบสิทธิเดิม – สิทธิเดิมยังคงใช้บังคับ
วัตถุประสงค์ของจำเลยตามที่ปรากฏเห็นได้ในตัวว่าเป็นการแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ เป็นการแปล กฎหมาย ไม่ใช่ข้อเท็จจริงศาลแรงงานกลางไม่ต้องฟังความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยตั้งแต่ข้อบังคับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 31 ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ พ.ศ. 2519 ซึ่งตามข้อบังคับดังกล่าวโจทก์มีสิทธิได้รับทั้งเงินจากกองทุนสงเคราะห์และค่าชดเชย ต่อมาจำเลยได้ปรับปรุงข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ใหม่เป็นฉบับที่ 24 พ.ศ. 2525 ซึ่งกำหนดว่าพนักงานที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตามข้อบังคับนี้ทำให้สิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามข้อบังคับเดิมลดลงไป เมื่อจำเลยแก้ไขข้อบังคับโดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วย จึงไม่ผูกพันโจทก์ สิทธิของโจทก์ในเรื่องเงินกองทุนสงเคราะห์จึงต้องบังคับตามฉบับที่ 31(ข้อบังคับทั้งสองฉบับมิได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้อง).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขข้อบังคับบริษัทที่ลดสิทธิลูกจ้างโดยไม่ได้รับความยินยอมไม่มีผลผูกพันลูกจ้าง สิทธิยึดตามข้อบังคับเดิม
วัตถุประสงค์ของจำเลยตามที่ปรากฏเห็นได้ในตัวว่าเป็นการแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ เป็นการแปล กฎหมาย ไม่ใช่ข้อเท็จจริงศาลแรงงานกลางไม่ต้องฟังความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยตั้งแต่ข้อบังคับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 31 ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ พ.ศ. 2519 ซึ่งตามข้อบังคับดังกล่าวโจทก์มีสิทธิได้รับทั้งเงินจากกองทุนสงเคราะห์และค่าชดเชย ต่อมาจำเลยได้ปรับปรุงข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ใหม่เป็นฉบับที่ 24 พ.ศ. 2525 ซึ่งกำหนดว่าพนักงานที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตามข้อบังคับนี้ทำให้สิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามข้อบังคับเดิมลดลงไป เมื่อจำเลยแก้ไขข้อบังคับโดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วย จึงไม่ผูกพันโจทก์ สิทธิของโจทก์ในเรื่องเงินกองทุนสงเคราะห์จึงต้องบังคับตามฉบับที่ 31(ข้อบังคับทั้งสองฉบับมิได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้อง).
of 161