พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,606 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2514/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับกองทุนสงเคราะห์เป็นข้อตกลงสภาพการจ้าง จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนแก้ไข
ข้อบังคับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 31ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ พ.ศ. 2519 กำหนดให้จ่ายเงินสงเคราะห์แก่ลูกจ้างเมื่อลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ถูกเลิกจ้างหรือลาออกหรือตาย เป็นการจ่ายเงินสวัสดิการหรือประโยชน์อื่นของลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงาน ตรงกับความหมายของสภาพการจ้างตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 5จำเลยได้ใช้บังคับกับพนักงานตลอดมา จึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่ได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องระหว่างจำเลยกับลูกจ้าง หากจำเลยประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกข้อบังคับนี้ในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง จำเลยจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน หรือมิฉะนั้นจะต้องแจ้งข้อเรียกร้องตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 13 จนมีการเจรจาตกลงกัน หรือหากไม่สามารถตกลงกันได้ก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนของพ.ร.บ. ดังกล่าวต่อไป อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าข้อบังคับดังกล่าวเป็นคำสั่งระเบียบแบบแผนซึ่งออกโดยกฎหมายปกครอง ไม่ต้องนำไปตกลงกับลูกจ้าง ไม่ใช่เรื่องที่จะนำกฎหมายแรงงานมาใช้บังคับ แม้จำเลยจะได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่ศาลแรงงานกลางได้พิจารณาพิพากษาคดีเสร็จแล้วโดยไม่มีเหตุสงสัยว่าคดีนี้ไม่นำกฎหมายแรงงานมาใช้บังคับและไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง และศาลแรงงานกลางมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวแต่อย่างใด จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2514/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับบริษัทที่แก้ไขสภาพการจ้างโดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง ย่อมมีผลเฉพาะลูกจ้างใหม่
ข้อบังคับของนายจ้างที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินสงเคราะห์แก่ลูกจ้างเมื่อลูกจ้างออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุ ถูกเลิกจ้าง หรือลาออก หรือตาย เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่ได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หากนายจ้างประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกข้อบังคับดังกล่าวในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง นายจ้างจะต้องได้ รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือมิฉะนั้นจะต้องแจ้งข้อเรียกร้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 13 จนมีการเจรจาตกลงกัน หรือหากไม่สามารถตกลงกันได้ก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ต่อไป เมื่อปรากฏว่า ข้อบังคับฉบับเดิมไม่ได้กำหนดให้ลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ การที่นายจ้างออกข้อบังคับฉบับใหม่ให้ยกเลิกข้อบังคับฉบับเดิม โดยข้อบังคับฉบับใหม่ได้ตัดสิทธิของลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่ให้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ ข้อบังคับฉบับใหม่จึงมีผลเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณต่อลูกจ้างที่ปฎิบัติงานอยู่ก่อนมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเมื่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมิได้กระทำโดยถูกต้อง ข้อบังคับฉบับใหม่คงมีผลเฉพาะต่อลูกจ้างใหม่ที่เข้าทำงานภายหลังการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นเท่านั้น หามีผลต่อลูกจ้างที่ทำงานอยู่ก่อนวันที่ข้อบังคับฉบับใหม่มีผลใช้บังคับไม่
แม้จำเลยจะได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การไว้แล้วว่าข้อบังคับของจำเลยเป็นคำสั่ง ระเบียบแบบแผนซึ่งออกโดยกฎหมายปกครอง ไม่ต้องนำมาตกลงกับลูกจ้างไม่ใช่เรื่องที่จะนำกฎหมายคุ้มครองแรงงานมาใช้บังคับก็ตาม แต่เมื่อศาลแรงงานกลางได้ พิจารณาพิพากษาคดีเสร็จโดยไม่มีเหตุสงสัยว่าคดีดังกล่าวไม่นำกฎหมายแรงงานมาใช้ บังคับ และไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง ทั้งศาลแรงงานกลางก็มิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวแต่อย่างใด อุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
แม้จำเลยจะได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การไว้แล้วว่าข้อบังคับของจำเลยเป็นคำสั่ง ระเบียบแบบแผนซึ่งออกโดยกฎหมายปกครอง ไม่ต้องนำมาตกลงกับลูกจ้างไม่ใช่เรื่องที่จะนำกฎหมายคุ้มครองแรงงานมาใช้บังคับก็ตาม แต่เมื่อศาลแรงงานกลางได้ พิจารณาพิพากษาคดีเสร็จโดยไม่มีเหตุสงสัยว่าคดีดังกล่าวไม่นำกฎหมายแรงงานมาใช้ บังคับ และไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง ทั้งศาลแรงงานกลางก็มิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวแต่อย่างใด อุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2514/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขข้อบังคับการจ้างที่ไม่เป็นคุณต่อลูกจ้างต้องได้รับความยินยอมหรือแจ้งข้อเรียกร้องตามกฎหมายแรงงาน
ข้อบังคับของนายจ้างที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินสงเคราะห์แก่ลูกจ้างเมื่อลูกจ้างออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุ ถูก เลิกจ้างหรือลาออก หรือตาย เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่ได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หากนายจ้างประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกข้อบังคับดังกล่าวในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง นายจ้างจะต้องได้ รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือมิฉะนั้นจะต้อง แจ้งข้อเรียกร้องตาม พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 13 จนมีการเจรจาตกลง กัน หรือหากไม่สามารถตกลง กันได้ ก็ต้อง ปฏิบัติให้ถูกต้องตาม ขั้นตอนของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ต่อ ไป เมื่อปรากฏว่า ข้อบังคับฉบับเดิม ไม่ได้กำหนดให้ลูกจ้างที่มีสิทธิได้ รับค่าชดเชยไม่มีสิทธิได้ รับเงินสงเคราะห์ การที่ นายจ้าง ออกข้อบังคับฉบับ ใหม่ให้ยกเลิกข้อบังคับฉบับเดิม โดย ข้อบังคับฉบับ ใหม่ได้ตัด สิทธิของลูกจ้างที่มีสิทธิได้ รับค่าชดเชยไม่ให้มีสิทธิได้ รับเงินสงเคราะห์ข้อบังคับฉบับ ใหม่จึงมีผลเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณต่อ ลูกจ้างที่ปฎิบัติ งานอยู่ก่อนมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเมื่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมิได้กระทำโดยถูกต้อง ข้อบังคับฉบับ ใหม่คงมีผลเฉพาะต่อ ลูกจ้างใหม่ที่เข้าทำงานภายหลังการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นเท่านั้น หามีผลต่อ ลูกจ้างที่ทำงานอยู่ก่อนวันที่ข้อบังคับฉบับ ใหม่มีผลใช้ บังคับไม่ แม้จำเลยจะได้ ยกขึ้นต่อสู้ ในคำให้การไว้แล้วว่าข้อบังคับของจำเลยเป็นคำสั่ง ระเบียบแบบแผนซึ่ง ออกโดย กฎหมายปกครอง ไม่ต้องนำมาตกลง กับลูกจ้างไม่ใช่เรื่องที่จะนำกฎหมายคุ้มครองแรงงานมาใช้ บังคับก็ตาม แต่ เมื่อศาลแรงงานกลางได้ พิจารณาพิพากษาคดีเสร็จโดย ไม่มีเหตุสงสัยว่าคดีดังกล่าวไม่นำกฎหมายแรงงานมาใช้ บังคับและไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง ทั้งศาลแรงงานกลางก็มิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวแต่ อย่างใดอุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1143/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างโดยการปลดออกชอบด้วยระเบียบ หากลูกจ้างกระทำผิดวินัยร้ายแรงตามข้อบังคับ
ข้อบังคับเกี่ยวกับการลงโทษของจำเลยซึ่ง เป็นนายจ้างกำหนดว่า เมื่อพนักงานผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ โทษยังไม่ถึงต้อง ถูก ไล่ออกหรือถึง ต้อง ถูก ไล่ออกแต่ มีเหตุผลอื่นอันสมควรลดหย่อนก็ให้ลงโทษปลดออกได้ ดังนี้เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ซึ่ง เป็นลูกจ้างนำรถของจำเลยไปปักเสาและยกหม้อแปลงขึ้นคานให้แก่ผู้รับเหมา ซึ่ง เป็นการกระทำผิดระเบียบและมีโทษถึง ไล่ออก การที่จำเลยลงโทษโจทก์โดย การปลดออก จึงชอบด้วยระเบียบดังกล่าว ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกลับเข้าทำงานของลูกจ้างที่ถูกลงโทษทางวินัยหลังพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญา
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างสหภาพแรงงานธนาคาร ออมสิน กับจำเลย (ปี พ.ศ. 2524) ข้อ 15 วรรคหนึ่ง กำหนดว่าธนาคารฯ ตกลงแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบการ ฉบับที่ 123 ว่าด้วยวินัยของพนักงานฯ และระเบียบการ ฉบับที่ 122 ว่าด้วยการพักงานและเงินเดือนของผู้ถูกสั่งพักงานในส่วนที่ขัดแย้งหรือมิได้กำหนดไว้ในระเบียบการฯ ดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ในข้อ 15.1 ข้อ 15.2 และ ข้อ 15.3 หมายความว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ข้อ 15.3 ดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 123 ซึ่งจำเลยถือเป็นหลักเกณฑ์ในการลงโทษโจทก์ การวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิกลับเข้าทำงานตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง (ปี พ.ศ. 2524)ข้อ 15.3 หรือไม่ จึงต้องพิจารณาพร้อมกันไปกับระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 123 ข้อ 20 อันเป็นหลักปฏิบัติเฉพาะในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาเห็นว่าถ้าพนักงานที่ถูกดำเนินคดีอาญาหรือกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ระหว่างพิจารณาหรือสอบสวนจะเกิดความเสียหาย ก็ให้ผู้อำนวยการของจำเลยมีอำนาจสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อน แล้วจึงจะมีคำสั่งในภายหลัง ถ้าศาลพิพากษาว่ามีความผิดคดีถึงที่สุด หรือการสอบสวนพิจารณาได้ว่ากระทำผิดที่จะต้องลงโทษหรือไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก ก็ให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งตามระเบียบการนั้น ถ้าปรากฏว่าไม่มีมลทินมัวหมองจึงจะสั่งรับกลับเข้าทำงาน ดังนั้น คำสั่งที่อาจจะเปลี่ยนแปลงรับพนักงานที่ถูกสอบสวนเพราะกระทำผิดวินัยกลับเข้าทำงาน จะต้องอยู่ในระหว่างที่พนักงานผู้นั้นถูกสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อนซึ่งเป็นการสั่งให้ออกจากงานชั่วคราว เมื่อคดีนี้ได้ความจากการสอบสวนว่าโจทก์กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และจำเลยได้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมที่ให้ออกจากงานไว้ก่อนเป็นไล่ออกจากงาน ซึ่งเป็นคำสั่งขั้นตอนสุดท้ายในการลงโทษโจทก์ทางวินัยเสร็จไปแล้ว แม้ต่อมาพนักงานอัยการจะมีคำสั่งไม่ฟ้องโจทก์ในคดีอาญาก็ไม่ใช้อยู่ในระหว่างสั่งให้โจทก์ออกจากงานไว้ก่อนตามเงื่อนไขในระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 123 ข้อ 20ทั้งคำสั่งไม่ฟ้องดังกล่าวก็ไม่ลบล้างความผิดวินัยของโจทก์ที่จำเลยได้สั่งลงโทษไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิอ้างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง (ปี พ.ศ. 2524) มาบังคับจำเลยให้รับโจทก์กลับเข้าทำงานและจ่ายเงินเดือนในระหว่างที่ถูกสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อนให้แก่โจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4889/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความระเบียบกองทุนเงินสะสม: สิทธิลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างลดคน และดุลพินิจนายจ้างในการจ่ายเงินสมทบ
ข้อบังคับตามระเบียบว่าด้วยกองทุนเงินสะสมที่กำหนดสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างในอันที่จะได้รับเงินสมทบส่วนของบริษัทจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างที่มีข้อความว่า ส่วนที่จะได้รับจากบริษัทพนักงานที่เป็นสมาชิกถ้าออกจากงานก่อนเกษียณอายุ หากมีอายุงาน2 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินสะสมของตนคืนพร้อมดอกเบี้ยและเงินสมทบจากบริษัทพร้อมดอกเบี้ยตามสัดส่วนดังนี้ ฯลฯ อายุงานครบ 7 ปี ส่วนที่บริษัทสมทบ 70 เปอร์เซ็นต์ ฯลฯ ทั้งนี้ไม่รวมถึงพนักงานที่ต้องออกจากงานเนื่องจากการลดคนทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต บริษัทอาจสมทบให้เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่นำอายุงานมาใช้เป็นเงื่อนไข"เป็นข้อบังคับที่กำหนดเป็นการให้ดุลพินิจของจำเลยที่จะจ่ายเงินสมทบเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ หรือไม่ก็ได้โดยไม่ต้องพิจารณาเรื่องอายุงานถ้าเป็นการออกจากงานเนื่องจากกรณีตามที่กำหนดไว้คือ การลดคนทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต มิใช่เป็นข้อกำหนดที่เป็นบทบังคับว่าถ้าโจทก์ออกจากงานด้วยเหตุดังกล่าวแล้ว จำเลยจะต้องจ่ายเงินสมทบเต็ม100 เปอร์เซ็นต์ เพราะคำว่า "อาจสมทบให้" นั้น ไม่อาจจะแปลไปในทางที่เป็นผลบังคับฝ่ายที่ปฏิบัติให้ต้องปฏิบัติเป็นการแน่นอนดังนั้นการที่โจทก์ซึ่งมีอายุงานครบ 7 ปี ออกจากงานเนื่องจากจำเลยเลิกจ้างเพราะต้องการลดคน สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินสมทบจากจำเลยตามระเบียบดังกล่าวจึงมีเพียง 70 เปอร์เซ็นต์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4889/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับเงินสมทบกองทุนจากนายจ้างเมื่อออกจากงาน ลดคน, ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต: ดุลพินิจนายจ้าง
ข้อบังคับตามระเบียบว่าด้วยกองทุนเงินสะสมที่กำหนดสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างในอันที่จะได้รับเงินสมทบส่วนของบริษัทจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างที่มีข้อความว่า "ส่วนที่จะได้รับจากบริษัท พนักงานที่เป็นสมาชิกถ้าออกจากงานก่อนเกษียณอายุ หากมีอายุงาน 2 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินสะสมของตนคืนพร้อมดอกเบี้ยและเงินสมทบจากบริษัทพร้อมดอกเบี้ยตามสัดส่วนดังนี้ ฯลฯ อายุงานครบ 7 ปี ส่วนที่บริษัทสมทบ 70 เปอร์เซ็นต์ ฯลฯ ทั้งนี้ไม่รวมถึงพนักงานที่ต้องออกจากงานเนื่องจากการลดคนทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต บริษัทอาจสมทบให้เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่นำอายุงานมาใช้เป็นเงื่อนไข" เป็นข้อบังคับที่กำหนดเป็นการให้ดุลพินิจของจำเลยที่จะจ่ายเงินสมทบเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ หรือไม่ก็ได้โดยไม่ต้องพิจารณาเรื่องอายุงานถ้าเป็นการออกจากงานเนื่องจากกรณีตามที่กำหนดไว้คือ การลดคนทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต มิใช่เป็นข้อกำหนดที่เป็นบทบังคับว่าถ้าโจทก์ออกจากงานด้วยเหตุดังกล่าวแล้ว จำเลยจะต้องจ่ายเงินสมทบเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะคำว่า "อาจสมทบให้" นั้น ไม่อาจจะแปลไปในทางที่เป็นผลบังคับฝ่ายที่ปฏิบัติให้ต้องปฏิบัติเป็นการแน่นอนดังนั้นการที่โจทก์ซึ่งมีอายุงานครบ 7 ปี ออกจากงานเนื่องจากจำเลยเลิกจ้างเพราะต้องการลดคน สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินสมทบจากจำเลยตามระเบียบดังกล่าวจึงมีเพียง 70 เปอร์เซ็นต์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4888/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความต้องเป็นไปตามข้อตกลงเดิม แม้โรงเรียนมีเจ้าของเดียวกัน การย้ายสถานที่ไม่ใช่การปฏิบัติตามสัญญา
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยมีข้อความว่า "จำเลยยินยอมรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่เดิม อัตราค่าจ้างเดิม และสภาพการจ้างไม่ต่ำกว่าเดิม โดยให้นับอายุการทำงานต่อเนื่องจากเดิม โดยจำเลยจะให้โจทก์เริ่มทำงานตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2532 เป็นต้นไป" ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ขณะจำเลยเลิกจ้างโจทก์นั้น โจทก์มีตำแหน่งหน้าที่เป็นครูสอนที่โรงเรียน ส. ตำแหน่งหน้าที่เดิมที่จำเลยทั้งสองจะต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงานนั้น คือตำแหน่งหน้าที่เป็นครูสอนที่โรงเรียน ส. จำเลยจะรับโจทก์กลับเข้าทำงานโดยให้เป็นครูสอนที่โรงเรียน ท. ซึ่งเป็นคนละโรงเรียนกันกับโรงเรียน ส. หาได้ไม่ แม้โรงเรียนทั้งสองแห่งนี้จะมีเจ้าของเป็นคนเดียวกัน ใช้ระบบเดียวกัน และมีการโยกย้ายสับเปลี่ยนครูกันอยู่ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4888/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความต้องเป็นไปตามข้อตกลงเดิม แม้มีการโยกย้ายระหว่างโรงเรียน
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยมีข้อความว่า"จำเลยยินยอมรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่เดิมอัตราค่าจ้างเดิม และสภาพการจ้างไม่ต่ำกว่าเดิม โดยให้นับอายุการทำงานต่อเนื่องจากเดิม โดยจำเลยจะให้โจทก์เริ่มทำงานตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2532 เป็นต้นไป" ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ขณะจำเลยเลิกจ้างโจทก์นั้น โจทก์มีตำแหน่งหน้าที่เป็นครูสอนที่โรงเรียน ส. ตำแหน่งหน้าที่เดิมที่จำเลยทั้งสองจะต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงานนั้น คือตำแหน่งหน้าที่เป็นครูสอนที่โรงเรียน ส. จำเลยจะรับโจทก์กลับเข้าทำงานโดยให้เป็นครูสอนที่โรงเรียน ท. ซึ่งเป็นคนละโรงเรียนกันกับโรงเรียน ส. หาได้ไม่แม้โรงเรียนทั้งสองแห่งนี้จะมีเจ้าของเป็นคนเดียวกัน ใช้ระบบเดียวกัน และมีการโยกย้ายสับเปลี่ยนครูกันอยู่ก็ตาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4627/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างป่วย: ค่าชดเชยยังต้องจ่าย แม้มีระเบียบเลิกจ้างได้ เหตุเจ็บป่วยไม่ใช่ความผิด
แม้มีระเบียบของจำเลยให้อำนาจจำเลยปลดลูกจ้างที่ลาป่วยเกินระยะเวลาที่กำหนดออกจากงานได้ก็ตาม ก็เป็นเพียงข้อกำหนดให้จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างดังกล่าวได้เท่านั้นดังนี้การที่ พ. ลูกจ้างเจ็บป่วยไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ ก็เป็นเหตุที่เกิดขึ้นตามสภาพของร่างกายโดยธรรมชาติมิใช่เกิดจากการกระทำของ พ.จึงถือไม่ได้ว่าพ. กระทำการฝ่าฝืนระเบียบคำสั่งของจำเลย แม้จำเลยเลิกจ้าง พ. โดยมีหนังสือตักเตือนก่อนแล้วก็ตาม จำเลยก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ พ. เมื่อเลิกจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 2 ให้ความหมายของ "ค่าชดเชย" ไว้ว่า เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ส่วนเงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสอง(บำเหน็จ) ที่จำเลยจ่ายให้แก่ พ. ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนั้นมีหลักเกณฑ์การคิดคำนวณตามที่ระบุในระเบียบ กำหนดให้สิทธิเฉพาะลูกจ้างที่มีเวลาทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี และมิได้ออกจากงานเพราะกระทำผิดหรือเหตุอื่น ๆ ที่ระบุในระเบียบดังนี้การจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสอง จึงมีหลักเกณฑ์การคิดคำนวณแตกต่างจากค่าชดเชยและถือไม่ได้ว่าเป็นการจ่ายค่าชดเชย