คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 229 (3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4368/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิเรียกค่าเสียหายจากผู้รับประกันภัยกรณีรถชนจากความประมาทของผู้อื่น
โจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์ซึ่งบรรทุกสินค้าไปส่งให้แก่ลูกค้า และเหตุรถชนเกิดเพราะความประมาทของรถคันที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลย โจทก์จึงชำระค่าเสียหายให้ลูกค้าไป ดังนี้เมื่อทรัพย์ที่เสียหายอยู่ในความครอบครองของโจทก์และโจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่ลูกค้าไปตามสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิในความเสียหายนั้นและมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถบรรทุกของนายจ้างผู้กระทำละเมิดได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เหตุเกิดจากความประมาทของ ส. และจำเลยเป็นบริษัทที่รับประกันภัยไว้ได้ขอเข้ามาชดใช้ค่าเสียหาย แต่ก็บ่ายเบี่ยงผัดผ่อนตลอดมา โดยโจทก์ได้แนบบันทึกถ้อยคำของ อ.ตัวแทนของจำเลยมาท้ายฟ้อง ซึ่งปรากฏรายละเอียดว่า จำเลยมิได้ปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ แต่ต้องการให้โจทก์แสดงรายการของสินค้าที่เสียหายเนื่องจากอุบัติเหตุด้วย เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องและมีเอกสารแนบมาท้ายฟ้องไว้ชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยต้องรับผิดชอบต่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ ส.ขับ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 882 จึงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4368/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้รับช่วงสิทธิจากความเสียหายทางละเมิด และอายุความฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์ซึ่งบรรทุกสินค้าไปส่งให้แก่ลูกค้า และเหตุรถชนเกิดเพราะความประมาทของรถคันที่เอาประกันภัยไว้กับ จำเลย โจทก์จึงชำระค่าเสียหายให้ลูกค้าไป ดังนี้เมื่อทรัพย์ที่เสียหายอยู่ในความครอบครองของโจทก์และโจทก์ชดใช้ค่าเสียหาย แก่ลูกค้าไปตามสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิในความเสียหายนั้นและมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัย รถบรรทุกของนายจ้างผู้กระทำละเมิดได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า เหตุเกิดจากความประมาทของส.และจำเลยเป็นบริษัทที่รับประกันภัยไว้ได้ขอเข้ามาชดใช้ค่าเสียหาย แต่ก็บ่ายเบี่ยงผัดผ่อนตลอดมา โดยโจทก์ได้แนบบันทึกถ้อยคำของ อ. ตัวแทนของจำเลยมาท้ายฟ้อง ซึ่งปรากฏรายละเอียดว่า จำเลยมิได้ ปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ แต่ต้องการให้โจทก์แสดงรายการของสินค้าที่เสียหายเนื่องจากอุบัติเหตุด้วยเช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องและมีเอกสารแนบมาท้ายฟ้อง ไว้ชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยต้องรับผิดชอบต่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัย รถยนต์คันที่ ส. ขับ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 จึงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4747/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของลูกหนี้ร่วม: การไล่เบี้ยและการปฏิเสธความรับผิดจากหน้าที่ตัวแทน
โจทก์ฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับโจทก์ในคดีก่อนให้ชดใช้เงินที่โจทก์ชำระหนี้แทนไป จำเลยให้การต่อสู้คดีและนำสืบว่าการกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะตัวแทนของโจทก์ จำเลยไม่ได้กระทำฝ่าฝืนระเบียบปฏิบัติของโจทก์หรือกระทำการโดยประมาทเลินเล่อแต่อย่างใดจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ข้อต่อสู้ของจำเลยดังกล่าวจึงอยู่ในประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยจากจำเลยได้เพียงใด เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาโดยอ้างถึงความรับผิดระหว่างโจทก์และจำเลยในเรื่องของตัวการตัวแทนได้ ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงมิใช่เป็นเรื่องนอกประเด็น
ในคดีก่อนศาลได้มีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้โจทก์และจำเลยร่วมกันชำระหนี้แก่ ก.ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อน โดยวินิจฉัยว่าโจทก์และจำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ ก.ได้รับความเสียหาย คำพิพากษาดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมให้ต้องปฏิบัติตามโดยไม่อาจโต้แย้งเป็นอย่างอื่นได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 ทั้งโจทก์และจำเลยจะต้องร่วมกันชำระหนี้ให้แก่ ก. แต่ผลผูกพันในคดีดังกล่าวไม่เกี่ยวกับความรับผิดระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีนี้ เนื่องจากคดีนี้โจทก์มาฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยในการที่โจทก์ได้ชำระหนี้แทนไปในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกัน จำเลยมีข้อต่อสู้อย่างไรที่จะปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ ก็ย่อมมีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างและนำสืบได้ ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับที่ศาลได้วินิจฉัยในคดีก่อน
จำเลยไม่อาจปฏิบัติตามคำสั่งของโจทก์ที่ว่า การสั่งจ่ายเงินออกจากบัญชีเงินรายได้แผ่นดินของสำนักงานที่ดินให้จ่ายเป็นเช็คขีดคร่อมให้แก่กระทรวงการคลัง โดยขีดคำว่า "ผู้ถือ" ออกได้ เนื่องจากจำเลยยังไม่ได้เปิดกิจการงานการธนาคารและโจทก์ไม่ได้ส่งเช็คมาให้ จึงสั่งจ่ายเช็คไม่ได้ และแม้ว่าต่อมาโจทก์จะมีคำสั่งให้จำเลยเปิดกิจการงานการธนาคาร แต่ทางกองกระแสรายวันของโจทก์ยังไม่ได้มาเปิดกิจการงานการธนาคาร จำเลยจึงมีหนังสือหารือไปยังโจทก์และโจทก์ได้มีหนังสือว่าให้ใช้วิธีการสั่งจ่ายเช็คธนาคารแห่งประเทศไทยหรือใช้วิธีตามที่ได้เคยปฏิบัติมาแล้วไปพลางก่อน คือสามารถจ่ายเป็นเงินสดได้ การที่จำเลยจ่ายเช็คเงินสดให้แก่เจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดิน จึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบปฏิบัติของโจทก์ หรือกระทำการโดยประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7125/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน, ลูกหนี้ร่วม, การรับช่วงสิทธิ, อัตราดอกเบี้ย, การประวิงคดี: ประเด็นสำคัญในการพิจารณาคดีแพ่ง
ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173(1) หรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อศาลเห็นสมควรก็ยกขึ้นวินิจฉัยตัดสินคดีได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)ถึงแม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ในปัญหาข้อนี้ไว้ แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา24 ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นยกปัญหาเรื่องฟ้องซ้อนขึ้นวินิจฉัยโดยอาศัยข้อเท็จจริงตามคำร้องของจำเลยประกอบข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยตัดสินคดีโดยชอบ ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยชอบด้วยกระบวนพิจารณาหาใช่เป็นข้อเท็จจริงนอกสำนวน นอกเรื่องนอกประเด็นไม่
ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เป็นฟ้องซ้อนกับฟ้องแย้งในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 23053/2531 ของศาลชั้นต้น โดยกรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในคดีนี้กับที่โจทก์ ซึ่งเป็นจำเลยคดีก่อน ฟ้องแย้งให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์คดีก่อนรับผิดเป็นเรื่องเดียวกัน คือเป็นเรื่องรับช่วงสิทธิจากธนาคาร ท.ตามสัญญาค้ำประกันฉบับเดียวกันและจำนวนเงินที่ให้รับผิดก็เป็นจำนวนเดียวกัน ถึงแม้โจทก์คดีนี้จะฟ้องขอให้บังคับจำนองตามสัญญาจำนองซึ่งจำเลยที่ 1 ทำไว้กับธนาคารท.มาด้วยก็ตาม แต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องก็คงเป็นเรื่องเดียวกันเพราะมีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรง ฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้บังคับจำนองจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องตามป.วิ.พ.มาตรา 173 (1) ด้วย
กรณีที่บุคคลหลายคนยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันคือหนี้ตามหนังสือค้ำประกันที่ธนาคาร ท.ได้ออกให้แก่บริษัท พ.เพื่อค้ำประกันการซื้อรถขุดไฮดรอลิกของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จะเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามมูลหนี้อย่างอื่นของจำเลยที่ 1 ต่อธนาคาร ท. นอกเหนือจากหนี้ตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวด้วย และวงเงินที่ค้ำประกันจะมีจำนวนไม่เท่ากัน ก็หาทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เปลี่ยนแปลงไปไม่ โจทก์กับจำเลยที่ 2ถึงที่ 11 จะต้องมีความรับผิดต่อธนาคาร ท.อย่างลูกหนี้ร่วม ตาม ป.พ.พ.มาตรา682 วรรคสอง
โจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องรับผิดต่อธนาคาร ท.ผู้เป็นเจ้าหนี้อย่างลูกหนี้ร่วม และโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนจำเลยที่ 1 ไปแล้วย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ถึง 11 ได้ตามส่วนเท่า ๆ กันตาม ป.พ.พ.มาตรา 229 (3) และมาตรา 296
เมื่อไม่มีการตกลงเกี่ยวบอัตราดอกเบี้ยไว้ จึงไม่มีเหตุอื่นอันชอบด้วยกฎหมายที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามป.พ.พ.มาตรา 224 และแม้ ป.พ.พ.มาตรา 226 จะบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการรับช่วงสิทธิไว้ว่า บุคคลผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่ในมูลหนี้ รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามของตนเอง แต่จากหลักที่ว่าผู้รับช่วงสิทธิใช้สิทธิในนามของตนเอง จึงมีผลว่าผู้รับช่วงสิทธิชำระหนี้ไปเท่าใดก็คงรับช่วงสิทธิหรืออาจใช้สิทธิของเจ้าหนี้เพียงเท่าที่อาจอ้างได้ว่าเป็นสิทธิของตนหรือตามส่วนที่ตนมีสิทธิเท่านั้น หาใช่รับช่วงสิทธิทั้งหมดเท่ากับที่เจ้าหนี้มีสิทธิไม่ดังนั้น โจทก์คงเรียกได้เพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
แม้ประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11กับโจทก์ว่าเป็นลูกหนี้ร่วมกันหรือไม่ จะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กันหรือไม่และประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11เพียงไร จะไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีโดยตรง แต่ก็เป็นประเด็นที่เกี่ยวพันกับประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีที่ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด ฉะนั้นศาลจึงมีอำนาจหยิบยกประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ หาเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใดไม่
คดีนี้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ได้ขอเลื่อนการนัดสืบพยานจำเลยถึง2 ครั้ง โดยอ้างเหตุอย่างเดียวกันว่าจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1ป่วยกะทันหันด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ ทั้ง ๆ ที่ การนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกและครั้งหลังห่างกันเกือบ 2 เดือน และในการเลื่อนการนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกศาลได้กำชับไว้แล้วว่า คราวต่อไปให้เตรียมพยานให้มาให้พร้อม จะไม่ให้เลื่อนคดีอีก แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ไม่นำพาต่อคำสั่งดังกล่าว กลับขอเลื่อนคดีด้วยเหตุอย่างเดียวกันอีกและไม่ได้เตรียมพยานอื่นมา โดยเฉพาะนัดหลังนี้จำเลยที่ 1ถึงที่ 9 ก็แถลงต่อศาลด้วยว่า ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 3 ป่วยอยู่ที่ใด แสดงว่าไม่ต้องการให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานไปทำการตรวจตาม ป.วิ.พ.มาตรา 41พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 ส่อชัดว่าประสงค์จะประวิงคดี คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7125/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วม, การรับช่วงสิทธิ, อัตราดอกเบี้ย, คำสั่งศาลเลื่อนคดี: กรณีศึกษาความรับผิดชอบของลูกหนี้ร่วมและการบังคับใช้กฎหมาย
ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) หรือไม่นั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อศาลเห็นสมควรก็ยกขึ้นวินิจฉัยตัดสินคดีได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ถึงแม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ในปัญหาข้อนี้ไว้ แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นยกปัญหาเรื่องฟ้องซ้อนขึ้นวินิจฉัยโดยอาศัยข้อเท็จจริงตามคำร้อง ของ จำเลยประกอบข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยตัดสินคดีโดยชอบ ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยชอบด้วยกระบวนพิจารณาหาใช่เป็นข้อเท็จจริงนอกสำนวน นอกเรื่องนอกประเด็นไม่ ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เป็นฟ้องซ้อนกับฟ้องแย้งในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 23053/2531 ของศาลชั้นต้นโดยกรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในคดีนี้กับที่โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยคดีก่อน ฟ้องแย้งให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์คดีก่อนรับผิดเป็นเรื่องเดียวกัน คือเป็นเรื่องรับช่วงสิทธิจากธนาคาร ท. ตามสัญญาค้ำประกันฉบับเดียวกันและจำนวนเงินที่ให้รับผิดก็เป็นจำนวนเดียวกัน ถึงแม้โจทก์คดีนี้จะฟ้องขอให้บังคับจำนองตามสัญญาจำนองซึ่งจำเลยที่ 1 ทำไว้กับธนาคาร ท. มาด้วยก็ตาม แต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องก็คงเป็นเรื่องเดียวกันเพราะมีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรง ฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้บังคับจำนองจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ด้วย กรณีที่บุคคลหลายคนยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันคือหนี้ตามหนังสือค้ำประกันที่ธนาคาร ท.ได้ออกให้แก่บริษัท พ.เพื่อค้ำประกันการซื้อรถขุดไฮดรอลิกของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จะเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามมูลหนี้อย่างอื่นของจำเลยที่ 1 ต่อธนาคาร ท. นอกเหนือจากหนี้ตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวด้วย และวงเงินที่ค้ำประกันจะมีจำนวนไม่เท่ากัน ก็หาทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เปลี่ยนแปลงไปไม่ โจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จะต้องมีความรับผิดต่อธนาคาร ท.อย่างลูกหนี้ร่วม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 682 วรรคสอง โจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องรับผิดต่อธนาคาร ท.ผู้เป็นเจ้าหนี้อย่างลูกหนี้ร่วม และโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนจำเลยที่ 1 ไปแล้วย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ถึง 11 ได้ตามส่วนเท่า ๆ กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 229(3) และมาตรา 296 เมื่อไม่มีการตกลงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยไว้ จึงไม่มีเหตุอื่นอันชอบด้วยกฎหมายที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 และแม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226จะบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการรับช่วงสิทธิไว้ว่า บุคคลผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่ในมูลหนี้ รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามของตนเอง แต่จากหลักที่ว่าผู้รับช่วงสิทธิใช้สิทธิในนามของตนเอง จึงมีผลว่าผู้รับช่วงสิทธิชำระหนี้ไปเท่าใดก็คงรับช่วงสิทธิหรืออาจใช้สิทธิของเจ้าหนี้เพียงเท่าที่อาจอ้างได้ว่าเป็นสิทธิของตนหรือตามส่วนที่ตนมีสิทธิเท่านั้น หาใช่รับช่วงสิทธิทั้งหมดเท่ากับที่เจ้าหนี้มีสิทธิไม่ ดังนั้นโจทก์คงเรียกได้เพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี แม้ประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11กับโจทก์ว่าเป็นลูกหนี้ร่วมกันหรือไม่ จะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กันหรือไม่ และประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยดอกเบี้ยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เพียงไรจะไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีโดยตรง แต่ก็เป็นประเด็นที่เกี่ยวพันกับประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีที่ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11จะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด ฉะนั้นศาลจึงมีอำนาจหยิบยกประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้หาเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใดไม่ คดีนี้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ได้ขอเลื่อนการนัดสืบพยานจำเลยถึง 2 ครั้ง โดยอ้างเหตุอย่างเดียวกันว่าจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ป่วยกะทันหันด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ทั้ง ๆ ที่ การนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกและครั้งหลังห่างกันเกือบ 2 เดือน และในการเลื่อนการนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกศาลได้กำชับไว้แล้วว่า คราวต่อไปให้เตรียมพยานให้มาให้พร้อมจะไม่ให้เลื่อนคดีอีก แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ไม่นำพาต่อคำสั่งดังกล่าว กลับขอเลื่อนคดีด้วยเหตุอย่างเดียวกันอีกและไม่ได้เตรียมพยานอื่นมา โดยเฉพาะนัดหลังนี้จำเลยที่ 1ถึงที่ 9 ก็แถลงต่อศาลด้วยว่า ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 3ป่วยอยู่ที่ใด แสดงว่าไม่ต้องการให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานไปทำการตรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 41 พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 ส่อชัดว่าประสงค์จะประวิงคดี คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2ถึงที่ 9 เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4574/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ใหม่ทำให้สิทธิไล่เบี้ยของผู้ค้ำประกันและลูกหนี้ร่วมระงับ
โจทก์และจำเลยเป็นผู้ค้ำประกันหนี้รายเดียวกันของ น. จึงเป็นลูกหนี้ร่วมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682 วรรคสองเมื่อโจทก์ชำระหนี้แทน น. ลูกหนี้ไปแล้วโจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 229(3) และมาตรา 296 และมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ น. เพื่อชำระหนี้ทั้งหมดได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 693 วรรคแรก เมื่อต่อมาโจทก์กับ น. ตกลงทำสัญญากู้เงินไว้ว่า น. เดิมหนี้เงินกู้โจทก์ถือว่ามีหนี้ใหม่เกิดขึ้นแล้ว เป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่มีผลทำให้หนี้ตามสิทธิไล่เบี้ยนั้นระงับไป โจทก์ชอบที่จะฟ้องบังคับตามมูลหนี้ใหม่ในสัญญากู้เงินความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้เดิมของ น. และในฐานะหนี้ร่วมกับโจทก์ย่อมระงับไปด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4574/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้และการระงับความรับผิดของผู้ค้ำประกันและลูกหนี้ร่วม
โจทก์และจำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน น. ในหนี้รายเดียวกัน จึงเป็นลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 682 วรรคสอง เมื่อโจทก์ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้แทน น. ไปแล้ว โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้กึ่งหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 229 (3) และ 296 และยังมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ น. เพื่อให้ชำระหนี้ทั้งหมดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 วรรคแรกอีกด้วย เมื่อปรากฏต่อมาว่าโจทก์ตกลงกับ น. ทำหนังสือสัญญากู้เงินมีข้อความว่าน. เป็นลูกหนี้กู้เงินโจทก์ ถือได้ว่ามีหนี้ใหม่เกิดขึ้นตามสัญญากู้เงิน เป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ มีผลทำให้หนี้ตามสิทธิไล่เบี้ยแก่ น. นั้นระงับไป โจทก์ชอบที่จะฟ้องบังคับตามมูลหนี้ใหม่ในสัญญากู้เงิน กรณีดังกล่าวความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้เดิมของ น. และในฐานะลูกหนี้ร่วมกับโจทก์ย่อมระงับไปด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4574/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ใหม่กระทบสิทธิไล่เบี้ยของผู้ค้ำประกันและลูกหนี้ร่วม
โจทก์และจำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน น. ในหนี้รายเดียวกันจึงเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 682 วรรคสอง เมื่อโจทก์ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้แทน น.ไปแล้ว โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ย เอา แก่ จำเลยได้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 229(3) และ 296 และยังมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ น.เพื่อให้ชำระหนี้ทั้งหมดได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 693 วรรคแรกอีกด้วย เมื่อปรากฏต่อมาว่าโจทก์ตกลงกับ น. ทำหนังสือสัญญากู้เงินมีข้อความว่า น.เป็นลูกหนี้กู้เงินโจทก์ ถือได้ว่ามีหนี้ใหม่เกิดขึ้น ตามสัญญากู้เงิน เป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ มีผลทำให้หนี้ตามสิทธิไล่เบี้ยแก่ น. นั้นระงับไป โจทก์ขอ ที่จะฟ้องบังคับตาม มูลหนี้ ใหม่ในสัญญากู้เงิน กรณีดังกล่าว ความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ตามเดิม ของ น. และในฐานะลูกหนี้ร่วมกับโจทก์ย่อมระงับไปด้วยโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมสามีภรรยาจากการกู้เพื่อเกษตรกรรม และการรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้เดิม
การที่จำเลยที่ 2 ได้ให้คำรับรองต่อธนาคารผู้ให้กู้ว่าจำเลยที่ 2 ทำงานเกษตรกับจำเลยที่ 1 ผู้เป็นสามีและรับผูกพันว่าเงินที่จำเลยที่ 1 กู้นั้นเป็นเงินที่นำไปเพื่อใช้ในการเกษตร หนี้เงินกู้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้อันเนื่องจากการงานซึ่งสามีภรรยาทำด้วยกัน จำเลยทั้งสองจึงมีฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ลงชื่อในหนังสือกู้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ก็ตาม
เมื่อโจทก์ซึ่งมีความผูกพันร่วมกับจำเลยที่ 1 ได้ใช้หนี้ของจำเลยที่ 1 ให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้ไปแล้วโจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของธนาคารผู้ให้กู้ที่มีต่อจำเลยทั้งสอง แม้จำเลยที่ 2 จะไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ แต่จำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1จึงรับผิดต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมสามีภรรยาจากการกู้เงินเพื่อการเกษตร และการรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้
การที่จำเลยที่ 2 ได้ให้คำรับรองต่อธนาคารผู้ให้กู้ว่าจำเลยที่ 2 ทำงานเกษตรกับจำเลยที่ 1 ผู้เป็นสามีและรับผูกพันว่าเงินที่จำเลยที่ 1 กู้นั้นเป็นเงินที่นำไปเพื่อใช้ในการเกษตรหนี้เงินกู้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้อันเนื่องจากการงานซึ่งสามีภรรยาทำด้วยกัน จำเลยทั้งสองจึงมีฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม แม้จำเลยที่ 2ไม่ได้ลงชื่อในหนังสือกู้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ก็ตาม เมื่อโจทก์ซึ่งมีความผูกพันร่วมกับจำเลยที่ 1 ได้ใช้หนี้ของจำเลยที่ 1 ให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้ไปแล้วโจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของธนาคารผู้ให้กู้ที่มีต่อจำเลยทั้งสอง แม้จำเลยที่ 2 จะไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ แต่จำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1จึงรับผิดต่อโจทก์ด้วย.
of 4