คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 131

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2567-2568/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกมูลนิธิเนื่องจากกรรมการไม่ครบองค์ประชุมและไม่สามารถหาเสียงข้างมากได้ตามกฎหมาย
การดำเนินกิจการของมูลนิธิต้องเป็นไปตามเสียงข้างมากของกรรมการมูลนิธิ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 แต่กรรมการมูลนิธิบางคนตายคงเหลือเพียง 2 คน และไม่อาจหาเสียงข้างมากได้ ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ตามมาตรา 131(3) จึงต้องเลิกมูลนิธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทางภาษี การนับระยะเวลาฟ้องคดี และอำนาจฟ้อง
คนยามซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของบริษัทโจทก์ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้จากบุรุษไปรษณีย์ ณ สำนักงานใหญ่ที่บริษัทโจทก์ได้จดทะเบียนไว้เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2513 ดังนี้ ถือว่าบริษัทโจทก์ได้รับแจ้งความคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามความในประมวลรัษฎากรมาตรา 30(2) ในวันนั้นแล้ว พฤติการณ์ต่าง ๆ ที่โจทก์นำสืบซึ่งทำให้ที่ปรึกษากฎหมายของโจทก์ได้รับเอกสารดังกล่าวในวันที่ 1 กันยายน 2513นั้น เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับเจ้าหน้าที่ของตนจะนำมาใช้ยันต่อจำเลยหาได้ไม่ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องในวันที่ 30 กันยายน 2513 เกินกำหนด30 วัน คดีโจทก์จึงต้องห้ามตามมาตรา 30(2) แห่งประมวลรัษฎากรโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งผลคำวินิจฉัยอุทธรณ์ภาษี: ถือว่าแจ้งแล้วเมื่อส่งถึงสำนักงานใหญ่และเจ้าหน้าที่รับ
คนยามซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของบริษัทโจทก์ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้จากบุรุษไปรษณีย์ ณ สำนักงานใหญ่ที่บริษัทโจทก์ได้จดทะเบียนไว้เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2513 ดังนี้ ถือว่าบริษัทโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามความในประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) ในวันนั้นแล้ว พฤติการณ์ต่าง ๆ ที่โจทก์นำสืบซึ่งทำให้ที่ปรึกษาากฎหมายของโจทก์ได้รับเอกสารดังกล่าวในวันที่ 1 กันยายน 2513 นั้น เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับเจ้าหน้าที่ของตนจะนำมาใช้ยันต่อจำเลยหาได้ไม่ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องในวันที่ 30 กันยายน 2513 เกินกำหนด 30วัน คดีโจทก์จึงต้องห้ามตามมาตรา 30(2) แห่งประมวลกฎหมายรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมคำฟ้องขัดแย้งกับคำฟ้องเดิม ศาลอนุญาตได้หรือไม่ และผลของการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
เดิมโจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยทุจริตแสดงตัวเป็นโจทก์ขอรับโอนมรดกที่ดินแล้วโอนขายให้จำเลย ขอให้เพิกถอนการรับโอนมรดกและการซื้อขายภายหลังขอเพิ่มเติมฟ้องว่าจำเลยทำสัญญายอมความ โดยจำเลยยอมโอนคืนที่พิพาทให้โจทก์ โจทก์ชำระเงินที่ผู้อื่นเป็นลูกหนี้จำเลยให้จำเลย 200บาทเมื่อจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินรายนี้ให้โจทก์แล้วจึงขอให้ศาลพิพากษาตามสัญญายอมความนี้ ถือว่าเป็นคนละลักษณะกับฟ้องเดิมคำขอบังคับก็ขัดกันเท่ากับขอเลิกฟ้องเดิมแล้วเอาใหม่ไม่ใช่เพิ่มเติมฟ้องกรณีต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 วรรคท้ายซึ่งบัญญัติห้ามไว้ไม่ให้กระทำ ศาลชอบที่จะยกเสียตาม มาตรา 180โจทก์จะได้ไปฟ้องเป็นคดีใหม่
ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันไว้โดยลงชื่อรับผิดไว้แก่เขาแต่ฝ่ายเดียวแล้ว ไม่ปฏิบัติตามสัญญาเขาย่อมฟ้องให้รับผิดตามสัญญาที่ตนลงลายมือชื่อไว้ได้ โดยไม่เป็นปัญหาว่าเขาได้ตั้งตัวแทนให้ทำสัญญากับจำเลยหรือไม่ ซึ่งต่อมาเขาได้รับรองสัญญานั้นแล้วด้วย
ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้อง ถ้าศาลชั้นต้นไม่สั่งแต่มาในชั้นพิจารณาศาลชั้นต้นยกขึ้นเป็นประเด็นพิพากษาให้ แสดงว่าได้อนุญาตให้เพิ่มเติมคำฟ้องนี้ เรื่องได้ผ่านมาจนเช่นนี้และไม่มีฝ่ายใด ร้องฎีกาขึ้นมาจึงไม่สมควรที่ศาลฎีกาจะรื้อฟื้นแก้เป็นอย่างอื่น
การที่โจทก์ขอดำเนินการทางสัญญาประนีประนอมยอมความเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าโจทก์จะให้จำเลยรับผิดตามสัญญานั้น ไม่ติดใจที่จะเอาตามมูลคดีเดิมที่ฟ้องไว้ จำเลยไม่ได้ฎีกาเถียงสัญญานี้ว่าใช้ไม่ได้ด้วยประการใด เป็นแต่ว่าทนายโจทก์ไม่มีอำนาจทำสัญญานั้น ซึ่งปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่าทนายโจทก์ทำได้หรือไม่ แต่อยู่ที่ว่าจำเลยได้ทำสัญญานั้นหรือไม่จึงพิพากษายืน