พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2036/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะตั้งแต่แรก: การติดตามทรัพย์สินจากนิติกรรมโมฆียะและการโอนสิทธิที่มิชอบ
ส.ภริยาโจทก์ได้ขายที่พิพาทให้แก่ก.กับพวกไปโดยโจทก์มิได้ให้ความยินยอม โจทก์ฟ้อง ส.และก.กับพวกเป็นคดีแรกขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเสีย ปรากฏว่า ก. กับพวกขายที่พิพาทแก่จำเลยที่ 1 ไปแล้วโจทก์จึงขอให้ศาลเรียกจำเลยที่ 1 เข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีนั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นว่า นิติกรรมซื้อขายที่ดินระหว่าง ส. กับ ก. และพวก เป็นโมฆะ ให้เพิกถอนเสีย และเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่าง ก. กับพวก กับจำเลยที่ 1 เสียด้วย ศาลฎีกาพิพากษายืน ขณะที่คดีแรกอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยที่ 1 ได้ขายฝากที่พิพาทแก่จำเลยที่ 2 และที่พิพาทหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ให้ทำลายนิติกรรมการขายฝากระหว่างจำเลยทั้งสองเสียดังนี้ การที่โจทก์ฟ้อง ส. กับพวก ขอให้เพิกถอนนิติกรรมอันเป็นโมฆียะในคดีแรกนั้น ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกล้างนิติกรรมแล้ว เมื่อในที่สุดศาลพิพากษาว่านิติกรรมดังกล่าวเป็นโมฆะ นิติกรรมนั้นย่อมเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138 วรรคแรกการที่ ก.กับพวก โอนขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 ก็ดี หรือจำเลยที่ 1ขายฝากที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ก็ดี เป็นอันใช้ยันโจทก์ไม่ได้ เพราะการขายต่อ ๆ มา จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจที่จะโอนขายได้ เข้าหลักที่ว่าผู้รับโอนไม่มีอำนาจดีกว่าผู้โอน เพราะนิติกรรมอันเดิมเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกเสียแล้ว โจทก์ย่อมใช้สิทธิตามเอาทรัพย์สินตามมาตรา 1336 ได้ กรณีเช่นนี้ จะนำมาตรา 1299 และ 1300 มาปรับแก่คดีหาได้ไม่ ส่วนมาตรา 1329 นั้น ต้องได้ความว่า ได้ทรัพย์สินมาในระหว่างที่ยังไม่มีการบอกล้างโมฆียะกรรม ถ้าได้มาภายหลังล้างโมฆียะกรรมแล้ว ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำบอกล้างนิติกรรมและการสัตยาบันสัญญา
ภรรยาไปทำสัญญาประกันผู้ต้องหาไว้กับศาล แล้วผิดสัญญาถูกศาลสั่งปรับ สามีจึงยื่นคำร้องบอกล้างนิติกรรมสัญญาประกันโดยว่าเป็นโมฆียะกรรม แต่ก่อนศาลจะมีคำสั่งประการใดสามีกลับถอนคำร้องเสีย ดังนี้ ต้องถือว่าเท่ากับไม่ได้ยื่นคำบอกล้างไว้ และถือได้ว่าเป็นการให้สัตยาบันการกระทำของภรรยาไปในตัว ฉะนั้นในภายหลังสามีจะมาบอกล้างอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องบอกล้างนิติกรรมสัญญาประกันถือเป็นการสัตยาบัน ย่อมมีผลผูกพัน
ภรรยาไปทำสัญญาประกันผู้ต้องหาไว้กับศาล แล้วผิดสัญญาถูกศาลสั่งปรับ สามีจึงยื่นคำร้องบอกล้างนิติกรรมสัญญาประกันโดยว่าเป็นโมฆียกรรม แต่ก่อนศาลจะมีคำสั่งประการใดสามีกลับถอนคำร้องเสีย ดังนี้ ต้องถือว่าเท่ากับไม่ได้ยื่นคำบอกล้างไว้ และถือได้ว่าเป็นการให้สัตยาบันการกระทำของภรรยาไปในตัว ฉะนั้นในภายหลังสามีจะมาบอกล้างอีกไม่ได้