คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 37

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5923/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายและเหตุสุดวิสัยในการยื่นอุทธรณ์: ศาลพิพากษายืนตามคำสั่งเดิม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 37 และ 133 วางหลักไว้ว่าศาลจะต้องทำการนั่งพิจารณาต่อเนื่องกันไปจนกว่าจะเสร็จการพิจารณาและพิพากษาคดี โดยให้ศาลมีคำพิพากษาในวันที่เสร็จสิ้นการพิจารณานั่นเอง ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีเสร็จการพิจารณาและรอฟังคำพิพากษาวันนี้ และในวันนั้นศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาชี้ขาดคดี ย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายแล้ว
เหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 หมายความว่ามีเหตุการณ์ใด ๆ เกิดขึ้นซึ่งจำเลยไม่สามารถป้องกันได้ ทำให้จำเลยไม่สามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ จำเลยอ้างเหตุในคำร้องว่า จำเลยเพิ่งทราบคำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งล่วงเลยเวลาที่จำเลยจะยื่นอุทธรณ์แล้ว ข้ออ้างของจำเลยถือเป็นความบกพร่องของจำเลยเอง ไม่อาจถือว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยได้ ส่วนข้ออ้างที่ว่า เมื่อทราบคำพิพากษาแล้วได้ไปติดต่อขอคัดสำนวน กว่าจะคัดได้ก็เป็นเวลา 2 เดือน อันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังเมื่อพ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์แล้วจึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5923/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา และเหตุสุดวิสัย: ศาลพิพากษายืนตามคำสั่งเดิม
ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 4 นำพยานเข้าสืบเป็นลำดับสุดท้าย จำเลยที่ 4นำพยานเข้าสืบได้ 1 ปาก แล้วแถลงว่ายังติดใจสืบอีกเพียง 1 ปาก ขอเลื่อนคดีไปสืบพยานปากนี้ในนัดหน้า ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานจำเลยที่ 4 ในวันที่ 19ธันวาคม 2540 เวลา 8.30 นาฬิกา แต่เมื่อถึงวันนัดจำเลยที่ 4 ไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ศาลชั้นต้นจึงถือว่าจำเลยที่ 4 ไม่มีพยานมาสืบให้งดสืบพยานจำเลยที่ 4 คดีเป็นอันเสร็จการพิจารณา นับเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามลำดับขั้นตอนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เพราะจำเลยที่ 4 เป็นคู่ความที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเป็นลำดับสุดท้าย เมื่อจำเลยที่ 4 ไม่มีพยานมาสืบแล้วต้องถือว่าคดีเสร็จการพิจารณา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 37 และมาตรา 133 วางหลักไว้ว่า ศาลจะต้องทำการนั่งพิจารณาต่อเนื่องกันไปจนกว่าจะเสร็จการพิจารณาและพิพากษาคดี โดยให้ศาลมีคำพิพากษาในวันที่เสร็จสิ้นการพิจารณา ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันที่ 19 ธันวาคม 2540 ว่าคดีเสร็จการพิจารณาและรอฟังคำพิพากษา และในวันดังกล่าวศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาชี้ขาดคดีย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในวันที่ 19 ธันวาคม 2540 ซึ่งเป็นเสร็จการพิจารณาถือว่าจำเลยที่ 4 ได้ทราบคำพิพากษาตั้งแต่วันนั้น จำเลยที่ 4 จึงชอบที่จะต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 19 มกราคม 2541 หรือยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ก่อนสิ้นกำหนดเวลา หากยื่นภายหลังเมื่อพ้นกำหนดเวลาต้องเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 จำเลยที่ 4 ยื่นอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2541 โดยอ้างว่า จำเลยที่ 4เพิ่งทราบคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเมื่อปลายเดือนมกราคม 2541 ซึ่งล่วงเลยเวลาที่จำเลยที่ 4 จะยื่นอุทธรณ์ได้ ข้ออ้างของจำเลยที่ 4 ดังกล่าวเป็นความบกพร่องของจำเลยที่ 4 เอง ไม่อาจถือว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยได้ ส่วนการที่จำเลยที่ 4 อ้างว่า เมื่อทราบคำพิพากษาแล้วได้ไปติดต่อขอคัดสำนวน กว่าจะคัดได้ก็ถึงเดือนมีนาคม2541 นั้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังเมื่อพ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์แล้ว จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่ทำให้จำเลยที่ 4 ไม่สามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 19 มกราคม 2541

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3182/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งนัดไต่สวนและผลของการไม่มาศาล: ศาลย่อมถือว่าจำเลยทราบคำสั่งเมื่อทนายรับรอง และการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลย่อมมีผลทางกฎหมาย
จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์พร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ในวันที่ 7 ตุลาคม 2541 และทนายจำเลยได้ลงชื่อรับรองข้อความที่ว่าให้มาทราบคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในวันที่ 14 ตุลาคม 2541 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นได้เกษียณคำสั่งไว้ที่คำร้องว่า ให้รับคำร้อง และนัดไต่สวนวันที่ 14 ธันวาคม 2541 เวลา 8.30 นาฬิกา โดยบันทึกวันที่เกษียณคำสั่งในวันที่ 12 ตุลาคม 2541 ซึ่งเป็นการมีคำสั่งไว้ก่อนวันที่กำหนดให้จำเลยมาทราบคำสั่งศาล ย่อมมีผลว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลที่นัดไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในวันที่ 14 ธันวาคม 2541 ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2541 แล้ว แม้ในวันที่14 ตุลาคม 2541 จำเลยยังมิได้สาบานตัว ศาลก็กำหนดนัดวันไต่สวนคำร้องได้
จำเลยทราบกำหนดวันนัดไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาชั้นอุทธรณ์แล้วไม่มาศาล การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันนัดไต่สวนคำร้องว่า ให้งดการไต่สวน แล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 37 และมาตรา 133 ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นให้งดการไต่สวน ก็ถือว่าคดีเสร็จการพิจารณา จึงมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยเสียได้ และคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ว่าหากจำเลยประสงค์ที่จะอุทธรณ์ ให้นำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาวางศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันนี้ มิฉะนั้นถือว่าไม่ติดใจอุทธรณ์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของคำวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ซึ่งถือว่าจำเลยได้ทราบแล้วในวันดังกล่าว โดยศาลชั้นต้นไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบอีก การที่จำเลยมิได้นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ไปวางศาลภายในเวลาที่กำหนดไว้ ทั้งมิได้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาล ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8499/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์ก่อน/หลังขอให้ล้มละลาย และสิทธิของผู้รับโอน รวมถึงการรอการวินิจฉัยคดีเมื่อมีเจ้าหนี้อื่นได้รับชำระหนี้แล้ว
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 116 นั้น การที่ผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 8 จะยกเหตุตามบทมาตราดังกล่าวนี้ขึ้นกล่าวอ้างปฏิเสธว่าได้รับโอนทรัพย์พิพาทโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนได้นั้น ก็แต่เฉพาะกรณีที่ได้รับโอนทรัพย์มาก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลาย เมื่อผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 8 มิได้รับโอนทรัพย์พิพาทมาก่อนวันดังกล่าว ดังนั้น ไม่ว่าผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 8 จะได้รับโอนมาจากจำเลยโดยตรงหรือได้รับโอนมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม สิทธิของผู้คัดค้านย่อมไม่ดีกว่าผู้โอน ผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 8 จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าว
ส่วนคำร้องของผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 7 ที่ขอให้ศาลฎีการอการวินิจฉัยคดีไว้ก่อนเนื่องจากมีคำขอให้ยกเลิกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 2 แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามความเห็นของผู้ร้องให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 2 แล้วนั้นแต่เมื่อปรากฏว่ายังมีเจ้าหนี้คือโจทก์ที่ 2 ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้ตามคำขอและคดีถึงที่สุดแล้ว ศาลจึงไม่จำต้องรอการวินิจฉัยคดีไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8499/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนและหลังการขอให้ล้มละลาย และข้อยกเว้นการคุ้มครองผู้รับโอนโดยสุจริต
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116 นั้นการที่ผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 8 จะยกเหตุตามบทมาตราดังกล่าวนี้ขึ้นกล่าวอ้างปฏิเสธว่าได้รับโอนทรัพย์พิพาทโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนได้นั้น ก็แต่เฉพาะกรณีที่ได้รับโอนทรัพย์มาก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลาย เมื่อผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 8มิได้รับโอนทรัพย์พิพาทมาก่อนวันดังกล่าว ดังนั้น ไม่ว่าผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 8 จะได้รับโอนมาจากจำเลย โดยตรงหรือได้รับโอนมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตามสิทธิของผู้คัดค้านย่อมไม่ดีกว่าผู้โอน ผู้คัดค้านที่ 4ถึงที่ 8 จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าว ส่วนคำร้อง ของ ผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 7 ที่ขอให้ศาลฎีการอการวินิจฉัยคดีไว้ก่อนเนื่องจากมีคำขอให้ยกเลิกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 2 แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามความเห็นของผู้ร้องให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 2 แล้วนั้น แต่เมื่อปรากฏว่ายังมีเจ้าหนี้คือ โจทก์ที่ 2 ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้ตามคำขอ และคดีถึงที่สุดแล้ว ศาลจึงไม่จำต้องรอการวินิจฉัยคดีไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2332/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยาน หลังเจรจาหนี้ไม่สำเร็จ ศาลพิพากษาคดีได้
ในวันนัดสืบพยานจำเลย ทนายจำเลยแถลงว่าจำเลยไม่มีประเด็นอื่นที่จะสืบตามคำให้การอีก จึงไม่ติดใจสืบพยาน แต่ขอเลื่อนคดีเพื่อไปตกลงยอดหนี้กับโจทก์ก่อน ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนคดีไปนัดพร้อมในวันนัดพร้อมเพื่อฟังผลการเจรจา โจทก์และจำเลยยังไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องยอดหนี้ ก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาคดีไปได้โดยไม่จำเป็นต้องดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างไรต่อไปอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6042/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและผลกระทบต่อคำคัดค้าน การดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำคัดค้านขอให้ศาลยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ค.ผู้ตาย ผู้คัดค้านที่ 2 ก็ยื่นคำคัดค้านเช่นเดียวกันโดยขอให้ศาลยกคำร้องของผู้ร้องและขอให้ศาลตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายในวันนัดไต่สวนคำร้อง ผู้ร้องยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ผู้คัดค้านทั้งสองไม่ค้าน ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องถอนคำร้องขอ ให้จำหน่ายคดีเฉพาะผู้ร้องกับให้ผู้คัดค้านที่ 2 นำพยานเข้าไต่สวนทันทีซึ่งกรณีเช่นนี้ ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับให้ศาลต้องเลื่อนกระบวนพิจารณาไปโดยไม่ต้องมีผู้ใดร้องขอ ศาลชอบที่ดำเนินกระบวน-พิจารณาไปตามประเด็นที่ปรากฏในคำคู่ความ ประเด็นในคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1มีแต่เพียงว่าผู้ร้องมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้หรือไม่ เมื่อผู้ร้องขอถอนคำร้องและศาลชั้นต้นอนุญาตแล้วคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาต่อไปเมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ร้องขอเลื่อนการพิจารณาไปเพื่อดำเนินการอย่างใด ศาลย่อมต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามกระบวนพิจารณาที่กำหนดไว้ได้
เมื่อผู้ร้องขอถอนคำร้องของผู้ร้องไปแล้ว ประเด็นตามคำร้องของผู้ร้องย่อมหมดไป คำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 ที่คัดค้านคำร้องของผู้ร้องจึงตกไปด้วยส่วนคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 2 นอกจากให้ยกคำร้องผู้ร้องแล้วยังได้ร้องขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ด้วย ดังนั้น ประเด็นเรื่องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้คัดค้านที่ 2ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย คำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 2 จึงหาตกไปไม่ ศาลต้องดำเนิน-กระบวนพิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6042/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก และการดำเนินกระบวนพิจารณาต่อประเด็นการตั้งผู้จัดการมรดกรายใหม่
ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำคัดค้านขอให้ศาลยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ค.ผู้ตาย ผู้คัดค้านที่ 2 ก็ยื่นคำคัดค้านเช่นเดียวกันโดยขอให้ศาลยกคำร้องของผู้ร้องและขอให้ศาลตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายในวันนัดไต่สวนคำร้อง ผู้ร้องยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ผู้คัดค้านทั้งสองไม่ค้าน ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องถอนคำร้องขอ ให้จำหน่ายคดีเฉพาะผู้ร้องกับให้ผู้คัดค้านที่ 2 นำพยานเข้าไต่สวนทันทีซึ่งกรณีเช่นนี้ ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับให้ศาลต้องเลื่อนกระบวนพิจารณาไปโดยไม่ต้องมีผู้ใดร้องขอ ศาลชอบที่ดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามประเด็นที่ปรากฏในคำคู่ความ ประเด็นในคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 มีแต่เพียงว่าผู้ร้องมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้หรือไม่เมื่อผู้ร้องขอถอนคำร้องและศาลชั้นต้นอนุญาตแล้วคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาต่อไป เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ร้องขอเลื่อนการพิจารณาไปเพื่อดำเนินการอย่างใดศาลย่อมต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามกระบวนพิจารณาที่กำหนดไว้ได้ เมื่อผู้ร้องขอถอนคำร้องของผู้ร้องไปแล้ว ประเด็นตามคำร้องของผู้ร้องย่อมหมดไป คำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 ที่คัดค้านคำร้องของผู้ร้องจึงตกไปด้วยส่วนคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 2นอกจากให้ยกคำร้องผู้ร้องแล้วยังได้ร้องขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ด้วย ดังนั้น ประเด็นเรื่องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้คัดค้านที่ 2 ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย คำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 2 จึงหาตกไปไม่ ศาลต้องดำเนินกระบวน พิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2635/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสัญญาเช่า การไม่รับคำต่อสู้เรื่องสัญญาเช่าใหม่ที่ไม่มีหลักฐานลายมือชื่อ และการตัดพยานที่ไม่ชอบ
ในวันนัดสืบพยานจำเลยนัดแรก จำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างเหตุป่วย ทนายจำเลยแถลงว่าติดใจสืบเฉพาะตัวจำเลยเท่านั้น หากนัดหน้าจำเลยไม่มาศาลหรือไม่มีพยานมาศาลให้ถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยานต่อไป ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนคดี เมื่อถึงวันนัดสืบพยานจำเลยหลังสืบตัวจำเลยแล้ว ทนายจำเลยแถลงขอเลื่อนคดีเพื่อขอสืบพยานอื่น ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและถือว่าเป็นอันหมดพยานจำเลย คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นไปตามที่จำเลยแถลงไว้และเป็นไปโดยชอบแล้ว
การเช่าอสังหาริมทรัพย์ ที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้เช่า ผู้เช่าจะยกเป็นข้อต่อสู้คดีหาได้ไม่
ปัญหาที่จำเลยไม่ได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การ ทั้งไม่ใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยปัญหานี้มา ก็ถือว่าเป็นปัญหาที่มิได้ว่ากันมาโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2635/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสัญญาเช่า, การตัดพยาน, และข้อต่อสู้เรื่องสัญญาใหม่ที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
ในวันนัดสืบพยานจำเลยนัดแรก จำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างเหตุป่วย ทนายจำเลยแถลงว่าติดใจสืบเฉพาะตัวจำเลยเท่านั้นหากนัดหน้าจำเลยไม่มาศาลหรือไม่มีพยานมาศาลให้ถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยานต่อไป ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนคดีเมื่อถึงวันนัดสืบพยานจำเลยหลังสืบตัวจำเลยแล้ว ทนายจำเลยแถลงขอเลื่อนคดีเพื่อขอสืบพยานอื่น ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและถือว่าเป็นอันหมดพยานจำเลย คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นไปตามที่จำเลยแถลงไว้และเป็นไปโดยชอบแล้ว
การเช่าอสังหาริมทรัพย์ ที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้เช่า ผู้เช่าจะยกเป็นข้อต่อสู้คดีหาได้ไม่
ปัญหาที่จำเลยไม่ได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การ ทั้งไม่ใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยปัญหานี้มา ก็ถือว่าเป็นปัญหาที่มิได้ว่ากันมาโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.
of 3