คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 305

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8114/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าหลังยึดทรัพย์: ผู้ซื้อทรัพย์สินจากการบังคับคดีย่อมไม่ต้องผูกพันกับสัญญาเช่าเดิม
อ. ทำสัญญาเช่าอาคารกับจำเลยที่ 1 หลังจากที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดและขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์แล้วสัญญาเช่าระหว่าง อ. กับจำเลยที่ 1 จึงไม่ผูกพันโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 305 เพราะการเช่าของจำเลยที่ 1 เป็นสิทธิที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ก่อให้เกิดขึ้นในทรัพย์สินภายหลังที่ถูกยึดแล้ว ผู้ซื้อจึงได้ทรัพย์สินไปโดยปลอดการเช่า ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 1 จะทำสัญญาเช่าโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนหรือไม่ ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเพียงบริวารของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1221/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนใบแทน น.ส.3ก. และสิทธิของผู้ซื้อจากการขายทอดตลาดโดยสุจริต
ขณะที่จำเลยที่1ยื่นคำขอออกใบแทนน.ส.3ก.อ้างว่าน.ส.3ก.สูญหายเจ้าพนักงานที่ดินประกาศการขอรับใบแทนแล้วไม่มีผู้ใดคัดค้านจึงได้ออกใบแทนให้แก่ผู้ขอแต่เมื่อปรากฏว่าน.ส.3ก.อยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้สูญหายไปไหนกรณีต้องถือว่าการออกใบแทนน.ส.3ก.ไม่ชอบด้วยกฎหมายเจ้าพนักงานที่ดินต้องเพิกถอนใบแทนน.ส.3ก.ดังกล่าวตามประมวลกฎหมายที่ดินฯมาตรา61 โจทก์เป็นผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยเมื่อโจทก์ทราบว่าส. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่1โจทก์ฟ้องเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและอายัดที่ดินและเมื่อส. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความชำระเงินให้โจทก์แต่ต่อมาส. ผิดนัดโจทก์ก็นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทและขายทอดตลาดและโจทก์เป็นผู้ซื้อจากการขายทอดตลาดได้การกระทำของโจทก์เป็นการใช้สิทธิทางศาลและแสดงให้เห็นว่าโจทก์กระทำการโดยสุจริตตลอดมาหากจำเลยที่1เห็นว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของส. แล้วจำเลยที่1ชอบที่จะร้องขัดทรัพย์แต่จำเลยที่1ก็มิได้ร้องขัดทรัพย์หรือโต้แย้งประการใดจนเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศและขายทอดตลาดไปตามคำสั่งศาลซึ่งโจทก์เป็นผู้ให้ราคาสูงสุดโจทก์จึงเป็นผู้ซื้อทรัพย์รายนี้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1330โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิเป็นของตนได้ก่อนและที่จำเลยที่1จดทะเบียนการโอนภายหลังโจทก์นำยึดที่ดินพิพาทแล้วก็ไม่อาจนำมาใช้ยันโจทก์ได้โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนใบแทนน.ส.3ก.ที่ดินพิพาทและเพิกถอนการจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทระหว่างส. กับจำเลยที่1ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5474/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจของผู้คัดค้านในคดีล้มละลายเหนือทรัพย์สินที่ถูกยึดก่อนล้มละลาย และผลของการทำสัญญาหลังการยึด
ขณะศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของลูกหนี้ถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ในคดีแพ่งแต่การบังคับคดียังไม่สำเร็จบริบูรณ์กำลังประกาศขายทอดตลาดจึงไม่อาจใช้ยันแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านได้ที่ดินพิพาทจึงตกอยู่ในอำนาจจัดการของผู้คัดค้านตามมาตรา 22(1) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เมื่อสิทธิตามสัญญาที่ ส.ขอให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามโดยโอนที่ดินพิพาทให้แก่ ส.นั้น เป็นผลแห่งสัญญาที่ลูกหนี้กระทำขึ้นภายหลังที่ผู้ร้องนำยึดที่ดินพิพาทของลูกหนี้ไว้ในคดีแพ่งแล้ว ซึ่งการก่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึดดังกล่าวไม่อาจใช้ยันแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 305(1) แล้วผลแห่งการนั้นก็ย่อมไม่อาจใช้ยันต่อผู้คัดค้านได้เช่นกันผู้คัดค้านจึงไม่ชอบที่โอนที่ดินพิพาทให้แก่ ส.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5474/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ก่อนล้มละลาย: สิทธิของเจ้าหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ขณะศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ในคดีแพ่ง แต่ก็ปรากฏว่าการบังคับคดียังไม่สำเร็จบริบูรณ์เนื่องจากยังอยู่ในขั้นตอนของการประกาศขายทอดตลาด การยึดทรัพย์ของลูกหนี้ในคดีแพ่งดังกล่าวจึงไม่อาจใช้ยันแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ในคดีล้มละลายได้ ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ลูกหนี้มีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายซึ่งตามกฎหมายให้ถือว่าเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ และทรัพย์สินของลูกหนี้ดังกล่าวย่อมตกอยู่ในอำนาจจัดการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านตามมาตรา 22 (1)แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เว้นเสียแต่ว่าจะมีกฎหมายจำกัดอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้าน เมื่อสิทธิตามสัญญาที่ ส.ขอให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามโดยโอนที่ดินพิพาทให้แก่ ส.นั้น เป็นผลแห่งสัญญาที่ลูกหนี้กระทำขึ้นภายหลังที่ผู้ร้องนำยึดที่ดินพิพาทของลูกหนี้ไว้ในคดีแพ่งแล้ว ซึ่งการก่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึดดังกล่าวไม่อาจใช้ยันแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 305 (1) แล้ว ผลแห่งการนั้นก็ย่อมไม่อาจใช้ยันต่อผู้คัดค้านในคดีล้มละลายได้เช่นกัน เหตุนี้ผู้คัดค้านจึงไม่ชอบที่โอนที่ดินพิพาทให้แก่ ส.ตามสัญญาระหว่างลูกหนี้กับ ส. คำสั่งของผู้คัดค้านที่ให้โอนที่ดินพิพาทให้แก่ ส.จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ซื้อตามสัญญาจะซื้อขายก่อนการยึดทรัพย์ ผู้จัดการมรดกผูกพันตามสัญญา
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องก่อนวันที่จำเลยถึงแก่กรรมผู้ร้องฟ้องล. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยขอให้ศาลบังคับให้ล. จดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องตามสัญญาจะซื้อขายที่จำเลยทำไว้ล. ตกลงประนีประนอมยอมความจดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องตามฟ้องหลังจากโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินทั้งสามโฉนดดังนี้การที่ล. ตกลงประนีประนอมยอมความกับผู้ร้องดังกล่าวหาใช่ล. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยเพิ่งก่อให้เกิดหรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในที่ดินทั้งสามโฉนดที่ถูกยึดภายหลังที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการยึดไว้แล้วไม่แต่เป็นการที่ล. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยยอมรับตามสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่ตามสัญญาที่จำเลยทำไว้ก่อนจำเลยถึงแก่กรรมผู้ร้องจึงมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลบังคับล.ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกซึ่งรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่ที่จำเลยมีอยู่ต่อผู้ร้องจดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องได้และการที่ศาลพิพากษาตามยอมก็เป็นการบังคับให้ปฏิบัติตามกฎหมายตามหน้าที่ที่จำเลยมีอยู่ต่อผู้ร้องในความผูกพันตามสัญญาจะซื้อขายที่จำเลยทำไว้ก่อนถึงแก่กรรมเท่านั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาได้ก่อให้เกิดหรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึดภายหลังที่ได้ทำการยึดไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ซื้อตามสัญญาจะซื้อขายก่อนการยึดทรัพย์: ทายาทผู้จัดการมรดกผูกพันตามสัญญาเดิม
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องก่อนวันที่จำเลยถึงแก่กรรมผู้ร้องฟ้องล. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยขอให้ศาลบังคับให้ล. จดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องตามสัญญาจะซื้อขายที่จำเลยทำไว้ล. ตกลงประนีประนอมยอมความจดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องตามฟ้องหลังจากโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินทั้งสามโฉนดดังนี้การที่ล.ตกลงประนีประนอมยอมความกับผู้ร้องดังกล่าวหาใช่ล.ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยเพิ่งก่อให้เกิดหรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในที่ดินทั้งสามโฉนดที่ถูกยึดภายหลังที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการยึดไว้แล้วไม่แต่เป็นการที่ล. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยยอมรับตามสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่ตามสัญญาที่จำเลยทำไว้ก่อนจำเลยถึงแก่กรรมผู้ร้องจึงมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลบังคับล.ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกซึ่งรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่ที่จำเลยมีอยู่ต่อผู้ร้องจดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องได้และการที่ศาลพิพากษาตามยอมก็เป็นการบังคับให้ปฏิบัติตามกฎหมายตามหน้าที่ที่จำเลยมีอยู่ต่อผู้ร้องในความผูกพันตามสัญญาจะซื้อขายที่จำเลยทำไว้ก่อนถึงแก่กรรมเท่านั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาได้ก่อให้เกิดหรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึดภายหลังที่ได้ทำการยึดไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ซื้อตามสัญญาจะซื้อขายก่อนการยึดทรัพย์: การบังคับคดีไม่กระทบสิทธิของผู้ร้อง
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องก่อนวันที่จำเลยถึงแก่กรรม ผู้ร้องฟ้อง ล. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลย ขอให้ศาลบังคับให้ ล. จดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องตามสัญญาจะซื้อขายที่จำเลยทำไว้ ล. ตกลงประนีประนอมยอมความจดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องตามฟ้องหลังจากโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินทั้งสามโฉนด ดังนี้การที่ ล.ตกลงประนีประนอมยอมความกับผู้ร้องดังกล่าว หาใช่ ล.ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยเพิ่งก่อให้เกิดหรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในที่ดินทั้งสามโฉนดที่ถูกยึดภายหลังที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการยึดไว้แล้วไม่ แต่เป็นการที่ ล. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยยอมรับตามสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่ตามสัญญาที่จำเลยทำไว้ก่อนจำเลยถึงแก่กรรม ผู้ร้องจึงมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลบังคับ ล.ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกซึ่งรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่ที่จำเลยมีอยู่ต่อผู้ร้องจดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องได้ และการที่ศาลพิพากษาตามยอมก็เป็นการบังคับให้ปฏิบัติตามกฎหมายตามหน้าที่ที่จำเลยมีอยู่ต่อผู้ร้องในความผูกพันตามสัญญาจะซื้อขายที่จำเลยทำไว้ก่อนถึงแก่กรรมเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาได้ก่อให้เกิดหรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึดภายหลังที่ได้ทำการยึดไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจากสัญญาจะซื้อขายก่อนยึดทรัพย์: การบังคับตามสัญญาไม่ทำให้สิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึดเปลี่ยนแปลง
จำเลยทำ สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาททั้งสามโฉนดให้แก่ผู้ร้องไว้ก่อนวันที่19มีนาคม2533ซึ่งเป็นวันที่จำเลยถึงแก่กรรมต่อมาวันที่14กันยายน2533ผู้ร้องฟ้อง ล. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยขอให้ศาลบังคับให้ ล.จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาททั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้อง ล. ตกลง ประนีประนอมยอมความยอมจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องศาลได้ พิพากษาตามยอมเมื่อวันที่1กุมภาพันธ์2534ภายหลังที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินไว้ก่อนแล้วเมื่อวันที่18เมษายน2533ดังนี้การที่ ล. ตกลงประนีประนอมยอมความกับผู้ร้องเป็นการยอมรับตามสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่ตามสัญญาจะซื้อขายที่จำเลยทำไว้แก่ผู้ร้องก่อนถึงแก่กรรมหาใช่ ล. เพิ่งก่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในที่ดินที่ถูกยึดภายหลังที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการยึดไว้แล้วไม่และผู้ร้องย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลบังคับ ล. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยซึ่งได้รับมาทั้งสิทธิและหน้าที่ที่จำเลยมีอยู่ต่อผู้ร้องจดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสามโฉนดตามสัญญาจะซื้อขายแก่ผู้ร้องและการที่ศาลพิพากษาตามยอมก็เป็นการบังคับให้ ล. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยปฏิบัติตามที่จำเลยมีอยู่ต่อผู้ร้องเท่านั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาได้ก่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึดภายหลังที่ได้ทำการยึดไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703/2539 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อขายตามสัญญาเดิมยังคงใช้ได้ แม้ผู้ขายถึงแก่กรรม และมีการยึดทรัพย์ ผู้จัดการมรดกต้องปฏิบัติตามสัญญา
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องก่อนวันที่จำเลยถึงแก่กรรม ผู้ร้องฟ้อง ล.ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลย ขอให้ศาลบังคับให้ ล.จดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องตามสัญญาจะซื้อขายที่จำเลยทำไว้ ล.ตกลงประนีประนอมยอมความจดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องตามฟ้องหลังจากโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินทั้งสามโฉนด ดังนี้การที่ ล.ตกลงประนีประนอมยอมความกับผู้ร้องดังกล่าว หาใช่ ล.ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยเพิ่งก่อให้เกิดหรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในที่ดินทั้งสามโฉนดที่ถูกยึดภายหลังที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการยึดไว้แล้วไม่ แต่เป็นการที่ล.ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยยอมรับตามสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่ตามสัญญาที่จำเลยทำไว้ก่อนจำเลยถึงแก่กรรม ผู้ร้องจึงมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลบังคับ ล.ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกซึ่งรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่ที่จำเลยมีอยู่ต่อผู้ร้องจดทะเบียนโอนขายที่ดินทั้งสามโฉนดแก่ผู้ร้องได้ และการที่ศาลพิพากษาตามยอมก็เป็นการบังคับให้ปฏิบัติตามกฎหมายตามหน้าที่ที่จำเลยมีอยู่ต่อผู้ร้องในความผูกพันตามสัญญาจะซื้อขายที่จำเลยทำไว้ก่อนถึงแก่กรรมเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาได้ก่อให้เกิดหรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึดภายหลังที่ได้ทำการยึดไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6840/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดที่ดินตาม ป.ก.ที่ดิน มาตรา 83 และผลของการโอนที่ดินระหว่างอายัดต่อผู้สุจริต
การอายัดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 83 มิได้บัญญัติถึงผลของการอายัดโดยชัดแจ้งว่า หากมีการโอนที่ดินไปยังบุคคลภายนอกในระหว่างอายัดแล้ว นิติกรรมการโอนไม่มีผลบังคับดังเช่นผลการอายัดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนั้นนิติกรรมการโอนที่พิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ขณะที่มีคำขออายัดตามประมวลกฎหมายที่ดิน ยังถือไม่ได้ว่าเป็นนิติกรรมการโอนที่ฝ่าฝืนกฎหมาย และทำให้นิติกรรมการโอนเสียไปและไม่มีผลผูกพัน เพราะถ้าผู้รับโอนได้รับโอนโดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริตมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบแล้วนิติกรรมการโอนดังกล่าวย่อมสมบูรณ์มีผลผูกพันกันได้
of 5