คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ.2478

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 65 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2930/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นเป็นประกันหนี้: ข้อบังคับบริษัทจำกัดไม่ขัดขวางการโอนเมื่อกรรมการลงนามอนุมัติ
โจทก์ ที่ 3 ลงชื่อมอบใบหุ้นในบริษัทจำกัดที่โจทก์ถือไว้แก่ธนาคาร โดยให้โอนหุ้นที่มอบไว้แก่ธนาคารเป็นประกันหนี้ได้ เมื่อโจทก์ไม่ชำระหนี้แก่ธนาคารตามกำหนด ธนาคารโอนหุ้นเป็นของธนาคารและโอนต่อไปยังผู้อื่นได้ตามข้อสัญญานั้น ข้อบังคับของบริษัทที่ว่ากรรมการอาจปฏิเสธการโอนหุ้นได้นั้น ไม่ได้บังคับว่ากรรมการต้องอนุมัติก่อนจึงจะโอนหุ้นได้ เมื่อกรรมการลงชื่อในใบโอนหุ้นแล้ว จะปฏิเสธการโอนภายหลังย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คู่สัญญาโอนหุ้นมีสัญชาติอเมริกัน ตกลงกันว่าได้ทำสัญญาตามกฎหมายอเมริกันให้บังคับตามกฎหมายอเมริกัน ข้อสัญญานี้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1743-1744/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสและการเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายในกรณีไม่มีกฎหมายจดทะเบียน
คนจีนแต่งงานกันในประเทศจีน ซึ่งในขณะนั้นไม่มีกฎหมายให้จดทะเบียนสมรส เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย บุตรที่เกิดจากสามีภริยานี้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสาธารณสมบัติ: สิทธิครอบครองของผู้ได้รับอนุญาตจากนิคมฯ เหนือกว่าการครอบครองโดยมิชอบ
ที่พิพาทเป็นที่ดินอยู่ภายในแนวเขตของการจัดสรรนิคมสร้างตนเองของกรมประชาสงเคราะห์ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 246 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2515 ดังนี้ ที่พิพาทเป็นที่หวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่ตำบลพรหมพิราม ตำบลหนองแขม ตำบลมะต้องตำบลวงฆ้องตำบลหอกลอง ตำบลวัดโบสถ์ และตำบลท่างาม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก พ.ศ.2487 ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ.2478 ถึงแม้ว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 ที่พิพาทคงเป็นที่หวงห้ามต่อไปตลอดมาจนบัดนี้ ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 นั้นที่พิพาทย่อมเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 โจทก์ครอบครองที่พิพาทมาประมาณ 14-15 ปี แต่ก็เป็นระยะเวลาภายหลังที่ที่พิพาทตกเป็นที่หวงห้ามตามกฎหมายแล้ว และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ การครอบครองที่พิพาทของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายจำเลยทั้งสี่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำกินในที่พิพาทโดยเจ้าหน้าที่ของนิคมสร้างตนเองของกรมประชาสงเคราะห์เป็นผู้จัดให้เช่นนี้ จำเลยทั้งสี่ย่อมมีสิทธิครอบครองที่พิพาท การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่พิพาท และไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสาธารณสมบัติ – สิทธิครอบครอง – การจัดสรรนิคม – การครอบครองก่อนกฎหมายหวงห้าม
ที่พิพาทเป็นที่ดินอยู่ภายในแนวเขตของการจัดสรรนิคมสร้างตนเองของกรมประชาสงเคราะห์ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 246 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2515 ดังนี้ ที่พิพาทเป็นที่หวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่ตำบลพรหมพิราม ตำบลหนองแขม ตำบลมะต้อง ตำบลวงฆ้อง ตำบลหอกลอง ตำบลวัดโบสถ์ และตำบลท่างาม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. 2487 ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญํติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2478 ถึงแม้ว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ที่พิพาทคงเป็นที่หวงห้ามต่อไปตลอดมาจนบัดนี้ ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 นั้น ที่พิพาทย่อมเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 โจทก์ครอบครองที่พิพาทมาประมาณ 14 - 15 ปี แต่ก็เป็นระยะเวลาภายหลังที่ที่พิพาทตกเป็นที่หวงห้ามตามกฎหมายแล้ว และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ การครอบครองที่พิพาทของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยทั้งสี่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำกินในที่พิพาทโดยเจ้าหน้าที่ของนิคมสร้างตนเองของกรมประชาสงเคราะห์เป็นผู้จัดให้เช่นนี้ จำเลยทั้งสี่ย่อมมีสิทธิครอบครองที่พิพาท การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่พิพาท และไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776-794/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินรกร้างถูกหวงห้ามเพื่อจัดตั้งนิคมฯ โจทก์เข้าทำกินภายหลัง สิทธิครอบครองไม่สมบูรณ์ ยันจำเลยไม่ได้
ที่พิพาทเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่ามาตั้งแต่ปี 2478 ต่อมามีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามในท้องที่ตำบลพรหมพิราม ฯลฯพ.ศ.2487 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินพ.ศ.2478 กำหนดเขตหวงห้ามในที่ดินดังกล่าว โดยหวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ในการจัดตั้งนิคมกสิกรตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2485ซึ่งต่อมาได้มีพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ใช้บังคับติดต่อกันมา หลังจากนั้นทางราชการได้ประกาศจัดตั้งนิคมสร้างตนเองทุ่งสาน มีอาณาเขตคลุมถึงที่พิพาทด้วยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 246 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2515 ดังนี้ เห็นได้ว่าที่พิพาทมิใช่เป็นเพียงที่ดินรกร้างว่างเปล่าธรรมดา หากแต่เป็นที่ดินซึ่งได้หวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ทางราชการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ.2478 ตั้งแต่ปี 2487 ตลอดมาอีกด้วย แม้พระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินพ.ศ.2478 จะได้ถูกยกเลิกไปโดยพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 4(6) แต่พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 10 ก็บัญญัติว่าที่ดินซึ่งได้หวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ.2478 หรือตามกฎหมายอื่นอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ ให้คงเป็นที่หวงห้ามต่อไปดังนั้นแม้โจทก์จะได้เข้าครอบครองและทำกินในที่พิพาทมาตั้งแต่ปี 2507 จนบัดนี้ก็เป็นการเข้ายึดถือที่ดินซึ่งทางราชการได้ประกาศหวงห้ามแล้วเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย หากจะถือว่าโจทก์ได้สิทธิครอบครอง ก็ไม่อาจใช้สิทธิยันจำเลยซึ่งเป็นหน่วยราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776-794/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินรกร้างว่างเปล่าถูกหวงห้ามเพื่อจัดตั้งนิคมฯ โจทก์เข้าครอบครองภายหลังมิอาจใช้สิทธิอ้างการครอบครอง
ที่พิพาทเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่ามาตั้งแต่ปี 2478 ต่อมามีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามในท้องที่ตำบลพรหมพิราม ฯลฯ พ.ศ.2487 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่า อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ.2478 กำหนดเขตหวงห้ามในที่ดินดังกล่าว โดยหวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ในการจัดตั้งนิคมกสิกรตามพระราชบัญญัติจัด ที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2485 ซึ่งต่อมาได้มีพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ใช้บังคับต่อกันมา หลังจากนั้นทางราชการได้ประกาศจัดตั้งนิคมสร้างตนเองทุ่งสาน มีอาณาเขตคลุมถึงที่พิพาทด้วยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 246 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2515 ดังนี้ เห็นได้ว่าที่พิพาทมิใช่เป็นเพียงที่ดินรกร้างว่างเปล่าธรรมดา หากแต่เป็นที่ดินซึ่งได้หวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ทางราชการ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ.2478 ตั้งแต่ปี 2487 ตลอดมาอีกด้วย แม้พระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ.2478 จะได้ถูกยกเลิกไปโดยพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 4(6) แต่พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 10 ก็บัญญัติว่า ที่ดินซึ่งได้หวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ.2478 หรือตามกฎหมายอื่นอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ ให้คงเป็นที่หวงห้ามต่อไปดังนั้น แม้โจทก์จะได้เข้าครอบครองและทำกินในที่พิพาทมาตั้งแต่ปี 2507 จนบัดนี้ ก็เป็นการเข้ายึดถือที่ดินซึ่งทางราชการได้ประกาศหวงห้ามแล้วเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายหากจะถือว่าโจทก์ได้สิทธิ ครอบครอง ก็ไม่อาจใช้สิทธิ+จำเลยซึ่งเป็นหน่วยราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 770/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกสาธารณสมบัติของแผ่นดินของปลัดจังหวัดรักษาราชการแทน และผลของประกาศหวงห้ามที่ดินก่อนมีกฎหมาย
จังหวัดโดยปลัดจังหวัดรักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน โดยอ้างว่ามีอำนาจหน้าที่คุ้มครองดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495มาตรา 37(7) แต่ขณะฟ้อง มาตรา 37 นั้นได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2499 เปลี่ยนแปลงอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินของผู้ว่าราชการจังหวัดหลายประการ แต่ไม่มีประเด็นว่ากล่าวกันมาในศาลล่าง ทั้งคู่ความก็มิได้ยกขึ้นเป็นข้อฎีกา แม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลฎีกาไม่เห็นสมควร ก็ไม่หยิบยกขึ้นวินิจฉัย
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 37(7) ซึ่งบัญญัติให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่คุ้มครองดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจดำเนินคดีฟ้องร้องผู้บุกรุกหรือไม่มีสิทธิอยู่ในสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้ออกไปได้ โดยกฎหมายหาจำต้องบัญญัติไว้โดยเฉพาะเจาะจงไม่อำนาจเช่นว่านี้เป็นอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ย่อมตกเป็นอำนาจหน้าที่ของปลัดจังหวัดผู้รักษาราชการแทน ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 36 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 11
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น ตามธรรมดารัฐย่อมจัดใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันได้ วิธีการที่จะหวงห้ามย่อมแตกต่างกันตามกาลสมัยเพิ่งมาบัญญัติเป็นกฎหมายขึ้นใช้บังคับเมื่อ พ.ศ.2478 โดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่า พ.ศ. 2478ซึ่งให้หวงห้ามโดยวิธีการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ก่อนหน้านั้นหาได้มีกฎหมายบังคับไว้อย่างไรไม่ ดังนั้น ในปี พ.ศ.2473 สมุหเทศาภิบาลผู้ว่าราชการมณฑลในขณะนั้น อันเป็นผู้แทนส่วนหนึ่งของรัฐย่อมออกเป็นประกาศสงวนหวงห้ามที่รกร้างว่างเปล่า มิให้ผู้ใดเข้าโก่นสร้างเหยียบย่ำจับจองหรือถือกรรมสิทธิ์โดยพลการได้ ประกาศนั้นมีผลใช้บังคับตามกฎหมาย
ที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินหวงห้ามตามประกาศของสมุหเทศาภิบาลและประกาศกระทรวงมหาดไทย การที่จำเลยเข้าครอบครองสาธารณสมบัติของแผ่นดินหาก่อให้เกิดสิทธิแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 770/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกสาธารณสมบัติแผ่นดินของปลัดจังหวัดรักษาราชการแทนผู้ว่าฯ และผลใช้บังคับของประกาศหวงห้ามที่ดิน
จังหวัดโดยปลัดจังหวัดรักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากสาธารณะสมบัติของแผ่นดินโดยอ้างว่ามีอำนาจหน้าที่คุ้มครองดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495มาตรา 37(7) แต่ขณะฟ้อง มาตรา 37 นั้นได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน(ฉบับที่ 3)พ.ศ.2499 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2499 เปลี่ยนแปลงอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินของผู้ว่าราชการจังหวัดหลายประการแต่ไม่มีประเด็นว่ากล่าวกันมาในศาลล่าง ทั้งคู่ความก็มิได้ยกขึ้นเป็นข้อฎีกา แม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อศาลฎีกาไม่เห็นสมควร ก็ไม่หยิบยกขึ้นวินิจฉัย
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495มาตรา 37(7) ซึ่งบัญญัติให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่คุ้มครองดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจดำเนินคดีฟ้องร้องผู้บุกรุกหรือไม่มีสิทธิอยู่ในสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้ออกไปได้ โดยกฎหมายหาจำต้องบัญญัติไว้โดยเฉพาะเจาะจงไม่อำนาจเช่นว่านี้เป็นอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ย่อมตกเป็นอำนาจหน้าที่ของปลัดจังหวัดผู้รักษาราชการแทน ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 36แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 11
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น ตามธรรมดารัฐย่อมจัดใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันได้วิธีการที่จะหวงห้ามย่อมแตกต่างกันตามกาลสมัยเพิ่งมาบัญญัติเป็นกฎหมายขึ้นใช้บังคับเมื่อ พ.ศ.2478 โดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่า พ.ศ. 2478ซึ่งให้หวงห้ามโดยวิธีการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ก่อนหน้านั้นหาได้มีกฎหมายบังคับไว้อย่างไรไม่ดังนั้น ในปี พ.ศ.2473 สมุหเทศาภิบาลผู้ว่าราชการมณฑลในขณะนั้นอันเป็นผู้แทนส่วนหนึ่งของรัฐย่อมออกเป็นประกาศสงวนหวงห้ามที่รกร้างว่างเปล่า มิให้ผู้ใดเข้าโก่นสร้างเหยียบย่ำจับจองหรือถือกรรมสิทธิ์โดยพลการได้ ประกาศนั้นมีผลใช้บังคับตามกฎหมาย
ที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินหวงห้ามตามประกาศของสมุหเทศาภิบาลและประกาศกระทรวงมหาดไทย การที่จำเลยเข้าครอบครองสาธารณสมบัติของแผ่นดินหาก่อให้เกิดสิทธิแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 281/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่สาธารณประโยชน์: การพิสูจน์ความเป็นที่สาธารณะโดยการใช้ประโยชน์กว่า 50 ปี และอำนาจสั่งการของปลัดอำเภอ
ฟ้องหาว่าจำเลยขัดคำสั่งเจ้าพนักงานที่สั่งให้จำเลยออกไปจากที่สาธารณประโยชน์ ได้บรรยายว่าที่สาธารณประโยชน์นั้นอยู่ตำบล อำเภอใด และวันเดือนปีที่จำเลยได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงาน อันเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับวันเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำผิด อีกทั้งได้กล่าวถึงบุคคลและสิ่งที่เกี่ยวข้องพอสมควร เท่าที่จำเลยพอเข้าใจข้อหาได้แล้ว ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดีและหลงต่อสู้ จึงไม่เคลือบคลุม (จำเลยอ้างว่า ฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยบุกรุกเมื่อใด ที่ที่บุกรุกอยู่ตรงไหน เนื้อที่เท่าใดได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่สาธารณประโยชน์เมื่อใด ประกาศให้ประชาชนทราบเมื่อใด ไม่ได้ประกาศในราชกิจจาฯ หรือออกเป็นพระราชกฤษฎีกา โจทก์ไม่เสนอประกาศมาพร้อมฟ้อง)
ที่สำหรับราษฎรใช้เลี้ยงสัตว์ร่วมกันอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(2) ทั้งเป็นมาไม่น้อยกว่า 50 ปี มีมาก่อนประกาศบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าฯ พ.ศ.2478 ไม่ต้องออกพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามหรือสงวนแต่ประการใด ทางราชการจะประกาศขึ้นทะเบียนเป็นที่สาธารณประโยชน์หรือไม่ ไม่ใช่สารสำคัญ
ฟ้องโจทก์กล่าวว่า ปลัดกิ่งอำเภอฯ ได้สั่งให้จำเลยรื้อถอนและออกจากที่สาธารณประโยชน์ตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด ย่อมเห็นได้ว่ามุ่งหมายเอาการสั่งของปลัดอำเภอเป็นสำคัญ ส่วนที่กล่าวถึงคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดด้วยนั้น เป็นแต่เพียงขยายความ จะถือว่าเมื่อปลัดอำเภอไม่ได้สั่งเองโดยลำพังแล้ว เท่ากับมิได้เป็นผู้สั่งหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 281/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่สาธารณประโยชน์โดยอายุความ - คำสั่งเจ้าพนักงาน - ฟ้องไม่เคลือบคลุม
ฟ้องหาว่าจำเลยขัดคำสั่งเจ้าพนักงานที่สั่งให้จำเลยออกไปจากที่สาธารณประโยชน์ ได้บรรยายว่าที่สาธารณประโยชน์นั้นอยู่ตำบล อำเภอใด และวันเดือนปีที่จำเลยได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงาน อันเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับวันเวลา และสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำผิด อีกทั้งได้กล่าวถึงบุคคลและสิ่งที่เกี่ยวข้องพอสมควร เท่าที่จำเลยพอเข้าใจข้อหาได้แล้ว ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดีและหลงข้อต่อสู้ จึงไม่เคลือบคลุม (จำเลยอ้างว่า ฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยบุกรุกเมื่อใด ที่ที่บุกรุกอยู่ตรงไหน เนื้อที่เท่าใด ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่สาธารณประโยชน์เมื่อใด ประกาศให้ประชาชนทราบเมื่อใด ไม่ได้ประกาศในราชกิจจาฯ หรือออกเป็นพระราชกฤษฎีกา โจทก์ไม่เสนอประกาศมาพร้อมฟ้อง)
ที่สำหรับราษฎรใช้เลี้ยงสัตว์ร่วมกันอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (2) ทั้งเป็นมาไม่น้อยกว่า 50 ปี มีมาก่อนประกาศบังคับให้พระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าฯ พ.ศ. 2478 ไม่ต้องออกพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามหรือสงวนแต่ประการใด ทางราชการจะประกาศขึ้นทะเบียนเป็นที่สาธารณประโยชน์หรือไม่ ไม่ใช่สาระสำคัญ
ฟ้องโจทก์กล่าวว่า ปลัดกิ่งอำเภอฯ ได้สั่งให้จำเลยรื้อถอนและออกจากที่สาธารณประโยชน์ตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมเห็นได้ว่ามุ่งหมายเอาการสั่งของปลัดอำเภอเป็นสำคัญ ส่วนที่กล่าวถึงคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดด้วยนั้น เป็นแต่เพียงขยายความ จะถือว่าเมื่อปลัดอำเภอไม่ได้สั่งเองโดยลำพังแล้ว เท่ากับมิได้เป็นผู้สั่งหาได้ไม่
of 7