พบผลลัพธ์ทั้งหมด 150 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2858/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์ในคดีไม้หวงห้าม จำเลยต้องพิสูจน์ที่มาของไม้ หากไม่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายถือว่าผิด
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์มีภาระพิสูจน์ว่าไม้พะยูงของกลางเป็นไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่านั้น เห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีไม้พะยูงอันยังมิได้แปรรูปไว้ในความครอบครองโดยพิสูจน์ไม่ได้ว่าได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย และมีไม้พะยูงแปรรูปไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48, 69 และ 73 ตามคำฟ้องโจทก์ดังกล่าว หากจำเลยจะต่อสู้ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด จำเลยจะต้องพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าไม้ท่อนของกลางเป็นไม้ที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 69 วรรคหนึ่ง ส่วนไม้แปรรูปของกลางก็ต้องพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าเป็นกรณีเข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 50 (4) เมื่อมาตรา 69 วรรคหนึ่งและมาตรา 50 (4) ได้บัญญัติในเรื่องภาระการพิสูจน์ไว้เป็นการเฉพาะเช่นนี้แล้ว แม้ต่อมาภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วมี พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2562 มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา 7 ไม้ชนิดใดที่ขึ้นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใด ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา สำหรับไม้ทุกชนิดที่ขึ้นในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน ไม่เป็นไม้หวงห้าม หรือไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ตามประเภทหนังสือแสดงสิทธิที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้ถือว่าไม่เป็นไม้หวงห้าม" บทบัญญัติมาตรา 7 วรรคหนึ่งที่แก้ไขใหม่ดังกล่าวก็หามีผลทำให้โจทก์มีภาระพิสูจน์ถึงที่มาของไม้ท่อนและไม้แปรรูปของกลางไม่ แต่ยังคงเป็นภาระของจำเลยที่ได้ประโยชน์จากกฎหมายดังกล่าวในการนำสืบข้อเท็จจริงอันจะทำให้ตนพ้นผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3986-3987/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานทำไม้หวงห้าม-ลักทรัพย์เป็นกรรมเดียว โทษจำคุกตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
ความผิดฐานลักทรัพย์จะเกิดขึ้นได้จะต้องมีการจัดโค่นต้นยางลงก่อน ดังนั้นความผิดฐานทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาตและความผิดฐานลักทรัพย์ จึงเกิดขึ้นในคราวเดียวกัน ไม่สามารถแยกเจตนาออกจากกันได้ เป็นการกระทำที่มีเจตนาเดียวการกระทำของจำเลยที่ 4 จึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษฐานทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 และเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่มิได้ฎีกาด้วยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8371/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01: ที่ดินของรัฐ – การทำไม้หวงห้ามในพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน
พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 36 ทวิ วรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้ ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ใด ๆ ที่ได้มาก็เพื่อนำไปใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มิได้มุ่งหมายให้ ส.ป.ก. มีกรรมสิทธิ์เช่นเดียวกับเจ้าของทรัพย์สินทั่วไปที่มีสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 เมื่อที่ดินพิพาทเดิมเป็นป่าสงวนแห่งชาติเป็นที่ดินของรัฐ แม้ถูกเพิกถอนสภาพจากการเป็นป่าสงวนแห่งชาติอันเนื่องจากการดำเนินการตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 26 (4) ก็ยังคงเป็นที่ดินของรัฐอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนประเภทของที่ดิน วัตถุประสงค์และการใช้ประโยชน์ในที่ดินและเปลี่ยนหน่วยงานของรัฐผู้ดูแลและใช้ประโยชน์ในที่ดินจากกรมป่าไม้เป็น ส.ป.ก. โดยให้ ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามมาตรา 36 ทวิ ยังคงเป็นที่ดินของรัฐตาม ป.ดิน มาตรา 2 ไม่อาจถือได้ว่า ส.ป.ก. เป็นบุคคลผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามกฎหมายอื่นตาม ป.ที่ดิน มาตรา 3 (2) ที่ดินพิพาทจึงไม่มีบุคคลใดมาตามกฎหมายที่ดิน การที่ ส.ป.ก. ออกเอกสาร ส.ป.ก. 4-01 ก. ให้แก่เกษตรกรจึงเป็นเพียงหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินเท่านั้นไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสถานะทางกฎหมายของที่ดินนั้น
การที่ ส. ได้ที่ดินที่มีเอกสาร ส.ป.ก. 4-01 ก. มาไม่อาจถือได้ว่าเป็นการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามกฎหมายอื่นตาม ป.ที่ดิน มาตรา 3 (2) จึงยังมิได้มีบุคคลได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดิน และยังคงเป็นป่าตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 4 (1) การที่จำเลยที่ 1 ตัดฟันโค่นไม้ประดู่อันเป็นไม่หวงห้ามประเภท ก. ในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ก. ของ ส. โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงมีความผิดฐานทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต
การที่ ส. ได้ที่ดินที่มีเอกสาร ส.ป.ก. 4-01 ก. มาไม่อาจถือได้ว่าเป็นการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามกฎหมายอื่นตาม ป.ที่ดิน มาตรา 3 (2) จึงยังมิได้มีบุคคลได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดิน และยังคงเป็นป่าตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 4 (1) การที่จำเลยที่ 1 ตัดฟันโค่นไม้ประดู่อันเป็นไม่หวงห้ามประเภท ก. ในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ก. ของ ส. โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงมีความผิดฐานทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5804/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้หวงห้าม: การจำแนกประเภทไม้และการพิพากษาคดีทำไม้ในเขตป่าสงวน
พระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ.2530 มิได้กำหนดให้ไม้มะกอกทุกชนิดในป่าเป็นไม้หวงห้าม คงมีลำดับที่ 110 ที่กำหนดให้มะเกิ้ม มะเหลี่ยม มะกอกเหลี่ยม มะจิ้น มะกอกเลือด มะกอกเกลื้อน มะเลื่อมและมะกอกเลื่อม ซึ่งเป็นพรรณไม้สกุล Canarium เท่านั้น เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม้มะกอกทั่วไปซึ่งมิใช่พรรณไม้ในสกุลดังกล่าว จึงมิใช่ไม้หวงห้ามตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 737/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีไม้แปรรูปและไม้หวงห้าม การแยกความผิดหลายกรรมต่างกัน และการพิจารณาโทษ
การกระทำความผิดฐานร่วมกันมีไม้หวงห้ามที่ยังมิได้แปรรูปโดยไม่มีรอยตราค่าภาคหลวงหรือรอยตรารัฐบาลขายและโดยพิสูจน์ไม่ได้ว่าได้ไม้นั้นมาโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นความผิดตามมาตรา 69 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ กระทงหนึ่งส่วนความผิดฐานมีไม้แปรรูปเกิน 0.20 ลูกบาศก์เมตร โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดตามมาตรา 48 ซึ่งมีโทษตามมาตรา 73 แห่ง พ.ร.บ. เดียวกันอีกระทงหนึ่ง หาใช่เป็นความผิดในบทบัญญัติเดียวกันไม่ เมื่อ ป.อ. มาตรา 91 ซึ่งบัญญัติถึงการกระทำความผิดหลายกรรมมิได้บัญญัติว่าการกระทำความผิดหลายกรรมจะเกิดขึ้นในวาระเดียวกันไม่ได้ ทั้งการที่กฎหมายบัญญัติบทความผิดและบทลงโทษไว้คนละมาตราย่อมเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่ามีความประสงค์จะแยกความผิด 2 ฐานนี้ออกจากกัน ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 จะมีไม้แปรรูปและไม้หวงห้ามที่ยังไม่ได้แปรรูปดังกล่าวไว้ในครอบครองในคราวเดียวกัน ก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้ชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ร่วมกันมีไม้หวงห้ามซึ่งยังไม่ได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม้เหล่านี้ไม่มีรอยตราค่าภาคหลวงหรือรอยตรารัฐบาลขายและภายหลังร่วมกันแปรรูปไม้แล้วจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ร่วมกันมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครอง แม้จะบรรยายถึงมูลเหตุจูงใจของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ด้วยว่า การทำไม้และแปรรูปไม้ดังกล่าว เป็นการกระทำตามที่ได้รับการใช้จ้างวานจากจำเลยที่ 6 ก็ไม่ได้หมายความว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 จะไม่สามารถเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดในฐานดังกล่าวได้ เพราะไม่ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 จะมีมูลเหตุจูงใจอย่างไรก็ไม่เป็นเหตุให้การกระทำที่ครบองค์ประกอบความผิดแล้วกลับกลายเป็นเพียงผู้สนับสนุนได้
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้ชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ร่วมกันมีไม้หวงห้ามซึ่งยังไม่ได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม้เหล่านี้ไม่มีรอยตราค่าภาคหลวงหรือรอยตรารัฐบาลขายและภายหลังร่วมกันแปรรูปไม้แล้วจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ร่วมกันมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครอง แม้จะบรรยายถึงมูลเหตุจูงใจของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ด้วยว่า การทำไม้และแปรรูปไม้ดังกล่าว เป็นการกระทำตามที่ได้รับการใช้จ้างวานจากจำเลยที่ 6 ก็ไม่ได้หมายความว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 จะไม่สามารถเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดในฐานดังกล่าวได้ เพราะไม่ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 จะมีมูลเหตุจูงใจอย่างไรก็ไม่เป็นเหตุให้การกระทำที่ครบองค์ประกอบความผิดแล้วกลับกลายเป็นเพียงผู้สนับสนุนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7502/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีไม้แปรรูปและเคลื่อนย้ายไม้จากสิ่งปลูกสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลลดโทษและรอการลงโทษ
ความผิดฐานร่วมกันมีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครองภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ มาตรา 48 วรรคหนึ่ง, 73 อาศัยเจตนาในการกระทำความผิดต่างจากความผิดฐานร่วมกันนำไม้สักที่เคยอยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือเคยอยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ และพ้นจากสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือเครื่องใช้มาแล้วกว่าห้าปี เคลื่อนย้ายออกนอกเขตจังหวัดซึ่งเป็นที่ตั้งสิ่งปลูกสร้างหรือเป็นที่ประกอบเครื่องใช้นั้นโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ มาตรา 39 ตรี วรรคหนึ่ง,71 ทวิ จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4095/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จ-ทำไม้ผิดกฎหมาย: ศาลยืนโทษจำคุก แม้มีภาระครอบครัว เหตุพฤติการณ์ร้ายแรง
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานป่าไม้โดยยื่นคำขอขึ้นทะเบียนที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นที่นาไม่มีต้นไม้เป็นสวนป่า เพื่อจะทำไม้ในป่าแล้วนำมาสวมเข้าเป็นไม้ในสวนป่าของตนที่ยื่นคำขอ และร่วมกับพวกทำไม้ในป่า โดยตัด ฟัน เลื่อย โค่น ไม้สัก ซึ่งเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. จำนวนมากถึง 164 ท่อน ปริมาตร 31.43 ลูกบาศก์เมตร และร่วมกันม่ไม้สักอันยังมิได้แปรรูปจำนวนดังกล่าวไว้ในครอบครองโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายแล้วร่วมกันใช้ตราสวนป่าซึ่งจำเลยที่ 1 ได้มาจากการแจ้งความเท็จตีตอกหรือประทับหรือแสดงการเป็นเจ้าของไม้บนไม้สักดังกล่าว ซึ่งมิได้มาจากการทำสวนป่า ลักษณะของการกระทำความผิดเป็นการกระทำที่คำนึงถึงแต่ประโยชน์ส่วนตัวและไม่ยำเกรงต่อกฎหมาย นับเป็นพฤติการณ์ร้ายแรง แม้จำเลยที่ 1 มีภาระต้องรับผิดชอบต่อครอบครัว แต่เป็นเพียงเหตุผลและความจำเป็นส่วนตัว จึงยังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะให้ความปรานีแก่จำเลยที่ 1 โดยการรอการลงโทษให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3899/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับของผิดกฎหมาย และการแยกความผิดเป็นหลายกรรมต่างกัน
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยว่า ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับ เลื่อยโซ่ยนต์ ของกลางสมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่ และความผิดของจำเลยตามฟ้องเป็นการกระทำเพียงกรรมเดียว หรือหลายกรรมต่างกัน แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วใน ศาลล่างทั้งสอง แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจำเลยย่อมยกขึ้นฎีกาได้ โจทก์ระบุในฟ้องแล้วว่า จำเลยได้บังอาจซื้อ รับจำนำ หรือ รับไว้ซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์ ของกลาง และได้ช่วยพาเอาไปเสีย ช่วยจำหน่าย ช่วยซ่อนเร้นซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์ ดังกล่าว โดยจำเลย รู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ผู้อื่นได้ลักลอบนำหนีศุลกากรเข้ามา ในราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงอากรที่จะต้องเสียสำหรับของนั้น ทั้งนี้ โดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และคำขอท้ายฟ้อง โจทก์อ้าง พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ และ พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499 มาตรา 4 เช่นนี้ นับว่าเพียงพอที่จะฟังได้ว่าเลื่อยโซ่ยนต์ ของกลางเป็นของต้องห้าม ต้องกำ กัดตามกฎหมายในการนำเข้าและต้องชำระภาษี โจทก์หาจำต้องระบุว่าเป็นของต้องห้ามต้องกำ กัดตามประกาศ ของกระทรวงใดอีกไม่ ถือได้ว่าฟ้องโจทก์เกี่ยวกับเลื่อยโซ่ยนต์ ของกลางสมบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) และ (6) แล้ว การพิจารณาว่า การกระทำเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน มิใช่จะพิจารณาแต่เพียงว่า ถ้าเป็นการกระทำความผิดหลายฐานในครั้งเดียวคราวเดียวแล้วจะต้องเป็นกรรมเดียวเสมอไป การกระทำความผิดหลายฐานในครั้งเดียวคราวเดียวอาจเป็นหลายกรรมต่างกันได้ หากผู้กระทำมีเจตนาที่จะให้เกิดผลต่างกันหรือประสงค์จะให้เกิดผลเป็นความผิดหลายฐาน การที่ตามวันเวลาเกิดเหตุซึ่งเจ้าพนักงานจับจำเลยพร้อมยึดของกลางในคดีในข้อหาความผิด ทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แปรรูปไม้ มีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครอง เกิน 0.20 ลูกบาศก์เมตร โดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายและซื้อ รับจำนำหรือรับไว้ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาใน ราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร กรณีมิใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2650/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองไม้หวงห้ามเพื่อแปรรูปให้ผู้อื่นถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ การรับสารภาพรวมถึงการแปรรูปในเขตควบคุม
คำว่า "ครอบครอง" ตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ. 2484 หมายความรวมถึงครอบครองเพื่อตนเองและครอบครองแทนผู้อื่นด้วย เพราะไม่มีบทกฎหมายใดจำกัดว่าต้องเป็นการครอบครองเพื่อตนเองเท่านั้นจึงจะเป็นความผิดอีกทั้งในทางอาญา การร่วมกันครอบครองไม้หวงห้ามก็เป็นความผิดเช่นเดียวกันดังนั้นการที่จำเลยครอบครองไม้ยูง ซึ่งเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. เพื่อแปรรูปให้ผู้ว่าจ้างจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ เดิมจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทุกข้อหา ก่อนสืบพยานโจทก์จำเลยขอถอนคำให้การเดิมที่ปฏิเสธฟ้องโจทก์ทุกข้อหา เป็นขอให้การรับสารภาพในข้อหาร่วมกับพวกแปรรูปไม้ยูงโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนข้อหาอื่นคงให้การปฏิเสธเมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้กล่าวในฟ้องตอนต้นแล้วว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกประกาศให้กำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตลอดเขตท้องที่จังหวัดทุกจังหวัด โดยประกาศดังกล่าวทางราชการได้คัดสำเนาประกาศไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการกำนันและที่สาธารณสถานในท้องที่ที่เกี่ยวข้อง และในท้องที่ที่เกิดเหตุคดีนี้ให้ทราบโดยทั่วกัน และกล่าวในฟ้องต่อไปว่า จำเลยกับพวกร่วมกันแปรรูปไม้ยูงโดยร่วมกันเลื่อยเพื่อ เปิดปักไม้อันเป็นการทำให้ไม้เปลี่ยนรูปและขนาดไปจากเดิม ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ โดยไม่ได้รับอนุญาต จากพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ในข้อหาร่วมกับพวกแปรรูปไม้ยูงโดยไม่ได้รับอนุญาตตามฟ้อง ย่อมเป็นการรับสารภาพตามข้อความที่โจทก์กล่าวในฟ้อง คำให้การรับสารภาพของจำเลยจึงรวมถึงการแปรรูปไม้ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้และรวมถึงการคัดสำเนาประกาศไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอและที่ทำการกำนันหรือที่สาธารณสถานในท้องที่ที่เกี่ยวข้องและในท้องที่ที่เกิดเหตุคดีนี้ด้วย โจทก์จึงไม่จำต้องสืบพยานถึงการปิดสำเนาประกาศดังกล่าว ความผิดตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484มาตรา 48 วรรคหนึ่ง,73 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพ้นบาทถึงสองแสนบาท เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องศาลย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานในข้อหาความผิดนี้ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2650/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.ป่าไม้: ครอบครอง/แปรรูปไม้หวงห้ามในเขตควบคุม แม้รับสารภาพเฉพาะบางข้อหา ศาลใช้ประโยชน์จากคำรับสารภาพทั้งหมดได้
คำว่า "ครอบครอง" ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484หมายความรวมถึงครอบครองเพื่อตนเองและครอบครองแทนผู้อื่นด้วย เพราะไม่มีบทกฎหมายใดจำกัดว่าต้องเป็นการครอบครองเพื่อตนเองเท่านั้นจึงจะเป็นความผิดอีกทั้งในทางอาญา การร่วมกันครอบครองไม้หวงห้ามก็เป็นความผิดเช่นเดียวกันดังนั้นการที่จำเลยครอบครองไม้ยูงซึ่งเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.เพื่อแปรรูปให้ผู้ว่าจ้างจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
เดิมจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทุกข้อหา ก่อนสืบพยานโจทก์จำเลยขอถอนคำให้การเดิมที่ปฏิเสธฟ้องโจทก์ทุกข้อหา เป็นขอให้การรับสารภาพในข้อหาร่วมกับพวกแปรรูปไม้ยูงโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนข้อหาอื่นคงให้การปฏิเสธเมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้กล่าวในฟ้องตอนต้นแล้วว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร-และสหกรณ์ได้ออกประกาศให้กำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตลอดเขตท้องที่จังหวัดทุกจังหวัด โดยประกาศดังกล่าวทางราชการได้คัดสำเนาประกาศไว้ ณ ที่ว่าการ-อำเภอ ที่ทำการกำนัน และที่สาธารณสถานในท้องที่ที่เกี่ยวข้อง และในท้องที่ที่เกิดเหตุคดีนี้ให้ทราบโดยทั่วกัน และกล่าวในฟ้องต่อไปว่า จำเลยกับพวกร่วมกันแปรรูปไม้ยูงโดยร่วมกันเลื่อยเพื่อเปิดปีกไม้อันเป็นการทำให้ไม้เปลี่ยนรูปและขนาดไปจากเดิมภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงาน-เจ้าหน้าที่ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาร่วมกับพวกแปรรูปไม้ยูงโดยไม่ได้รับอนุญาตตามฟ้อง ย่อมเป็นการรับสารภาพตามข้อความที่โจทก์กล่าวในฟ้อง คำให้การรับสารภาพของจำเลยจึงรวมถึงการแปรรูปไม้ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้และรวมถึงการคัดสำเนาประกาศไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอและที่ทำการกำนันหรือที่สาธารณสถานในท้องที่ที่เกี่ยวข้องและในท้องที่ที่เกิดเหตุคดีนี้ด้วย โจทก์จึงไม่จำต้องสืบพยานถึงการปิดสำเนาประกาศดังกล่าว
ความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง,73 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองแสนบาท เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องศาลย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานในข้อหาความผิดนี้ได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 176 วรรคหนึ่ง
เดิมจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทุกข้อหา ก่อนสืบพยานโจทก์จำเลยขอถอนคำให้การเดิมที่ปฏิเสธฟ้องโจทก์ทุกข้อหา เป็นขอให้การรับสารภาพในข้อหาร่วมกับพวกแปรรูปไม้ยูงโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนข้อหาอื่นคงให้การปฏิเสธเมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้กล่าวในฟ้องตอนต้นแล้วว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร-และสหกรณ์ได้ออกประกาศให้กำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตลอดเขตท้องที่จังหวัดทุกจังหวัด โดยประกาศดังกล่าวทางราชการได้คัดสำเนาประกาศไว้ ณ ที่ว่าการ-อำเภอ ที่ทำการกำนัน และที่สาธารณสถานในท้องที่ที่เกี่ยวข้อง และในท้องที่ที่เกิดเหตุคดีนี้ให้ทราบโดยทั่วกัน และกล่าวในฟ้องต่อไปว่า จำเลยกับพวกร่วมกันแปรรูปไม้ยูงโดยร่วมกันเลื่อยเพื่อเปิดปีกไม้อันเป็นการทำให้ไม้เปลี่ยนรูปและขนาดไปจากเดิมภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงาน-เจ้าหน้าที่ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาร่วมกับพวกแปรรูปไม้ยูงโดยไม่ได้รับอนุญาตตามฟ้อง ย่อมเป็นการรับสารภาพตามข้อความที่โจทก์กล่าวในฟ้อง คำให้การรับสารภาพของจำเลยจึงรวมถึงการแปรรูปไม้ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้และรวมถึงการคัดสำเนาประกาศไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอและที่ทำการกำนันหรือที่สาธารณสถานในท้องที่ที่เกี่ยวข้องและในท้องที่ที่เกิดเหตุคดีนี้ด้วย โจทก์จึงไม่จำต้องสืบพยานถึงการปิดสำเนาประกาศดังกล่าว
ความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง,73 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองแสนบาท เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องศาลย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานในข้อหาความผิดนี้ได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 176 วรรคหนึ่ง